ASTVผู้จัดการรายวัน-ประชาคม สธ. ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง "บิ๊กตู่" แจงชัด "หมอรัชตะ" ต้นเหตุทำข้าราชการสับสน สั่งงานข้ามหน้า "หมอณรงค์" ชี้ไม่เคยพูดเรื่องเขตสุขภาพ แต่หลังย้ายปลัดเข้ากรุกลับเร่งรัด แถมมีท่าทีปกป้อง สปสช. เสนอเรียก 53 วิชาชีพให้ข้อมูลที่แท้จริง พร้อมร่อนจดหมายถึงปลัดพาณิชย์เร่งรัดผลสอบปลัด สธ. ย้ำผลสอบ สปสช. ไม่ควรเอามาพ่วงผลสอบปลัด
นพ.สุทัศน์ ศรีวิไล ผอ.รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ในฐานะรักษาการประธานประชาคมสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังประชุมกรรมการประชาคมฯ วานนี้ (25 มี.ค.) ว่า ได้ข้อสรุปว่าจะเดินทางไปยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์รัฐบาล 1111 ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เดิม ทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอความเป็นธรรมกรณี นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ถูกย้ายไปช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี และถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง จากนั้นจะไปยื่นหนังสือต่อ น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการสอบฯ ปลัด สธ. ด้วย เพื่อขอให้เร่งดำเนินการตรวจสอบโดยเร็ว โปร่งใส และเป็นธรรม ในฐานะที่เป็นข้าราชการเช่นเดียวกัน เพราะการสอบสวนปลัด สธ. ส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจของข้าราชการ สธ.อย่างมาก
"พวกเราอยากเรียกร้องขอความเป็นธรรมจากนายกฯ เพราะสิ่งที่ปลัด สธ. ดำเนินการมา เป็นไปนโยบายตามรัฐบาล จึงอยากให้ตรวจสอบเรื่องนี้อย่างโปร่งใส เพราะปัญหาในวงการสาธารณสุขเป็นปัญหาเชิงระบบ ไม่ใช่ตัวบุคคล ถึงแม้ว่าปลัด สธ. จะไม่อยู่ แต่ระบบไม่ได้แก้ไข ปัญหาก็จะยังคงอยู่ นั่นเป็นเพราะคนถือเงินหรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ไม่รับฟังความเห็นผู้ให้บริการ ซึ่งเมื่อพวกเราเดือดร้อน ก็จำเป็นที่จะต้องสะท้อนปัญหาออกมาเพื่อการปฏิรูป โดยการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง สปสช.จะต้องให้คนกลางมาเป็นดำเนินการ" นพ.สุทัศน์กล่าว
ทั้งนี้ เนื้อหาในจดหมายเปิดผนึกถึงนายกฯ มีใจความโดยสรุปว่า สธ.ได้เดินหน้าปฏิรูประบบบริการสุขภาพผ่านเขตสุขภาพตั้งแต่ก่อนที่จะมีการตั้ง ครม. ซึ่งสุดท้ายเป็นนโยบายที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล แต่นโยบายของ รมว.สาธารณสุขกลับไม่มีเนื้อหาในเรื่องนี้ เนื่องจากมีการแต่งตั้งที่ปรึกษาที่อยู่ในเครือข่ายแพทยชนบทและไม่มีแนวคิดสนับสนุนในเรื่องนี้ ที่สำคัญรัฐมนตรีและทีมงานมีการเรียกประชุมข้ามปลัด สธ. ไปยังรองปลัด สธ. อธิบดีกรมต่างๆ ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติโดยตรง ทำให้เกิดความสับสนในหมู่ข้าราชการ และหลังจากที่ย้ายปลัด สธ. ไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี รมว.สาธารณสุขกลับมาเดินหน้าในเรื่องระบบบริการเขตสุขภาพ ทั้งที่ไม่เคยประกาศเป็นโยบาย โดยยืนยันว่าความขัดแย้งเป็นความแตกต่างของแนวคิดการทำงาน ไม่ใช่ตัวบุคคล ซึ่งรมว.สาธารณสุขมีท่าทีปกป้อง สปสช.มาตลอด แทนที่จะสนใจตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อปกป้องเงินภาษีของประชาชน
