ASTV ผู้จัดการรายวัน-ศาลแพ่งสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามฉาย Fast and Furious 7 ในประเทศไทย หลัง “เสี่ยเจียง” ฟ้อง “จาพนม-ยูนิเวอร์แซล-ยูไอพี” ฐานละเมิด ผิดสัญญา พร้อมเรียกค่าเสียหาย 1.6 พันล้านบาท “ทนายสุวัตร” ระบุพร้อมเจรจาโรงภาพยนตร์
วานนี้ (26 มี.ค.) ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความรับมอบอำนาจนายสมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ หรือ เสี่ยเจียง ผู้ก่อตั้ง บริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และประธานสหมงคลกรุ๊ป เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายพนม หรือทัชชกร ยีรัมย์ หรือจา พนม นักแสดงภาพยนตร์แอคชั่นชื่อดัง, บริษัท ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทอำนวยการสร้างภาพยนตร์ Fast and Furious 7 และบริษัท ยูไนเต็ด อินเตอร์เนชั่นแนล พิคเจอร์ส (ฟาร์อีสต์) จำกัด (ยูไอพี) ประเทศไทย เป็นจำเลยที่ 1-3 เรื่องละเมิด ผิดสัญญา เรียกค่าเสียหาย 1,600 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จากกรณีที่ จา พนม ผิดสัญญาการแสดงกับ บริษัท สหมงคลฟิล์ม ที่จะสิ้นสุดสัญญาในปี 2566
โดยการยื่นฟ้อง นายสุวัตร ทนายความโจทก์ ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินเพื่อมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวไม่ให้มีการฉายภาพยนตร์เรื่อง Fast and Furious 7 ที่ จา พนม จำเลยที่ 1ได้ร่วมแสดง ทั้งที่ยังมีภาระผูกพันกับสัญญาการแสดงกับ บริษัท สหมงคลฟิล์ม ซึ่งภาพยนตร์ดังกล่าวมีกำหนดฉายในประเทศไทยในวันที่ 1 เม.ย.นี้
ทั้งนี้ ศาลได้พิจารณาคำร้องแล้ว ให้ดำเนินการไต่สวนทนายฝ่ายโจทก์ โดยไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดีร่วมฟังการไต่สวน
จนเมื่อเวลา 17.00 น. นายสุวัตรกล่าวว่า หลังจากมีการไต่สวนแล้ว ศาลได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโจทก์ โดยมีคำสั่งให้ระงับการฉายภาพยนตร์ Fast and Furious 7 ไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาในคดี หรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น ซึ่งคำสั่งศาลดังกล่าวนั้น มีผลระงับการฉายภาพยนตร์ภายในประเทศเท่านั้น
โดยเหตุที่ต้องนำมาฟ้องต่อศาลแพ่งและขอคุ้มครองชั่วคราวนั้น เนื่องจากการนำภาพยนตร์ที่ จา พนม แสดง แต่ยังติดสัญญากับสหมงคลฟิล์มมาฉาย ถือเป็นการละเมิดสัญญา จึงได้เรียกค่าเสียหายจำนวน 1,600 ล้านบาท โดยจา พนม ได้เซ็นสัญญากับสหมงคลฟิล์มไว้เดือนก.ค.2556 และจะหมดสัญญาในปี 2566 ซึ่งค่าเสียหายที่เรียกไป ก็คำนวณมาจากการซื้อตัว จา พนม มาจากบริษัทอื่น รวมถึงการปลุกปั้นจนมีชื่อเสียง
ทั้งนี้ สำหรับการพิจารณาคดีหลักเรื่องการผิดสัญญา ศาลได้นัดชี้ 2 สถาน เพื่อกำหนดวันสืบพยาน และประเด็นนำสืบในวันที่ 15 เม.ย.นี้
เมื่อถามว่า ในเมื่อศาลมีคำสั่งระงับการฉายหนังจะมีผลกระทบต่อโรงภาพยนตร์ และฝ่ายจำเลยที่เตรียมจะฉายหนังหรือไม่ นายสุวัตร กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องมีการเจรจากัน หากบริษัทหรือโรงภาพยนตร์ต่างๆ ได้รับผลกระทบ ก็สามารถยื่นคัดค้าน หรือเข้ามาเจรจากันกับเราได้ ซึ่งแล้วแต่บริษัทหรือโรงภาพยนตร์ โดยเราพร้อมจะคุย หลังจากนี้ หากทั้งหมดเข้ามาเจรจา และถ้าตกลงกันได้ เราก็สามารถที่จะถอนฟ้องได้ตามขั้นตอน
วานนี้ (26 มี.ค.) ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความรับมอบอำนาจนายสมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ หรือ เสี่ยเจียง ผู้ก่อตั้ง บริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และประธานสหมงคลกรุ๊ป เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายพนม หรือทัชชกร ยีรัมย์ หรือจา พนม นักแสดงภาพยนตร์แอคชั่นชื่อดัง, บริษัท ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทอำนวยการสร้างภาพยนตร์ Fast and Furious 7 และบริษัท ยูไนเต็ด อินเตอร์เนชั่นแนล พิคเจอร์ส (ฟาร์อีสต์) จำกัด (ยูไอพี) ประเทศไทย เป็นจำเลยที่ 1-3 เรื่องละเมิด ผิดสัญญา เรียกค่าเสียหาย 1,600 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จากกรณีที่ จา พนม ผิดสัญญาการแสดงกับ บริษัท สหมงคลฟิล์ม ที่จะสิ้นสุดสัญญาในปี 2566
โดยการยื่นฟ้อง นายสุวัตร ทนายความโจทก์ ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินเพื่อมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวไม่ให้มีการฉายภาพยนตร์เรื่อง Fast and Furious 7 ที่ จา พนม จำเลยที่ 1ได้ร่วมแสดง ทั้งที่ยังมีภาระผูกพันกับสัญญาการแสดงกับ บริษัท สหมงคลฟิล์ม ซึ่งภาพยนตร์ดังกล่าวมีกำหนดฉายในประเทศไทยในวันที่ 1 เม.ย.นี้
ทั้งนี้ ศาลได้พิจารณาคำร้องแล้ว ให้ดำเนินการไต่สวนทนายฝ่ายโจทก์ โดยไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดีร่วมฟังการไต่สวน
จนเมื่อเวลา 17.00 น. นายสุวัตรกล่าวว่า หลังจากมีการไต่สวนแล้ว ศาลได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโจทก์ โดยมีคำสั่งให้ระงับการฉายภาพยนตร์ Fast and Furious 7 ไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาในคดี หรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น ซึ่งคำสั่งศาลดังกล่าวนั้น มีผลระงับการฉายภาพยนตร์ภายในประเทศเท่านั้น
โดยเหตุที่ต้องนำมาฟ้องต่อศาลแพ่งและขอคุ้มครองชั่วคราวนั้น เนื่องจากการนำภาพยนตร์ที่ จา พนม แสดง แต่ยังติดสัญญากับสหมงคลฟิล์มมาฉาย ถือเป็นการละเมิดสัญญา จึงได้เรียกค่าเสียหายจำนวน 1,600 ล้านบาท โดยจา พนม ได้เซ็นสัญญากับสหมงคลฟิล์มไว้เดือนก.ค.2556 และจะหมดสัญญาในปี 2566 ซึ่งค่าเสียหายที่เรียกไป ก็คำนวณมาจากการซื้อตัว จา พนม มาจากบริษัทอื่น รวมถึงการปลุกปั้นจนมีชื่อเสียง
ทั้งนี้ สำหรับการพิจารณาคดีหลักเรื่องการผิดสัญญา ศาลได้นัดชี้ 2 สถาน เพื่อกำหนดวันสืบพยาน และประเด็นนำสืบในวันที่ 15 เม.ย.นี้
เมื่อถามว่า ในเมื่อศาลมีคำสั่งระงับการฉายหนังจะมีผลกระทบต่อโรงภาพยนตร์ และฝ่ายจำเลยที่เตรียมจะฉายหนังหรือไม่ นายสุวัตร กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องมีการเจรจากัน หากบริษัทหรือโรงภาพยนตร์ต่างๆ ได้รับผลกระทบ ก็สามารถยื่นคัดค้าน หรือเข้ามาเจรจากันกับเราได้ ซึ่งแล้วแต่บริษัทหรือโรงภาพยนตร์ โดยเราพร้อมจะคุย หลังจากนี้ หากทั้งหมดเข้ามาเจรจา และถ้าตกลงกันได้ เราก็สามารถที่จะถอนฟ้องได้ตามขั้นตอน