ประเทศไทยมีความสุขลำดับที่ 36 ของโลก ส่วนความสุขคนไทย ปี 57 ต่ำสุดช่วงรัฐประหาร แต่แนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอดปี 58 พบสิงห์บุรีสุขที่สุด สระแก้วสุขน้อยสุด ระบุภาวะเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ สัมพันธ์กับการเกิดความสุข คนแต่งงานสุขกว่าคนโสด
วันนี้ (18 มี.ค.) นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า วันที่ 20 มี.ค. เป็นวันความสุขสากล โดยปัจจุบันประเทศที่มีความสุขมากที่สุดอันดับ 1 คือ เดนมาร์ก ส่วนประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 36 ของโลก และที่ 2 ของอาเซียน ทั้งนี้ จากการสำรวจความสุขคนไทย โดยกรมสุขภาพจิต ร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ด้วยแบบสำรวจสุขภาพจิตคนไทย ฉบับสั้น 15 ข้อ พบว่า ในปี 2557 ช่วงครึ่งปีหลังความสุขของคนไทยค่อยๆ ดีขึ้น โดยมีความสัมพันธ์กับการมีสุขภาพกาย สุขภาพใจ การมีสังคม การทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว การมีรายได้ที่พอเพียง การไม่มีหนี้ โดยรวมถือว่ามีความสุขเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนวิธีสร้างความสุขง่ายๆ คือ “ให้เวลา ขยับกาย กระจายสิ่งดี” คือ การมีเวลาให้ครอบครัว การออกกำลังกาย และการให้แต่สิ่งดีๆ แก่กัน
น.ส.รัจนา เนตรแสงทิพย์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า จากการสำรวจระหว่างปี 2551 - 2557 พบว่า ความสุขของคนไทยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สภาพสังคม จะเพิ่มขึ้นและลดลงสอดคล้องกับสถานการณ์ เช่น ความสุขในกลุ่มผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้นเมื่อมีนโยบายเบี้ยยังชีพ 500 บาท หรือ ความสุขลดลงในปี 2554 ทั้งประเทศ เนื่องจากปัญหาน้ำท่วม เป็นต้น สำหรับปี 2557 พบว่าค่าคะแนนความสุขประชาชนลดลงอยู่ที่ 32.06 จากปี 2555 อยู่ที่ 33.59 และ ปี 2556 อยู่ที่ 33.35 โดยไตรมาสที่ 2 ต่ำสุด อยู่ที่ 31.30 ซึ่งตรงกับช่วงการทำรัฐประหาร จากนั้นความสุขเริ่มเพิ่มขึ้นในไตรมาสต่อมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าแนวโน้มความสุขของประชาชนจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2558
น.ส.รัจนา กล่าวว่า เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ พบว่า เพศชาย จะมีความสุขมากกว่าเพศหญิงทุกการสำรวจ โดยคนที่แต่งงานแล้วในภาพรวมจะมีความสุขมากกว่าคนโสด โดยในกลุ่มผู้สูงอายุพบว่า ผู้ที่ยังทำงาน ผู้ที่มีเงินออม ผู้ที่มีความเสี่ยงทางสุขภาพต่ำ จะมีความสุขมากกว่า และผู้สูงอายุที่ไม่มีคนดูแลพบว่า เสี่ยงต่อการเกิดซึมเศร้าเกือบร้อยละ 30 สำหรับปัจจัยต่างๆ ทำให้เกิดความสุขพบว่า คนที่มีเพื่อนคอยช่วยเหลือ ยิ่งมากยิ่งมีความสุขมากกว่า สำหรับด้านเศรษฐกิจ พบว่า กลุ่มที่มีรายได้มากที่สุด จะมีความสุขห่างจากกลุ่มอื่น ส่วนคนที่มีรายได้ปานกลาง ไปถึงรายได้น้อย ถือว่ายังมีความสุขในระดับปานกลาง ซึ่งเรื่องเศรษฐกิจนั้น ยังมีความสัมพันธ์กับรายจ่าย หนี้สินด้วย
นพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า สำหรับครึ่งปีหลังพบว่า จังหวัดที่มีความสุขสูง 5 อันดับแรก คือ สิงห์บุรี บึงกาฬ ลำพูน พิจิตร แพร่ ส่วนจังหวัดที่มีความสุข 5 อันดับสุดท้าย คือ ชลบุรี สมุทรปราการ สุโขทัย แม่ฮ่องสอน และ สระแก้ว ส่วน กทม. อยู่ลำดับที่ 44 โดยสังเกตพบว่าภาคเหนือถือเป็นภาคที่มีจังหวัดที่มีความสุขสูง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัย เช่น มีสิ่งแวดล้อม ชุมชนมีสายสัมพันธ์ที่ดี การช่วยเหลือเกื้อกูล การเป็นชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้ การจะอธิบายว่าเกิดจากปัจจัยอะไรต้องทำการสำรวจเชิงคุณภาพต่อไป
“ความสุขมีปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ไม่สามารถระบุได้ว่า เกิดจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่โดยทั่วไป พบว่า ชุมชนเมืองที่มีความช่วยเหลือกันต่ำ แม้ว่าจะมีเศรษฐกิจที่ดีกว่า แต่ก็อาจมีความสุขน้อยกว่าเมืองที่มีการช่วยเหลือกัน รู้สึกถึงความปลอดภัย ส่วนเรื่องการที่สามารถคุยกันเรื่องการเมืองได้ พบว่า ภาคเหนือ สามารถคุยกันได้มาก ก็ไม่สามารถระบุได้ว่า เป็นการเปิดใจคุยกันหรือเป็นเพราะคุยในเรื่องเดียวกัน ส่วน กทม. พบว่า คุยกันเรื่องการเมืองได้น้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม พบว่าการเปลี่ยนแปลงหรือสถานการณ์ใหญ่ๆ ก็จะทำให้เกิดผลกระทบกับประชาชนได้ ”นพ.ประเวช กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (18 มี.ค.) นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า วันที่ 20 มี.ค. เป็นวันความสุขสากล โดยปัจจุบันประเทศที่มีความสุขมากที่สุดอันดับ 1 คือ เดนมาร์ก ส่วนประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 36 ของโลก และที่ 2 ของอาเซียน ทั้งนี้ จากการสำรวจความสุขคนไทย โดยกรมสุขภาพจิต ร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ด้วยแบบสำรวจสุขภาพจิตคนไทย ฉบับสั้น 15 ข้อ พบว่า ในปี 2557 ช่วงครึ่งปีหลังความสุขของคนไทยค่อยๆ ดีขึ้น โดยมีความสัมพันธ์กับการมีสุขภาพกาย สุขภาพใจ การมีสังคม การทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว การมีรายได้ที่พอเพียง การไม่มีหนี้ โดยรวมถือว่ามีความสุขเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนวิธีสร้างความสุขง่ายๆ คือ “ให้เวลา ขยับกาย กระจายสิ่งดี” คือ การมีเวลาให้ครอบครัว การออกกำลังกาย และการให้แต่สิ่งดีๆ แก่กัน
น.ส.รัจนา เนตรแสงทิพย์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า จากการสำรวจระหว่างปี 2551 - 2557 พบว่า ความสุขของคนไทยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สภาพสังคม จะเพิ่มขึ้นและลดลงสอดคล้องกับสถานการณ์ เช่น ความสุขในกลุ่มผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้นเมื่อมีนโยบายเบี้ยยังชีพ 500 บาท หรือ ความสุขลดลงในปี 2554 ทั้งประเทศ เนื่องจากปัญหาน้ำท่วม เป็นต้น สำหรับปี 2557 พบว่าค่าคะแนนความสุขประชาชนลดลงอยู่ที่ 32.06 จากปี 2555 อยู่ที่ 33.59 และ ปี 2556 อยู่ที่ 33.35 โดยไตรมาสที่ 2 ต่ำสุด อยู่ที่ 31.30 ซึ่งตรงกับช่วงการทำรัฐประหาร จากนั้นความสุขเริ่มเพิ่มขึ้นในไตรมาสต่อมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าแนวโน้มความสุขของประชาชนจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2558
น.ส.รัจนา กล่าวว่า เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ พบว่า เพศชาย จะมีความสุขมากกว่าเพศหญิงทุกการสำรวจ โดยคนที่แต่งงานแล้วในภาพรวมจะมีความสุขมากกว่าคนโสด โดยในกลุ่มผู้สูงอายุพบว่า ผู้ที่ยังทำงาน ผู้ที่มีเงินออม ผู้ที่มีความเสี่ยงทางสุขภาพต่ำ จะมีความสุขมากกว่า และผู้สูงอายุที่ไม่มีคนดูแลพบว่า เสี่ยงต่อการเกิดซึมเศร้าเกือบร้อยละ 30 สำหรับปัจจัยต่างๆ ทำให้เกิดความสุขพบว่า คนที่มีเพื่อนคอยช่วยเหลือ ยิ่งมากยิ่งมีความสุขมากกว่า สำหรับด้านเศรษฐกิจ พบว่า กลุ่มที่มีรายได้มากที่สุด จะมีความสุขห่างจากกลุ่มอื่น ส่วนคนที่มีรายได้ปานกลาง ไปถึงรายได้น้อย ถือว่ายังมีความสุขในระดับปานกลาง ซึ่งเรื่องเศรษฐกิจนั้น ยังมีความสัมพันธ์กับรายจ่าย หนี้สินด้วย
นพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า สำหรับครึ่งปีหลังพบว่า จังหวัดที่มีความสุขสูง 5 อันดับแรก คือ สิงห์บุรี บึงกาฬ ลำพูน พิจิตร แพร่ ส่วนจังหวัดที่มีความสุข 5 อันดับสุดท้าย คือ ชลบุรี สมุทรปราการ สุโขทัย แม่ฮ่องสอน และ สระแก้ว ส่วน กทม. อยู่ลำดับที่ 44 โดยสังเกตพบว่าภาคเหนือถือเป็นภาคที่มีจังหวัดที่มีความสุขสูง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัย เช่น มีสิ่งแวดล้อม ชุมชนมีสายสัมพันธ์ที่ดี การช่วยเหลือเกื้อกูล การเป็นชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้ การจะอธิบายว่าเกิดจากปัจจัยอะไรต้องทำการสำรวจเชิงคุณภาพต่อไป
“ความสุขมีปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ไม่สามารถระบุได้ว่า เกิดจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่โดยทั่วไป พบว่า ชุมชนเมืองที่มีความช่วยเหลือกันต่ำ แม้ว่าจะมีเศรษฐกิจที่ดีกว่า แต่ก็อาจมีความสุขน้อยกว่าเมืองที่มีการช่วยเหลือกัน รู้สึกถึงความปลอดภัย ส่วนเรื่องการที่สามารถคุยกันเรื่องการเมืองได้ พบว่า ภาคเหนือ สามารถคุยกันได้มาก ก็ไม่สามารถระบุได้ว่า เป็นการเปิดใจคุยกันหรือเป็นเพราะคุยในเรื่องเดียวกัน ส่วน กทม. พบว่า คุยกันเรื่องการเมืองได้น้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม พบว่าการเปลี่ยนแปลงหรือสถานการณ์ใหญ่ๆ ก็จะทำให้เกิดผลกระทบกับประชาชนได้ ”นพ.ประเวช กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่