วานนี้ (24มี.ค.) นายดุษฎี พรสุขสวัสดิ์ รองเลขาธิการ กกต. ด้านสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย แถลงว่าที่ประชุมกกต. มีมติยกคำร้องกรณีกล่าวหา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กับพวกรวม 9 คน ประกอบด้วย นายปลอดประสพ สุรัสวดี รักษาการรองนายกฯ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รักษาการรมว.มหาดไทย นายสันติ พร้อมพัฒน์ รักษาการรมต.ประจำสำนักนายกฯ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รักษาการ รมช.ศึกษาธิการ นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ รักษาการรมช. มหาดไทย นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รักษาการรมช.คลัง นายพีระพันธ์ พาลุสุข รักษาการ รมว.วิทยาศาสตร์ นายชัชชาติ สุทธิพันธ์ รักษาการรมว.คมนาคม รวมทั้งอดีต ผบ.ตร. พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ตามคำร้องของ นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมองค์กรพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย และผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งรวม 7 คน ร้องคัดค้านว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ และพวก ว่ากระทำการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 (4) และ พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. มาตรา 53 และ 57 และระเบียบ กกต. ว่าด้วยการใช้ทรัพยากร หรือบุคลากรของรัฐ เพื่อกระทำการใดให้มีผลต่อการเลือกตั้ง โดยรออกตรวจราชการหลายจังหวัดทางภาคเหนือ และภาคอีสาน และกรณีไปร่วมพิธีศพ มอบเงินแก่ครอบครัวนายดาบตำรวจที่เสียชีวิตจากการชุมนุม โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ และพวก ระหว่าง 12–26 ธ.ค. 56 ซึ่งอยู่ระหว่างมี พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง 2 ก.พ. 57 แล้ว โดยกกต.เห็นว่า ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่า มีการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยกคำร้องคัดค้าน ยกเว้นประเด็นที่ไปราชการ ที่บึงพลาญชัย จ.ร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 56 นั้น ที่กกต.มีมติยกคำร้อง ด้วยเสียงข้างมาก
"คดีนี้มีรายละเอียดมาก กกต. จึงมองเป็นประเด็นๆไป ว่ามีข้อเท็จจริงใดที่เกี่ยวพัน หรือชี้ให้เห็นว่าใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ หรือมีลักษณะเกี่ยวพันกับการหาเสียงเลือกตั้ง แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในสำนวน จึงไม่อาจพิจารณาลงโทษใคร จึงให้ยกคำร้อง โดยฐานความผิดเรื่องนี้ คือใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ คือ 1. มีอำนาจหน้าที่ไปตรวจราชการหรือไม่ 2. การไปตรวจราชการระหว่างมี พ.ร.ฎ.ได้หรือไม่ ซึ่งดูข้อเท็จจริงแล้ว ผู้อยู่ในตำแหน่ง มีอำนาจหน้าที่เดินทาง ใช้ทรัพยากรเดินทางได้ เพียงแต่รัฐธรรมนูญกำหนดห้ามใช้ไปในการหาเสียง ส่วนประเด็นที่เสียงไม่เป็นเอกฉันท์นั้น ดูจากการที่ประชาชนมาต้อนรับ ซึ่งเป็นงานของจังหวัด ซึ่งมองต่างในข้อเท็จจริง" นายดุษฎี กล่าว
สำหรับกรณี นายศรีสุวรรณ กล่าวหาน.ส.ยิ่งลักษณ์ อดีตนายกฯ ใช้สื่อของรัฐในการแถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ เพื่อโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล อันเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 181(4) และ พ.ร.ป.เลือกตั้งฯ มาตรา 53, 57 และ 60 นั้น กกต. แยกพิจารณาเป็น 3 ประเด็น คือ การหาเสียงทางโทรทัศน์และวิทยุ ซึ่งกฎหมายห้ามหาเสียงนอกจากรัฐจัดให้ 2. การโฆษณาโครงการจำนำข้าวดังกล่าวเข้าข่ายเป็นการสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดต่อชุมชนหรือไม่ และ 3. เจ้าหน้าที่รัฐใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อเอื้อประโยชน์แต่ผู้สมัครหรือไม่ ซึ่งกกต.พิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงในสำนวนฟังไม่ได้ว่า การกระทำทั้ง 3 กรณี เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้ง จึงมีมติยกคำร้องคัดค้าน
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังเหลือคำร้องที่เกี่ยวกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ อีกหนึ่งคดี คือ กรณีการกล่าวหาว่าใช้สถานีโทรทัศน์ NBTเชิญคนของรัฐบาล ไปออกรายการในระหว่างมี พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง ถือเป็นการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง หรือไม่
นอกจากนี้ ที่ประชุมกกต. ยังรับทราบความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมือง ที่เสนอให้ยกคำร้อง กรณี นายสิงห์ทอง บัวชุม อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย ขอให้พิจารณาสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจาก กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ (กปปส.) ขณะที่ยังดำรงตำแหน่ง ส.ส.และมีการแถลงข่าวทำนองใส่ร้ายพรรครัฐบาล เข้าข่ายพรรคประชาธิปัตย์ รู้เห็นเป็นใจให้บุคคลใดกลั่นแกล้งพรรค หรือกรรมการบริหารพรรคการเมือง โดยนายทะเบียนพรรคการเมืองเห็นว่า ข้อเท็จ จริงฟังในเรื่องนี้ไม่ได้ว่า เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย
ส่วนกรณีที่ นายกมล บันไดเพชร กล่าวหา นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ว่ามีการแถลงข่าวกล่าวหาว่า พรรคเพื่อไทย ต้องการใช้การเลือกตั้งเพื่อฟอกขาวให้ตนเอง ในกรณีการทุจริตจำนำข้าว โดยใช้ข้อความว่า “ยิ่งลักษณ์ หัวใจรักประชาธิปไตย ไม่ลงพื้นที่เมินหาเสียง และนโยบายเดิมอาจทำให้ไทยเจอวิกฤติอีกรอบ" นั้น กกต. พิจารณาแล้วเห็นว่า การแถลงข่าวดังกล่าว ยังไม่เป็นการใส่ร้ายป้ายสี ตาม พ.ร.บ.เลือกตั้งฯ มาตรา 53 (5) จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ยกคำร้องคัดค้านด้วย
"คดีนี้มีรายละเอียดมาก กกต. จึงมองเป็นประเด็นๆไป ว่ามีข้อเท็จจริงใดที่เกี่ยวพัน หรือชี้ให้เห็นว่าใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ หรือมีลักษณะเกี่ยวพันกับการหาเสียงเลือกตั้ง แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในสำนวน จึงไม่อาจพิจารณาลงโทษใคร จึงให้ยกคำร้อง โดยฐานความผิดเรื่องนี้ คือใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ คือ 1. มีอำนาจหน้าที่ไปตรวจราชการหรือไม่ 2. การไปตรวจราชการระหว่างมี พ.ร.ฎ.ได้หรือไม่ ซึ่งดูข้อเท็จจริงแล้ว ผู้อยู่ในตำแหน่ง มีอำนาจหน้าที่เดินทาง ใช้ทรัพยากรเดินทางได้ เพียงแต่รัฐธรรมนูญกำหนดห้ามใช้ไปในการหาเสียง ส่วนประเด็นที่เสียงไม่เป็นเอกฉันท์นั้น ดูจากการที่ประชาชนมาต้อนรับ ซึ่งเป็นงานของจังหวัด ซึ่งมองต่างในข้อเท็จจริง" นายดุษฎี กล่าว
สำหรับกรณี นายศรีสุวรรณ กล่าวหาน.ส.ยิ่งลักษณ์ อดีตนายกฯ ใช้สื่อของรัฐในการแถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ เพื่อโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล อันเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 181(4) และ พ.ร.ป.เลือกตั้งฯ มาตรา 53, 57 และ 60 นั้น กกต. แยกพิจารณาเป็น 3 ประเด็น คือ การหาเสียงทางโทรทัศน์และวิทยุ ซึ่งกฎหมายห้ามหาเสียงนอกจากรัฐจัดให้ 2. การโฆษณาโครงการจำนำข้าวดังกล่าวเข้าข่ายเป็นการสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดต่อชุมชนหรือไม่ และ 3. เจ้าหน้าที่รัฐใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อเอื้อประโยชน์แต่ผู้สมัครหรือไม่ ซึ่งกกต.พิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงในสำนวนฟังไม่ได้ว่า การกระทำทั้ง 3 กรณี เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้ง จึงมีมติยกคำร้องคัดค้าน
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังเหลือคำร้องที่เกี่ยวกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ อีกหนึ่งคดี คือ กรณีการกล่าวหาว่าใช้สถานีโทรทัศน์ NBTเชิญคนของรัฐบาล ไปออกรายการในระหว่างมี พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง ถือเป็นการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง หรือไม่
นอกจากนี้ ที่ประชุมกกต. ยังรับทราบความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมือง ที่เสนอให้ยกคำร้อง กรณี นายสิงห์ทอง บัวชุม อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย ขอให้พิจารณาสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจาก กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ (กปปส.) ขณะที่ยังดำรงตำแหน่ง ส.ส.และมีการแถลงข่าวทำนองใส่ร้ายพรรครัฐบาล เข้าข่ายพรรคประชาธิปัตย์ รู้เห็นเป็นใจให้บุคคลใดกลั่นแกล้งพรรค หรือกรรมการบริหารพรรคการเมือง โดยนายทะเบียนพรรคการเมืองเห็นว่า ข้อเท็จ จริงฟังในเรื่องนี้ไม่ได้ว่า เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย
ส่วนกรณีที่ นายกมล บันไดเพชร กล่าวหา นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ว่ามีการแถลงข่าวกล่าวหาว่า พรรคเพื่อไทย ต้องการใช้การเลือกตั้งเพื่อฟอกขาวให้ตนเอง ในกรณีการทุจริตจำนำข้าว โดยใช้ข้อความว่า “ยิ่งลักษณ์ หัวใจรักประชาธิปไตย ไม่ลงพื้นที่เมินหาเสียง และนโยบายเดิมอาจทำให้ไทยเจอวิกฤติอีกรอบ" นั้น กกต. พิจารณาแล้วเห็นว่า การแถลงข่าวดังกล่าว ยังไม่เป็นการใส่ร้ายป้ายสี ตาม พ.ร.บ.เลือกตั้งฯ มาตรา 53 (5) จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ยกคำร้องคัดค้านด้วย