การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เมื่อวานนี้ (31มี.ค.) ได้พิจารณารายงานของ คณะกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง เรื่องการปฏิรูประบบการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจ โดยนายสมชัย ฤชุพันธ์ ประธาน กมธ.ฯ รายงานว่า ปัญหาสำคัญของรัฐวิสาหกิจ คือการปฏิบัติงานทับซ้อน ผลประกอบการขาดทุน เพราะต้องปฏิบัติตามภารกิจของรัฐบาล และการบริหารงานที่ขาดประสิทธิภาพ อีกทั้งยังขาดการจำแนกหน้าที่ของรัฐวิสาหกิจอย่างชัดเจน เช่น รัฐวิสาหกิจที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว ควรมุ่งส่งเสริมการท่องเที่ยว ไม่ใช่การมุ่งหารายได้ นอกจากนั้นรัฐบาลจะต้องทบทวนว่า ควรคงไว้ซึ่งรัฐวิสาหกิจบางองค์กรหรือไม่ หรือควรแปลงสภาพองค์กรให้เป็นแบบอื่น ทั้งนี้มีแนวทางปฏิรูป 3 แนวทาง คือ
1. กำหนดบทบาทของรัฐวิสาหกิจให้ชัดเจน ระหว่างองค์กรที่กำหนดนโยบาย และผู้กำกับดูแล เจ้าของ และผู้ให้บริการ ซึ่งขณะนี้เกิดความสับสนในหน้าที่ดังกล่าว เช่น องค์กรที่กำหนดนโยบายทำหน้าที่ให้บริการเสียเอง หรือ กรรมการในองค์กรกำกับดูแล ไปเป็นกรรมการในองค์กรใต้กำกับดูแลเสียเอง เป็นต้น
2. องค์กรที่เป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจ เสนอให้จัดตั้งหน่วยงานที่เป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจแทน ในลักษณะองค์กรที่รัฐเข้าไปถือหุ้น หรือองค์กรอิสระ
3. รัฐบาลสามารถใช้รัฐวิสาหกิจในการดำเนินงานเป็นกรณีพิเศษ ตามนโยบายของรัฐบาลได้ โดยแยกบัญชีของการดำเนินงานนโยบายของรัฐออกต่างหาก โดยตั้งเป็น "บัญชีบริการสาธารณะ"
ทั้งนี้ ข้อเสนอในการปฏิรูปต่อรัฐบาล คือ 1. รัฐบาลควรทบทวนบทบาทและความจำเป็นของรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง และหาแนวทางจัดการกับรัฐวิสาหกิจที่มีความจำเป็นต้องคงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ 2. รัฐบาลควรปรับโครงสร้างกำกับดูแลระบบการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจ โดยแยกบทบาทของผู้กำหนดนโยบาย ผู้กำกับดูแล เจ้าของ และผู้รับนโยบาย แยกออกจากกันอย่างชัดเจน และ 3. ออกกฎหมายรองรับพันธกิจต่างๆ ที่กำหนดให้ปฏิรูป
ด้านสมาชิกสปช.ได้แสดงความเห็นอย่างหลากหลาย โดยส่วนใหญ่สนับสนุนแนวทางของคณะกรรมาธิการฯ อาทิ นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ กล่าวว่า รัฐวิสาหกิจจำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ รัฐวิสาหกิจเชิงสังคม กับรัฐวิสาหกิจเชิงพาณิชย์ ซึ่งรัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ซึ่งปัญหาสำคัญเกิดจากการขาดประสิทธิภาพในการบริหารงาน เพราะผู้บริหารส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ จึงนำระบบแบบแผนในการบริหารงานแบบข้าราชการมาใช้ และ ยังถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองในการแต่งตั้งประธาน หรือคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ พิจารณาจากการเปลี่ยนตำแหน่งผู้บริหารตามการเปลี่ยนรัฐบาล ซึ่งตนเห็นว่า ควรปรับโครงสร้างการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจ โดยจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ จำนวนกึ่งหนึ่ง ของคณะผู้บริหาร เข้ามาบริหารอย่างมืออาชีพ ทำงานเต็มเวลา ส่วนอีกกึ่งหนึ่งให้มาจากข้าราชการ ซึ่งคณะกรรมการจะต้องมาจากผู้บริหาร 2 กลุ่ม ไม่ใช่มาจากนักการเมือง นอกจากนั้น ควรให้มีการสรรหาซีอีโอ คล้ายกับการสรรหาผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง กล่าวว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอของ กมธ.ฯ ให้จำแนกประเภทรัฐวิสาหกิจอย่างเร่งด่วน รวมถึงทบทวนความจำเป็นคงอยู่รัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ ควรปฏิรูปรัฐวิสาหกิจให้เกิดประสิทธิภาพ เช่น องค์การเภสัชกรรม สามารถผลิตยาเกี่ยวกับการรักษาโรคมะเร็ง และโรคหัวใจ ในราคา 70 บาท จากราคา 180 บาท ส่งผลให้ต้นทุนของยาลดลงอย่างมาก ฯลฯ นอกจากนั้นควรลดการแทรกแซงรัฐวิสาหกิจจากฝ่ายการเมือง การส่งเสริมให้เกิดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป เช่น กรณี ปตท. ที่ปัจจุบันมีมูลค่าสูงสุดกว่า 2.8 ล้านล้านบาท แต่ประเทศกลับได้ประโยชน์น้อย
นายเสรี สุวรรณภานนท์ สปช. เสนอให้คณะกรรมาธิการปฏิรูปฯ ส่งความเห็นไปยังรัฐบาล และคสช. ใช้อำนาจ มาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ยกเลิกคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจทุกชุด เพื่อให้มีการเลือกคณะกรรมการชุดใหม่ โดยเน้นบุคคลที่มีความรู้ความสามมารถ และมีความโปร่งใส เพราะที่ผ่านมาทุกรัฐวิสาหกิจล้วนมีข้อครหาว่า มีการทุจริต คอร์รัปชันกันมาก จนทำให้เกิดภาวะขาดทุนมหาศาล
นายณรงค์ พุทธชีวิน สปช. กล่าวสนับสนุนให้มีการปฏิรูป เพราะที่ผ่านมาจะเห็นว่าการทำงานของบุคคลากรในรัฐวิสาหกิจที่มีเงินเดือนสูง แต่ประสิทธิภาพสวนทางกัน จนทำให้ทุกคนคาดหวังให้ลูกหลานตนเองได้ทำงานในองค์กรนี้ เพราะทำอะไร ดีไม่ดี ก็ได้เงินเดือนสูงแน่นอน ทั้งที่วัตถุประสงค์การทำรัฐวิสาหกิจเพื่อธุรกิจ แต่ที่ทำเป็นประชาสงเคราะห์ และหลักการประชานิยมเต็มรูปแบบ จัดสรรคนสงเคราะห์พวกพ้องและเครือญาติ เป็นองค์กรขาดทุนอย่างมีมาตรฐาน แต่มีโบนัสค่าตอบแทนทุกปี ซึ่งเป็นโบนัสที่ทำให้องค์กรนี้ประสบความขาดทุน ไม่ยึดโยงกับผลประกอบการเลย มีไม่มีกี่คนที่คำนึงผลประกอบการทั้งที่บอกเป็นธุรกิจ รัฐบาลทุกรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้มีการแข่งขัน แต่รัฐวิสาหกิจกลับไปทำลายนโยบายนี้ ด้วยการแข่งขันเองแบบผูกขาด เป็นองค์กรที่ให้ผลตอบแทนบุคคลากรสูงมาก แต่คนกลับไม่รักไม่ผูกพัน ขาดทุนก็ช่างมัน
"ผมเชื่อว่า องค์กรรัฐวิสาหกิจเป็นองค์กรที่ต้องการให้เกิดประสิทธิภาพ แต่รัฐวิสาหกิจไทยไม่มีกลไกที่ตอบสนองส่วนนี้ โดยเฉพาะหลักการประชาภิบาล และกลไกที่ทำให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงควรทำให้เป็นองค์กรที่ ไม่ใช่มีเพราะอยากให้มี และรัฐวิสาไทยสามารถเปลี่ยนเป็นวิสาหกิจชุมชน ที่รักหวงแหน และมีประสิทธิภาพพอให้เกิดประสิทธิภาพได้ ส่วนการให้มีซูเปอร์บอร์ด สุดท้ายอำนาจทั้งหมดก็จะลงในส่วนนี้ มั่นใจหรือว่าซูเปอร์
บอร์ด เป็นคนดี มีคุณภาพและมั่นใจหรือว่าจะมาด้วยกระบวนการคุณภาพ ไม่ใช่มาด้วยประชาสงเคราะห์ ผมเชื่อว่าที่สุดแล้วรัฐวิสาหกิจมีทางเดียวที่จะอยู่รอดได้คือ ต้องหาคนดีมาบริหาร หลักการได้มาซึ่งคนดีต้องไม่ยึดโยงกับกลุ่มพวกและผลประโยชน์ ก็จะประสบความสำเร็จได้"
นายนิรันดร์ พันธกิจ สปช. กล่าวสนับสนุนแนวทางการปฏิรูปของคณะกรรมาธิการ โดยยกตัวอย่างการบริหารของรัฐวิสาหกิจธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ที่เป็นธนาคารเฉพาะกิจ ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจด้านการคลังของอิสลาม ปัญหาที่เกิดคือการตั้งบอร์ดไม่มีผู้รู้จริง หรือชำนาญด้านการเงินการคลังเป็นที่ยอมรับของสังคมมุสลิม จึงเป็นปัญหาเรื่องไร้ความเชื่อถือของชาวมุสลิม ทำให้ใช้บริการน้อย รวมถึงการสร้างความน่าเชื่อถืออาศัยความสัมพันธ์โดยส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่ ทำให้การบริหารไม่ประสบความสำเร็จ ขาดทุนเป็นหมื่นๆ ล้านบาท บอร์ดชะรีอะฮ์ ที่กำกับทุกคนล้วนน่าเชื่อถือในสังคมมุสลิม แต่แต่งตั้งมาจากซุปเปอร์บอร์ด ของธนาคารอิสลาม ทำให้ไม่กล้าที่จะท้วงติงใดๆ กรณีที่กระทำไม่ถูกต้อง บอร์ดเองก็ไม่ส่งประเด็นการบริหารที่เกี่ยวข้องกับอิสลามให้บอร์ดชารีอะฮ์พิจารณา ส่วนอิทธิพลทางการเมืองนั้นมีผลต่อการบริหารของธนาคาร เพราะเวลาจะกู้เงิน ก็ใช้เส้นสายทางการเมือง ประธานบอร์ด ก็มาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรีการเมือง ทำให้เกิดความเกรงใจ จนก่อหนี้เสียเป็นหมื่นล้านบาท ตามทวงไม่ได้ หากจะปฏิรูปรัฐวิสาหกิจในองค์กรนี้ ต้องแก้กฎหมายธนาคารอิสลามใหม่ มีส่วนที่มาจากฝ่ายการเมืองบ้างได้แต่ไม่ควรทั้งหมดหรือมากเกินไป
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นด้วยกับรายงานของคณะกรรมาธิการปฎิรูปฯ และความเห็นข้อเสนอแนะของสมาชิก ด้วยคะแนน 189 ไม่เห็นด้วย 3 งดออกเสียง 6 จากนั้นจะส่งรายงานและความเห็นของสมาชิกไปยังครม.ต่อไป
1. กำหนดบทบาทของรัฐวิสาหกิจให้ชัดเจน ระหว่างองค์กรที่กำหนดนโยบาย และผู้กำกับดูแล เจ้าของ และผู้ให้บริการ ซึ่งขณะนี้เกิดความสับสนในหน้าที่ดังกล่าว เช่น องค์กรที่กำหนดนโยบายทำหน้าที่ให้บริการเสียเอง หรือ กรรมการในองค์กรกำกับดูแล ไปเป็นกรรมการในองค์กรใต้กำกับดูแลเสียเอง เป็นต้น
2. องค์กรที่เป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจ เสนอให้จัดตั้งหน่วยงานที่เป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจแทน ในลักษณะองค์กรที่รัฐเข้าไปถือหุ้น หรือองค์กรอิสระ
3. รัฐบาลสามารถใช้รัฐวิสาหกิจในการดำเนินงานเป็นกรณีพิเศษ ตามนโยบายของรัฐบาลได้ โดยแยกบัญชีของการดำเนินงานนโยบายของรัฐออกต่างหาก โดยตั้งเป็น "บัญชีบริการสาธารณะ"
ทั้งนี้ ข้อเสนอในการปฏิรูปต่อรัฐบาล คือ 1. รัฐบาลควรทบทวนบทบาทและความจำเป็นของรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง และหาแนวทางจัดการกับรัฐวิสาหกิจที่มีความจำเป็นต้องคงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ 2. รัฐบาลควรปรับโครงสร้างกำกับดูแลระบบการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจ โดยแยกบทบาทของผู้กำหนดนโยบาย ผู้กำกับดูแล เจ้าของ และผู้รับนโยบาย แยกออกจากกันอย่างชัดเจน และ 3. ออกกฎหมายรองรับพันธกิจต่างๆ ที่กำหนดให้ปฏิรูป
ด้านสมาชิกสปช.ได้แสดงความเห็นอย่างหลากหลาย โดยส่วนใหญ่สนับสนุนแนวทางของคณะกรรมาธิการฯ อาทิ นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ กล่าวว่า รัฐวิสาหกิจจำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ รัฐวิสาหกิจเชิงสังคม กับรัฐวิสาหกิจเชิงพาณิชย์ ซึ่งรัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ซึ่งปัญหาสำคัญเกิดจากการขาดประสิทธิภาพในการบริหารงาน เพราะผู้บริหารส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ จึงนำระบบแบบแผนในการบริหารงานแบบข้าราชการมาใช้ และ ยังถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองในการแต่งตั้งประธาน หรือคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ พิจารณาจากการเปลี่ยนตำแหน่งผู้บริหารตามการเปลี่ยนรัฐบาล ซึ่งตนเห็นว่า ควรปรับโครงสร้างการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจ โดยจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ จำนวนกึ่งหนึ่ง ของคณะผู้บริหาร เข้ามาบริหารอย่างมืออาชีพ ทำงานเต็มเวลา ส่วนอีกกึ่งหนึ่งให้มาจากข้าราชการ ซึ่งคณะกรรมการจะต้องมาจากผู้บริหาร 2 กลุ่ม ไม่ใช่มาจากนักการเมือง นอกจากนั้น ควรให้มีการสรรหาซีอีโอ คล้ายกับการสรรหาผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง กล่าวว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอของ กมธ.ฯ ให้จำแนกประเภทรัฐวิสาหกิจอย่างเร่งด่วน รวมถึงทบทวนความจำเป็นคงอยู่รัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ ควรปฏิรูปรัฐวิสาหกิจให้เกิดประสิทธิภาพ เช่น องค์การเภสัชกรรม สามารถผลิตยาเกี่ยวกับการรักษาโรคมะเร็ง และโรคหัวใจ ในราคา 70 บาท จากราคา 180 บาท ส่งผลให้ต้นทุนของยาลดลงอย่างมาก ฯลฯ นอกจากนั้นควรลดการแทรกแซงรัฐวิสาหกิจจากฝ่ายการเมือง การส่งเสริมให้เกิดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป เช่น กรณี ปตท. ที่ปัจจุบันมีมูลค่าสูงสุดกว่า 2.8 ล้านล้านบาท แต่ประเทศกลับได้ประโยชน์น้อย
นายเสรี สุวรรณภานนท์ สปช. เสนอให้คณะกรรมาธิการปฏิรูปฯ ส่งความเห็นไปยังรัฐบาล และคสช. ใช้อำนาจ มาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ยกเลิกคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจทุกชุด เพื่อให้มีการเลือกคณะกรรมการชุดใหม่ โดยเน้นบุคคลที่มีความรู้ความสามมารถ และมีความโปร่งใส เพราะที่ผ่านมาทุกรัฐวิสาหกิจล้วนมีข้อครหาว่า มีการทุจริต คอร์รัปชันกันมาก จนทำให้เกิดภาวะขาดทุนมหาศาล
นายณรงค์ พุทธชีวิน สปช. กล่าวสนับสนุนให้มีการปฏิรูป เพราะที่ผ่านมาจะเห็นว่าการทำงานของบุคคลากรในรัฐวิสาหกิจที่มีเงินเดือนสูง แต่ประสิทธิภาพสวนทางกัน จนทำให้ทุกคนคาดหวังให้ลูกหลานตนเองได้ทำงานในองค์กรนี้ เพราะทำอะไร ดีไม่ดี ก็ได้เงินเดือนสูงแน่นอน ทั้งที่วัตถุประสงค์การทำรัฐวิสาหกิจเพื่อธุรกิจ แต่ที่ทำเป็นประชาสงเคราะห์ และหลักการประชานิยมเต็มรูปแบบ จัดสรรคนสงเคราะห์พวกพ้องและเครือญาติ เป็นองค์กรขาดทุนอย่างมีมาตรฐาน แต่มีโบนัสค่าตอบแทนทุกปี ซึ่งเป็นโบนัสที่ทำให้องค์กรนี้ประสบความขาดทุน ไม่ยึดโยงกับผลประกอบการเลย มีไม่มีกี่คนที่คำนึงผลประกอบการทั้งที่บอกเป็นธุรกิจ รัฐบาลทุกรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้มีการแข่งขัน แต่รัฐวิสาหกิจกลับไปทำลายนโยบายนี้ ด้วยการแข่งขันเองแบบผูกขาด เป็นองค์กรที่ให้ผลตอบแทนบุคคลากรสูงมาก แต่คนกลับไม่รักไม่ผูกพัน ขาดทุนก็ช่างมัน
"ผมเชื่อว่า องค์กรรัฐวิสาหกิจเป็นองค์กรที่ต้องการให้เกิดประสิทธิภาพ แต่รัฐวิสาหกิจไทยไม่มีกลไกที่ตอบสนองส่วนนี้ โดยเฉพาะหลักการประชาภิบาล และกลไกที่ทำให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงควรทำให้เป็นองค์กรที่ ไม่ใช่มีเพราะอยากให้มี และรัฐวิสาไทยสามารถเปลี่ยนเป็นวิสาหกิจชุมชน ที่รักหวงแหน และมีประสิทธิภาพพอให้เกิดประสิทธิภาพได้ ส่วนการให้มีซูเปอร์บอร์ด สุดท้ายอำนาจทั้งหมดก็จะลงในส่วนนี้ มั่นใจหรือว่าซูเปอร์
บอร์ด เป็นคนดี มีคุณภาพและมั่นใจหรือว่าจะมาด้วยกระบวนการคุณภาพ ไม่ใช่มาด้วยประชาสงเคราะห์ ผมเชื่อว่าที่สุดแล้วรัฐวิสาหกิจมีทางเดียวที่จะอยู่รอดได้คือ ต้องหาคนดีมาบริหาร หลักการได้มาซึ่งคนดีต้องไม่ยึดโยงกับกลุ่มพวกและผลประโยชน์ ก็จะประสบความสำเร็จได้"
นายนิรันดร์ พันธกิจ สปช. กล่าวสนับสนุนแนวทางการปฏิรูปของคณะกรรมาธิการ โดยยกตัวอย่างการบริหารของรัฐวิสาหกิจธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ที่เป็นธนาคารเฉพาะกิจ ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจด้านการคลังของอิสลาม ปัญหาที่เกิดคือการตั้งบอร์ดไม่มีผู้รู้จริง หรือชำนาญด้านการเงินการคลังเป็นที่ยอมรับของสังคมมุสลิม จึงเป็นปัญหาเรื่องไร้ความเชื่อถือของชาวมุสลิม ทำให้ใช้บริการน้อย รวมถึงการสร้างความน่าเชื่อถืออาศัยความสัมพันธ์โดยส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่ ทำให้การบริหารไม่ประสบความสำเร็จ ขาดทุนเป็นหมื่นๆ ล้านบาท บอร์ดชะรีอะฮ์ ที่กำกับทุกคนล้วนน่าเชื่อถือในสังคมมุสลิม แต่แต่งตั้งมาจากซุปเปอร์บอร์ด ของธนาคารอิสลาม ทำให้ไม่กล้าที่จะท้วงติงใดๆ กรณีที่กระทำไม่ถูกต้อง บอร์ดเองก็ไม่ส่งประเด็นการบริหารที่เกี่ยวข้องกับอิสลามให้บอร์ดชารีอะฮ์พิจารณา ส่วนอิทธิพลทางการเมืองนั้นมีผลต่อการบริหารของธนาคาร เพราะเวลาจะกู้เงิน ก็ใช้เส้นสายทางการเมือง ประธานบอร์ด ก็มาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรีการเมือง ทำให้เกิดความเกรงใจ จนก่อหนี้เสียเป็นหมื่นล้านบาท ตามทวงไม่ได้ หากจะปฏิรูปรัฐวิสาหกิจในองค์กรนี้ ต้องแก้กฎหมายธนาคารอิสลามใหม่ มีส่วนที่มาจากฝ่ายการเมืองบ้างได้แต่ไม่ควรทั้งหมดหรือมากเกินไป
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นด้วยกับรายงานของคณะกรรมาธิการปฎิรูปฯ และความเห็นข้อเสนอแนะของสมาชิก ด้วยคะแนน 189 ไม่เห็นด้วย 3 งดออกเสียง 6 จากนั้นจะส่งรายงานและความเห็นของสมาชิกไปยังครม.ต่อไป