โดย...ไพรัตน์ แย้มโกสุม
บางคนมีความเห็นว่า เราไม่ใช่อรหันต์ ย่อมมีกิเลสเป็นธรรมดา...บางคนไม่เห็นด้วย สวนกลับว่า แม้เราไม่ใช่อรหันต์ ถ้าเราปฏิบัติอย่างอรหันต์ มากน้อยตามความสามารถของตนบ้าง ก็คงจะดีกว่าการปฏิเสธโดยสิ้นเชิง
“อรหํ” แปลว่า เป็นพระอรหันต์ คือเป็นผู้บริสุทธิ์ไกลจากกิเลส ทำลายกำแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา เป็นต้น
อรหํ เป็นหนึ่งข้อในจำนวนเก้าข้อของพุทธคุณเก้า หรือคุณของพระพุทธเจ้านั่นเอง
คนเราที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ถือว่าเป็นผู้มีโชค ย่อมรู้จักบาปบุญคุณโทษ ถ้าไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ ไม่รู้จักความดีความชั่ว ไม่รู้จักคนไหนทำลายชาติ ไม่รู้จักคนไหนรักชาติ ก็นับว่าเสียชาติเกิด อาจถึงขั้นชิงหมาเกิดก็ได้
เห็นโทษสิ่งใด
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าโลกนี้หรือโลกไหน ย่อมมีสิ่งที่เป็นคุณและเป็นโทษ สิ่งที่เป็นบาปเป็นบุญ สิ่งที่เป็นความดีความชั่ว
ไม่ว่าสิ่งใดจะเป็นโทษเป็นคุณ เราต้องกำหนดรู้สิ่งนั้น รู้เห็นแล้ว ก็ต้องสาวลึกไปถึงเหตุของสิ่งนั้นๆ เพื่อกำจัดเหตุชั่ว และเจริญเหตุดี
เรื่องที่เป็นคุณ คือบุญหรือความดี อย่างนี้ต้องเจริญ ต้องเข้าใกล้
เรื่องที่เป็นโทษ คือบาปหรือความชั่ว อย่างนี้ต้องละต้องเลิก ต้องห่างไกล
คนเราไม่ว่าชาติใดภาษาใด ย่อมชอบทำบุญ คือทำความดี แต่บางครั้งบุญที่ชอบทำกันนั้น กลับเป็นบาป เป็นความชั่ว เพราะมีบางคนที่จิตใจไม่บริสุทธิ์ ชอบหากินกับการทำบุญแบบ “ขุดบ่อล่อปลา” วางอุบายหลอกล่อให้อีกฝ่ายหนึ่งหลงเชื่อ เพื่อตัวจะได้ประโยชน์จากการทำบุญนั้น
บุญที่ถูกต้องถูกตรง อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านทรงสั่งสอนนั้น เรียกว่า “บุญกิริยาวัตถุ 10” เป็นเรื่องเก่าที่ต้องเล่าบ่อยๆ เพราะโลกยุคบริโภคนิยมนี้ พากันหลงผิดเอามากๆ ซึ่งมีบางผู้สอนขุดบ่อล่อประชาชนผู้เลื่อมใส กลายเป็นปลาอยากดัง กำลังจะตกบ่อโดยไม่รู้ตัว (หลับทั้งยืนว่างั้นเถอะ)
บุญกิริยาวัตถุ 10 คือที่ตั้งแห่งการทำบุญหรือหลักการทำความดี หรือทางทำความดี...
1. ทานมัย คือทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ
2. สีลมัย คือการทำบุญด้วยการรักษาศีล หรือประพฤติดี
3. ภาวนามัย คือทำบุญด้วยการเจริญภาวนา ฝึกอบรมจิตใจเจริญปัญญา
4. อปจายนมัย คือทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม
5. เวยยาวัจจมัย คือทำบุญด้วยการขวนขวายรับใช้
6. ปัตติทานมัย คือทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น
7. ปัตตานุโมทนามัย คือทำบุญด้วยการยินดี ในความดีของผู้อื่น
8. ธัมมัสสวนมัย คือทำบุญด้วยการฟังธรรม ศึกษาหาความรู้
9. ธัมมเทสนามัย คือทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรม ให้ความรู้
10. ทิฏฐุชุกัมม์ คือทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง
(ข้อ 4, 5 จัดเข้าในสีลมัย ข้อ 6, 7 ในทานมัย ข้อ 8, 9 ในภาวนามัย ข้อ 10 ได้ทั้งทาน ศีล ภาวนา)
ทิฏฐุชุกัมม์ คือบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง ตรงกับอะไร ตรงกับความจริง ความถูกต้อง หรือสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นปัญญา จึงรู้จักพินิจพิจารณาในสิ่งต่างๆ
หลักการทำความดี 10 อย่างดังกล่าว เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นคุณ ต้องเข้าใกล้ สิ่งตรงกันข้ามกับสัมมาทิฏฐิ คือมิจฉาทิฏฐิ เป็นโทษ ต้องห่างไกล
ห่างไกลสิ่งนั้น
คำว่า “ไกล” ก็คือ “ไม่ใกล้” เช่น ไฟมันร้อน ก็อย่าไปเข้าใกล้ หนีไปให้ห่างๆ ไกลๆ นี่เป็นภาษาธรรมดา แต่ถ้าไม่ธรรมดาหมายถึง “ความบริสุทธิ์” เช่น พระอรหันต์ คือผู้บริสุทธิ์ ไกลจากกิเลส ทำลายกำแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา เป็นต้น
“กิเลส” คือสิ่งเศร้าหมอง ของสกปรก
ความเศร้าหมองทางกาย ทางวาจา ได้แก่ความทุศีลทุกชนิด
ความเศร้าหมองทางจิตใจ ได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ ทุกชนิด ทุกระดับ สูงสุดถึงขั้นอหังการ มมังการมานานุสัย (ความเคยชินในการกระทำความสำคัญว่า ฉัน หรือของฉัน)
เรื่อง “ธรรมะ” มีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับต่ำ-กลาง-สูง หรือหยาบ-กลาง-ละเอียด แต่ละระดับถ้าพิจารณาให้ลึกซึ้ง ก็จะถึงแก่นธรรมได้
ผมเป็นคนง่ายๆ ชอบง่ายๆ และสั้นๆ อย่าง “พุทธโอวาท 3” ซึ่งเป็นประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักใหญ่ 3 ข้อได้แก่...
1. สพฺพปาปสฺส อกรณํ-ไม่ทำความชั่วทั้งปวง
2. กุสลสฺสูปสมฺปทา-ทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์
3. สจิตตปริโยทปนํ-ทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์
สามข้อนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
เราก็พินิจพิจารณาทุกระดับ ต่ำ-กลาง-สูง หรือหยาบ-กลาง-ละเอียด ข้อที่สำคัญที่สุดคือข้อสาม ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ข้อนี้ “ยอดสุด-หลุดพ้น” ได้
ผู้ที่เป็นพระอรหันต์ก็ข้อนี้ เพราะท่านไกลจากกิเลส หรือเป็นผู้บริสุทธิ์นั่นเอง
ไม่ต้องไปเสียเวลา ไปคิด ไปพูด ไปทำอะไรมากมาย เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งดีทั้งชั่ว ทั้งเหนือดีเหนือชั่ว มันก็อยู่ในสามข้อนี้แล้ว
มีของดีไม่รู้จักใช้ ยังอวดฉลาดเป็นผู้รู้มาก เป็นผู้เชี่ยวชาญซะอีก แต่ทำไม่ได้สักข้อ (ข้อ 1 ไม่ทำความชั่วทั้งปวง แต่ก็คอร์รัปชันกันโครมๆ อยู่ตั้งแต่หัวแถว-กลางแถว-หางแถว) ทำได้เพียง “คำหรูชูป้าย” เท่านั้นแล
แต่ก็น่าเห็นใจนะ บางคนยากที่จะบริสุทธิ์ คนจะบริสุทธิ์ได้ก็ด้วยปัญญา
“คนโง่เขลามาประชุมกันแม้ตั้งกว่าพันคน พวกเขาไม่มีปัญญา ถึงจะพร่ำคร่ำครวญอยู่ตลอดร้อยปี ก็หามีประโยชน์ไม่ คนมีปัญญา รู้เนื้อความแห่งภาษิตคนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า”
ผมไม่ได้ว่าเองนะ พระพุทธเจ้าท่านทรงสั่งสอนไว้หลายพันปีแล้ว ที่กำลังประชุมร่างรัฐธรรมนูญอยู่ขณะนี้ ผมก็ได้แต่หวังว่า เต็มไปด้วยผู้มีปัญญา เต็มไปด้วยคนดี หรือสัตบุรุษ สัตบุรุษไม่มีในชุมนุมใด ชุมนุมนั้นไม่ชื่อว่าสภา สัตบุรุษไม่ปราศรัยเพราะอยากได้กาม ผู้ใดไม่พูดเป็นธรรม ผู้นั้นไม่ใช่สัตบุรุษ นะท่านผู้ทรงเกียรติทั้งหลาย
ทุกวันนี้ เราต่างเป็นโรคด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ทั้งโรคทางกายและโรคทางใจ ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ (อโรคยาปรมาลาภา)
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ท่านสอนว่า “คนที่ไม่มีโรคทางกาย นับว่าประเสริฐ แต่คนที่ไม่มีโรคทางใจ คือกิเลส ประเสริฐกว่า”
ทุกข์-ควรกำหนดรู้ สมุทัย-ควรละ กิเลส คือเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง
“เห็นโทษสิ่งใด-ห่างไกลสิ่งนั้น” ด้วยการใช้ปัญญา ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ก็จะพบเห็นสิ่งทั้งปวงอย่างที่มันเป็น
ทุกสิ่งรู้ทัน
รู้ทันทุกสิ่ง ก็คือรู้ธรรม เห็นธรรม หรือรู้เห็นทุกสิ่งทุกอย่าง อย่างที่มันเป็น เช่น นาย ก.ได้เป็นผู้นำ มีอำนาจปกครองบ้านเมือง นาย ก.มีนิสัยหรือสันดานเดิม เป็นคนขี้โกงระดับโคตรโกง หรือโกงทั้งโคตร โกงทุกอย่างที่ขวางหน้า การรู้อย่างนี้เรียกว่า รู้เช่นเห็นชาติ และรู้อย่างนี้ก็จะทำให้รู้แจ้งแทงตลอด รู้ชัดจนคาดเห็นเหตุการณ์ได้ว่า เขาจะเป็นตัวอันตราย ทำลายชาติบ้านเมืองให้ล่มจม เป็นต้น
โรคทางกาย จะทำลายเราได้เฉพาะขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนโรคทางใจหรือกิเลส โลภ โกรธ หลง มันทำร้ายเราทั้งขณะมีชีวิตและสิ้นชีวิต
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ท่านสอนว่า... “จิตที่มีกิเลสเศร้าหมอง เมื่อละจากร่างไปสู่ภพภูมิใด ก็จะคงกิเลสนั้นอยู่ คงความเศร้าหมองนั้นอยู่ ภพภูมิที่ไปจึงเป็นทุคติ คติที่ไม่ดีมากน้อย หนักเบา ตามกิเลสความเศร้าหมองของจิต”
ภาพที่เห็นขณะมีชีวิตกับภาพที่ไม่เห็นเมื่อตายไปแล้ว จึงไม่ต่างกัน เมื่ออยู่ในโลกนี้ ท่านทำอะไรไว้ ชั่ว ดี บริสุทธิ์ เมื่อหมดเวลาต้องจากโลกนี้ไปสู่โลกหน้าอย่างที่ท่านทำไว้ ไม่มีใคร หรือผู้วิเศษใดๆ ช่วยท่านได้ นอกจากผลกรรมของท่านเอง
เห็นผู้คนที่ดีดดิ้นบนโลกใบนี้แล้ว อดที่จะสงสารไม่ได้ เพราะสิ่งที่เขาคิด เขาทำ ล้วนแต่เพิ่มโรคกิเลสให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น
ไหนบอกว่ารักตัวเอง รักสังคม รักประเทศชาติ แต่พฤติกรรมที่ทำลงไป มันเป็นการฆ่าตัวเอง ฆ่าสังคม ฆ่าประเทศชาติชัดๆ ไม่อายฟ้าดิน ทรัพย์สมบัติของคนทั้งประเทศ เช่น ภูเขาทั้งลูกมันก็เอาไป พลังงานใต้ทะเล ใต้ดิน มันก็เอาไป ป่าไม้มันก็เอาไป อากาศทั่วเวิ้งฟ้ามันก็เอาไป ฯลฯ
“ลองยกตัวอย่างให้ชัดๆ หน่อยซิ” เสียงแย้งทำเป็นสงสัย ไม่เข้าใจ
“ให้กระจกไม่รู้กี่แผ่นไปส่อง แต่ไม่เคยส่อง กลับทุบทิ้งไม่แยแส” เสียงตอบแบบรู้ทันสั่นสะเทือน
โอ...อมิตาพุทธ สติปัญญาเป็นแสงสว่างไม่มีที่สิ้นสุด
แสงสว่างเกิดขึ้น ณ ที่ใด ความมืดย่อมหายไป ณ ที่นั้น
ปัญญา หรือแสงสว่างส่องไปที่ไหน เราก็จะรู้จะเห็น หรือรู้ทันสิ่งต่างๆ อย่างที่มันเป็น
เราอยากให้สรรพสัตว์มีความสุขและพ้นทุกข์ เมื่อสรรพสัตว์มีความสุขและพ้นทุกข์แล้ว เราก็พลอยยินดีด้วย ไม่ว่าผลกรรมของสรรพสัตว์จะดีจะชั่วอย่างไร เราต้องมีใจเป็นอุเบกขา คือใจเป็นกลาง เพราะสรรพสิ่งทั้งมวลล้วนเป็นไปตามกรรมที่ตนทำ
รู้ทันทุกสิ่ง ก็คือรู้ธรรม เห็นธรรม และถึงธรรม...
“ผู้ถึงธรรม ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ดำรงอยู่ด้วยสิ่งที่เป็นปัจจุบัน ฉะนั้น ผิวพรรณจึงผ่องใส”
ทุกวันเบิกบาน
เบิกบาน หมายถึงสดชื่น แจ่มใส เป็นเบิกบานธรรมดาแบบปุถุชน คนที่ยังมีกิเลส ส่วนคนมีกิเลสน้อยหรือหมดกิเลสแล้วเรียกว่า อริยชนก็แล้วกัน เบิกบานของท่านเหล่านี้ก็คือ...
เป็นผู้รู้สิ่งที่ควรรู้ คือรู้สิ่งที่ดับทุกข์ได้ รู้สิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริง ถึงที่สุด
เป็นผู้ตื่นจากหลับ คือกิเลส เห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงอย่างถูกต้องตามที่เป็นจริง
เป็นผู้เบิกบานอยู่ด้วยสติปัญญาที่รู้แจ้งสิ่งทั้งปวงตามความเป็นจริง ดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิงเพราะไม่มีความทุกข์รบกวน จึงมีความเบิกบาน
ปุถุชนกับอริยชน มีความเบิกบานเหมือนกัน เป็นกรรมเหมือนกัน แต่ต่างกัน
“ในเมื่อรู้ว่าต้องตายแน่ และสิ่งที่จะตามไปได้ ไม่ใช่ทรัพย์สินหรือยศอำนาจ แต่เป็นบุญญาบารมีต่างหาก หมั่นสร้างตรงนี้ไว้ดีกว่า ทุกวันนี้ก็ทำเพื่ออนาคตของครอบครัว แต่ส่วนใหญ่มองอนาคตเพียงชาตินี้ อย่าลืมว่าตายแล้วไม่สูญ ก็อย่าลืมหาความดีเติมเข้าไปในจิตใจ เผื่อชาติต่อไปด้วย”
นั่นคือ คำเตือนจาก...หลวงพ่อชา สุภัทโท พระสุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ หนึ่งในพระอรหันต์ยุคปัจจุบัน
“เห็นโทษสิ่งใด
ห่างไกลสิ่งนั้น
ทุกสิ่งรู้ทัน
ทุกวันเบิกบาน”
“หลับยืนตื่นรู้ คือสองด้านของเหรียญอันเดียวกัน” ในปัจจุบันขณะ หรือในทุกๆ วัน ถ้าท่านตื่นรู้มากเท่าไหร่ ท่านก็จะเบิกบานแบบมีบุญญาบารมีมากเท่านั้น จะเอาอย่างไร ก็พิจารณาดูเองเถิด ชีวิตเป็นของท่าน ไม่มีสิ่งใดทำแทนได้
บางคนมีความเห็นว่า เราไม่ใช่อรหันต์ ย่อมมีกิเลสเป็นธรรมดา...บางคนไม่เห็นด้วย สวนกลับว่า แม้เราไม่ใช่อรหันต์ ถ้าเราปฏิบัติอย่างอรหันต์ มากน้อยตามความสามารถของตนบ้าง ก็คงจะดีกว่าการปฏิเสธโดยสิ้นเชิง
“อรหํ” แปลว่า เป็นพระอรหันต์ คือเป็นผู้บริสุทธิ์ไกลจากกิเลส ทำลายกำแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา เป็นต้น
อรหํ เป็นหนึ่งข้อในจำนวนเก้าข้อของพุทธคุณเก้า หรือคุณของพระพุทธเจ้านั่นเอง
คนเราที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ถือว่าเป็นผู้มีโชค ย่อมรู้จักบาปบุญคุณโทษ ถ้าไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ ไม่รู้จักความดีความชั่ว ไม่รู้จักคนไหนทำลายชาติ ไม่รู้จักคนไหนรักชาติ ก็นับว่าเสียชาติเกิด อาจถึงขั้นชิงหมาเกิดก็ได้
เห็นโทษสิ่งใด
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าโลกนี้หรือโลกไหน ย่อมมีสิ่งที่เป็นคุณและเป็นโทษ สิ่งที่เป็นบาปเป็นบุญ สิ่งที่เป็นความดีความชั่ว
ไม่ว่าสิ่งใดจะเป็นโทษเป็นคุณ เราต้องกำหนดรู้สิ่งนั้น รู้เห็นแล้ว ก็ต้องสาวลึกไปถึงเหตุของสิ่งนั้นๆ เพื่อกำจัดเหตุชั่ว และเจริญเหตุดี
เรื่องที่เป็นคุณ คือบุญหรือความดี อย่างนี้ต้องเจริญ ต้องเข้าใกล้
เรื่องที่เป็นโทษ คือบาปหรือความชั่ว อย่างนี้ต้องละต้องเลิก ต้องห่างไกล
คนเราไม่ว่าชาติใดภาษาใด ย่อมชอบทำบุญ คือทำความดี แต่บางครั้งบุญที่ชอบทำกันนั้น กลับเป็นบาป เป็นความชั่ว เพราะมีบางคนที่จิตใจไม่บริสุทธิ์ ชอบหากินกับการทำบุญแบบ “ขุดบ่อล่อปลา” วางอุบายหลอกล่อให้อีกฝ่ายหนึ่งหลงเชื่อ เพื่อตัวจะได้ประโยชน์จากการทำบุญนั้น
บุญที่ถูกต้องถูกตรง อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านทรงสั่งสอนนั้น เรียกว่า “บุญกิริยาวัตถุ 10” เป็นเรื่องเก่าที่ต้องเล่าบ่อยๆ เพราะโลกยุคบริโภคนิยมนี้ พากันหลงผิดเอามากๆ ซึ่งมีบางผู้สอนขุดบ่อล่อประชาชนผู้เลื่อมใส กลายเป็นปลาอยากดัง กำลังจะตกบ่อโดยไม่รู้ตัว (หลับทั้งยืนว่างั้นเถอะ)
บุญกิริยาวัตถุ 10 คือที่ตั้งแห่งการทำบุญหรือหลักการทำความดี หรือทางทำความดี...
1. ทานมัย คือทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ
2. สีลมัย คือการทำบุญด้วยการรักษาศีล หรือประพฤติดี
3. ภาวนามัย คือทำบุญด้วยการเจริญภาวนา ฝึกอบรมจิตใจเจริญปัญญา
4. อปจายนมัย คือทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม
5. เวยยาวัจจมัย คือทำบุญด้วยการขวนขวายรับใช้
6. ปัตติทานมัย คือทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น
7. ปัตตานุโมทนามัย คือทำบุญด้วยการยินดี ในความดีของผู้อื่น
8. ธัมมัสสวนมัย คือทำบุญด้วยการฟังธรรม ศึกษาหาความรู้
9. ธัมมเทสนามัย คือทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรม ให้ความรู้
10. ทิฏฐุชุกัมม์ คือทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง
(ข้อ 4, 5 จัดเข้าในสีลมัย ข้อ 6, 7 ในทานมัย ข้อ 8, 9 ในภาวนามัย ข้อ 10 ได้ทั้งทาน ศีล ภาวนา)
ทิฏฐุชุกัมม์ คือบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง ตรงกับอะไร ตรงกับความจริง ความถูกต้อง หรือสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นปัญญา จึงรู้จักพินิจพิจารณาในสิ่งต่างๆ
หลักการทำความดี 10 อย่างดังกล่าว เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นคุณ ต้องเข้าใกล้ สิ่งตรงกันข้ามกับสัมมาทิฏฐิ คือมิจฉาทิฏฐิ เป็นโทษ ต้องห่างไกล
ห่างไกลสิ่งนั้น
คำว่า “ไกล” ก็คือ “ไม่ใกล้” เช่น ไฟมันร้อน ก็อย่าไปเข้าใกล้ หนีไปให้ห่างๆ ไกลๆ นี่เป็นภาษาธรรมดา แต่ถ้าไม่ธรรมดาหมายถึง “ความบริสุทธิ์” เช่น พระอรหันต์ คือผู้บริสุทธิ์ ไกลจากกิเลส ทำลายกำแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา เป็นต้น
“กิเลส” คือสิ่งเศร้าหมอง ของสกปรก
ความเศร้าหมองทางกาย ทางวาจา ได้แก่ความทุศีลทุกชนิด
ความเศร้าหมองทางจิตใจ ได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ ทุกชนิด ทุกระดับ สูงสุดถึงขั้นอหังการ มมังการมานานุสัย (ความเคยชินในการกระทำความสำคัญว่า ฉัน หรือของฉัน)
เรื่อง “ธรรมะ” มีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับต่ำ-กลาง-สูง หรือหยาบ-กลาง-ละเอียด แต่ละระดับถ้าพิจารณาให้ลึกซึ้ง ก็จะถึงแก่นธรรมได้
ผมเป็นคนง่ายๆ ชอบง่ายๆ และสั้นๆ อย่าง “พุทธโอวาท 3” ซึ่งเป็นประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักใหญ่ 3 ข้อได้แก่...
1. สพฺพปาปสฺส อกรณํ-ไม่ทำความชั่วทั้งปวง
2. กุสลสฺสูปสมฺปทา-ทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์
3. สจิตตปริโยทปนํ-ทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์
สามข้อนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
เราก็พินิจพิจารณาทุกระดับ ต่ำ-กลาง-สูง หรือหยาบ-กลาง-ละเอียด ข้อที่สำคัญที่สุดคือข้อสาม ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ข้อนี้ “ยอดสุด-หลุดพ้น” ได้
ผู้ที่เป็นพระอรหันต์ก็ข้อนี้ เพราะท่านไกลจากกิเลส หรือเป็นผู้บริสุทธิ์นั่นเอง
ไม่ต้องไปเสียเวลา ไปคิด ไปพูด ไปทำอะไรมากมาย เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งดีทั้งชั่ว ทั้งเหนือดีเหนือชั่ว มันก็อยู่ในสามข้อนี้แล้ว
มีของดีไม่รู้จักใช้ ยังอวดฉลาดเป็นผู้รู้มาก เป็นผู้เชี่ยวชาญซะอีก แต่ทำไม่ได้สักข้อ (ข้อ 1 ไม่ทำความชั่วทั้งปวง แต่ก็คอร์รัปชันกันโครมๆ อยู่ตั้งแต่หัวแถว-กลางแถว-หางแถว) ทำได้เพียง “คำหรูชูป้าย” เท่านั้นแล
แต่ก็น่าเห็นใจนะ บางคนยากที่จะบริสุทธิ์ คนจะบริสุทธิ์ได้ก็ด้วยปัญญา
“คนโง่เขลามาประชุมกันแม้ตั้งกว่าพันคน พวกเขาไม่มีปัญญา ถึงจะพร่ำคร่ำครวญอยู่ตลอดร้อยปี ก็หามีประโยชน์ไม่ คนมีปัญญา รู้เนื้อความแห่งภาษิตคนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า”
ผมไม่ได้ว่าเองนะ พระพุทธเจ้าท่านทรงสั่งสอนไว้หลายพันปีแล้ว ที่กำลังประชุมร่างรัฐธรรมนูญอยู่ขณะนี้ ผมก็ได้แต่หวังว่า เต็มไปด้วยผู้มีปัญญา เต็มไปด้วยคนดี หรือสัตบุรุษ สัตบุรุษไม่มีในชุมนุมใด ชุมนุมนั้นไม่ชื่อว่าสภา สัตบุรุษไม่ปราศรัยเพราะอยากได้กาม ผู้ใดไม่พูดเป็นธรรม ผู้นั้นไม่ใช่สัตบุรุษ นะท่านผู้ทรงเกียรติทั้งหลาย
ทุกวันนี้ เราต่างเป็นโรคด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ทั้งโรคทางกายและโรคทางใจ ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ (อโรคยาปรมาลาภา)
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ท่านสอนว่า “คนที่ไม่มีโรคทางกาย นับว่าประเสริฐ แต่คนที่ไม่มีโรคทางใจ คือกิเลส ประเสริฐกว่า”
ทุกข์-ควรกำหนดรู้ สมุทัย-ควรละ กิเลส คือเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง
“เห็นโทษสิ่งใด-ห่างไกลสิ่งนั้น” ด้วยการใช้ปัญญา ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ก็จะพบเห็นสิ่งทั้งปวงอย่างที่มันเป็น
ทุกสิ่งรู้ทัน
รู้ทันทุกสิ่ง ก็คือรู้ธรรม เห็นธรรม หรือรู้เห็นทุกสิ่งทุกอย่าง อย่างที่มันเป็น เช่น นาย ก.ได้เป็นผู้นำ มีอำนาจปกครองบ้านเมือง นาย ก.มีนิสัยหรือสันดานเดิม เป็นคนขี้โกงระดับโคตรโกง หรือโกงทั้งโคตร โกงทุกอย่างที่ขวางหน้า การรู้อย่างนี้เรียกว่า รู้เช่นเห็นชาติ และรู้อย่างนี้ก็จะทำให้รู้แจ้งแทงตลอด รู้ชัดจนคาดเห็นเหตุการณ์ได้ว่า เขาจะเป็นตัวอันตราย ทำลายชาติบ้านเมืองให้ล่มจม เป็นต้น
โรคทางกาย จะทำลายเราได้เฉพาะขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนโรคทางใจหรือกิเลส โลภ โกรธ หลง มันทำร้ายเราทั้งขณะมีชีวิตและสิ้นชีวิต
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ท่านสอนว่า... “จิตที่มีกิเลสเศร้าหมอง เมื่อละจากร่างไปสู่ภพภูมิใด ก็จะคงกิเลสนั้นอยู่ คงความเศร้าหมองนั้นอยู่ ภพภูมิที่ไปจึงเป็นทุคติ คติที่ไม่ดีมากน้อย หนักเบา ตามกิเลสความเศร้าหมองของจิต”
ภาพที่เห็นขณะมีชีวิตกับภาพที่ไม่เห็นเมื่อตายไปแล้ว จึงไม่ต่างกัน เมื่ออยู่ในโลกนี้ ท่านทำอะไรไว้ ชั่ว ดี บริสุทธิ์ เมื่อหมดเวลาต้องจากโลกนี้ไปสู่โลกหน้าอย่างที่ท่านทำไว้ ไม่มีใคร หรือผู้วิเศษใดๆ ช่วยท่านได้ นอกจากผลกรรมของท่านเอง
เห็นผู้คนที่ดีดดิ้นบนโลกใบนี้แล้ว อดที่จะสงสารไม่ได้ เพราะสิ่งที่เขาคิด เขาทำ ล้วนแต่เพิ่มโรคกิเลสให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น
ไหนบอกว่ารักตัวเอง รักสังคม รักประเทศชาติ แต่พฤติกรรมที่ทำลงไป มันเป็นการฆ่าตัวเอง ฆ่าสังคม ฆ่าประเทศชาติชัดๆ ไม่อายฟ้าดิน ทรัพย์สมบัติของคนทั้งประเทศ เช่น ภูเขาทั้งลูกมันก็เอาไป พลังงานใต้ทะเล ใต้ดิน มันก็เอาไป ป่าไม้มันก็เอาไป อากาศทั่วเวิ้งฟ้ามันก็เอาไป ฯลฯ
“ลองยกตัวอย่างให้ชัดๆ หน่อยซิ” เสียงแย้งทำเป็นสงสัย ไม่เข้าใจ
“ให้กระจกไม่รู้กี่แผ่นไปส่อง แต่ไม่เคยส่อง กลับทุบทิ้งไม่แยแส” เสียงตอบแบบรู้ทันสั่นสะเทือน
โอ...อมิตาพุทธ สติปัญญาเป็นแสงสว่างไม่มีที่สิ้นสุด
แสงสว่างเกิดขึ้น ณ ที่ใด ความมืดย่อมหายไป ณ ที่นั้น
ปัญญา หรือแสงสว่างส่องไปที่ไหน เราก็จะรู้จะเห็น หรือรู้ทันสิ่งต่างๆ อย่างที่มันเป็น
เราอยากให้สรรพสัตว์มีความสุขและพ้นทุกข์ เมื่อสรรพสัตว์มีความสุขและพ้นทุกข์แล้ว เราก็พลอยยินดีด้วย ไม่ว่าผลกรรมของสรรพสัตว์จะดีจะชั่วอย่างไร เราต้องมีใจเป็นอุเบกขา คือใจเป็นกลาง เพราะสรรพสิ่งทั้งมวลล้วนเป็นไปตามกรรมที่ตนทำ
รู้ทันทุกสิ่ง ก็คือรู้ธรรม เห็นธรรม และถึงธรรม...
“ผู้ถึงธรรม ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ดำรงอยู่ด้วยสิ่งที่เป็นปัจจุบัน ฉะนั้น ผิวพรรณจึงผ่องใส”
ทุกวันเบิกบาน
เบิกบาน หมายถึงสดชื่น แจ่มใส เป็นเบิกบานธรรมดาแบบปุถุชน คนที่ยังมีกิเลส ส่วนคนมีกิเลสน้อยหรือหมดกิเลสแล้วเรียกว่า อริยชนก็แล้วกัน เบิกบานของท่านเหล่านี้ก็คือ...
เป็นผู้รู้สิ่งที่ควรรู้ คือรู้สิ่งที่ดับทุกข์ได้ รู้สิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริง ถึงที่สุด
เป็นผู้ตื่นจากหลับ คือกิเลส เห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงอย่างถูกต้องตามที่เป็นจริง
เป็นผู้เบิกบานอยู่ด้วยสติปัญญาที่รู้แจ้งสิ่งทั้งปวงตามความเป็นจริง ดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิงเพราะไม่มีความทุกข์รบกวน จึงมีความเบิกบาน
ปุถุชนกับอริยชน มีความเบิกบานเหมือนกัน เป็นกรรมเหมือนกัน แต่ต่างกัน
“ในเมื่อรู้ว่าต้องตายแน่ และสิ่งที่จะตามไปได้ ไม่ใช่ทรัพย์สินหรือยศอำนาจ แต่เป็นบุญญาบารมีต่างหาก หมั่นสร้างตรงนี้ไว้ดีกว่า ทุกวันนี้ก็ทำเพื่ออนาคตของครอบครัว แต่ส่วนใหญ่มองอนาคตเพียงชาตินี้ อย่าลืมว่าตายแล้วไม่สูญ ก็อย่าลืมหาความดีเติมเข้าไปในจิตใจ เผื่อชาติต่อไปด้วย”
นั่นคือ คำเตือนจาก...หลวงพ่อชา สุภัทโท พระสุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ หนึ่งในพระอรหันต์ยุคปัจจุบัน
“เห็นโทษสิ่งใด
ห่างไกลสิ่งนั้น
ทุกสิ่งรู้ทัน
ทุกวันเบิกบาน”
“หลับยืนตื่นรู้ คือสองด้านของเหรียญอันเดียวกัน” ในปัจจุบันขณะ หรือในทุกๆ วัน ถ้าท่านตื่นรู้มากเท่าไหร่ ท่านก็จะเบิกบานแบบมีบุญญาบารมีมากเท่านั้น จะเอาอย่างไร ก็พิจารณาดูเองเถิด ชีวิตเป็นของท่าน ไม่มีสิ่งใดทำแทนได้