นพ.ธานินทร์ สีวราภรณ์สกุล ผอ.รพ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า คำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงปลัด สธ.ลงเมื่อวันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้ผ่านไปแล้ว 20 วัน แต่เท่าที่ทราบประธานคณะกรรมการฯ ยังไม่มีการเรียกประชุมเพื่อหารือประเด็นสอบสวนข้อเท็จจริง ทั้งที่โดยธรรมเนียมปฏิบัติแล้วการสอบสวนข้อเท็จจริงต้องทำให้เสร็จภายใน 30 วัน เพราะหากมีมูลก็จะได้สอบสวนในประเด็นอื่นต่อด้วย เช่น สอบสวนทางวินัยข้าราชการ ซึ่งการสอบสวนว่าไม่ปฏิบัติตามสนองนโยบายรัฐบาลและ รมว.สาธารณสุขเองก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากที่จะหาข้อมูล ซึ่งพวกเราที่ทำงานในระดับพื้นที่ก็พร้อมให้ข้อมูลเสมอ
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ประชาคมฯ ไม่สบายใจก็คือการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง สปสช. นั้น มีการเอาผลการสอบสวนไปผูกกับคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบฯ ปลัด สธ.ด้วย ซึ่งจะยิ่งทำให้เกิดความล่าช้าขึ้นไปอีก
พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ที่ปรึกษาสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) กล่าวว่า ไม่ควรเอาผลสอบทั้งสองเรื่องมาผูกเกี่ยวกัน เพราะจะยิ่งทำให้ล่าช้า ซึ่งการสอบสวน สปสช.ควรดำเนินการให้เสร็จใน 90 วันตามธรรมเนียม ซึ่งสามารถเร่งรัดให้เสร็จเร็วขึ้นได้ เนื่องจากกังวลว่าจะมีการยืดเรื่องไปจนถึงปลัด สธ.เกษียณอายุราชการ
นพ.ปรเมษฐ์ จินา ประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ถ้านายกฯ เห็นใจ อยากให้ท่านเป็นผู้นำเชิญตัวแทน 53 วิชาชีพด้านสาธารณสุขมาให้ข้อมูล ร่วมกับ รมว.สาธารณสุข รมช.สาธารณสุข และที่ปรึกษารับมนตรีเลยว่าจะแก้ปัญหาและจบลงอย่างไร
ด้านนายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง นพ.ณรงค์ และคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง สปสช. ว่า ตนไม่ทราบว่ามีระเบียบว่าการสอบข้อเท็จจริงจะต้องเสร็จภายใน 90 วัน ซึ่งในเรื่องการสอบนั้น ตนยังไม่ได้ตั้งเวลา เนื่องจากอยากให้ผลสอบออกมาอย่างชัดแจ้ง จึงไม่ได้ตั้งเกณฑ์เวลาเอาไว้ ส่วนถ้าจะให้กำหนดว่ากี่วันจะสอบสวนข้อเท็จจริงเสร็จ ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการฯ
นพ.สุทัศน์ ศรีวิไล ผอ.รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ในฐานะรักษาการประธานประชาคมสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังประชุมกรรมการประชาคมฯ วานนี้ (25 มี.ค.) ว่า ได้ข้อสรุปว่าจะเดินทางไปยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์รัฐบาล 1111 ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เดิม ทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอความเป็นธรรมกรณี นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ถูกย้ายไปช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี และถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง จากนั้นจะไปยื่นหนังสือต่อ น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการสอบฯ ปลัด สธ. ด้วย เพื่อขอให้เร่งดำเนินการตรวจสอบโดยเร็ว โปร่งใส และเป็นธรรม ในฐานะที่เป็นข้าราชการเช่นเดียวกัน เพราะการสอบสวนปลัด สธ. ส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจของข้าราชการ สธ.อย่างมาก
"พวกเราอยากเรียกร้องขอความเป็นธรรมจากนายกฯ เพราะสิ่งที่ปลัด สธ. ดำเนินการมา เป็นไปนโยบายตามรัฐบาล จึงอยากให้ตรวจสอบเรื่องนี้อย่างโปร่งใส เพราะปัญหาในวงการสาธารณสุขเป็นปัญหาเชิงระบบ ไม่ใช่ตัวบุคคล ถึงแม้ว่าปลัด สธ. จะไม่อยู่ แต่ระบบไม่ได้แก้ไข ปัญหาก็จะยังคงอยู่ นั่นเป็นเพราะคนถือเงินหรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ไม่รับฟังความเห็นผู้ให้บริการ ซึ่งเมื่อพวกเราเดือดร้อน ก็จำเป็นที่จะต้องสะท้อนปัญหาออกมาเพื่อการปฏิรูป โดยการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง สปสช.จะต้องให้คนกลางมาเป็นดำเนินการ" นพ.สุทัศน์กล่าว
ทั้งนี้ เนื้อหาในจดหมายเปิดผนึกถึงนายกฯ มีใจความโดยสรุปว่า สธ.ได้เดินหน้าปฏิรูประบบบริการสุขภาพผ่านเขตสุขภาพตั้งแต่ก่อนที่จะมีการตั้ง ครม. ซึ่งสุดท้ายเป็นนโยบายที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล แต่นโยบายของ รมว.สาธารณสุขกลับไม่มีเนื้อหาในเรื่องนี้ เนื่องจากมีการแต่งตั้งที่ปรึกษาที่อยู่ในเครือข่ายแพทยชนบทและไม่มีแนวคิดสนับสนุนในเรื่องนี้ ที่สำคัญรัฐมนตรีและทีมงานมีการเรียกประชุมข้ามปลัด สธ. ไปยังรองปลัด สธ. อธิบดีกรมต่างๆ ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติโดยตรง ทำให้เกิดความสับสนในหมู่ข้าราชการ และหลังจากที่ย้ายปลัด สธ. ไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี รมว.สาธารณสุขกลับมาเดินหน้าในเรื่องระบบบริการเขตสุขภาพ ทั้งที่ไม่เคยประกาศเป็นโยบาย โดยยืนยันว่าความขัดแย้งเป็นความแตกต่างของแนวคิดการทำงาน ไม่ใช่ตัวบุคคล ซึ่งรมว.สาธารณสุขมีท่าทีปกป้อง สปสช.มาตลอด แทนที่จะสนใจตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อปกป้องเงินภาษีของประชาชน
นพ.ธานินทร์ สีวราภรณ์สกุล ผอ.รพ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า คำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงปลัด สธ.ลงเมื่อวันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้ผ่านไปแล้ว 20 วัน แต่เท่าที่ทราบประธานคณะกรรมการฯ ยังไม่มีการเรียกประชุมเพื่อหารือประเด็นสอบสวนข้อเท็จจริง ทั้งที่โดยธรรมเนียมปฏิบัติแล้วการสอบสวนข้อเท็จจริงต้องทำให้เสร็จภายใน 30 วัน เพราะหากมีมูลก็จะได้สอบสวนในประเด็นอื่นต่อด้วย เช่น สอบสวนทางวินัยข้าราชการ ซึ่งการสอบสวนว่าไม่ปฏิบัติตามสนองนโยบายรัฐบาลและ รมว.สาธารณสุขเองก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากที่จะหาข้อมูล ซึ่งพวกเราที่ทำงานในระดับพื้นที่ก็พร้อมให้ข้อมูลเสมอ
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ประชาคมฯ ไม่สบายใจก็คือการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง สปสช. นั้น มีการเอาผลการสอบสวนไปผูกกับคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบฯ ปลัด สธ.ด้วย ซึ่งจะยิ่งทำให้เกิดความล่าช้าขึ้นไปอีก
พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ที่ปรึกษาสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) กล่าวว่า ไม่ควรเอาผลสอบทั้งสองเรื่องมาผูกเกี่ยวกัน เพราะจะยิ่งทำให้ล่าช้า ซึ่งการสอบสวน สปสช.ควรดำเนินการให้เสร็จใน 90 วันตามธรรมเนียม ซึ่งสามารถเร่งรัดให้เสร็จเร็วขึ้นได้ เนื่องจากกังวลว่าจะมีการยืดเรื่องไปจนถึงปลัด สธ.เกษียณอายุราชการ
นพ.ปรเมษฐ์ จินา ประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ถ้านายกฯ เห็นใจ อยากให้ท่านเป็นผู้นำเชิญตัวแทน 53 วิชาชีพด้านสาธารณสุขมาให้ข้อมูล ร่วมกับ รมว.สาธารณสุข รมช.สาธารณสุข และที่ปรึกษารับมนตรีเลยว่าจะแก้ปัญหาและจบลงอย่างไร
ด้านนายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง นพ.ณรงค์ และคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง สปสช. ว่า ตนไม่ทราบว่ามีระเบียบว่าการสอบข้อเท็จจริงจะต้องเสร็จภายใน 90 วัน ซึ่งในเรื่องการสอบนั้น ตนยังไม่ได้ตั้งเวลา เนื่องจากอยากให้ผลสอบออกมาอย่างชัดแจ้ง จึงไม่ได้ตั้งเกณฑ์เวลาเอาไว้ ส่วนถ้าจะให้กำหนดว่ากี่วันจะสอบสวนข้อเท็จจริงเสร็จ ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการฯ