เมื่อเวลา 16.30 น. วานนี้ (19มี.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายกฤษณพงศ์ กีรติกร รมช.ศึกษาธิการ แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาการศึกษา หรือ ซูเปอร์บอร์ดการศึกษา ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. เป็นประธานการประชุม ว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายให้ ซูเปอร์บอร์ดการศึกษา จัดทำแผนการศึกษา หรือมาสเตอร์แพลน ระยะ 5 ปี พร้อมกับให้มีการประสานงานแนวทางการปฏิรูปการศึกษากับสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ
สำหรับแนวทางที่นายกรัฐมนตรีเสนอคือ การปฏิรูปการศึกษา ควรเน้นการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาการให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน โดยเฉพาะการนำการศึกษาผ่านทางไกล DLTVมาเป็นช่องทางการกระจายความรู้ทางการศึกษา
นอกจากนี้ ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา จะต้องเป็นรูปธรรม ในระยะสั้นทำทันที ภายใน 3 เดือน และยาว 5 ปี โดยจะต้องทำให้นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข จบการศึกษาไปแล้วประกอบอาชีพได้ มีทักษะที่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศ พร้อมยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ต้องการให้กรมอาชีวศึกษา ขยายเป้าหมาย อาชีวทวิภาคี ระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอาชีพ และการรับเข้าทำงาน ระหว่างนักศึกษาและผู้ประกอบการภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งนายกรัฐมนตรี ตั้งเป้าภายในปี 2558 นี้ ผู้ประกอบการ 1 แสน ต่อนักศึกษาอาชีวะ 1 ล้านคน ที่สำคัญต้องมีการวางแผนและพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน โดยยึด 3 หลักการ คือ 1. การต่อยอดทักษะ เช่น สามารถซ่อมรถมอเตอร์ไซค์รุ่นใหม่ หรือ บิ๊กไบค์ได้ หรือสามารถซ่อม และประดิษฐ์ทีวีดิจิตอลได้ 2. ต้องมีทักษะเสริมอาชีพที่ 2 เพื่อนำไปสู่การสร้างรายได้ และ 3. ผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของงาน รองรับนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะด้านโลจิสติกส์ ระบบราง และการท่องเที่ยว
ทั้งนี้ แผนการศึกษาดังกล่าว ต้องยกระดับมหาวิทยาลัยให้สามารถแข่งขันกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศได้ และต้องผลิตคนไปรองรับการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ อีกทั้งในแผนนี้ ยังเน้นการพัฒนาบุคคลากร ครู อาจารย์ ให้มีคุณภาพ รองรับการเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ นอกจากนี้ ในที่ประชุม นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ไปศึกษาจุดเด่น ของระบบการศึกษา 3 ประเทศ คือ ฟินแลนด์ สิงคโปร์ และ เกาหลีใต้ เพื่อนำมาพัฒนาและปฏิรูประบบการศึกษาไทย และที่ประชุมยังได้แต่งตั้ง คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาคณะกรรรมการซูเปอร์บอร์ด 2 ราย คือ นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI และ นายวีรไท สันติประภพ ที่ปรึกษา TDRI
สำหรับแนวทางที่นายกรัฐมนตรีเสนอคือ การปฏิรูปการศึกษา ควรเน้นการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาการให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน โดยเฉพาะการนำการศึกษาผ่านทางไกล DLTVมาเป็นช่องทางการกระจายความรู้ทางการศึกษา
นอกจากนี้ ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา จะต้องเป็นรูปธรรม ในระยะสั้นทำทันที ภายใน 3 เดือน และยาว 5 ปี โดยจะต้องทำให้นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข จบการศึกษาไปแล้วประกอบอาชีพได้ มีทักษะที่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศ พร้อมยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ต้องการให้กรมอาชีวศึกษา ขยายเป้าหมาย อาชีวทวิภาคี ระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอาชีพ และการรับเข้าทำงาน ระหว่างนักศึกษาและผู้ประกอบการภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งนายกรัฐมนตรี ตั้งเป้าภายในปี 2558 นี้ ผู้ประกอบการ 1 แสน ต่อนักศึกษาอาชีวะ 1 ล้านคน ที่สำคัญต้องมีการวางแผนและพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน โดยยึด 3 หลักการ คือ 1. การต่อยอดทักษะ เช่น สามารถซ่อมรถมอเตอร์ไซค์รุ่นใหม่ หรือ บิ๊กไบค์ได้ หรือสามารถซ่อม และประดิษฐ์ทีวีดิจิตอลได้ 2. ต้องมีทักษะเสริมอาชีพที่ 2 เพื่อนำไปสู่การสร้างรายได้ และ 3. ผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของงาน รองรับนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะด้านโลจิสติกส์ ระบบราง และการท่องเที่ยว
ทั้งนี้ แผนการศึกษาดังกล่าว ต้องยกระดับมหาวิทยาลัยให้สามารถแข่งขันกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศได้ และต้องผลิตคนไปรองรับการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ อีกทั้งในแผนนี้ ยังเน้นการพัฒนาบุคคลากร ครู อาจารย์ ให้มีคุณภาพ รองรับการเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ นอกจากนี้ ในที่ประชุม นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ไปศึกษาจุดเด่น ของระบบการศึกษา 3 ประเทศ คือ ฟินแลนด์ สิงคโปร์ และ เกาหลีใต้ เพื่อนำมาพัฒนาและปฏิรูประบบการศึกษาไทย และที่ประชุมยังได้แต่งตั้ง คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาคณะกรรรมการซูเปอร์บอร์ด 2 ราย คือ นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI และ นายวีรไท สันติประภพ ที่ปรึกษา TDRI