วานนี้ (1เม.ย.) เครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ นำโดย พท.พ.ญ. กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี ได้เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินผ่าน นายดนัย จันทิม ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบเรื่องร้องเรียน สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้พิจารณาตรวจสอบจริยธรรม สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คณะรัฐมนตรี และ อธิการบดี กรณีการเสนอผ่านพ.ร.บ.มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ เนื่องจากเห็นว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อตนเอง พวกพ้อง เข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน
พ.ญ.กมลพรรณ กล่าวว่า ในอดีตรัฐบาลมีมติให้มหาวิทยาลัย 7 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยทักษิณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ออกนอกระบบ โอยด้างว่า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และความคล่องตัวในการบริหาร แต่ปัจจุบันกลับพบว่า ประสิทธิภาพการศึกษาของเด็กไทยตกต่ำ แพ้แม้กระทั่งเวียดนาม ประโยชน์ของการที่เอามหาวิทยาลัยออกนอกระบบ มีเพียงเพื่อ อธิการบดี คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยต่างๆ ได้รับรายได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเงินเดือนมากกว่านายกรัฐมนตรี และขณะนี้ คณะรัฐมนตรีได้เสนอ ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ อีก 5 แห่ง คือ ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ และ ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยลัยกาฬสินธุ์ ซึ่งบางฉบับก็ผ่านการพิจารณา วาระ 1 ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติไปแล้ว
แต่ทั้งนี้ใน 5 แห่งดังกล่าว พบว่า บางแห่งอธิการบดีของมหาวิทยาลัยดังกล่าว ดำรงตำแหน่งเป็น สนช.อยู่ด้วย เช่น นายวุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายกิตติชัย ไตรรัตน์ศิริชัย อธิการบดี มหาวิทยาลับขอนแก่น นายเฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ
ดังนั้น การที่คณะรัฐมนตรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยดังกล่าว จะสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยของตนเอง ให้ออกนอกระบบในฐานะสนช. จะถือว่าเข้าข่ายเป็นข้าราชการพลเรือนใช้ตำแหน่งเพื่อเอื้อประโยชน์ตนเอง โดยเสนอกฎหมายดังกล่าว เพื่อเพิมเงินเดือน และค่าตอบแทนให้แก่ตนเอง และพวกพ้อง อันเป็นการกระทำผิดต่อประมวลจริยธรรมข้าราชการเมือง ข้อ 5 (2,3) ข้อ 6 (3)และข้อ 7 (4) อีกทั้งเป็นการกระทำความผิดต่อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยประมวลจริยธรรมข้าราชการเมือง ข้อ 6(4) , 12 , 13 ,14 หรือไม่ และขอให้ตรวจสอบว่า การเอามหาวิทยาลัยออกนอกระบบแต่ละแห่งไปแล้ว ได้ผลประโยชน์ในเรื่องประสิทธิภาพการเรียนการสอนเพิ่มขึ้นตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ มีหลักฐานใดประกอบ มีค่าเล่าเรียนหรืออัตราค่าตอบแทน เพิ่มขึ้นเท่าใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ทางเครือข่าย ก็ได้มีการไปยื่นร้องประเด็นเดียวกันต่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยเพิ่มเติมขอให้พิจารณาด้วยว่า การกระทำของคณะรัฐมนตรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยที่เป็น สนช. ในกรณีดังกล่าว เข้าข่ายเป็นความผิดทางอาญา ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม มาตรา 157 152 148 หรือไม่ และได้ยื่นเรื่องต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ขอให้ตรวจสอบรายรับ รายจ่าย ของมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบไปก่อนหน้านี้ และที่กำลังดำเนินการจะออกนอกระบบอยู่ และเงินสนับสนุนที่ได้จากงบประมาณแผ่นดินด้วยว่ามีการใช้จ่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
พ.ญ.กมลพรรณ กล่าวว่า ในอดีตรัฐบาลมีมติให้มหาวิทยาลัย 7 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยทักษิณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ออกนอกระบบ โอยด้างว่า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และความคล่องตัวในการบริหาร แต่ปัจจุบันกลับพบว่า ประสิทธิภาพการศึกษาของเด็กไทยตกต่ำ แพ้แม้กระทั่งเวียดนาม ประโยชน์ของการที่เอามหาวิทยาลัยออกนอกระบบ มีเพียงเพื่อ อธิการบดี คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยต่างๆ ได้รับรายได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเงินเดือนมากกว่านายกรัฐมนตรี และขณะนี้ คณะรัฐมนตรีได้เสนอ ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ อีก 5 แห่ง คือ ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ และ ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยลัยกาฬสินธุ์ ซึ่งบางฉบับก็ผ่านการพิจารณา วาระ 1 ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติไปแล้ว
แต่ทั้งนี้ใน 5 แห่งดังกล่าว พบว่า บางแห่งอธิการบดีของมหาวิทยาลัยดังกล่าว ดำรงตำแหน่งเป็น สนช.อยู่ด้วย เช่น นายวุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายกิตติชัย ไตรรัตน์ศิริชัย อธิการบดี มหาวิทยาลับขอนแก่น นายเฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ
ดังนั้น การที่คณะรัฐมนตรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยดังกล่าว จะสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยของตนเอง ให้ออกนอกระบบในฐานะสนช. จะถือว่าเข้าข่ายเป็นข้าราชการพลเรือนใช้ตำแหน่งเพื่อเอื้อประโยชน์ตนเอง โดยเสนอกฎหมายดังกล่าว เพื่อเพิมเงินเดือน และค่าตอบแทนให้แก่ตนเอง และพวกพ้อง อันเป็นการกระทำผิดต่อประมวลจริยธรรมข้าราชการเมือง ข้อ 5 (2,3) ข้อ 6 (3)และข้อ 7 (4) อีกทั้งเป็นการกระทำความผิดต่อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยประมวลจริยธรรมข้าราชการเมือง ข้อ 6(4) , 12 , 13 ,14 หรือไม่ และขอให้ตรวจสอบว่า การเอามหาวิทยาลัยออกนอกระบบแต่ละแห่งไปแล้ว ได้ผลประโยชน์ในเรื่องประสิทธิภาพการเรียนการสอนเพิ่มขึ้นตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ มีหลักฐานใดประกอบ มีค่าเล่าเรียนหรืออัตราค่าตอบแทน เพิ่มขึ้นเท่าใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ทางเครือข่าย ก็ได้มีการไปยื่นร้องประเด็นเดียวกันต่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยเพิ่มเติมขอให้พิจารณาด้วยว่า การกระทำของคณะรัฐมนตรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยที่เป็น สนช. ในกรณีดังกล่าว เข้าข่ายเป็นความผิดทางอาญา ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม มาตรา 157 152 148 หรือไม่ และได้ยื่นเรื่องต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ขอให้ตรวจสอบรายรับ รายจ่าย ของมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบไปก่อนหน้านี้ และที่กำลังดำเนินการจะออกนอกระบบอยู่ และเงินสนับสนุนที่ได้จากงบประมาณแผ่นดินด้วยว่ามีการใช้จ่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่