ASTVผู้จัดการรายวัน - “ณรงค์ชัย”ส่งสัญญาณเบรกขึ้นLPGเม.ย. ยันจะรักษาระดับราคาเดิมไว้ก่อน ขณะที่ NGV ก็ยังไม่แตะหลังคมนาคมร้องขอ เร่งเครื่องลงทุนด้านพลังงานช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยพุ่งเป้าเฉพาะไฟฟ้าแสงอาทิตย์จ่อลงทุน1.2แสนลบ. ลุ้นเดินหน้าเปิดสำรวจปิโตรเลียมรอบใหม่ต่อใน 3 เดือน ด้าน “สนพ.”จ่อชงกบง.เร็วๆนี้โยกเงินกองทุนน้ำมันฯโปะบัญชีLPGเป็นเงินตั้งต้นไว้ดูแลราคาเพื่อไม่ให้มีการอุดหนุนข้ามกลุ่ม
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผย ในงานเสวนาวิชาการเรื่อง “ใช้พลังงานคุ้มค่า ร่วมพัฒนาเศรษฐกิจไทย “ซึ่งจัดโดยบมจ.ปตท. เมื่อวันที่ 25 มี.ค.58 ว่า การพิจารณาเปลี่ยนแปลงราคาก๊าซหุงต้ม(LPG) เม.ย. 58 ซึ่งจะต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงเป็นรายเดือนตามนโยบายปรับโครงสร้างราคาให้สะท้อนต้นทุนจริงซึ่งจะพยายามรักษาระดับราคาเดิมไม่เปลี่ยนแปลงซึ่งปัจจุบันราคาอยู่ที่ 24.16 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) อย่างไรก็ตามจะมีการพิจารณาราคาในการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงาน(กบง.)ต่อไป
“จริงๆ เป้าหมายคือเราจะมีการเปลี่ยนแปลงราคาLPGทุกเดือนให้สะท้อนต้นทุน แต่ก็จะพยายามดูแลไม่ให้ราคาขั้นสุดท้ายเปลี่ยนไปจากเดิม มากนักแม้ว่าตลาดโลกจะขยับ ส่วนกรณีก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์NGV ที่ผ่านมาบมจ.ปตท.เองก็แบกรับภาระต้นทุนไว้แต่จะขยับก็ลำบากเพราะกระทรวงคมนาคาก็คอยสะกิดว่าอย่างเพิ่งเลย แต่ในที่สุดก็จะต้องปรับโครงสร้างให้สะท้อนต้นทุน “นายณรงค์ชัยกล่าว
ทั้งนี้หลายฝ่ายมีความกังวลเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ดังนั้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในส่วนของพลังงาน มี 3 เรื่องที่ต้องดำเนินการคือ 1. เรื่องราคานั้นที่ผ่านมามีการปรับโครงสร้างราคาที่บิดเบือนให้สะท้อนต้นทุนการจะเน้นราคาต่ำเกินจริงคงทำไม่ได้ แต่จะดูแลในจุดที่เหมาะสมในระดับปัจจุบันที่ทำอยู่ซึ่งกรณีที่มีบางฝ่ายมองว่าการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงกว่า 3 หมื่นล้านบาทน่าจะนำมาลดราคาน้ำมันได้นั้นจุดนี้เห็นว่าควรจะเก็บเอาไว้ใช้ยามที่ราคาน้ำมันกลับมาสูงเพื่อทำให้ฐานะกองทุนน้ำมันฯแข็งแกร่งจะดีกว่า
2.การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านการผลิต คือการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ซึ่งจะทำให้เกิดการลงทุนสำรวจขุดจาะเพื่อให้ก๊าซฯมีใช้ต่อเนื่องแต่ที่ผ่านมาต้องชะลอออกไปเนื่องจากมีการคัดค้านซึ่งรัฐบาลจึงให้ชะลอออกไปเพื่อให้เร่งแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะการทบทวนกฏหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องใหม่ในเวลา 3 เดือนซึ่งหลังจากนั้นเมื่อได้ข้อสรุปก็คิดว่าจะสามารถเดินหน้าเปิดให้เอกชนมายื่นสิทธิ์สำรวจและผลิตปิโตรเลียมได้แต่จะใช้ระบบใดก็อยู่ที่ต้องมาพิจารณากันในขณะนั้น
3. การลงทุนต่อเนื่องของธุรกิจไฟฟ้าซึ่งที่ผ่านมาคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บอร์ดบีโอไอ)ได้อนุมัติให้การส่งเสริมฯโครงการผลิตไฟฟ้าจากเอกชนรายเล็กหรือ SPP ไปค่อนข้างมาก ประกอบกับในส่วนของพลังงานทดแทนเองก็มีเอกชนสนใจลงทุนมากไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ ชีวมวล ชีวภาพ
แต่บางอย่างในอดีตติดปัญหาในเรื่องของอัตราการส่งเสริมที่ชัดเจนและสายส่งมีไม่เพียงพอก็จะเร่งแก้ไขเพื่อให้มีการลงทุนเข้าระบบโดยเร็ว
“เฉพาะไฟฟ้าแสงอาทิตย์ก็จะมีเกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 2,000 เมกะวัตต์ การลงทุนเฉพาะส่วนนี้ก็คิดเป็นเมกะวัตต์ละ 60 ล้านบาทหรือราว 1.2 แสนล้านบาทก็ถือว่ามากแล้วยังจะมีการลงทุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เช่น โรงไฟฟ้าทดแทน แม่เมาะอีก เหล่านี้ก็จะทำให้เกิดการลงทุนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้”รมว.พลังงานกล่าว
นายชวลิต พิชาลัยผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)กล่าวว่า กบง.เร็วๆ นี้ จะมีการพิจารณาราคาLPG เดือนเมษายน โดยจะตรึงราคาหรือไม่ขึ้นกับมติที่ประชุม อย่างไรก็ตามจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่แยกมาเป็นบัญชีสำหรับ LPG มีเงินไหลเข้าเพียง 0.35 บาท/กก.จากเริ่มต้นมี 0.53 บาท/กก. ดังนั้นจะเสนอกบง.ให้เกลี่ยเงินกองทุนน้ำมันฯที่มีสูงถึง 3.7หมื่นล้านบาทมาเป็นเงินตั้งต้นให้กับบัญชีLPG เพื่อให้สามารถดูแลไม่ให้มีการอุดหนุนข้ามกลุ่มในอนาคต
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. กล่าวว่า ในเดือนมีนาคม 2558 ประเทศไทยมีการใช้ก๊าซธรรมชาติในปริมาณสูงสุด ถึง5,300 ล้านลูกบาศ์กฟุตต่อวันก็คาดว่าในเดือนเมษายนนี้ ซึ่งจะร้อนมากขึ้นก็คาดว่าจะมีการใช้ก๊าซสูงสุด ซึ่ง ปตท.ต้องพร้อมในการจัดหาก๊าซเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผย ในงานเสวนาวิชาการเรื่อง “ใช้พลังงานคุ้มค่า ร่วมพัฒนาเศรษฐกิจไทย “ซึ่งจัดโดยบมจ.ปตท. เมื่อวันที่ 25 มี.ค.58 ว่า การพิจารณาเปลี่ยนแปลงราคาก๊าซหุงต้ม(LPG) เม.ย. 58 ซึ่งจะต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงเป็นรายเดือนตามนโยบายปรับโครงสร้างราคาให้สะท้อนต้นทุนจริงซึ่งจะพยายามรักษาระดับราคาเดิมไม่เปลี่ยนแปลงซึ่งปัจจุบันราคาอยู่ที่ 24.16 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) อย่างไรก็ตามจะมีการพิจารณาราคาในการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงาน(กบง.)ต่อไป
“จริงๆ เป้าหมายคือเราจะมีการเปลี่ยนแปลงราคาLPGทุกเดือนให้สะท้อนต้นทุน แต่ก็จะพยายามดูแลไม่ให้ราคาขั้นสุดท้ายเปลี่ยนไปจากเดิม มากนักแม้ว่าตลาดโลกจะขยับ ส่วนกรณีก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์NGV ที่ผ่านมาบมจ.ปตท.เองก็แบกรับภาระต้นทุนไว้แต่จะขยับก็ลำบากเพราะกระทรวงคมนาคาก็คอยสะกิดว่าอย่างเพิ่งเลย แต่ในที่สุดก็จะต้องปรับโครงสร้างให้สะท้อนต้นทุน “นายณรงค์ชัยกล่าว
ทั้งนี้หลายฝ่ายมีความกังวลเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ดังนั้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในส่วนของพลังงาน มี 3 เรื่องที่ต้องดำเนินการคือ 1. เรื่องราคานั้นที่ผ่านมามีการปรับโครงสร้างราคาที่บิดเบือนให้สะท้อนต้นทุนการจะเน้นราคาต่ำเกินจริงคงทำไม่ได้ แต่จะดูแลในจุดที่เหมาะสมในระดับปัจจุบันที่ทำอยู่ซึ่งกรณีที่มีบางฝ่ายมองว่าการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงกว่า 3 หมื่นล้านบาทน่าจะนำมาลดราคาน้ำมันได้นั้นจุดนี้เห็นว่าควรจะเก็บเอาไว้ใช้ยามที่ราคาน้ำมันกลับมาสูงเพื่อทำให้ฐานะกองทุนน้ำมันฯแข็งแกร่งจะดีกว่า
2.การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านการผลิต คือการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ซึ่งจะทำให้เกิดการลงทุนสำรวจขุดจาะเพื่อให้ก๊าซฯมีใช้ต่อเนื่องแต่ที่ผ่านมาต้องชะลอออกไปเนื่องจากมีการคัดค้านซึ่งรัฐบาลจึงให้ชะลอออกไปเพื่อให้เร่งแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะการทบทวนกฏหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องใหม่ในเวลา 3 เดือนซึ่งหลังจากนั้นเมื่อได้ข้อสรุปก็คิดว่าจะสามารถเดินหน้าเปิดให้เอกชนมายื่นสิทธิ์สำรวจและผลิตปิโตรเลียมได้แต่จะใช้ระบบใดก็อยู่ที่ต้องมาพิจารณากันในขณะนั้น
3. การลงทุนต่อเนื่องของธุรกิจไฟฟ้าซึ่งที่ผ่านมาคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บอร์ดบีโอไอ)ได้อนุมัติให้การส่งเสริมฯโครงการผลิตไฟฟ้าจากเอกชนรายเล็กหรือ SPP ไปค่อนข้างมาก ประกอบกับในส่วนของพลังงานทดแทนเองก็มีเอกชนสนใจลงทุนมากไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ ชีวมวล ชีวภาพ
แต่บางอย่างในอดีตติดปัญหาในเรื่องของอัตราการส่งเสริมที่ชัดเจนและสายส่งมีไม่เพียงพอก็จะเร่งแก้ไขเพื่อให้มีการลงทุนเข้าระบบโดยเร็ว
“เฉพาะไฟฟ้าแสงอาทิตย์ก็จะมีเกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 2,000 เมกะวัตต์ การลงทุนเฉพาะส่วนนี้ก็คิดเป็นเมกะวัตต์ละ 60 ล้านบาทหรือราว 1.2 แสนล้านบาทก็ถือว่ามากแล้วยังจะมีการลงทุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เช่น โรงไฟฟ้าทดแทน แม่เมาะอีก เหล่านี้ก็จะทำให้เกิดการลงทุนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้”รมว.พลังงานกล่าว
นายชวลิต พิชาลัยผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)กล่าวว่า กบง.เร็วๆ นี้ จะมีการพิจารณาราคาLPG เดือนเมษายน โดยจะตรึงราคาหรือไม่ขึ้นกับมติที่ประชุม อย่างไรก็ตามจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่แยกมาเป็นบัญชีสำหรับ LPG มีเงินไหลเข้าเพียง 0.35 บาท/กก.จากเริ่มต้นมี 0.53 บาท/กก. ดังนั้นจะเสนอกบง.ให้เกลี่ยเงินกองทุนน้ำมันฯที่มีสูงถึง 3.7หมื่นล้านบาทมาเป็นเงินตั้งต้นให้กับบัญชีLPG เพื่อให้สามารถดูแลไม่ให้มีการอุดหนุนข้ามกลุ่มในอนาคต
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. กล่าวว่า ในเดือนมีนาคม 2558 ประเทศไทยมีการใช้ก๊าซธรรมชาติในปริมาณสูงสุด ถึง5,300 ล้านลูกบาศ์กฟุตต่อวันก็คาดว่าในเดือนเมษายนนี้ ซึ่งจะร้อนมากขึ้นก็คาดว่าจะมีการใช้ก๊าซสูงสุด ซึ่ง ปตท.ต้องพร้อมในการจัดหาก๊าซเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้