วานนี้ (12มี.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อกรณี สำนักข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเชียงใต้ ออกแถลงการณ์ แสดงความเป็นห่วงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในกรณีข้อพิพาทด้านการใช้ที่ดินกับประชาชน ในพื้นที่ 6 หมู่บ้าน ของจังหวัดบุรีรัมย์ ที่เป็นการทำลายพืชผลของชาวบ้าน และเข้าข่ายกระทบต่อสิทธิมนุษยชน รวมทั้งสิทธิในที่อยู่อาศัยว่า ได้ตรวจสอบแล้วปรากฏข้อเท็จจริงว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตอุทยานแห่งชาติป่าดงใหญ่ อ.โนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 ต้องได้รับการอนุรักษ์ไว้ ให้เป็นป่าต้นน้ำที่มีความสมบูรณ์
กรณีพิพาทที่เกิดขึ้น เป็นผลสืบเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลในอดีต ที่อนุญาตให้เอกชนเข้าไปสัมปทานใช้พื้นที่ทำประโยชน์ในด้านการเกษตร ซึ่งต่อมาสัมปทานเหล่านั้นได้ทยอยหมดอายุลง เป็นเหตุให้ประชาชนต่างพื้นที่ ที่ได้รับการสนับสนุนจากแกนนำ รวมตัวกันบุกรุกใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว โดยส่วนใหญ่เป็นการปลูกสวนยางพาราเชิงพาณิชย์ ขณะที่รัฐบาลชุดนี้ไม่มีนโยบายให้มีการสัมปทาน หรือเข้าไปใช้ประโยชน์ในลักษณะเช่นนั้นอีก เพื่อสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ จึงต้องมีการร้องขอให้ประชาชนผู้บุกรุกออกจากพื้นที่ เพราะการปลูกพืช จะมีทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และปุ๋ยเคมี ซึ่งจะปนเปื้อนลงไปในแหล่งน้ำ ที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะป่าดงใหญ่ ถือเป็นป่าต้นน้ำสำคัญ ที่หล่อเลี้ยงหลายจังหวัดในภาคอีสาน
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้การดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล มิได้เป็นการกลั่นแกล้ง หรือละเมิดต่อสิทธิของประชาชนแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม หากเจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติ จะถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และการปล่อยปละเลยให้มีการบุกรุกอาจเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้องให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ทุกสิ่งที่รัฐบาลทำอยู่ในกรอบของกฎหมาย คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม
ดังนั้น อยากเรียกร้องให้หน่วยงานที่มาแสดงความคิดเห็น ได้ตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง และแสดงความคิดเห็นบนบรรทัดฐานที่ยอมรับได้
กรณีพิพาทที่เกิดขึ้น เป็นผลสืบเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลในอดีต ที่อนุญาตให้เอกชนเข้าไปสัมปทานใช้พื้นที่ทำประโยชน์ในด้านการเกษตร ซึ่งต่อมาสัมปทานเหล่านั้นได้ทยอยหมดอายุลง เป็นเหตุให้ประชาชนต่างพื้นที่ ที่ได้รับการสนับสนุนจากแกนนำ รวมตัวกันบุกรุกใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว โดยส่วนใหญ่เป็นการปลูกสวนยางพาราเชิงพาณิชย์ ขณะที่รัฐบาลชุดนี้ไม่มีนโยบายให้มีการสัมปทาน หรือเข้าไปใช้ประโยชน์ในลักษณะเช่นนั้นอีก เพื่อสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ จึงต้องมีการร้องขอให้ประชาชนผู้บุกรุกออกจากพื้นที่ เพราะการปลูกพืช จะมีทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และปุ๋ยเคมี ซึ่งจะปนเปื้อนลงไปในแหล่งน้ำ ที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะป่าดงใหญ่ ถือเป็นป่าต้นน้ำสำคัญ ที่หล่อเลี้ยงหลายจังหวัดในภาคอีสาน
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้การดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล มิได้เป็นการกลั่นแกล้ง หรือละเมิดต่อสิทธิของประชาชนแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม หากเจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติ จะถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และการปล่อยปละเลยให้มีการบุกรุกอาจเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้องให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ทุกสิ่งที่รัฐบาลทำอยู่ในกรอบของกฎหมาย คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม
ดังนั้น อยากเรียกร้องให้หน่วยงานที่มาแสดงความคิดเห็น ได้ตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง และแสดงความคิดเห็นบนบรรทัดฐานที่ยอมรับได้