**ระยะหลังดูเหมือนรัฐบาลจะทุ่มน้ำหนักไปที่เรื่องต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ตั้งแต่เรื่องยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ ที่น่าสนใจไม่น้อย
โดยเฉพาะการเดินทางมาเยือนประเทศไทยของ นายดมิทรี เมนเวเดฟ นายกรัฐมนตรีสหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งเกิดขึ้นภายในรอบ 25 ปี ที่ผู้นำชาติมหาอำนาจแดนหมีขาวแวะมาเยี่ยมเยียนประเทศไทย และช่วงระหว่างเดียวกัน “บิ๊กป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ขนลูกทีมบินไปประเทศจีน เพื่อหารือถึงการค้าการลงทุน ตลอดจนเรื่องความมั่นคง ที่ก่อนหน้าเคยไปถางทางเอาไว้บ้างแล้ว
ถือเป็นปรากฏการณ์ที่น่าจับตามองอย่างยิ่งยวด เพราะสองชาติมหาอำนาจสำคัญของโลกอย่างรัสเซียและจีน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับไทยในภาวะที่ชาติมหาอำนาจโลกอย่างสหรัฐอเมริกา ภายใต้การนำของ นายบารัก โอมาบา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กำลังขุ่นข้องหมองใจกับรัฐบาลทหารของ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในหลายๆ เรื่อง มีท่าทีที่เป็นด้านลบกับไทย ไม่ว่าจะเป็นการประกาศใช้กฎอัยการศึกก่อนหน้านี้ หรือแม้กระทั่งเปลี่ยนมาเป็น มาตรา 44 พี่เบิ้มมะกัน ก็ยังแยกเขี้ยวใส่
การที่สหรัฐฯ แอนตี้รัฐบาลทหารของไทย สุ่มเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะเรื่องการค้าการลงทุน และการให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ ที่เคยให้ก่อนหน้านี้ ซึ่งถูกลด หรือปรับระดับลงหลายอย่าง ขณะเดียวกัน ท่าทีดังกล่าวยังกระทบชิ่งไปถึงบรรดายักษ์ใหญ่แนวร่วมมะกันในยุโรป ที่จะแอกชั่นหรือแบนไทยในช่วงที่ยังไม่มีการเลือกตั้ง อย่างเรื่องที่จะมาถึงในเวลาอันใกล้นี้ ที่สหภาพยูโรป (อียู) กำลังประเมินไทยว่าจะผ่านหรือไม่ผ่าน ตามระเบียบว่าด้วยการป้องกัน ต่อต้าน และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงาน และไร้การควบคุม (ไอยูยู)
แน่นอนว่า หากไม่ผ่าน จะไปเข้าทางปืนของสหรัฐฯ ที่กำลังจะประกาศผลอันดับการค้ามนุษย์สัปดาห์ที่สามของเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งรัฐบาลไทยกำลังหัวใจเต้นระทึกว่า จะจมอยู่ในอันดับ เทียร์ 3 เหมือนเดิมหรือไม่ เพราะมันอาจกลายเป็นการไปเพิ่มน้ำหนักให้สหรัฐฯ จับไทยแช่แข็งอยู่ที่เดิม โดยมีข้ออ้างที่จะหยิบยกมาบวกกับความหมั่นไส้ หากเป็นเช่นนั้นไทยจะได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าเกินกว่าร้อยละ 20
