วานนี้ (11 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง ได้มีหนังสือถึง ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีที่สำนักข่าวอิศรา มีความเห็นต่อหนังสือขอความร่วมมือในการนำเสนอข่าว โดยยึดหลักกฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน ซึ่ง นายดิเรกฤทธิ์ ได้ทำถึงผู้อำนวยการสถาบันอิศราไปเมื่อวันที่ 6 มี.ค. ที่ผ่านมา
เนื้อหาในหนังสือฉบับใหม่ กล่าวถึงกรณีที่สำนักข่าวอิศราเผยแพร่บทความ “ว่าด้วย “ช้างตาย-วัวสันหลังหวะ”ที่ศาลปกครอง” เมื่อวันที่ 8 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเขียนโดยนายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา ภายหลังจากที่ได้รับหนังสือขอความร่วมมือฯ จากนายดิเรกฤทธิ์ โดยระบุว่า ทางสำนักข่าวอิศรา มีความคลาดเคลื่อนต่อหลักการ และกฎหมายหลายประการ ดังนี้
ประการแรก ผู้อำนวยการสถาบันอิศราได้อ้างอิง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ในการเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับการประชุมของคณะกรรมการศาลปกครอง (ก.ศป.) เป็นความเข้าใจผิด เพราะเนื้อหามาตรา 9 ของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ ระบุถึงข้อมูลที่หน่วยงานรัฐต้องเปิดเผยให้ประชาชนเข้าตรวจดู ใน (7) ได้กล่าวถึง มติคณะกรรมการ ที่แต่งตั้งโดยกฎหมายด้วย อย่างไรก็ตาม มติคณะกรรมการฯ ตามที่กฎหมายกำหนดให้เปิดเผยนั้น ล้วนต้องเป็นมติที่มีความเป็นทางการผ่านการรับรองรายงานการประชุมโดยกรรมการทุกท่านแล้ว ในขณะที่ มาตรา 15 ของกฎหมายฉบับเดียวกัน ยังระบุถึงประเภทของข้อมูลที่หน่วยงานรัