พรรษิษฐ์ ต่อสุวรรณ
ptorsuwan@yahoo.com
ช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ชาวกรุงเทพฯจำนวนไม่น้อยได้เริ่มมีการรณรงค์เรียกร้องให้ภาครัฐได้นำพื้นที่ขนาดใหญ่ประมาณกว่า 1,000 ไร่ ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นพื้นที่ไข่แดงอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ที่เราเรียกกันว่า มักกะสัน มาทำเป็นสวนสาธารณะ
พื้นที่มักกะสันแห่งนี้เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย หน่วยงานรัฐวิสาหกิจซึ่งครอบครองที่ดินทั่วประเทศเป็นจำนวนมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ คือมีประมาณกว่าสองแสนไร่ แต่ก็เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ประสบกับปัญหาการขาดทุนมาตลอดเวลาหลายทศวรรษมาแล้ว ทั้ง ๆ ที่เป็นหน่วงงานให้บริการคมนาคมขนส่งระบบรางซึ่งผูกขาดเพียงเจ้าเดียวในประเทศก็ตาม
ที่ดินมักกะสันแปลงนี้ นอกเหนือจากจะมีขนาดใหญ่โตมโหฬารแล้ว ยังเป็นพื้นที่ซึ่งตั้งอยู่ในตำแหน่งที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของย่านต่าง ๆ ในเมืองมาบรรจบกัน เป็นทำเลซึ่งมีการพาดผ่านของระบบการขนส่งแบบราง จึงมีแนวโน้มสูงที่จะกลายเป็นจุดศูนย์กลางของการกระจุกและกระจายของผู้คน ซึ่งเดินทางเชื่อมต่อจากชานเมืองตลอนจนจากสนามบินอีกด้วย และด้วยการเป็นทำเลทองในปัจจุบันนี้ มักกะสันจึงอาจจะกลายเป็นความหวังเดียวของการรถไฟฯ ที่จะอาศัยศักยภาพของอสังหาริมทรัพย์แห่งนี้ เพื่อการกอบกู้ภาระหนี้สินอันมหาศาลของหน่วยงาน นอกเหนือจากนี้ มักกะสันยังกลายเป็นที่หมายตาของบรรดานักลงทุน นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ภาคเอกชน ในการเข้าครอบครองสิทธิการทำประโยชน์จากที่ดินผืนนี้ และที่สำคัญมากก็คือการเป็นเป้าหมายของฝ่ายการเมืองและราชการ ที่หวังอาศัยเมกะโปรเจคมักกะสัน สำหรับการสร้างภาพลักษณ์ความศิวิไลซ์ทันสมัยของประเทศ ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจของเมือง ซึ่งแน่นอนที่สุดว่าการถือเอกสิทธิ์ในการตัดสินใจกำหนดทิศทางและความเป็นไปของการพัฒนาพื้นที่มักกะสัน ย่อมจะต้องสร้างผลประโยชน์ส่วนเกินทางเศรษฐกิจให้แก่บรรดาผู้ที่ถืออำนาจได้อย่างมหาศาลอีกด้วย
กระแสการเรียกร้องของประชาชนซึ่งประกอบไปด้วยนักวิชาการ นักผังเมือง นักอนุรักษ์ ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่รักและถวิลหาธรรมชาติในป่าคอนกรีตกรุงเทพฯแห่งนี้ จึงนับเป็นความยากลำบากไม่น้อย แต่แน่นอนว่าการรณรงค์เรียกร้องของประชาชนก็เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงกระทำได้ และสมควรที่จะกระทำด้วย เพราะสภาพที่เป็นอยู่ของกรุงเทพฯขณะนี้ ไม่ได้เอื้อต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีเท่าใดนัก ทั้งในแง่วิชาการและในแง่สภาวะความเป็นจริง ดังจะเห็นได้จากนักวิชาการผังเมืองที่เคยอ้างตัวเลขสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวต่อจำนวนประชากร โดยผลออกมาแสดงให้เห็นว่าของกรุงเทพฯนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ซึ่งก็คงจะเป็นเหตุผลสำคัญที่อธิบายว่าทำไมกรุงเทพฯถึงเต็มไปด้วยมลภาวะ ทั้งฝุ่นละอองในอากาศ น้ำเสีย ความร้อนที่ระอุรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกวัน
แต่ก็มีอีกบางแง่มุมที่ควรถูกใคร่ครวญอย่างรอบคอบก่อนการตัดสินใจพัฒนาพื้นที่มักกะสัน เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพลิกฟื้นชุมชนเมือง การปลูกฝังอุดมคติในเรื่องการรักบ้านเมืองของผู้คนในเมือง นอกเหนือจากการสร้างเศรษฐกิจ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นการตอบสนองแบบกระจุกตัวอยู่แค่กลุ่มผู้ลงทุนและผู้ถืออำนาจจำนวนไม่กี่คนเท่านั้น
หลายท่านอาจจะไม่ค่อยได้สังเกตว่า กรุงเทพฯของเรานี้ ขาดแคลนพื้นที่สาธารณะอย่างรุนแรง ไม่ใช่แค่สวนสาธารณะ ซึ่งเท่าที่มีอยู่จำนวนน้อยนิดนี้ ก็ล้วนถูกภาครัฐจัดการล้อมรั้วรอบขอบชิด เปิดปิดให้ผู้คนได้ใช้วิ่งเล่นกันเป็นเวลา ความจริงแล้วเราขาดพื้นที่สาธารณะที่เป็นที่ปะทะสังสรรค์ของผู้คนในเมือง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่คนในชุมชนเมืองได้รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของร่วมกัน รักษาหวงแหน และดูแลร่วมกัน
พื้นที่สาธารณะที่คนเมืองส่วนใหญ่เข้าใจและได้ใช้ทุกวันนี้ก็คือศูนย์การค้า ซึ่งล้วนมีภาคธุรกิจเอกชนเป็นเจ้าของ เราทั้งหลายจะต้องชำระค่าใช้พื้นที่ทั้งทางตรงและทางอ้อมเมื่อเข้าไปใช้พื้นที่ จนกระทั่งกลายเป็นพื้นที่ที่คนเมืองส่วนใหญ่เข้าใจกันไปว่าเป็นพื้นที่สาธารณะ ซึ่งความจริงแล้วคือไม่ใช่ เราทั้งหลายได้ถูกกล่อมเกลาให้ตกอยู่ภายใต้ลัทธิบริโภคนิยมผ่านการใช้พื้นที่สาธารณะจำแลง
ในขณะที่พื้นที่สวยงามริมแม่น้ำสายหลักอย่างเจ้าพระยา ส่วนใหญ่ก็ล้วนถูกครอบครองโดยภาคเอกชน กลายเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล หรือจะมีแบบกึ่งสาธารณะบ้างก็คงจะเป็นศาสนสถานอย่างวัดเท่านั้น ส่วนชาวบ้านชาวเมืองจะชื่นชมความงามของแม่น้ำก็ต้องไปยืนเสี่ยงรถชนอยู่บนสะพานข้ามแม่น้ำ หรือไม่ก็ต้องไปที่เขตอภัยทานของวัด นอกจากนั้นก็ล้วนเป็นเขตห้ามเข้าหรือถ้าจะเข้าได้ด็ต้องผ่านกระบวนการบริโภคนิยมเท่านั้น
แม้กระทั่งพื้นสาธารณะที่เป็นทางเดิน ทางเท้าริมถนนหลายแห่ง ซึ่งอยู่ในย่านที่สำคัญ ๆ ในกรุงเทพฯ ก็ล้วนถูกยึดครองไปแสวงหาประโยชน์ส่วนตน โดยบรรดาผู้ค้าแผงลอย เริ่มต้นด้วยการอ้างเหตุผลของผู้ค้ารายย่อยซึ่งอาจจะจัดได้ว่าเป็นผู้ยากจนด้อยโอกาส ไป ๆ มา ๆ กลายเป็นผู้ค้ารายใหญ่จำแลงมายึดครองพื้นที่สาธารณะ ทั้ง ๆ ที่คำว่าสาธารณะหมายถึงการใช้ประโยชน์ร่วมกันเป็นส่วนรวม แต่การเข้ายึดครองพื้นที่สาธารณะเหล่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องที่อยู่ดี ๆ บรรดาผู้ค้าจะสามารถเข้าไปยึดครองได้เฉย ๆ คือต้องมีการชำระค่าเช่าให้แก่ผู้มีอิทธิพล ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะสถาปนามาจากฝ่ายราชการและฝ่ายการเมืองแทบทั้งสิ้น ชาวบ้านชาวเมืองจำเป็นจะต้องออกไปเดินสัญจรบนถนน สุ่มเสี่ยงต่อภัยอันตรายจากอุบัติเหตุจากรถยนต์ โดยที่ภาครัฐแทบจะไม่เคยแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม
กรุงเทพฯของเราจึงได้กลายเป็นเมืองที่รกรุงรังไปด้วยผู้คนที่แสวงประโยชน์โดยมิชอบจากพื้นที่สาธารณะ ขยายตัวแพร่กระจายไปย่านสำคัญ ๆ เกือบทุกหนทุกแห่ง โดยที่ไม่มีใครคิดจะทำอะไรอย่างจริงจัง นอกเหนือจากหาโอกาสให้ตัวเองได้เข้าไปแสวงหาประโยชน์ด้วยเท่านั้น พื้นที่สาธารณะในเมืองอันน้อยนิดจึงกลายเป็นพื้นที่เห็นแก่ตัว มั่วสุมไปด้วยผู้คนที่เห็นแก่ได้ ทั้งบรรดาผู้ค้าที่หวังลงทุนต่ำ โดยเลือกจะเสียค่าส่วยที่ถูกกว่าค่าเช่าในอัตราท้องตลาด ไปจนถึงบรรดาผู้ซื้อที่มักง่าย อยากได้ซื้อของราคาถูก ส่วนใหญ่ก็เป็นสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ และธุรกิจที่หลบเลี่ยงภาษี
กายภาพของพื้นที่ชุมชนเมืองเช่นนี้ จะส่งเสริมให้ผู้คนมีจิตสำนึกรักบ้านรักเมืองได้อย่างไร ในเมื่อภาครัฐไม่เคยจัดพื้นที่ซึ่งเสริมสร้างแรงบันดาลใจ ในการสร้างความฝัน ความหวังให้แก่พลเมืองในทุกระดับ คนยากคนจนมีโอกาสลืมตาอ้าปาก กับพื้นที่ส่งเสริมด้านการประกอบสัมมาอาชีพของพวกเขา คนรุ่นใหม่ได้มีพื้นที่แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ในพื้นที่เรียกว่าจตุรัสของเมือง ประชาชนคนทั่วไปทั้งหลายได้มีพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจกับครอบครัวในสวนที่มีทั้งความงดงามและอากาศอันบริสุทธิ์ เด็ก ๆ ได้รู้จักการออกกำลังกายกลางแจ้งร่วมกันกับเพื่อนใหม่ ๆ โดยที่ไม่ต้องไปจ่ายเงินตามสปอร์ตคลับเท่านั้น ในพื้นที่สวนสร้างสรรค์ผู้คนเรียนรู้ที่จะแบ่งปันเอื้ออาทรต่อกัน เป็นพื้นที่ซึ่งนำพาผู้คนกลับสู่ธรรมชาติสำหรับการเยียวยาจิตใจ
ภาครัฐจะต้องทำหน้าที่คืนความสุขให้แก่ประชาชน ด้วยการลงทุนที่เกี่ยวกับเรื่องสร้างสรรค์แบบยั่งยืนบ้าง ไม่ใช่รีดแต่ภาษีแล้วก็มีแต่สร้างข่าวฉาวเรื่องการโกงกิน จนกระทั่งผู้คนรู้สึกเสื่อมศรัทธา ไม่รู้สึกอยากแม้กระทั่งทำหน้าที่พื้นฐานของพลเมืองในเรื่องการเสียภาษี และหมดความภาคภูมิใจในความเป็นพลเมืองในที่สุด
