เลขาฯยูเอ็น เชิญ "บิ๊กตู่" ไปสหรัฐฯ ร่วมประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เดือนกันยายนนี้ หวังโรดแมปไทยคืบหน้า สร้างประชาธิปไตยได้สำเร็จ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 14 มี.ค. ที่ผ่านมา ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติเซนได เมืองเซนได ประเทศญี่ปุ่น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ได้หารือกับ นายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ระหว่างการเข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติระดับโลกว่าด้วยการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ครั้งที่ 3 โดย ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการหารือว่า นายกรัฐมนตรี ระบุว่าไทยเป็นประเทศที่เคยประสบภัยพิบัติขนาดใหญ่จากสึนามิ และน้ำท่วมใหญ่ อีกทั้งยังให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม แก่ประเทศที่ประสบเหตุภัยพิบัติ จึงต้องการร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศ ในการส่งสัญญาณต่อโลก เพื่อร่วมมือกันลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ โดยเห็นว่า ความร่วมมือในการลดภัยพิบัติ ต้องคำนึงถึงความสามารถ และข้อจำกัดของแต่ละประเทศ เพื่อไม่ให้ส่งผลกลายเป็นภาระของสหประชาชาติ
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ขอให้ยูเอ็น พิจารณาในประเด็นความไม่เท่าเทียม ที่เป็นสาเหตุหลักของความขัดแย้งในสังคมที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศ เกษตรกรรม และประเทศอุตสาหกรรม โดยหลายประเทศในอาเซียน มีรายได้หลักจากสินค้าเกษตร ที่ขณะนี้มีราคาตกต่ำ นายกฯ จึงเสนอให้สหประชาชาติ เห็นความสำคัญของการช่วยพยุงราคาสินค้าเกษตร เพื่อช่วยลดช่องว่าง และเพิ่มความสามารถในการร่วมมือกับนานาประเทศ ในการช่วยลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติได้ด้วย
ร.อ.นพ.ยงยุทธ กล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวยินดีที่จะร่วมมือกับยูเอ็น ในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ เพราะสิ่งที่ไทยดำเนินการอยู่ก็สอดคล้องกับแนวความคิดของยูเอ็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วาระในการพัฒนาอย่างยั่งยืน หลังปี 2558 ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญเป้าหมายหนึ่งของการปฏิรูประเทศในทุกด้านในขณะนี้
สำหรับพัฒนาการ การเมืองของไทยนั้น เลขาธิการยูเอ็น ได้สอบถามความคืบหน้าในการดำเนินการตามโรดแมป และเชื่อว่าไทยจะประสบความสำเร็จ ในการสร้างประชาธิปไตยที่ยั่งยืน ขณะเดียวกันหวังว่าจะเห็นพัฒนาการการเมืองในไทย เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่วางไว้ ซึ่งจะทำให้ไทยสามารถคงบทบาทที่เข้มแข็งในการสนับสนุนภารกิจในกรอบสหประชาชาติได้มากขึ้น
นอกจากนี้ เลขาธิการยูเอ็น ได้เชิญนายกฯ เข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติ เพื่อรับรองวาระการพัฒนา ภายหลังปี ค.ศ. 2015 และการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในเดือน ก.ย.นี้ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 14 มี.ค. ที่ผ่านมา ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติเซนได เมืองเซนได ประเทศญี่ปุ่น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ได้หารือกับ นายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ระหว่างการเข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติระดับโลกว่าด้วยการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ครั้งที่ 3 โดย ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการหารือว่า นายกรัฐมนตรี ระบุว่าไทยเป็นประเทศที่เคยประสบภัยพิบัติขนาดใหญ่จากสึนามิ และน้ำท่วมใหญ่ อีกทั้งยังให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม แก่ประเทศที่ประสบเหตุภัยพิบัติ จึงต้องการร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศ ในการส่งสัญญาณต่อโลก เพื่อร่วมมือกันลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ โดยเห็นว่า ความร่วมมือในการลดภัยพิบัติ ต้องคำนึงถึงความสามารถ และข้อจำกัดของแต่ละประเทศ เพื่อไม่ให้ส่งผลกลายเป็นภาระของสหประชาชาติ
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ขอให้ยูเอ็น พิจารณาในประเด็นความไม่เท่าเทียม ที่เป็นสาเหตุหลักของความขัดแย้งในสังคมที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศ เกษตรกรรม และประเทศอุตสาหกรรม โดยหลายประเทศในอาเซียน มีรายได้หลักจากสินค้าเกษตร ที่ขณะนี้มีราคาตกต่ำ นายกฯ จึงเสนอให้สหประชาชาติ เห็นความสำคัญของการช่วยพยุงราคาสินค้าเกษตร เพื่อช่วยลดช่องว่าง และเพิ่มความสามารถในการร่วมมือกับนานาประเทศ ในการช่วยลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติได้ด้วย
ร.อ.นพ.ยงยุทธ กล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวยินดีที่จะร่วมมือกับยูเอ็น ในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ เพราะสิ่งที่ไทยดำเนินการอยู่ก็สอดคล้องกับแนวความคิดของยูเอ็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วาระในการพัฒนาอย่างยั่งยืน หลังปี 2558 ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญเป้าหมายหนึ่งของการปฏิรูประเทศในทุกด้านในขณะนี้
สำหรับพัฒนาการ การเมืองของไทยนั้น เลขาธิการยูเอ็น ได้สอบถามความคืบหน้าในการดำเนินการตามโรดแมป และเชื่อว่าไทยจะประสบความสำเร็จ ในการสร้างประชาธิปไตยที่ยั่งยืน ขณะเดียวกันหวังว่าจะเห็นพัฒนาการการเมืองในไทย เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่วางไว้ ซึ่งจะทำให้ไทยสามารถคงบทบาทที่เข้มแข็งในการสนับสนุนภารกิจในกรอบสหประชาชาติได้มากขึ้น
นอกจากนี้ เลขาธิการยูเอ็น ได้เชิญนายกฯ เข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติ เพื่อรับรองวาระการพัฒนา ภายหลังปี ค.ศ. 2015 และการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในเดือน ก.ย.นี้ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย.