เมื่อเวลา 14.45 น. วานนี้ (22เม.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถ้อยแถลงในโอกาสเข้าร่วมประชุมสุดยอดเอเชีย-แอฟริกา (Asian-African Summit)ตามคำเชิญของ นายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 21–23 เม.ย.58 ณ Jakarta Convention Center (JCC) กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดย ร.อ.นพ. ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรี กล่าวขอบคุณอินโดนีเซีย สำหรับการเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งประวัติศาสตร์ ณ กรุงจาการ์ตา ที่ได้เวียนมาอีกครั้ง หลังจากผู้นำทั้งสองทวีปได้พบกันครั้งแรก เมื่อ 60 ปีที่ผ่านมา ณ เมืองบันดุง และวันนี้ ผู้นำกว่า 100 ประเทศได้มาพบกันท่ามกลางโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ไทยในฐานะหนึ่งในประเทศผู้ก่อตั้งการประชุมสุดยอดเอเชีย-แอฟริกาได้ให้ความร่วมมือและสนับสนุนเจตนารมณ์บันดุง มาโดยตลอด นับตั้งแต่การประชุมสุดยอดเอเชีย-แอฟริกา ครั้งแรก ของพระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
ทั้งนี้ เมื่อเอเชียและแอฟริกามีความร่วมมือกัน ทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ ภูมิภาคทั้งสองจะมีความเข้มแข็งมากขึ้น ปัจจุบันมูลค่าการค้ากับเอเชีย มีสัดส่วนร้อยละ 26 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของแอฟริกา รวมทั้งมีการพัฒนาเชื่อมโยงระหว่างกันโดยมีสายการบินหลัก 8 สายการบิน เชื่อมโยงกว่า 28 เมืองของเอเชียและแอฟริกา
เมื่อพิจารณาจากภูมิรัฐศาสตร์ของไทยแล้ว ไทยสามารถเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างเอเชียและแอฟริการวมทั้งประเทศในภูมิภาคต่างๆ
ด้วย ดังนั้นการทำงานร่วมกันจึงจะสามารถเอาชนะอุปสรรค และทั้งสองภูมิภาคจะได้รับประโยชน์มหาศาลจากการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดี ความรู้และ
ประสบการณ์ในสาขาที่มีความสนใจร่วมกัน
นายกรัฐมนตรี กล่าวย้ำว่า จะต้องมีการผลักดันความเป็นหุ้นส่วนที่มีความพลวัตร ระหว่างสองภูมิภาคต่อไป เพื่อยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้ก้าวขึ้นไปอีกระดับ ไทยพร้อมขยายความร่วมมือทางการค้า และการลงทุนกับแอฟริกาโดยอาเซียนซึ่งเป็นเสาหลักของนโยบายการต่างประเทศของไทย จะเป็นหนึ่งในองค์กรหลักรวมทั้งกรอบความร่วมมือต่างๆ อาเซียนมีบทบาทนำ อาทิ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน จะมีส่วนอย่างสำคัญในการช่วยขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างเอเชียและแอฟริกาไปสู่จุดสูงสุดได้
พร้อมๆไปกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม จะเป็นอีกหนึ่งเสาหลักที่จะเชื่อมโยงประชาชน และจะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความเข้าใจและเจตนารมณ์ที่ดีระหว่างประชาชนทั้งสองภูมิภาคด้วย
ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ไทยส่งเสริมการเติบโตของภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาต่อหุ้นส่วนของไทยในเอเชียเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า และ เพิ่มขึ้น10 เท่า สำหรับแอฟริกา
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้น้อมนำปรัญชา“เศรษฐกิจพอเพียง”ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ว่า เป็นหลักการพื้นฐานค่านิยมไทยที่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ และเป็นเครื่องนำทางประเทศไทยไปสู่จุดมุ่งหมายแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยพร้อมที่จะให้ข้อมูล แบ่งปันประสบการณ์แนวทางดังกล่าวแก่มิตรประเทศ เนื่องจากความมั่นคงและมั่งคั่งของภูมิภาคเอเชียและแอฟริการจะเป็นประโยชน์สำหรับประเทศไทยและภูมิภาค
ปัจจุบัน แอฟริกามีโอกาสมากมาย เพราะเป็นหนึ่งในทวีปที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วที่สุดทวีปหนึ่งของโลก ทั้งยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลในประเทศแอฟริกามีการปฏิรูปมากขึ้น ส่งผลให้มีการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศจำนวนมาก ช่วยงานและโอกาสกับประชาชน
ดังนั้นรัฐบาลไทยมุ่งมั่นที่จะเป็นหุ้นส่วนความสำเร็จของแอฟริกาโดยมีนโยบาย“ข้อริเริ่มไทย-แอฟริกา”เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในทุกมิติ ระหว่างไทยและแอฟริกา
นายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวในตอนท้ายว่า ภูมิภาคเรากำลังเผชิญกับความท้าทายระหว่างประเทศมากมาย อาทิ ความยากจน ความขัดแย้ง การก่อการร้าย โรคระบาด และปัญหาสิ่งแวดล้อม ดังนั้น หุ้นส่วนใหม่ทางยุทธศาสตร์เอเชีย-แอฟริกา ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2548 จะมีความสำคัญยิ่งขึ้น และขอให้ร่วมมือกันเพื่อสร้างสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองแก่ประชาชน เพื่อให้มั่นใจว่า จะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
นายกรัฐมนตรี กล่าวขอบคุณอินโดนีเซีย สำหรับการเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งประวัติศาสตร์ ณ กรุงจาการ์ตา ที่ได้เวียนมาอีกครั้ง หลังจากผู้นำทั้งสองทวีปได้พบกันครั้งแรก เมื่อ 60 ปีที่ผ่านมา ณ เมืองบันดุง และวันนี้ ผู้นำกว่า 100 ประเทศได้มาพบกันท่ามกลางโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ไทยในฐานะหนึ่งในประเทศผู้ก่อตั้งการประชุมสุดยอดเอเชีย-แอฟริกาได้ให้ความร่วมมือและสนับสนุนเจตนารมณ์บันดุง มาโดยตลอด นับตั้งแต่การประชุมสุดยอดเอเชีย-แอฟริกา ครั้งแรก ของพระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
ทั้งนี้ เมื่อเอเชียและแอฟริกามีความร่วมมือกัน ทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ ภูมิภาคทั้งสองจะมีความเข้มแข็งมากขึ้น ปัจจุบันมูลค่าการค้ากับเอเชีย มีสัดส่วนร้อยละ 26 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของแอฟริกา รวมทั้งมีการพัฒนาเชื่อมโยงระหว่างกันโดยมีสายการบินหลัก 8 สายการบิน เชื่อมโยงกว่า 28 เมืองของเอเชียและแอฟริกา
เมื่อพิจารณาจากภูมิรัฐศาสตร์ของไทยแล้ว ไทยสามารถเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างเอเชียและแอฟริการวมทั้งประเทศในภูมิภาคต่างๆ
ด้วย ดังนั้นการทำงานร่วมกันจึงจะสามารถเอาชนะอุปสรรค และทั้งสองภูมิภาคจะได้รับประโยชน์มหาศาลจากการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดี ความรู้และ
ประสบการณ์ในสาขาที่มีความสนใจร่วมกัน
นายกรัฐมนตรี กล่าวย้ำว่า จะต้องมีการผลักดันความเป็นหุ้นส่วนที่มีความพลวัตร ระหว่างสองภูมิภาคต่อไป เพื่อยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้ก้าวขึ้นไปอีกระดับ ไทยพร้อมขยายความร่วมมือทางการค้า และการลงทุนกับแอฟริกาโดยอาเซียนซึ่งเป็นเสาหลักของนโยบายการต่างประเทศของไทย จะเป็นหนึ่งในองค์กรหลักรวมทั้งกรอบความร่วมมือต่างๆ อาเซียนมีบทบาทนำ อาทิ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน จะมีส่วนอย่างสำคัญในการช่วยขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างเอเชียและแอฟริกาไปสู่จุดสูงสุดได้
พร้อมๆไปกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม จะเป็นอีกหนึ่งเสาหลักที่จะเชื่อมโยงประชาชน และจะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความเข้าใจและเจตนารมณ์ที่ดีระหว่างประชาชนทั้งสองภูมิภาคด้วย
ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ไทยส่งเสริมการเติบโตของภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาต่อหุ้นส่วนของไทยในเอเชียเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า และ เพิ่มขึ้น10 เท่า สำหรับแอฟริกา
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้น้อมนำปรัญชา“เศรษฐกิจพอเพียง”ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ว่า เป็นหลักการพื้นฐานค่านิยมไทยที่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ และเป็นเครื่องนำทางประเทศไทยไปสู่จุดมุ่งหมายแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยพร้อมที่จะให้ข้อมูล แบ่งปันประสบการณ์แนวทางดังกล่าวแก่มิตรประเทศ เนื่องจากความมั่นคงและมั่งคั่งของภูมิภาคเอเชียและแอฟริการจะเป็นประโยชน์สำหรับประเทศไทยและภูมิภาค
ปัจจุบัน แอฟริกามีโอกาสมากมาย เพราะเป็นหนึ่งในทวีปที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วที่สุดทวีปหนึ่งของโลก ทั้งยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลในประเทศแอฟริกามีการปฏิรูปมากขึ้น ส่งผลให้มีการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศจำนวนมาก ช่วยงานและโอกาสกับประชาชน
ดังนั้นรัฐบาลไทยมุ่งมั่นที่จะเป็นหุ้นส่วนความสำเร็จของแอฟริกาโดยมีนโยบาย“ข้อริเริ่มไทย-แอฟริกา”เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในทุกมิติ ระหว่างไทยและแอฟริกา
นายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวในตอนท้ายว่า ภูมิภาคเรากำลังเผชิญกับความท้าทายระหว่างประเทศมากมาย อาทิ ความยากจน ความขัดแย้ง การก่อการร้าย โรคระบาด และปัญหาสิ่งแวดล้อม ดังนั้น หุ้นส่วนใหม่ทางยุทธศาสตร์เอเชีย-แอฟริกา ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2548 จะมีความสำคัญยิ่งขึ้น และขอให้ร่วมมือกันเพื่อสร้างสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองแก่ประชาชน เพื่อให้มั่นใจว่า จะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง