ASTVผู้จัดการรายวัน-“บีทีเอส”เสนอลงทุนสัมปทาน 30 ปี ก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาด 1 เมตร สายอีสานช่วงขอนแก่น-แหลมฉบัง ขนส่งสินค้าพร้อมเสนอรื้อระบบรถจักรดีเซลใช้รถไฟฟ้าแทนทั่วประเทศ “ประจิน”ยันรัฐบาลลงทุนก่อสร้างรถไฟทางคู่เองเปิดทางสัมปทานเดินรถได้ แต่ต้องศึกษาการร่วมทุนตามแบบ PPP
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เข้าพบ วานนี้ (21 เม.ย.) ว่า ทางบีทีเอสเสนอที่จะขอรับสัมปทานก่อสร้างและเดินรถไฟทางคู่ สายอีสาน จากขอนแก่น-แหลมฉบัง เพื่อขนส่งสินค้า ระยะเวลา 30 ปี โดยก่อสร้างเป็นทางขนาด 1 เมตรโดยใช้รถไฟฟ้า พร้อมทั้งเสนอปรับเปลี่ยนระบบรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รงฟ.ท.) จากเครื่องยนต์ดีเซลเป็นระบบไฟฟ้าทั้งหมด ด้วย ซึ่งในเรื่องการก่อสร้างรถไฟทางคู่นั้น กระทรวงคมนาคมมีแผนการก่อสร้างตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 อยู่แล้ว ดังนั้นคงไม่สามารถยกเลิกการดำเนินงานและนำมาให้สัมปทานกับบีทีเอสได้
ส่วนการเดินรถไฟนั้น เป็นแนวทางที่ต้องการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาร่วมพัฒนาได้เพื่อประโยชน์ต่อ ร.ฟ.ท. และประชาชน และประเทศอยู่แล้ว โดยจะต้องพิจารณาและศึกษาในเรื่องระยะเวลาการเปลี่ยนผ่านที่เหมาะสม การใช้งานหัวรถจักรที่มีในปัจจุบันให้เกิดประโยชน์อย่างไร เพื่อกำหนดแผนทยอยปลดระวางอย่างไร เมื่อใด โดยมีเป้าหมาย คือ 1. เกิดการใช้เทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัย2 . การใช้พลังงานลดลง 3. ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และ4.มีความปลอดภัยสูงสุด
ทั้งนี้ ข้อมูลเบื้องต้นทางบีทีเอสมีตัวเลขผลตอบแทนการลงทุนแต่ไม่สูงมากนักซึ่งรวมทั้งการก่อสร้างและเดินรถ ดังนั้นต้องไปศึกษาใหม่แยกเฉพาะการเดินรถ โดยนำอัตราการเติบโตของปริมาณสินค้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตมาคิดด้วย ต้องศึกษาปริมาณตู้สินค้าและวิธีการรับส่งสินค้า จำนวนเที่ยว ระบบการควบคุมการเดินรถด้วยและเสนอกลับมาอีกครั้ง
“ทางกระทรวงไม่สามารถยกเลิกแผนการก่อสร้างแล้วให้สัมปทานเส้นทางให้บีทีเอสไปดำเนินการก่อสร้างและเดินรถได้ บีทีเอสต้องกลับไปทำการบ้านเพิ่มเติม เพื่อนำข้อมูลมาหารือกันครั้งหน้า เข่น แนวคิดในการร่วมลงทุน แนวคิดในการเดินรถสินค้า เงื่อนไขของแหล่งเงินและผลตอบแทนต่างๆ ในขณะที่กระทรวงสนใจเรื่องการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงาน”
โดยโครงการรถไฟทางคู่ที่ก่อสร้างเสร็จแล้วคือช่วง แหลมฉบัง –ฉะเชิงเทรา และที่จะก่อสร้างภายในปีนี้ คือ เส้นทาง ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กม. วงเงิน 11,348.36 ล้านบาท อยู่ระหว่างการประกวดราคา,เส้นทาง มาบกะเบา –ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กม. วงเงิน 29,855.08 ล้านบาท อยู่ระหว่างพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ,เส้นทาง ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กม. วงเงิน 26,007.20
ล้านบาท ผ่านสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ทางบีทีเอส ไม่เข้าใจว่า กระทรวงคมนาคมมีแผนก่อสร้างรถไฟทางคู่แล้ว จึงเสนอก่อสร้างและเดินรถมาซึ่งคงไม่ได้ เพราะจะทำให้การก่อสร้างล่าช้า กว่าจะนำเสนอข้อมูลและตกลง ก็ใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี แผนงานรวมจะช้าไปหมด ดังนั้นจะเหลือในส่วนของการเดินรถที่บีทีเอสจะเสนอได้ โดยเข้าร่วมลงทุนโดยใช้รูปแบบ PPP
ส่วนการเปลี่ยนระบบรถไฟดีเซลเป็นระบบรถไฟฟ้านั้น ซึ่งตรงกับแนวคิดที่สนข.ที่ขณะนี้กำลังศึกษาการเดินรถไฟฟ้าเชื่อมต่อ ขนาดราง 1 เมตรเชื่อมจากมาเลเซีย-หาดใหญ่ ซึ่งจะสอดคล้องกับที่มาเลเซีย จะเดินรถไฟฟ้าขนาด 1 เมตรมาถึงชายแดนไทยดังนั้น หากอนาคตจะมีการปรับเปลี่ยนรถไฟทางคู่เป็นรถไฟฟ้าเหมือนประเทศมาเลเซีย หากบีทีเอสเข้ามาจะเป็นโครงการนำร่องที่เส้นทางสายอีสาน
อย่างไรก็ตามทางรถไฟปัจจุบันเมื่อทำเป็นรถไฟทางคู่แล้ว จะมีความจุในการเดินรถมากขึ้นซึ่งร.ฟ.ท.สามารถใช้รถไฟดีเซลวิ่งได้และมีส่วนที่ให้บีทีเอสเข้ามารับสัมปทานได้ ลักษณะใช้ทางร่วม หรือ Share Track หรือทางเดียวกันวิ่งได้หลายผู้ประกอบการ ซึ่งต้องไปศึกษาว่าจะใช้รถไฟฟ้าวิ่งได้วันละกี่ขบวน
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เข้าพบ วานนี้ (21 เม.ย.) ว่า ทางบีทีเอสเสนอที่จะขอรับสัมปทานก่อสร้างและเดินรถไฟทางคู่ สายอีสาน จากขอนแก่น-แหลมฉบัง เพื่อขนส่งสินค้า ระยะเวลา 30 ปี โดยก่อสร้างเป็นทางขนาด 1 เมตรโดยใช้รถไฟฟ้า พร้อมทั้งเสนอปรับเปลี่ยนระบบรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รงฟ.ท.) จากเครื่องยนต์ดีเซลเป็นระบบไฟฟ้าทั้งหมด ด้วย ซึ่งในเรื่องการก่อสร้างรถไฟทางคู่นั้น กระทรวงคมนาคมมีแผนการก่อสร้างตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 อยู่แล้ว ดังนั้นคงไม่สามารถยกเลิกการดำเนินงานและนำมาให้สัมปทานกับบีทีเอสได้
ส่วนการเดินรถไฟนั้น เป็นแนวทางที่ต้องการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาร่วมพัฒนาได้เพื่อประโยชน์ต่อ ร.ฟ.ท. และประชาชน และประเทศอยู่แล้ว โดยจะต้องพิจารณาและศึกษาในเรื่องระยะเวลาการเปลี่ยนผ่านที่เหมาะสม การใช้งานหัวรถจักรที่มีในปัจจุบันให้เกิดประโยชน์อย่างไร เพื่อกำหนดแผนทยอยปลดระวางอย่างไร เมื่อใด โดยมีเป้าหมาย คือ 1. เกิดการใช้เทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัย2 . การใช้พลังงานลดลง 3. ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และ4.มีความปลอดภัยสูงสุด
ทั้งนี้ ข้อมูลเบื้องต้นทางบีทีเอสมีตัวเลขผลตอบแทนการลงทุนแต่ไม่สูงมากนักซึ่งรวมทั้งการก่อสร้างและเดินรถ ดังนั้นต้องไปศึกษาใหม่แยกเฉพาะการเดินรถ โดยนำอัตราการเติบโตของปริมาณสินค้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตมาคิดด้วย ต้องศึกษาปริมาณตู้สินค้าและวิธีการรับส่งสินค้า จำนวนเที่ยว ระบบการควบคุมการเดินรถด้วยและเสนอกลับมาอีกครั้ง
“ทางกระทรวงไม่สามารถยกเลิกแผนการก่อสร้างแล้วให้สัมปทานเส้นทางให้บีทีเอสไปดำเนินการก่อสร้างและเดินรถได้ บีทีเอสต้องกลับไปทำการบ้านเพิ่มเติม เพื่อนำข้อมูลมาหารือกันครั้งหน้า เข่น แนวคิดในการร่วมลงทุน แนวคิดในการเดินรถสินค้า เงื่อนไขของแหล่งเงินและผลตอบแทนต่างๆ ในขณะที่กระทรวงสนใจเรื่องการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงาน”
โดยโครงการรถไฟทางคู่ที่ก่อสร้างเสร็จแล้วคือช่วง แหลมฉบัง –ฉะเชิงเทรา และที่จะก่อสร้างภายในปีนี้ คือ เส้นทาง ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กม. วงเงิน 11,348.36 ล้านบาท อยู่ระหว่างการประกวดราคา,เส้นทาง มาบกะเบา –ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กม. วงเงิน 29,855.08 ล้านบาท อยู่ระหว่างพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ,เส้นทาง ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กม. วงเงิน 26,007.20
ล้านบาท ผ่านสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ทางบีทีเอส ไม่เข้าใจว่า กระทรวงคมนาคมมีแผนก่อสร้างรถไฟทางคู่แล้ว จึงเสนอก่อสร้างและเดินรถมาซึ่งคงไม่ได้ เพราะจะทำให้การก่อสร้างล่าช้า กว่าจะนำเสนอข้อมูลและตกลง ก็ใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี แผนงานรวมจะช้าไปหมด ดังนั้นจะเหลือในส่วนของการเดินรถที่บีทีเอสจะเสนอได้ โดยเข้าร่วมลงทุนโดยใช้รูปแบบ PPP
ส่วนการเปลี่ยนระบบรถไฟดีเซลเป็นระบบรถไฟฟ้านั้น ซึ่งตรงกับแนวคิดที่สนข.ที่ขณะนี้กำลังศึกษาการเดินรถไฟฟ้าเชื่อมต่อ ขนาดราง 1 เมตรเชื่อมจากมาเลเซีย-หาดใหญ่ ซึ่งจะสอดคล้องกับที่มาเลเซีย จะเดินรถไฟฟ้าขนาด 1 เมตรมาถึงชายแดนไทยดังนั้น หากอนาคตจะมีการปรับเปลี่ยนรถไฟทางคู่เป็นรถไฟฟ้าเหมือนประเทศมาเลเซีย หากบีทีเอสเข้ามาจะเป็นโครงการนำร่องที่เส้นทางสายอีสาน
อย่างไรก็ตามทางรถไฟปัจจุบันเมื่อทำเป็นรถไฟทางคู่แล้ว จะมีความจุในการเดินรถมากขึ้นซึ่งร.ฟ.ท.สามารถใช้รถไฟดีเซลวิ่งได้และมีส่วนที่ให้บีทีเอสเข้ามารับสัมปทานได้ ลักษณะใช้ทางร่วม หรือ Share Track หรือทางเดียวกันวิ่งได้หลายผู้ประกอบการ ซึ่งต้องไปศึกษาว่าจะใช้รถไฟฟ้าวิ่งได้วันละกี่ขบวน