ASTVผู้จัดการรายวัน – นายแบงก์มองเงินบาทแนวโน้มอ่อนค่า ช่วยส่งออกได้บ้างแต่ไม่มาก คาดสัปดาห์นี้เคลื่อนไหว 32.70-33.00 จับตาผลประชุมเฟด 17-18 มี.ค. เตือนการลดดอกเบี้ยของ กนง.ไม่ได้ช่วยเศรษฐกิจอย่างแท้จริง คาดครั้งหน้าอาจจะมีการปรับลดอีกรอบ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ค่าเงินบาทสัปดาห์นี้หรือระหว่างวันที่ 16-20 มี.ค.ว่า ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 32.70-33.00 บาทต่อดอลลาร์ โดยประเด็นที่ตลาดรอจับตา คือ ผลการประชุมเฟด (17-18 มี.ค.) ที่อาจจะมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำในแถลงการณ์หลังการประชุม ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในสัญญาณที่สะท้อนจังหวะของการเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Funds
ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย ผลสำรวจแนวโน้มภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์ก ข้อมูลตลาดที่อยู่อาศัย รวมถึงข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิสู่ตลาดการเงินสหรัฐฯ นอกจากนี้ ตลาดในประเทศอาจจับตารายงานนโยบายการเงินของ ธปท. ซึ่งจะมีการเปิดเผยตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจปี 2558 ที่ทบทวนใหม่ด้วยเช่นกัน
นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย มองการลดดอกเบี้ยนโยบายของ กนง.ลงไป 0.25% ทำให้อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ที่ 1.75% ว่า มีส่วนช่วยเศรษฐกิจน้อยมาก เพราะส่งผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจได้ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากดอกเบี้ยในปัจจุบันไม่ใช่อุปสรรคต่อการเติบโตของเศรษฐกิจตั้งแต่ต้น
"การลดดอกเบี้ย ครั้งนี้เชื่อว่าจะยังไม่มีส่วนผลักดันให้ประชาชนกู้เงินหรือขอสินเชื่อเพิ่มขึ้น จนกว่าจะเห็นทิศทางเศรษฐกิจ หรือการลงทุนภาครัฐที่ชัดเจน แต่การเบิกจ่ายภาครัฐในขณะนี้ยังทำได้ค่อนข้างน้อย โดยปีงบประมาณ 2558 ยังเบิกจ่ายงบฯลงทุนไปเพียง 13% เท่านั้น"
นอกจากนี้ การกู้เงินของคนเริ่มมีข้อจำกัดมากขึ้น เพราะหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงแล้ว คาดว่ากลางปีนี้มีโอกาสที่หนี้ครัวเรือนจะไปแตะที่ 88% ต่อจีดีพี จากหนี้สะสมที่เกิดจากการทบต้นทบดอก ที่เกิดจากภาระหนี้มากเกินไปทำให้ผ่อนภาระต่อไม่ไหว
อย่างไรก็ตาม การลดดอกเบี้ยของ กนง. จะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าไปราว 0.50 บาท จะช่วยสนับสนุนผู้ส่งออกได้บ้าง แต่อาจมีข้อจำกัด เพราะสินค้าบางอย่างโดยเฉพาะราคาสินค้าเกษตรที่ยังอยู่ระดับต่ำ
ขณะที่สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย มองการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.25% ต่อปี ว่า ปกติจะไม่ส่งผลในเชิงบวกต่อเศรษฐกิจมากนัก ดังนั้นจึงมีโอกาสที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกครั้งระดับ 0.25% เพื่อให้อยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะต้องปรับลดอย่างน้อย 0.50% ซึ่งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งอาจจะเห็นในการประชุมวันที่ 10 มิ.ย. เพื่อรอตัวเลขทางเศรษฐกิจไตรมาส 1 ที่จะประกาศในวันที่ 18 พ.ค.
คาดทั้งปีนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ในระดับ 1.50-1.75% ต่อปี ขณะนี้นโยบายการเงินขยับจากกองหลังมาเป็นกองกลาง และจะเป็นกองหน้าหากปรับลดดอกเบี้ยอีกครั้ง หลังจากที่เห็นว่า นโยบายการคลังขับเคลื่อนได้ช้า และเป็นโอกาสสุดท้ายก่อนสหรัฐฯ ปรับขึ้นดอกเบี้ย.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ค่าเงินบาทสัปดาห์นี้หรือระหว่างวันที่ 16-20 มี.ค.ว่า ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 32.70-33.00 บาทต่อดอลลาร์ โดยประเด็นที่ตลาดรอจับตา คือ ผลการประชุมเฟด (17-18 มี.ค.) ที่อาจจะมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำในแถลงการณ์หลังการประชุม ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในสัญญาณที่สะท้อนจังหวะของการเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Funds
ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย ผลสำรวจแนวโน้มภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์ก ข้อมูลตลาดที่อยู่อาศัย รวมถึงข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิสู่ตลาดการเงินสหรัฐฯ นอกจากนี้ ตลาดในประเทศอาจจับตารายงานนโยบายการเงินของ ธปท. ซึ่งจะมีการเปิดเผยตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจปี 2558 ที่ทบทวนใหม่ด้วยเช่นกัน
นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย มองการลดดอกเบี้ยนโยบายของ กนง.ลงไป 0.25% ทำให้อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ที่ 1.75% ว่า มีส่วนช่วยเศรษฐกิจน้อยมาก เพราะส่งผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจได้ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากดอกเบี้ยในปัจจุบันไม่ใช่อุปสรรคต่อการเติบโตของเศรษฐกิจตั้งแต่ต้น
"การลดดอกเบี้ย ครั้งนี้เชื่อว่าจะยังไม่มีส่วนผลักดันให้ประชาชนกู้เงินหรือขอสินเชื่อเพิ่มขึ้น จนกว่าจะเห็นทิศทางเศรษฐกิจ หรือการลงทุนภาครัฐที่ชัดเจน แต่การเบิกจ่ายภาครัฐในขณะนี้ยังทำได้ค่อนข้างน้อย โดยปีงบประมาณ 2558 ยังเบิกจ่ายงบฯลงทุนไปเพียง 13% เท่านั้น"
นอกจากนี้ การกู้เงินของคนเริ่มมีข้อจำกัดมากขึ้น เพราะหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงแล้ว คาดว่ากลางปีนี้มีโอกาสที่หนี้ครัวเรือนจะไปแตะที่ 88% ต่อจีดีพี จากหนี้สะสมที่เกิดจากการทบต้นทบดอก ที่เกิดจากภาระหนี้มากเกินไปทำให้ผ่อนภาระต่อไม่ไหว
อย่างไรก็ตาม การลดดอกเบี้ยของ กนง. จะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าไปราว 0.50 บาท จะช่วยสนับสนุนผู้ส่งออกได้บ้าง แต่อาจมีข้อจำกัด เพราะสินค้าบางอย่างโดยเฉพาะราคาสินค้าเกษตรที่ยังอยู่ระดับต่ำ
ขณะที่สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย มองการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.25% ต่อปี ว่า ปกติจะไม่ส่งผลในเชิงบวกต่อเศรษฐกิจมากนัก ดังนั้นจึงมีโอกาสที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกครั้งระดับ 0.25% เพื่อให้อยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะต้องปรับลดอย่างน้อย 0.50% ซึ่งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งอาจจะเห็นในการประชุมวันที่ 10 มิ.ย. เพื่อรอตัวเลขทางเศรษฐกิจไตรมาส 1 ที่จะประกาศในวันที่ 18 พ.ค.
คาดทั้งปีนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ในระดับ 1.50-1.75% ต่อปี ขณะนี้นโยบายการเงินขยับจากกองหลังมาเป็นกองกลาง และจะเป็นกองหน้าหากปรับลดดอกเบี้ยอีกครั้ง หลังจากที่เห็นว่า นโยบายการคลังขับเคลื่อนได้ช้า และเป็นโอกาสสุดท้ายก่อนสหรัฐฯ ปรับขึ้นดอกเบี้ย.