ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ขอความร่วมมือ ให้สมาชิกที่มีญาติ ลูก เข้ารับเงินเดือนในตำแหน่ง ผู้ช่วย ผู้เชี่ยวชาญ ออกจากตำแหน่ง
ล่าสุดพบว่า มีสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จำนวน 12 คน ได้แต่งตั้งเครือญาติเข้ารับตำแหน่งโดยเป็นการเปิดเผยของ สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรพบว่า นายกิตติภณ ทุ่งกลาง แต่งตั้ง น.ส.ภัสสร ทุ่งกลาง เป็นผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัว รับเงินเดือน 15,000 บาท นางกูไชหม๊ะวันชาฟีหน๊ะ มนูญทวี แต่งตั้งนายอาบีดีน มนูญทวี เป็นผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัว รับเงินเดือน 15,000 บาท นายจรัส สุทธิกุลบุตร แต่งตั้ง นายณรงค์ชัย สุทธิกุลบุตร เป็นผู้ชำนาญการประจำตัว รับเงินเดือน 20,000 บาท นายเจริญศักดิ์ ศาลากิจ แต่งตั้ง นายพิสุทธิ์ ศาลากิจ เป็นผู้เชี่ยวชาญประจำตัว รับเงินเดือน 20,000 บาท นายทิวา การกระสัง แต่งตั้งนายสกนธ์ การกระสัง เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน รับเงินเดือน 15,000 บาท นายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์ แต่งตั้ง นายณัฐชนน พานิชวิทย์ เป็นผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัว รับเงินเดือน 15,000 บาท
พล.อ.อ.มนัส รูปขจร แต่งตั้งนายวัชรเดช รูปขจร เป็นผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัว รับเงินเดือน 15,000 บาท นายวันชัย สอนศิริ แต่งตั้ง น.ส.ฉัตรทิพย์ สอนศิริ เป็นผู้ชำนาญการประจำตัว รับเงินเดือน 20,000 บาท นายสยุมพร ลิ่มไทย แต่งตั้ง นายอิศร์ ลิ่มไทย เป็นผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัว 15,000 บาท นายสุวัช สิงหพันธุ์ แต่งตั้ง พันตรีหญิง ธัญนุช สิงหพันธุ์ เป็นผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัว 15,000 บาท นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ แต่งตั้งน.ส.พนิดา สอนหลักทรัพย์ เป็นผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัว 15,000 บาท และนางอุบล หลิมสกุล แต่งตั้ง น.ส.พนมดา หลิมสกุล เป็นผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัว 15,000 บาท
ขณะที่นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขา วิป สปช.กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวก่อนการประชุม วิป สปช.ว่า กรณีนี้ประธาน สปช.เคยให้แนวทางปฏิบัตินโยบายไว้แล้วตั้งแต่เกิดเรื่องกับ สนช. ซึ่งสปช. ก็ยินดีที่จะมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร แต่ก็ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารประจำสภาฯ ซึ่งมีสำนักงานเลขาธิการสภาฯ และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ร่วมเป็นกร รมการ สปช.ไม่มีขัดข้องเพราะเป็นองค์กรและบุคคลสาธารณะ โดยสมาชิก สปช.ต้องคำนึงถึงอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบ ที่จะเป็นผู้นำใจการปฏิรูปตามที่สังคมตั้งความคาดหวัง ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของแต่ละบุคคลด้วย ยอมรับว่า เมื่อมีข่าวออกมาเช่นนี้ย่อมกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กร สปช. ในภาพรวม แต่ทราบว่าข้อมูลที่มีการเปิดเผยในสื่อบางส่วนมีความคลาดเคลื่อน เนื่องจากสมาชิก สปช.บางคน ที่ให้เครือญาติ มาช่วยงานบางคนก็แจ้งความประสงค์ว่า ไม่ขอรับผลตอบแทน หรือเงินเดือน จึงหวังว่า สมาชิกสปช.จะปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่ ประธาน สปช.ให้แนวทางปฏิบัติไว้
ด้านนายวันชัย สอนศิริ สมาชิก สปช. เปิดเผยว่า การตั้งน.ส.ฉัตรทิพย์ บุตรสาวผู้ชำนาญการประจำตัว รับเงินเดือน เงินเดือน 20,000 บาท นั้นเป็นเรื่องจริง แต่ขอยืนยันว่า ตั้งมาเพื่อทำงานไม่ใช่รับเงินกินเปล่า อย่างไรก็ตามวิป สปช. มีมติออกมาเป็นอย่างไรก็พร้อมที่จะทำตาม
**วิปสปช.ให้โละเครือญาติออก
เวลา15.00 น. วันเดียวกันนี้ นายวันชัย สอนศิริ โฆษก คณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิปสปช.) แถลงภายหลังการประชุมวิปว่าได้มีการหารือถึงเรื่องการแต่งตั้งเครือญาติ เป็นที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ช่วยประจำตัวสมาชิก สปช. โดยนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช.ได้ยืนยันว่า ไม่ได้มีเจตนาที่จะปกปิดข้อมูลในส่วนดังกล่าว เพียงแต่นายเทียนฉายไม่ได้มีอำนาจโดยตรง แต่เป็นอำนาจของข้าราชการ โดยคณะกรรมการบริหารข้อมูลข่าวสาร ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเมื่อเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น ที่ประชุมวิปสปช. ก็มีมติให้นำแนวทางของวิป สนช. ที่แนะนำให้สมาชิกมีการปรับเปลี่ยนตัวที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ช่วย ที่เป็นเครือญาติออกจากตำแหน่งทันที เพื่อสนองความต้องการของสังคมที่มีความเคลือบแคลงการแต่งตั้ง ส่วนประเด็นดังกล่าว จะมีผลต่อความน่าเชื่อถือในการปฏิรูปประเทศหรือไม่ ตนคิดว่าเป็นคนละเรื่องกัน
** คสช.สั่งชี้แจงผลงานปฏิรูป
นอกจากนี้ ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่มี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นตัวแทนร่วมประชุมได้นำข้อหารือของคสช. มาแจ้งต่อที่ประชุมวิปสปช. โดยได้ขอให้ สปช. ชี้แจงแนวทางการปฏิรูปด้านต่างๆ ให้ชัดเจน ถึงเหตุผลว่า ทำไมต้องปฏิรูป แล้วจะปฏิรูปอย่างไร ให้ประชาชนได้ประโยชน์ และจะใช้เวลาดำเนินการเท่าไร โดยขอให้มีการประสานการทำงานกับทางคณะรัฐมนตรี และ คสช. อย่างใกล้ชิด เพื่อให้การปฏิรูปมีประสิทธิภาพ
ขณะที่ในส่วนของครม.ได้มีการแจ้งให้วิปสปช. ทราบถึงการขอเปิดสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 ที่จะต้องมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาของครม. คาดว่าอีก 3 เดือน จะแล้วเสร็จ ซึ่งในระหว่างนี้ ทางครม.ได้ขอข้อเสนอแนะ และข้อคิดเห็นของสมาชิกสปช. เพื่อตอบสนองด้านความมั่นคงทางด้านพลังงาน แต่ต้องเป็นความเห็นที่ไม่ขัดแย้ง
สำหรับการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ได้พิจารณาแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างการทบทวนก่อนนำมาขอความเห็นจาก สปช.นั้น ทางนายกรัฐมนตรี ได้สั่งให้ ครม.ร่วมศึกษา ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วย โดยมอบให้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฏหมาย เป็นหัวหน้าทีมเพื่อการศึกษา ส่วนการประสานการทำงานร่วมกัน ของของแม่น้ำ 5 สาย อยากให้มีการส่งตัวแทนที่เกี่ยวข้องต่อการปฏิรูปด้านนั้นๆ เข้ามาชี้แจงเพื่อให้การปฏิรูปมีประสิทธิภาพ และไม่มีความขัดแย้ง ส่วนการเสนอกฎหมาย ที่หลายฝ่ายมีอำนาจในการเสนอกฎหมาย ก็อยากให้มีการประสานงานกัน เพื่อไม่ให้การออกกฎหมายมีความซ้ำซ้อน หรือขัดแย้งกัน
นอกจากนี้ทางวิปสปช.ได้มีการเพิ่มกำหนดการนัดประชุม เป็น 3 วันต่อสัปดาห์ คือวันจันทร์ อังคาร และวันพุธ เพื่อที่จะสามารถพิจารณาแนวทางการปฏิรูป ที่คณะกรรมาธิการต่างๆได้พิจารณาแล้วเสร็จ โดยประเด็นในการปฏิรูปเรื่องสำคัญ อาทิ การปฏิรูปด้านบริหารราชการแผ่นดิน ด้านปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบ การปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น
**ยกระดับ "ดะโต๊ะ" เท่าขรก.ตุลาการ
วานนี้ (18 มี.ค.) ที่รัฐสภา นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมในชั้นศาล ในคณะกมธ.ปฏิรูปกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม แถลงผลภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมมีความเห็นว่า ควรกำหนดอายุการเข้าสู่ตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาที่ 25 ปี และเกษียณอายุที่ 70 ปี เนื่องจากระยะเวลาการฝึกอบรวมผู้ช่วยผู้พิพากษา และผู้พิพากษาใช้เวลาหลายปี ทำให้ผู้พิพากษาที่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ครั้งแรก มีอายุโดยเฉลี่ยมากกว่า 30 ปี ส่วนระยะเวลาการอบรมของผู้ช่วยผู้พิพากษาที่ประชุมเห็นว่าควรอยู่ที่ 1 ปี และการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลเป็นเวลา 3 ปี นอกจากนั้น ยังเห็นควรให้ตั้งคณะทำงานร่างกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์การโยกย้ายแต่งตั้งผู้พิพากษาในศาลชำนาญพิเศษต่างๆ เพื่อให้ผู้พิพากษามีความชำนาญเฉพาะด้าน สามารถปฏิบัติหน้าที่ในศาลชำนาญพิเศษได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งส่งเสริมให้มีการศึกษาฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องด้วย
นายสิทธิศักดิ์ กล่าวว่า ที่ประชุมยังเห็นควรให้มีการเปิดทำการศาลแขวงในพื้นที่ห่างไกลเพิ่มขึ้น และให้ทำหน้าที่เป็นสาขาของศาลจังหวัด เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้ โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ห่างไกลที่จำเป็นต้องขอหมายต่างๆจากศาล ให้สามารถดำเนินการได้ด้วยความรวดเร็ว
ทั้งนี้ ยังมีการปรับปรุงสถานะของดะโต๊ะ ที่มีหน้าที่พิจารณาคดีของชาวมุสลิมใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในคดีที่เกี่ยวกับครอบครัวมรดก ให้ทัดเทียมกับข้าราชการตุลาการ เช่น ยกระดับในวุฒิการศึกษา ฝึกอบรมก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ ตลอดจนค่าตอบแทนที่ไม่แตกต่างจากข้าราชการตุลาการ อาจให้มีการอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายอิสลามได้ด้วย และขยายอายุงานออกไปจาก 60 ปี
โฆษกคณะอนุ กมธ. กล่าวอีกว่า ที่เห็นว่าควรให้โอนกรมบังคับคดี กรมคุมประพฤติ และกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมาสังกัดในสำนักงานศาลยุติธรรม เนื่องจากการบังคับตามคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลเป็นการดำเนินการในกรอบของฝ่ายตุลาการ จะต้องมีความเป็นอิสระ ปราศจากการแทรกแซง ไม่แตกต่างไปจากการพิจารณาพิพากษาคดี การให้หน่วยงานซึ่งทำหน้าที่บังคับตามคำพิพากษา หรือคำสั่งของฝ่ายตุลาการไปสังกัดกับฝ่ายบริหาร มีความสุ่มเสี่ยงต่อการที่จะถูกแทรกแซง โดยอาศัยอำนาจบังคับบัญชาในการบริหารงานบุคคล หรือโดยการออกระเบียบของฝ่ายบริหาร ทั้งนี้ภารกิจบางอย่างของหน่วยงานเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องดำเนินการเพื่อความเป็นอิสระ มิเช่นนั้นจะมีผลกระทบต่อการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล
ล่าสุดพบว่า มีสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จำนวน 12 คน ได้แต่งตั้งเครือญาติเข้ารับตำแหน่งโดยเป็นการเปิดเผยของ สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรพบว่า นายกิตติภณ ทุ่งกลาง แต่งตั้ง น.ส.ภัสสร ทุ่งกลาง เป็นผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัว รับเงินเดือน 15,000 บาท นางกูไชหม๊ะวันชาฟีหน๊ะ มนูญทวี แต่งตั้งนายอาบีดีน มนูญทวี เป็นผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัว รับเงินเดือน 15,000 บาท นายจรัส สุทธิกุลบุตร แต่งตั้ง นายณรงค์ชัย สุทธิกุลบุตร เป็นผู้ชำนาญการประจำตัว รับเงินเดือน 20,000 บาท นายเจริญศักดิ์ ศาลากิจ แต่งตั้ง นายพิสุทธิ์ ศาลากิจ เป็นผู้เชี่ยวชาญประจำตัว รับเงินเดือน 20,000 บาท นายทิวา การกระสัง แต่งตั้งนายสกนธ์ การกระสัง เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน รับเงินเดือน 15,000 บาท นายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์ แต่งตั้ง นายณัฐชนน พานิชวิทย์ เป็นผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัว รับเงินเดือน 15,000 บาท
พล.อ.อ.มนัส รูปขจร แต่งตั้งนายวัชรเดช รูปขจร เป็นผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัว รับเงินเดือน 15,000 บาท นายวันชัย สอนศิริ แต่งตั้ง น.ส.ฉัตรทิพย์ สอนศิริ เป็นผู้ชำนาญการประจำตัว รับเงินเดือน 20,000 บาท นายสยุมพร ลิ่มไทย แต่งตั้ง นายอิศร์ ลิ่มไทย เป็นผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัว 15,000 บาท นายสุวัช สิงหพันธุ์ แต่งตั้ง พันตรีหญิง ธัญนุช สิงหพันธุ์ เป็นผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัว 15,000 บาท นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ แต่งตั้งน.ส.พนิดา สอนหลักทรัพย์ เป็นผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัว 15,000 บาท และนางอุบล หลิมสกุล แต่งตั้ง น.ส.พนมดา หลิมสกุล เป็นผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัว 15,000 บาท
ขณะที่นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขา วิป สปช.กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวก่อนการประชุม วิป สปช.ว่า กรณีนี้ประธาน สปช.เคยให้แนวทางปฏิบัตินโยบายไว้แล้วตั้งแต่เกิดเรื่องกับ สนช. ซึ่งสปช. ก็ยินดีที่จะมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร แต่ก็ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารประจำสภาฯ ซึ่งมีสำนักงานเลขาธิการสภาฯ และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ร่วมเป็นกร รมการ สปช.ไม่มีขัดข้องเพราะเป็นองค์กรและบุคคลสาธารณะ โดยสมาชิก สปช.ต้องคำนึงถึงอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบ ที่จะเป็นผู้นำใจการปฏิรูปตามที่สังคมตั้งความคาดหวัง ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของแต่ละบุคคลด้วย ยอมรับว่า เมื่อมีข่าวออกมาเช่นนี้ย่อมกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กร สปช. ในภาพรวม แต่ทราบว่าข้อมูลที่มีการเปิดเผยในสื่อบางส่วนมีความคลาดเคลื่อน เนื่องจากสมาชิก สปช.บางคน ที่ให้เครือญาติ มาช่วยงานบางคนก็แจ้งความประสงค์ว่า ไม่ขอรับผลตอบแทน หรือเงินเดือน จึงหวังว่า สมาชิกสปช.จะปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่ ประธาน สปช.ให้แนวทางปฏิบัติไว้
ด้านนายวันชัย สอนศิริ สมาชิก สปช. เปิดเผยว่า การตั้งน.ส.ฉัตรทิพย์ บุตรสาวผู้ชำนาญการประจำตัว รับเงินเดือน เงินเดือน 20,000 บาท นั้นเป็นเรื่องจริง แต่ขอยืนยันว่า ตั้งมาเพื่อทำงานไม่ใช่รับเงินกินเปล่า อย่างไรก็ตามวิป สปช. มีมติออกมาเป็นอย่างไรก็พร้อมที่จะทำตาม
**วิปสปช.ให้โละเครือญาติออก
เวลา15.00 น. วันเดียวกันนี้ นายวันชัย สอนศิริ โฆษก คณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิปสปช.) แถลงภายหลังการประชุมวิปว่าได้มีการหารือถึงเรื่องการแต่งตั้งเครือญาติ เป็นที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ช่วยประจำตัวสมาชิก สปช. โดยนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช.ได้ยืนยันว่า ไม่ได้มีเจตนาที่จะปกปิดข้อมูลในส่วนดังกล่าว เพียงแต่นายเทียนฉายไม่ได้มีอำนาจโดยตรง แต่เป็นอำนาจของข้าราชการ โดยคณะกรรมการบริหารข้อมูลข่าวสาร ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเมื่อเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น ที่ประชุมวิปสปช. ก็มีมติให้นำแนวทางของวิป สนช. ที่แนะนำให้สมาชิกมีการปรับเปลี่ยนตัวที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ช่วย ที่เป็นเครือญาติออกจากตำแหน่งทันที เพื่อสนองความต้องการของสังคมที่มีความเคลือบแคลงการแต่งตั้ง ส่วนประเด็นดังกล่าว จะมีผลต่อความน่าเชื่อถือในการปฏิรูปประเทศหรือไม่ ตนคิดว่าเป็นคนละเรื่องกัน
** คสช.สั่งชี้แจงผลงานปฏิรูป
นอกจากนี้ ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่มี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นตัวแทนร่วมประชุมได้นำข้อหารือของคสช. มาแจ้งต่อที่ประชุมวิปสปช. โดยได้ขอให้ สปช. ชี้แจงแนวทางการปฏิรูปด้านต่างๆ ให้ชัดเจน ถึงเหตุผลว่า ทำไมต้องปฏิรูป แล้วจะปฏิรูปอย่างไร ให้ประชาชนได้ประโยชน์ และจะใช้เวลาดำเนินการเท่าไร โดยขอให้มีการประสานการทำงานกับทางคณะรัฐมนตรี และ คสช. อย่างใกล้ชิด เพื่อให้การปฏิรูปมีประสิทธิภาพ
ขณะที่ในส่วนของครม.ได้มีการแจ้งให้วิปสปช. ทราบถึงการขอเปิดสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 ที่จะต้องมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาของครม. คาดว่าอีก 3 เดือน จะแล้วเสร็จ ซึ่งในระหว่างนี้ ทางครม.ได้ขอข้อเสนอแนะ และข้อคิดเห็นของสมาชิกสปช. เพื่อตอบสนองด้านความมั่นคงทางด้านพลังงาน แต่ต้องเป็นความเห็นที่ไม่ขัดแย้ง
สำหรับการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ได้พิจารณาแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างการทบทวนก่อนนำมาขอความเห็นจาก สปช.นั้น ทางนายกรัฐมนตรี ได้สั่งให้ ครม.ร่วมศึกษา ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วย โดยมอบให้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฏหมาย เป็นหัวหน้าทีมเพื่อการศึกษา ส่วนการประสานการทำงานร่วมกัน ของของแม่น้ำ 5 สาย อยากให้มีการส่งตัวแทนที่เกี่ยวข้องต่อการปฏิรูปด้านนั้นๆ เข้ามาชี้แจงเพื่อให้การปฏิรูปมีประสิทธิภาพ และไม่มีความขัดแย้ง ส่วนการเสนอกฎหมาย ที่หลายฝ่ายมีอำนาจในการเสนอกฎหมาย ก็อยากให้มีการประสานงานกัน เพื่อไม่ให้การออกกฎหมายมีความซ้ำซ้อน หรือขัดแย้งกัน
นอกจากนี้ทางวิปสปช.ได้มีการเพิ่มกำหนดการนัดประชุม เป็น 3 วันต่อสัปดาห์ คือวันจันทร์ อังคาร และวันพุธ เพื่อที่จะสามารถพิจารณาแนวทางการปฏิรูป ที่คณะกรรมาธิการต่างๆได้พิจารณาแล้วเสร็จ โดยประเด็นในการปฏิรูปเรื่องสำคัญ อาทิ การปฏิรูปด้านบริหารราชการแผ่นดิน ด้านปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบ การปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น
**ยกระดับ "ดะโต๊ะ" เท่าขรก.ตุลาการ
วานนี้ (18 มี.ค.) ที่รัฐสภา นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมในชั้นศาล ในคณะกมธ.ปฏิรูปกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม แถลงผลภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมมีความเห็นว่า ควรกำหนดอายุการเข้าสู่ตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาที่ 25 ปี และเกษียณอายุที่ 70 ปี เนื่องจากระยะเวลาการฝึกอบรวมผู้ช่วยผู้พิพากษา และผู้พิพากษาใช้เวลาหลายปี ทำให้ผู้พิพากษาที่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ครั้งแรก มีอายุโดยเฉลี่ยมากกว่า 30 ปี ส่วนระยะเวลาการอบรมของผู้ช่วยผู้พิพากษาที่ประชุมเห็นว่าควรอยู่ที่ 1 ปี และการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลเป็นเวลา 3 ปี นอกจากนั้น ยังเห็นควรให้ตั้งคณะทำงานร่างกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์การโยกย้ายแต่งตั้งผู้พิพากษาในศาลชำนาญพิเศษต่างๆ เพื่อให้ผู้พิพากษามีความชำนาญเฉพาะด้าน สามารถปฏิบัติหน้าที่ในศาลชำนาญพิเศษได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งส่งเสริมให้มีการศึกษาฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องด้วย
นายสิทธิศักดิ์ กล่าวว่า ที่ประชุมยังเห็นควรให้มีการเปิดทำการศาลแขวงในพื้นที่ห่างไกลเพิ่มขึ้น และให้ทำหน้าที่เป็นสาขาของศาลจังหวัด เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้ โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ห่างไกลที่จำเป็นต้องขอหมายต่างๆจากศาล ให้สามารถดำเนินการได้ด้วยความรวดเร็ว
ทั้งนี้ ยังมีการปรับปรุงสถานะของดะโต๊ะ ที่มีหน้าที่พิจารณาคดีของชาวมุสลิมใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในคดีที่เกี่ยวกับครอบครัวมรดก ให้ทัดเทียมกับข้าราชการตุลาการ เช่น ยกระดับในวุฒิการศึกษา ฝึกอบรมก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ ตลอดจนค่าตอบแทนที่ไม่แตกต่างจากข้าราชการตุลาการ อาจให้มีการอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายอิสลามได้ด้วย และขยายอายุงานออกไปจาก 60 ปี
โฆษกคณะอนุ กมธ. กล่าวอีกว่า ที่เห็นว่าควรให้โอนกรมบังคับคดี กรมคุมประพฤติ และกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมาสังกัดในสำนักงานศาลยุติธรรม เนื่องจากการบังคับตามคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลเป็นการดำเนินการในกรอบของฝ่ายตุลาการ จะต้องมีความเป็นอิสระ ปราศจากการแทรกแซง ไม่แตกต่างไปจากการพิจารณาพิพากษาคดี การให้หน่วยงานซึ่งทำหน้าที่บังคับตามคำพิพากษา หรือคำสั่งของฝ่ายตุลาการไปสังกัดกับฝ่ายบริหาร มีความสุ่มเสี่ยงต่อการที่จะถูกแทรกแซง โดยอาศัยอำนาจบังคับบัญชาในการบริหารงานบุคคล หรือโดยการออกระเบียบของฝ่ายบริหาร ทั้งนี้ภารกิจบางอย่างของหน่วยงานเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องดำเนินการเพื่อความเป็นอิสระ มิเช่นนั้นจะมีผลกระทบต่อการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล