ASTVผู้จัดการรายวัน-"ไพบูลย์"ชี้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นรับเงินคืนจาก "วัดธรรมกาย-ธัมมชโย" ทำเสียโอกาสได้เงินรวดเดียว ซ้ำชวดดอกเบี้ยและค่าเสียโอกาส เชื่อ "นะจ๊ะ" กลัวถูกตรวจสอบ จึงต้องตัดไฟแต่ต้นลม ยอมรับเงื่อนไขจ่ายเงินคืน
นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะอดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ เปิดเผยถึงกรณีวัดธรรมกายยอมคืนเงินให้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ว่า กรรมการสหกรณ์ฯ ผ่อนปรนให้พระธัมมชโยและวัดธรรมกายมากเกินไป การยอมรับข้อเสนอผ่อนจ่ายให้งวดละร้อยล้านบาท ทำให้เสียโอกาสที่จะได้เงินคืนเต็มจำนวนกว่า 600 ล้านเร็วกว่านี้ อีกทั้งยังไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยและค่าเสียโอกาส โดยยอมถอนฟ้องทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งจากข้อมูลสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) พบว่า ยังมีเงินในนามวัดพระธรรมกาย และบัญชีของพระธัมมชโย รวมกันแล้วเกิน700-800 ล้านบาท หากมีการอายัดเงินในบัญชีดังกล่าว จะสามารถได้เงินคืนมาชดใช้ให้ประชาชนที่เดือดร้อนในงวดเดียวได้ทันที
"เหตุที่พระธัมมชโย ยอมจ่ายเงินคืนให้ ไม่ได้เกิดจากความเป็นห่วงในความเดือดร้อนของประชาชนที่ฝากเงินกับสหกรณ์ฯ แต่กลัวจะถูกอายัดทรัพย์ทั้งหมด และอาจมีการขยายผลตรวจสอบมากกว่านี้ จึงใช้วิธีการตัดไฟแต่ต้นลม เพื่อตัดตอนการตรวจสอบ การที่ผู้บริหารสหกรณ์ฯ ยอมรับเงื่อนไขต่อรองนี้ เหมือนเป็นการเอื้อประโยชน์ให้พระธัมมชโยและวัดธรรมกาย"นายไพบูลย์ กล่าว
นายไพบูลย์ กล่าวอีกว่า จะขอข้อมูลทั้งหมดจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ที่เชื่อมโยงถึงนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์ยูเนี่ยนคลองจั่น และพวก รวมถึงพระธัมมชโย ที่น่าจะมีการร่วมกันทำความผิดในครั้งนี้ เพราะเงินที่พระธัมมชโยได้รับจากสหกรณ์ฯ ไม่ได้โอนใส่ในบัญชีของวัด แต่กลับโอนใส่ในบัญชีมูลนิธิแม่ชีจันทร์แทน และในการรับโอนเงินมาทั้ง 8 ครั้ง พระธัมมชโย ก็เป็นผู้ดำเนินการรับโอนด้วยตนเองทั้งหมดทุกครั้ง แต่กลับบอกกับสังคมว่าตัวเองไม่รู้เรื่องเงินที่บริจาคให้วัด ทั้งที่มีหลักฐานยืนยันว่า เป็นผู้ดำเนินการรับโอนเงินเข้าบัญชีมูลนิธิฯ แทนที่จะโอนเข้าบัญชีของวัด ตามวัตถุประสงค์ของพุทธศาสนิกชนที่ต้องการทำบุญให้วัด
ทั้งนี้ ขอเรียกร้องให้ดีเอสไอตรวจสอบต่อไปว่า เงินที่อยู่ในบัญชีของมูลนิธิดังกล่าว เวลานี้อยู่ที่ใคร มีเส้นทางการเดินของเงินเกี่ยวข้องกับบุคคลใดบ้าง แล้วเปิดเผยต่อสาธารณชน
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 24 มี.ค.2558 ตนจะมีการเสนอรายงานปัญหาของคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนาเข้าสู่ที่ประชุม สปช. ด้วย
นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะอดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ เปิดเผยถึงกรณีวัดธรรมกายยอมคืนเงินให้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ว่า กรรมการสหกรณ์ฯ ผ่อนปรนให้พระธัมมชโยและวัดธรรมกายมากเกินไป การยอมรับข้อเสนอผ่อนจ่ายให้งวดละร้อยล้านบาท ทำให้เสียโอกาสที่จะได้เงินคืนเต็มจำนวนกว่า 600 ล้านเร็วกว่านี้ อีกทั้งยังไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยและค่าเสียโอกาส โดยยอมถอนฟ้องทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งจากข้อมูลสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) พบว่า ยังมีเงินในนามวัดพระธรรมกาย และบัญชีของพระธัมมชโย รวมกันแล้วเกิน700-800 ล้านบาท หากมีการอายัดเงินในบัญชีดังกล่าว จะสามารถได้เงินคืนมาชดใช้ให้ประชาชนที่เดือดร้อนในงวดเดียวได้ทันที
"เหตุที่พระธัมมชโย ยอมจ่ายเงินคืนให้ ไม่ได้เกิดจากความเป็นห่วงในความเดือดร้อนของประชาชนที่ฝากเงินกับสหกรณ์ฯ แต่กลัวจะถูกอายัดทรัพย์ทั้งหมด และอาจมีการขยายผลตรวจสอบมากกว่านี้ จึงใช้วิธีการตัดไฟแต่ต้นลม เพื่อตัดตอนการตรวจสอบ การที่ผู้บริหารสหกรณ์ฯ ยอมรับเงื่อนไขต่อรองนี้ เหมือนเป็นการเอื้อประโยชน์ให้พระธัมมชโยและวัดธรรมกาย"นายไพบูลย์ กล่าว
นายไพบูลย์ กล่าวอีกว่า จะขอข้อมูลทั้งหมดจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ที่เชื่อมโยงถึงนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์ยูเนี่ยนคลองจั่น และพวก รวมถึงพระธัมมชโย ที่น่าจะมีการร่วมกันทำความผิดในครั้งนี้ เพราะเงินที่พระธัมมชโยได้รับจากสหกรณ์ฯ ไม่ได้โอนใส่ในบัญชีของวัด แต่กลับโอนใส่ในบัญชีมูลนิธิแม่ชีจันทร์แทน และในการรับโอนเงินมาทั้ง 8 ครั้ง พระธัมมชโย ก็เป็นผู้ดำเนินการรับโอนด้วยตนเองทั้งหมดทุกครั้ง แต่กลับบอกกับสังคมว่าตัวเองไม่รู้เรื่องเงินที่บริจาคให้วัด ทั้งที่มีหลักฐานยืนยันว่า เป็นผู้ดำเนินการรับโอนเงินเข้าบัญชีมูลนิธิฯ แทนที่จะโอนเข้าบัญชีของวัด ตามวัตถุประสงค์ของพุทธศาสนิกชนที่ต้องการทำบุญให้วัด
ทั้งนี้ ขอเรียกร้องให้ดีเอสไอตรวจสอบต่อไปว่า เงินที่อยู่ในบัญชีของมูลนิธิดังกล่าว เวลานี้อยู่ที่ใคร มีเส้นทางการเดินของเงินเกี่ยวข้องกับบุคคลใดบ้าง แล้วเปิดเผยต่อสาธารณชน
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 24 มี.ค.2558 ตนจะมีการเสนอรายงานปัญหาของคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนาเข้าสู่ที่ประชุม สปช. ด้วย