ในประเด็นเรื่องการอาศัยอสังหาริมทรัพย์มักกะสันสำหรับแก้ไขปัญหาการขาดทุนของการรถไฟฯนั้น ภาครัฐก็สามารถกระทำได้โดยการจัดแบ่งพื้นที่เพียงไม่ถึง 20% ของพื้นที่ทั้งแปลง สำหรับการสัมปททานให้แก่ภาคธุรกิจเอกชน ในการพัฒนาโครงการธึรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งก็น่าจะเป็นอาคารสูงเพื่อแลกกับค่าสัมปทานค่าเช่าให้แก่รัฐ ก็น่าจะมีมูลค่าเพียงพอที่จะเยียวยาปัญหาของหน่วยงานการรถไฟฯได้ แต่การรถไฟฯก็สมควรที่จะต้องหาทางปฏิรูปหน่วยงานตัวเองในด้านประสิทธิภาพและการบริการเพื่อให้องค์กรเติบโตอยู่ได้ด้วย เพราะโครงการธุรกิจที่จะพัฒนาบนที่แปลงนี้ สามารถเพิ่มศักยภาพเพิ่มพื้นที่ใช้สอยและผลตอบแทนทางธุรกิจได้มากมายในทางตั้ง วัตถุประสงค์ก็เพื่อสงวนพื้นที่ดินในแนวราบเอาไว้สำหรับพัฒนาเป็นสวนสาธารณะของชาวเมือง สานสาธารณะที่ประกอบด้วยพืชพรรณนานา ซึ่งจะทำหน้าที่ฟอกอากาศ รักษ์น้ำให้แก่เมือง สำหรับเป็นพื้นที่ประชาคมเมืองทั้งในมิติของการส่งเสริมการเรียนรู้ การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการที่สร้างความบันเทิงผ่านงานศิลปะและดนตรี ไปจนถึงการค้าขายของคนในทุกระดับ
สวนมักกะสันจึงน่าจะเป็นเป็นโอกาสสุดท้ายของกรุงเทพฯ ที่จะสามารถพัฒนาเป็นพื้นที่สร้างความสมดุลย์ทั้งในเรื่องคุณภาพชีวิต คุณค่าทางสังคม และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
ptorsuwan@yahoo.com
ช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ชาวกรุงเทพฯจำนวนไม่น้อยได้เริ่มมีการรณรงค์เรียกร้องให้ภาครัฐได้นำพื้นที่ขนาดใหญ่ประมาณกว่า 1,000 ไร่ ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นพื้นที่ไข่แดงอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ที่เราเรียกกันว่า มักกะสัน มาทำเป็นสวนสาธารณะ
พื้นที่มักกะสันแห่งนี้เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย หน่วยงานรัฐวิสาหกิจซึ่งครอบครองที่ดินทั่วประเทศเป็นจำนวนมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ คือมีประมาณกว่าสองแสนไร่ แต่ก็เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ประสบกับปัญหาการขาดทุนมาตลอดเวลาหลายทศวรรษมาแล้ว ทั้ง ๆ ที่เป็นหน่วงงานให้บริการคมนาคมขนส่งระบบรางซึ่งผูกขาดเพียงเจ้าเดียวในประเทศก็ตาม
ที่ดินมักกะสันแปลงนี้ นอกเหนือจากจะมีขนาดใหญ่โตมโหฬารแล้ว ยังเป็นพื้นที่ซึ่งตั้งอยู่ในตำแหน่งที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของย่านต่าง ๆ ในเมืองมาบรรจบกัน เป็นทำเลซึ่งมีการพาดผ่านของระบบการขนส่งแบบราง จึงมีแนวโน้มสูงที่จะกลายเป็นจุดศูนย์กลางของการกระจุกและกระจายของผู้คน ซึ่งเดินทางเชื่อมต่อจากชานเมืองตลอนจนจากสนามบินอีกด้วย และด้วยการเป็นทำเลทองในปัจจุบันนี้ มักกะสันจึงอาจจะกลายเป็นความหวังเดียวของการรถไฟฯ ที่จะอาศัยศักยภาพของอสังหาริมทรัพย์แห่งนี้ เพื่อการกอบกู้ภาระหนี้สินอันมหาศาลของหน่วยงาน นอกเหนือจากนี้ มักกะสันยังกลายเป็นที่หมายตาของบรรดานักลงทุน นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ภาคเอกชน ในการเข้าครอบครองสิทธิการทำประโยชน์จากที่ดินผืนนี้ และที่สำคัญมากก็คือการเป็นเป้าหมายของฝ่ายการเมืองและราชการ ที่หวังอาศัยเมกะโปรเจคมักกะสัน สำหรับการสร้างภาพลักษณ์ความศิวิไลซ์ทันสมัยของประเทศ ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจของเมือง ซึ่งแน่นอนที่สุดว่าการถือเอกสิทธิ์ในการตัดสินใจกำหนดทิศทางและความเป็นไปของการพัฒนาพื้นที่มักกะสัน ย่อมจะต้องสร้างผลประโยชน์ส่วนเกินทางเศรษฐกิจให้แก่บรรดาผู้ที่ถืออำนาจได้อย่างมหาศาลอีกด้วย
กระแสการเรียกร้องของประชาชนซึ่งประกอบไปด้วยนักวิชาการ นักผังเมือง นักอนุรักษ์ ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่รักและถวิลหาธรรมชาติในป่าคอนกรีตกรุงเทพฯแห่งนี้ จึงนับเป็นความยากลำบากไม่น้อย แต่แน่นอนว่าการรณรงค์เรียกร้องของประชาชนก็เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงกระทำได้ และสมควรที่จะกระทำด้วย เพราะสภาพที่เป็นอยู่ของกรุงเทพฯขณะนี้ ไม่ได้เอื้อต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีเท่าใดนัก ทั้งในแง่วิชาการและในแง่สภาวะความเป็นจริง ดังจะเห็นได้จากนักวิชาการผังเมืองที่เคยอ้างตัวเลขสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวต่อจำนวนประชากร โดยผลออกมาแสดงให้เห็นว่าของกรุงเทพฯนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ซึ่งก็คงจะเป็นเหตุผลสำคัญที่อธิบายว่าทำไมกรุงเทพฯถึงเต็มไปด้วยมลภาวะ ทั้งฝุ่นละอองในอากาศ น้ำเสีย ความร้อนที่ระอุรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกวัน
แต่ก็มีอีกบางแง่มุมที่ควรถูกใคร่ครวญอย่างรอบคอบก่อนการตัดสินใจพัฒนาพื้นที่มักกะสัน เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพลิกฟื้นชุมชนเมือง การปลูกฝังอุดมคติในเรื่องการรักบ้านเมืองของผู้คนในเมือง นอกเหนือจากการสร้างเศรษฐกิจ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นการตอบสนองแบบกระจุกตัวอยู่แค่กลุ่มผู้ลงทุนและผู้ถืออำนาจจำนวนไม่กี่คนเท่านั้น
หลายท่านอาจจะไม่ค่อยได้สังเกตว่า กรุงเทพฯของเรานี้ ขาดแคลนพื้นที่สาธารณะอย่างรุนแรง ไม่ใช่แค่สวนสาธารณะ ซึ่งเท่าที่มีอยู่จำนวนน้อยนิดนี้ ก็ล้วนถูกภาครัฐจัดการล้อมรั้วรอบขอบชิด เปิดปิดให้ผู้คนได้ใช้วิ่งเล่นกันเป็นเวลา ความจริงแล้วเราขาดพื้นที่สาธารณะที่เป็นที่ปะทะสังสรรค์ของผู้คนในเมือง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่คนในชุมชนเมืองได้รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของร่วมกัน รักษาหวงแหน และดูแลร่วมกัน
