ASTVผู้จัดการรายวัน-เงินเฟ้อ มี.ค.ติดลบ 0.57% ต่ำสุดในรอบ 5 ปี 6 เดือน เหตุน้ำมันที่ลดลงเป็นตัวฉุด เผยสินค้าส่วนใหญ่ยังคงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปฉุดไม่อยู่ ทั้งในบ้าน นอกบ้าน “สมเกียรติ” ยันไม่เกิดภาวะเงินฝืด เหตุคนยังจับจ่ายใช้สอย โรงงานยังผลิต คาดเงินเฟ้อยังทรงตัวต่ำต่อถึงไตรมาส 2 และจะเริ่มดีดตัวขึ้น
นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ (เงินเฟ้อ) เดือน มี.ค. 2558 เท่ากับ 106.33 เทียบกับเดือน ก.พ. 2558 สูงขึ้น 0.17% เทียบกับเดือน มี.ค. 2557 ลดลง 0.57% เป็นอัตราการติดลบที่ต่ำสุดในรอบ 5 ปี 6 เดือน หรือ 66 เดือน นับจากเดือน ก.ย. 2552 ที่เงินเฟ้อติดลบ 1% และเมื่อเทียบเฉลี่ย 3 เดือนของปี 2558 (ม.ค.-มี.ค.) ลดลง 0.52%
สาเหตุที่เงินเฟ้อเดือน มี.ค.ลดลง 0.57% เนื่องจากดัชนีราคาหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ลดลง 1.53% โดยน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลง 19.49% การสื่อสารลด 0.03% แต่เครื่องนุ่งห่มและรองเท้าเพิ่ม 0.84% เคหสถานเพิ่ม 1.37% การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลเพิ่ม 1.15% การบันเทิง การอ่าน และการศาสนาเพิ่ม 0.59% ขณะที่ดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้น 1.25% เช่น ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์เพิ่ม 0.42% เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำเพิ่ม 0.33% เครื่องประกอบอาหารเพิ่ม 2.53% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่ม 0.97% และอาหารสำเร็จรูปเพิ่ม 2.58% โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของอาหารบริโภคในบ้าน 2.18% อาหารบริโภคนอกบ้าน 3.27% ส่วนไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลง 3.04% ผักและผลไม้ลดลง 0.06%
"เงินเฟ้อเดือน มี.ค. ที่ปรับตัวลดลงเป็นเพราะราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยลดลงถึง 19.49% และยังทำให้สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันมีต้นทุนถูกลง และดึงราคาตัวอื่นๆ ปรับตัวลดลงตามไปด้วย"นายสมเกียรติกล่าว
ทั้งนี้ เมื่อแยกเป็นรายการสินค้า 450 รายการที่ใช้ในการคำนวณเงินเฟ้อ พบว่า มีสินค้าราคาสูงขึ้น 149 รายการ คิดเป็นสัดส่วน 33.11% สินค้าที่ราคาเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่อยู่ในหมวดบริการ เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าทำผม ค่ายาค่าเจาะเลือด เป็นต้น สินค้าที่ราคาลดลง 92 รายการ คิดเป็นสัดส่วน 20.44% และสินค้าที่ราคาคงที่ 209 รายการ คิดเป็นสัดส่วน 46.45%
นายสมเกียรติกล่าวว่า การที่เงินเฟ้อเดือน มี.ค.ติดลบ .057% และเป็นการติดลบต่อเนื่องกัน 3 เดือนนับจากเดือน ม.ค. 2558 ยังไม่ถือว่าเป็นภาวะเงินฝืด เพราะเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งหักหมวดอาหารและพลังงานออกยังเป็นบวก โดยเมื่อเทียบกับเดือน ก.พ. 2558 ลดลง 0.06% แต่เมื่อเทียบ มี.ค. 2557 สูงขึ้น 1.31% และการที่เงินเฟ้อลดลงเป็นไปตามการลดลงของกลุ่มพลังงาน ไม่ได้หมายความว่าประชาชนไม่ซื้อ ผู้ผลิตไม่ผลิตสินค้าออกมา ทุกอย่างยังเป็นปกติ
"เงินฝืดต้องดูปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบกัน เพราะตามทฤษฎีบอกว่าต้องลบติดต่อกัน 6 เดือนถึงจะเป็นเงินฝืด และเงินฝืดจะเกิดก็ต่อเมื่อคนไม่คิดจะซื้อ คนขายก็ต้องลดราคาขายลงมาเพื่อให้คนซื้อ แต่คนก็ยังไม่ซื้อเพราะคิดว่าราคาจะลดลงอีก หากทุกคนคิดแบบนี้จะเป็นเงินฝืด แต่ในขณะนี้ไม่ใช่ ทุกอย่างยังเป็นปกติ แต่ตอนนี้มันมีปัจจัยอย่างเรื่องน้ำมันเข้ามา มันเลยเกิดความผิดปกติ ส่วนตอนปี 2552 ที่เงินเฟ้อติดลบ 6-7 เดือนก็ไม่เกิดเงินฝืด เพราะตอนนั้นรัฐบาลมีมาตรการทำให้ราคาสินค้าและพลังงานลดลง” นายสมเกียรติกล่าว
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเงินเฟ้อของไทยจะยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาส 2 คาดว่าจะติดลบในกรอบ 0.5-0.7% แต่จะเริ่มปรับตัวขึ้นเรื่อยๆ และคาดว่าทั้งปีจะกลับมาเป็นบวกได้ โดยยังคงยืนยันเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 0.6-1.3% ภายใต้สมมุติฐานเศรษฐกิจไทยปี 2558 ขยายตัว 3-4% น้ำมันดิบตลาดดูไบเฉลี่ย 50-60 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 32-34 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ (เงินเฟ้อ) เดือน มี.ค. 2558 เท่ากับ 106.33 เทียบกับเดือน ก.พ. 2558 สูงขึ้น 0.17% เทียบกับเดือน มี.ค. 2557 ลดลง 0.57% เป็นอัตราการติดลบที่ต่ำสุดในรอบ 5 ปี 6 เดือน หรือ 66 เดือน นับจากเดือน ก.ย. 2552 ที่เงินเฟ้อติดลบ 1% และเมื่อเทียบเฉลี่ย 3 เดือนของปี 2558 (ม.ค.-มี.ค.) ลดลง 0.52%
สาเหตุที่เงินเฟ้อเดือน มี.ค.ลดลง 0.57% เนื่องจากดัชนีราคาหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ลดลง 1.53% โดยน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลง 19.49% การสื่อสารลด 0.03% แต่เครื่องนุ่งห่มและรองเท้าเพิ่ม 0.84% เคหสถานเพิ่ม 1.37% การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลเพิ่ม 1.15% การบันเทิง การอ่าน และการศาสนาเพิ่ม 0.59% ขณะที่ดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้น 1.25% เช่น ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์เพิ่ม 0.42% เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำเพิ่ม 0.33% เครื่องประกอบอาหารเพิ่ม 2.53% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่ม 0.97% และอาหารสำเร็จรูปเพิ่ม 2.58% โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของอาหารบริโภคในบ้าน 2.18% อาหารบริโภคนอกบ้าน 3.27% ส่วนไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลง 3.04% ผักและผลไม้ลดลง 0.06%
"เงินเฟ้อเดือน มี.ค. ที่ปรับตัวลดลงเป็นเพราะราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยลดลงถึง 19.49% และยังทำให้สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันมีต้นทุนถูกลง และดึงราคาตัวอื่นๆ ปรับตัวลดลงตามไปด้วย"นายสมเกียรติกล่าว
ทั้งนี้ เมื่อแยกเป็นรายการสินค้า 450 รายการที่ใช้ในการคำนวณเงินเฟ้อ พบว่า มีสินค้าราคาสูงขึ้น 149 รายการ คิดเป็นสัดส่วน 33.11% สินค้าที่ราคาเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่อยู่ในหมวดบริการ เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าทำผม ค่ายาค่าเจาะเลือด เป็นต้น สินค้าที่ราคาลดลง 92 รายการ คิดเป็นสัดส่วน 20.44% และสินค้าที่ราคาคงที่ 209 รายการ คิดเป็นสัดส่วน 46.45%
นายสมเกียรติกล่าวว่า การที่เงินเฟ้อเดือน มี.ค.ติดลบ .057% และเป็นการติดลบต่อเนื่องกัน 3 เดือนนับจากเดือน ม.ค. 2558 ยังไม่ถือว่าเป็นภาวะเงินฝืด เพราะเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งหักหมวดอาหารและพลังงานออกยังเป็นบวก โดยเมื่อเทียบกับเดือน ก.พ. 2558 ลดลง 0.06% แต่เมื่อเทียบ มี.ค. 2557 สูงขึ้น 1.31% และการที่เงินเฟ้อลดลงเป็นไปตามการลดลงของกลุ่มพลังงาน ไม่ได้หมายความว่าประชาชนไม่ซื้อ ผู้ผลิตไม่ผลิตสินค้าออกมา ทุกอย่างยังเป็นปกติ
"เงินฝืดต้องดูปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบกัน เพราะตามทฤษฎีบอกว่าต้องลบติดต่อกัน 6 เดือนถึงจะเป็นเงินฝืด และเงินฝืดจะเกิดก็ต่อเมื่อคนไม่คิดจะซื้อ คนขายก็ต้องลดราคาขายลงมาเพื่อให้คนซื้อ แต่คนก็ยังไม่ซื้อเพราะคิดว่าราคาจะลดลงอีก หากทุกคนคิดแบบนี้จะเป็นเงินฝืด แต่ในขณะนี้ไม่ใช่ ทุกอย่างยังเป็นปกติ แต่ตอนนี้มันมีปัจจัยอย่างเรื่องน้ำมันเข้ามา มันเลยเกิดความผิดปกติ ส่วนตอนปี 2552 ที่เงินเฟ้อติดลบ 6-7 เดือนก็ไม่เกิดเงินฝืด เพราะตอนนั้นรัฐบาลมีมาตรการทำให้ราคาสินค้าและพลังงานลดลง” นายสมเกียรติกล่าว
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเงินเฟ้อของไทยจะยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาส 2 คาดว่าจะติดลบในกรอบ 0.5-0.7% แต่จะเริ่มปรับตัวขึ้นเรื่อยๆ และคาดว่าทั้งปีจะกลับมาเป็นบวกได้ โดยยังคงยืนยันเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 0.6-1.3% ภายใต้สมมุติฐานเศรษฐกิจไทยปี 2558 ขยายตัว 3-4% น้ำมันดิบตลาดดูไบเฉลี่ย 50-60 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 32-34 บาทต่อเหรียญสหรัฐ