หากไทยไม่ขยับตัวอะไรต่อยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศในตอนนี้ กับอายุรัฐบาลตามโรดแมปที่ยังเหลืออีกเกือบ 1 ปี ช่วงเวลาที่เหลืออาจเข้าขั้นทรุดหนัก และตกที่นั่งลำบากได้ การมาเยือนของนายกรัฐมนตรีรัสเซีย ซึ่งเป็นเบอร์สองของชาติหมีขาว รองจาก นายวราดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียหนนี้ กับการเดินทางไปประเทศจีนของ“บิ๊กป้อม”ในช่วงเวลาเดียวกัน ตลอดจนช่วงสัปดาห์ก่อนที่ที่ปรึกษาพิเศษของ นายนเรนทรา โมดี โมดี แห่งอินเดียมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะผู้แทนนายกฯอินเดีย ส่งสัญญาณให้เห็นว่า ยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศของ “รัฐบาลบิ๊กตู่”กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง
**ทั่วโลกรับรู้กันดีว่า“จีน”และ “รัสเซีย”คือ สองชาติมหาอำนาจที่กำลังคาน“สหรัฐฯ” การมาเยือนไทยในช่วงที่มะกันกับรัฐบาลทหารกำลังกระท่อนกระแท่น ย่อมทำให้บิ๊กเบิ้มที่พยายามทำตัวเป็นเจ้าโลกเสียวสันหลังวาบ โดยเฉพาะวรรคทองของ “บิ๊กตู่” ที่ทิ้งท้ายตอนแถลงร่วมกับนายกฯรัสเซีย ยิ่งกระแทกใจ “คำว่าเพื่อนจะสำคัญที่สุดก็เมื่อเพื่อนมีปัญหา ต้องการแรงใจ แรงหนุนจากเพื่อน วันนี้นายกฯรัสเซีย และประเทศรัสเซียให้ความเป็นเพื่อนกับเรา จะรักษามิตรภาพเหล่านี้ให้ยั่งยืนมากที่สุด ขอบคุณทุกอย่างในความเข้าใจ”
แม้ไม่เอ่ยนามหรือใส่กันตรงๆ แต่สหรัฐฯ ย่อมร้อนตัวแน่ เพราะที่ผ่านมาชาติที่พยายามไม่เข้าใจไทยมากที่สุด หรือเข้าใจแต่แสร้งไม่เข้าใจ หนำซ้ำยังมีท่าทีโน้มเอียงไปทางฝั่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่กระเด็นตกเก้าอี้ไป ต่อให้รัฐบาลจะพยายามชี้แจงปากเปียกปากแฉะแค่ไหนก็ตาม นั่นคือ สหรัฐฯเอง
เมื่อสหรัฐฯมีข้อจำกัดกับไทยหลายเรื่อง“รัฐบาลบิ๊กตู่”จึงจำต้องมองหาตัวเลือกอื่นๆ ที่พอพึ่งพิงได้ โดยชาติแรกๆ ที่เข้ามาหาไทยก่อนใครเพื่อนนั่นคือ “จีน”ที่ยังคงความแน่นแฟ้น และช่วยเหลือมาตลอด และเมื่อมี “จีน”ก็ต้องมี “รัสเซีย”ที่แพ็กคู่กันในเวทีโลก ซึ่งการจูบปากของ“จีน –รัสเซีย”กับไทย ต่างมียุทธศาสตร์ในลักษณะน้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า ต่างฝ่ายต่างต้องการอะไรบางอย่างทั้งคู่
**จากนี้เลยต้องจับตาดูว่า สหรัฐฯ ที่ไทยแสดงสัญญาณบางอย่างออกไปว่า ไม่ง้อ จะเต้นแร้งเต้นกามากมายขนาดไหน แล้วจะพยายามเอาคืนอย่างไร ในวันที่ไทยโผกายขอซบตักคู่อริตัวเองอย่าง “จีน”และ“รัสเซีย” แน่นอนว่า งานด้านต่างประเทศของไทยจะสนุกน่าติดตาม
โดยนิสัยสหรัฐฯเมื่อเห็นเช่นนี้ โดยธรรมชาติไม่วายจะพยายามตอดเล็กตอดน้อยไทยต่อไป หรืออาจจะโหมเกมต่างประเทศที่มีอยู่ในมือใส่ไทยเข้าไปอีก กับเพื่อนซี้นักโทษชายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีหนีคดีโกง ที่ไปหว่านจ้างบรรดาล็อบบี้ยิสต์มือดีไว้ทั่วโลก รวมถึงในสหรัฐฯเอง จะเค้นมาตรการบีบรัดไทยไม้ไหนอีก เกมต่างประเทศหลังจากนี้เหนื่อยแน่ แต่ต้องดูว่า “บิ๊กตู่”จะเอาตัวรอดอย่างไร
อย่างกรณีร่างรัฐธรรมนูญที่อยู่ๆ สั่งให้คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ กับรัฐบาลวางแผน แล้วร่อนจดหมายเชิญประเทศต่างๆ ที่เคยเจอปัญหาวิกฤตการณ์ความขัดแย้ง เคยเกิดการรัฐประหาร จนมีรัฐธรรมนูญ กระทั่งผ่านพ้นมาได้ มาเล่าสู่กันฟังว่า ผ่านช่วงเวลานั้นมาได้อย่างไร
เซอร์ไพร์สพอสมควร เพราะก่อนหน้านี้รัฐบาลไม่มีวี่แววว่าจะชวนต่างประเทศมาข้องเกี่ยวอะไรกับรัฐธรรมนูญเลย ปฏิกิริยาดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลเองก็กำลังหวั่นๆ กับเกมต่างประเทศเหมือนกัน โดยเฉพาะเรื่องรัฐธรรมนูญ ที่อาจถูกฝ่ายต้านและล็อบบี้ยิสต์ นำไปประโคมโหมข่าวดิสเครดิตจนไม่เป็นที่ยอมรับ เหมือนกับเรื่องกฎอัยการศึก ศาลทหาร มาตรา 44 ที่ถูกบิดเบือนจนงอมพระราม เดือดร้อนต้องเปิดกระทรวงบัวแก้วเชิญทูต 66 ประเทศมาแจง
การดึงบางประเทศมามีส่วนร่วม โดยเฉพาะประเทศที่มีประสบการณ์เรื่องนี้อย่างเยอรมัน หรือฝรั่งเศส ยักษ์ใหญ่ในยุโรป อย่างน้อยจะแสดงให้เห็นว่า การร่างกติกาสูงสุดของประเทศไทยครั้งนี้ ยึดความรู้สึกของคนไทย และการยอมรับของต่างประเทศ ไม่ได้ปิดหูปิดตา ตั้งธง อย่างที่ตัวเองคิด
ขณะเดียวกัน ยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันแต่เนิ่นๆ หลังเห็นสัญญาณแล้วว่า ในช่วงโค้งสุดท้ายพรรคเพื่อไทย เสื้อแดง องค์กรสิทธิมนุษยชนทั้งหลาย เล็งจะหยิบประเด็นนี้มากระทุ้งให้บานปลาย กลายเป็นเรื่องใหญ่โตระดับชาติ
แม้จะตั้งใจดี แต่งานนี้เหนื่อยแน่ เพราะกำลังสู้กับล็อบบี้ยิสต์ที่ฝีมือฉกาจ ผนวกชาติอำนาจที่สุดเขี้ยว ลำพังกลไกต่างประเทศของไทยจะไหวหรือเปล่า ตามทฤษฎีน้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ
**มีข่าวออกมาเหมือนกันว่า รัฐบาลก็ชักท้อ อาจเปลี่ยนใจหันไปจ้างล็อบบี้ยิสต์มาสู้ให้สูสี
โดยเฉพาะการเดินทางมาเยือนประเทศไทยของ นายดมิทรี เมนเวเดฟ นายกรัฐมนตรีสหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งเกิดขึ้นภายในรอบ 25 ปี ที่ผู้นำชาติมหาอำนาจแดนหมีขาวแวะมาเยี่ยมเยียนประเทศไทย และช่วงระหว่างเดียวกัน “บิ๊กป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ขนลูกทีมบินไปประเทศจีน เพื่อหารือถึงการค้าการลงทุน ตลอดจนเรื่องความมั่นคง ที่ก่อนหน้าเคยไปถางทางเอาไว้บ้างแล้ว
ถือเป็นปรากฏการณ์ที่น่าจับตามองอย่างยิ่งยวด เพราะสองชาติมหาอำนาจสำคัญของโลกอย่างรัสเซียและจีน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับไทยในภาวะที่ชาติมหาอำนาจโลกอย่างสหรัฐอเมริกา ภายใต้การนำของ นายบารัก โอมาบา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กำลังขุ่นข้องหมองใจกับรัฐบาลทหารของ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในหลายๆ เรื่อง มีท่าทีที่เป็นด้านลบกับไทย ไม่ว่าจะเป็นการประกาศใช้กฎอัยการศึกก่อนหน้านี้ หรือแม้กระทั่งเปลี่ยนมาเป็น มาตรา 44 พี่เบิ้มมะกัน ก็ยังแยกเขี้ยวใส่
การที่สหรัฐฯ แอนตี้รัฐบาลทหารของไทย สุ่มเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะเรื่องการค้าการลงทุน และการให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ ที่เคยให้ก่อนหน้านี้ ซึ่งถูกลด หรือปรับระดับลงหลายอย่าง ขณะเดียวกัน ท่าทีดังกล่าวยังกระทบชิ่งไปถึงบรรดายักษ์ใหญ่แนวร่วมมะกันในยุโรป ที่จะแอกชั่นหรือแบนไทยในช่วงที่ยังไม่มีการเลือกตั้ง อย่างเรื่องที่จะมาถึงในเวลาอันใกล้นี้ ที่สหภาพยูโรป (อียู) กำลังประเมินไทยว่าจะผ่านหรือไม่ผ่าน ตามระเบียบว่าด้วยการป้องกัน ต่อต้าน และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงาน และไร้การควบคุม (ไอยูยู)
แน่นอนว่า หากไม่ผ่าน จะไปเข้าทางปืนของสหรัฐฯ ที่กำลังจะประกาศผลอันดับการค้ามนุษย์สัปดาห์ที่สามของเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งรัฐบาลไทยกำลังหัวใจเต้นระทึกว่า จะจมอยู่ในอันดับ เทียร์ 3 เหมือนเดิมหรือไม่ เพราะมันอาจกลายเป็นการไปเพิ่มน้ำหนักให้สหรัฐฯ จับไทยแช่แข็งอยู่ที่เดิม โดยมีข้ออ้างที่จะหยิบยกมาบวกกับความหมั่นไส้ หากเป็นเช่นนั้นไทยจะได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าเกินกว่าร้อยละ 20
หากไทยไม่ขยับตัวอะไรต่อยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศในตอนนี้ กับอายุรัฐบาลตามโรดแมปที่ยังเหลืออีกเกือบ 1 ปี ช่วงเวลาที่เหลืออาจเข้าขั้นทรุดหนัก และตกที่นั่งลำบากได้ การมาเยือนของนายกรัฐมนตรีรัสเซีย ซึ่งเป็นเบอร์สองของชาติหมีขาว รองจาก นายวราดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียหนนี้ กับการเดินทางไปประเทศจีนของ“บิ๊กป้อม”ในช่วงเวลาเดียวกัน ตลอดจนช่วงสัปดาห์ก่อนที่ที่ปรึกษาพิเศษของ นายนเรนทรา โมดี โมดี แห่งอินเดียมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะผู้แทนนายกฯอินเดีย ส่งสัญญาณให้เห็นว่า ยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศของ “รัฐบาลบิ๊กตู่”กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง
**ทั่วโลกรับรู้กันดีว่า“จีน”และ “รัสเซีย”คือ สองชาติมหาอำนาจที่กำลังคาน“สหรัฐฯ” การมาเยือนไทยในช่วงที่มะกันกับรัฐบาลทหารกำลังกระท่อนกระแท่น ย่อมทำให้บิ๊กเบิ้มที่พยายามทำตัวเป็นเจ้าโลกเสียวสันหลังวาบ โดยเฉพาะวรรคทองของ “บิ๊กตู่” ที่ทิ้งท้ายตอนแถลงร่วมกับนายกฯรัสเซีย ยิ่งกระแทกใจ “คำว่าเพื่อนจะสำคัญที่สุดก็เมื่อเพื่อนมีปัญหา ต้องการแรงใจ แรงหนุนจากเพื่อน วันนี้นายกฯรัสเซีย และประเทศรัสเซียให้ความเป็นเพื่อนกับเรา จะรักษามิตรภาพเหล่านี้ให้ยั่งยืนมากที่สุด ขอบคุณทุกอย่างในความเข้าใจ”
แม้ไม่เอ่ยนามหรือใส่กันตรงๆ แต่สหรัฐฯ ย่อมร้อนตัวแน่ เพราะที่ผ่านมาชาติที่พยายามไม่เข้าใจไทยมากที่สุด หรือเข้าใจแต่แสร้งไม่เข้าใจ หนำซ้ำยังมีท่าทีโน้มเอียงไปทางฝั่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่กระเด็นตกเก้าอี้ไป ต่อให้รัฐบาลจะพยายามชี้แจงปากเปียกปากแฉะแค่ไหนก็ตาม นั่นคือ สหรัฐฯเอง
เมื่อสหรัฐฯมีข้อจำกัดกับไทยหลายเรื่อง“รัฐบาลบิ๊กตู่”จึงจำต้องมองหาตัวเลือกอื่นๆ ที่พอพึ่งพิงได้ โดยชาติแรกๆ ที่เข้ามาหาไทยก่อนใครเพื่อนนั่นคือ “จีน”ที่ยังคงความแน่นแฟ้น และช่วยเหลือมาตลอด และเมื่อมี “จีน”ก็ต้องมี “รัสเซีย”ที่แพ็กคู่กันในเวทีโลก ซึ่งการจูบปากของ“จีน –รัสเซีย”กับไทย ต่างมียุทธศาสตร์ในลักษณะน้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า ต่างฝ่ายต่างต้องการอะไรบางอย่างทั้งคู่
**จากนี้เลยต้องจับตาดูว่า สหรัฐฯ ที่ไทยแสดงสัญญาณบางอย่างออกไปว่า ไม่ง้อ จะเต้นแร้งเต้นกามากมายขนาดไหน แล้วจะพยายามเอาคืนอย่างไร ในวันที่ไทยโผกายขอซบตักคู่อริตัวเองอย่าง “จีน”และ“รัสเซีย” แน่นอนว่า งานด้านต่างประเทศของไทยจะสนุกน่าติดตาม
โดยนิสัยสหรัฐฯเมื่อเห็นเช่นนี้ โดยธรรมชาติไม่วายจะพยายามตอดเล็กตอดน้อยไทยต่อไป หรืออาจจะโหมเกมต่างประเทศที่มีอยู่ในมือใส่ไทยเข้าไปอีก กับเพื่อนซี้นักโทษชายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีหนีคดีโกง ที่ไปหว่านจ้างบรรดาล็อบบี้ยิสต์มือดีไว้ทั่วโลก รวมถึงในสหรัฐฯเอง จะเค้นมาตรการบีบรัดไทยไม้ไหนอีก เกมต่างประเทศหลังจากนี้เหนื่อยแน่ แต่ต้องดูว่า “บิ๊กตู่”จะเอาตัวรอดอย่างไร
อย่างกรณีร่างรัฐธรรมนูญที่อยู่ๆ สั่งให้คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ กับรัฐบาลวางแผน แล้วร่อนจดหมายเชิญประเทศต่างๆ ที่เคยเจอปัญหาวิกฤตการณ์ความขัดแย้ง เคยเกิดการรัฐประหาร จนมีรัฐธรรมนูญ กระทั่งผ่านพ้นมาได้ มาเล่าสู่กันฟังว่า ผ่านช่วงเวลานั้นมาได้อย่างไร
เซอร์ไพร์สพอสมควร เพราะก่อนหน้านี้รัฐบาลไม่มีวี่แววว่าจะชวนต่างประเทศมาข้องเกี่ยวอะไรกับรัฐธรรมนูญเลย ปฏิกิริยาดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลเองก็กำลังหวั่นๆ กับเกมต่างประเทศเหมือนกัน โดยเฉพาะเรื่องรัฐธรรมนูญ ที่อาจถูกฝ่ายต้านและล็อบบี้ยิสต์ นำไปประโคมโหมข่าวดิสเครดิตจนไม่เป็นที่ยอมรับ เหมือนกับเรื่องกฎอัยการศึก ศาลทหาร มาตรา 44 ที่ถูกบิดเบือนจนงอมพระราม เดือดร้อนต้องเปิดกระทรวงบัวแก้วเชิญทูต 66 ประเทศมาแจง
การดึงบางประเทศมามีส่วนร่วม โดยเฉพาะประเทศที่มีประสบการณ์เรื่องนี้อย่างเยอรมัน หรือฝรั่งเศส ยักษ์ใหญ่ในยุโรป อย่างน้อยจะแสดงให้เห็นว่า การร่างกติกาสูงสุดของประเทศไทยครั้งนี้ ยึดความรู้สึกของคนไทย และการยอมรับของต่างประเทศ ไม่ได้ปิดหูปิดตา ตั้งธง อย่างที่ตัวเองคิด
ขณะเดียวกัน ยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันแต่เนิ่นๆ หลังเห็นสัญญาณแล้วว่า ในช่วงโค้งสุดท้ายพรรคเพื่อไทย เสื้อแดง องค์กรสิทธิมนุษยชนทั้งหลาย เล็งจะหยิบประเด็นนี้มากระทุ้งให้บานปลาย กลายเป็นเรื่องใหญ่โตระดับชาติ
แม้จะตั้งใจดี แต่งานนี้เหนื่อยแน่ เพราะกำลังสู้กับล็อบบี้ยิสต์ที่ฝีมือฉกาจ ผนวกชาติอำนาจที่สุดเขี้ยว ลำพังกลไกต่างประเทศของไทยจะไหวหรือเปล่า ตามทฤษฎีน้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ
**มีข่าวออกมาเหมือนกันว่า รัฐบาลก็ชักท้อ อาจเปลี่ยนใจหันไปจ้างล็อบบี้ยิสต์มาสู้ให้สูสี