พื้นที่สาธารณะที่คนเมืองส่วนใหญ่เข้าใจและได้ใช้ทุกวันนี้ก็คือศูนย์การค้า ซึ่งล้วนมีภาคธุรกิจเอกชนเป็นเจ้าของ เราทั้งหลายจะต้องชำระค่าใช้พื้นที่ทั้งทางตรงและทางอ้อมเมื่อเข้าไปใช้พื้นที่ จนกระทั่งกลายเป็นพื้นที่ที่คนเมืองส่วนใหญ่เข้าใจกันไปว่าเป็นพื้นที่สาธารณะ ซึ่งความจริงแล้วคือไม่ใช่ เราทั้งหลายได้ถูกกล่อมเกลาให้ตกอยู่ภายใต้ลัทธิบริโภคนิยมผ่านการใช้พื้นที่สาธารณะจำแลง
ในขณะที่พื้นที่สวยงามริมแม่น้ำสายหลักอย่างเจ้าพระยา ส่วนใหญ่ก็ล้วนถูกครอบครองโดยภาคเอกชน กลายเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล หรือจะมีแบบกึ่งสาธารณะบ้างก็คงจะเป็นศาสนสถานอย่างวัดเท่านั้น ส่วนชาวบ้านชาวเมืองจะชื่นชมความงามของแม่น้ำก็ต้องไปยืนเสี่ยงรถชนอยู่บนสะพานข้ามแม่น้ำ หรือไม่ก็ต้องไปที่เขตอภัยทานของวัด นอกจากนั้นก็ล้วนเป็นเขตห้ามเข้าหรือถ้าจะเข้าได้ด็ต้องผ่านกระบวนการบริโภคนิยมเท่านั้น
แม้กระทั่งพื้นสาธารณะที่เป็นทางเดิน ทางเท้าริมถนนหลายแห่ง ซึ่งอยู่ในย่านที่สำคัญ ๆ ในกรุงเทพฯ ก็ล้วนถูกยึดครองไปแสวงหาประโยชน์ส่วนตน โดยบรรดาผู้ค้าแผงลอย เริ่มต้นด้วยการอ้างเหตุผลของผู้ค้ารายย่อยซึ่งอาจจะจัดได้ว่าเป็นผู้ยากจนด้อยโอกาส ไป ๆ มา ๆ กลายเป็นผู้ค้ารายใหญ่จำแลงมายึดครองพื้นที่สาธารณะ ทั้ง ๆ ที่คำว่าสาธารณะหมายถึงการใช้ประโยชน์ร่วมกันเป็นส่วนรวม แต่การเข้ายึดครองพื้นที่สาธารณะเหล่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องที่อยู่ดี ๆ บรรดาผู้ค้าจะสามารถเข้าไปยึดครองได้เฉย ๆ คือต้องมีการชำระค่าเช่าให้แก่ผู้มีอิทธิพล ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะสถาปนามาจากฝ่ายราชการและฝ่ายการเมืองแทบทั้งสิ้น ชาวบ้านชาวเมืองจำเป็นจะต้องออกไปเดินสัญจรบนถนน สุ่มเสี่ยงต่อภัยอันตรายจากอุบัติเหตุจากรถยนต์ โดยที่ภาครัฐแทบจะไม่เคยแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม
กรุงเทพฯของเราจึงได้กลายเป็นเมืองที่รกรุงรังไปด้วยผู้คนที่แสวงประโยชน์โดยมิชอบจากพื้นที่สาธารณะ ขยายตัวแพร่กระจายไปย่านสำคัญ ๆ เกือบทุกหนทุกแห่ง โดยที่ไม่มีใครคิดจะทำอะไรอย่างจริงจัง นอกเหนือจากหาโอกาสให้ตัวเองได้เข้าไปแสวงหาประโยชน์ด้วยเท่านั้น พื้นที่สาธารณะในเมืองอันน้อยนิดจึงกลายเป็นพื้นที่เห็นแก่ตัว มั่วสุมไปด้วยผู้คนที่เห็นแก่ได้ ทั้งบรรดาผู้ค้าที่หวังลงทุนต่ำ โดยเลือกจะเสียค่าส่วยที่ถูกกว่าค่าเช่าในอัตราท้องตลาด ไปจนถึงบรรดาผู้ซื้อที่มักง่าย อยากได้ซื้อของราคาถูก ส่วนใหญ่ก็เป็นสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ และธุรกิจที่หลบเลี่ยงภาษี
กายภาพของพื้นที่ชุมชนเมืองเช่นนี้ จะส่งเสริมให้ผู้คนมีจิตสำนึกรักบ้านรักเมืองได้อย่างไร ในเมื่อภาครัฐไม่เคยจัดพื้นที่ซึ่งเสริมสร้างแรงบันดาลใจ ในการสร้างความฝัน ความหวังให้แก่พลเมืองในทุกระดับ คนยากคนจนมีโอกาสลืมตาอ้าปาก กับพื้นที่ส่งเสริมด้านการประกอบสัมมาอาชีพของพวกเขา คนรุ่นใหม่ได้มีพื้นที่แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ในพื้นที่เรียกว่าจตุรัสของเมือง ประชาชนคนทั่วไปทั้งหลายได้มีพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจกับครอบครัวในสวนที่มีทั้งความงดงามและอากาศอันบริสุทธิ์ เด็ก ๆ ได้รู้จักการออกกำลังกายกลางแจ้งร่วมกันกับเพื่อนใหม่ ๆ โดยที่ไม่ต้องไปจ่ายเงินตามสปอร์ตคลับเท่านั้น ในพื้นที่สวนสร้างสรรค์ผู้คนเรียนรู้ที่จะแบ่งปันเอื้ออาทรต่อกัน เป็นพื้นที่ซึ่งนำพาผู้คนกลับสู่ธรรมชาติสำหรับการเยียวยาจิตใจ
ภาครัฐจะต้องทำหน้าที่คืนความสุขให้แก่ประชาชน ด้วยการลงทุนที่เกี่ยวกับเรื่องสร้างสรรค์แบบยั่งยืนบ้าง ไม่ใช่รีดแต่ภาษีแล้วก็มีแต่สร้างข่าวฉาวเรื่องการโกงกิน จนกระทั่งผู้คนรู้สึกเสื่อมศรัทธา ไม่รู้สึกอยากแม้กระทั่งทำหน้าที่พื้นฐานของพลเมืองในเรื่องการเสียภาษี และหมดความภาคภูมิใจในความเป็นพลเมืองในที่สุด
ในประเด็นเรื่องการอาศัยอสังหาริมทรัพย์มักกะสันสำหรับแก้ไขปัญหาการขาดทุนของการรถไฟฯนั้น ภาครัฐก็สามารถกระทำได้โดยการจัดแบ่งพื้นที่เพียงไม่ถึง 20% ของพื้นที่ทั้งแปลง สำหรับการสัมปททานให้แก่ภาคธุรกิจเอกชน ในการพัฒนาโครงการธึรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งก็น่าจะเป็นอาคารสูงเพื่อแลกกับค่าสัมปทานค่าเช่าให้แก่รัฐ ก็น่าจะมีมูลค่าเพียงพอที่จะเยียวยาปัญหาของหน่วยงานการรถไฟฯได้ แต่การรถไฟฯก็สมควรที่จะต้องหาทางปฏิรูปหน่วยงานตัวเองในด้านประสิทธิภาพและการบริการเพื่อให้องค์กรเติบโตอยู่ได้ด้วย เพราะโครงการธุรกิจที่จะพัฒนาบนที่แปลงนี้ สามารถเพิ่มศักยภาพเพิ่มพื้นที่ใช้สอยและผลตอบแทนทางธุรกิจได้มากมายในทางตั้ง วัตถุประสงค์ก็เพื่อสงวนพื้นที่ดินในแนวราบเอาไว้สำหรับพัฒนาเป็นสวนสาธารณะของชาวเมือง สานสาธารณะที่ประกอบด้วยพืชพรรณนานา ซึ่งจะทำหน้าที่ฟอกอากาศ รักษ์น้ำให้แก่เมือง สำหรับเป็นพื้นที่ประชาคมเมืองทั้งในมิติของการส่งเสริมการเรียนรู้ การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการที่สร้างความบันเทิงผ่านงานศิลปะและดนตรี ไปจนถึงการค้าขายของคนในทุกระดับ
สวนมักกะสันจึงน่าจะเป็นเป็นโอกาสสุดท้ายของกรุงเทพฯ ที่จะสามารถพัฒนาเป็นพื้นที่สร้างความสมดุลย์ทั้งในเรื่องคุณภาพชีวิต คุณค่าทางสังคม และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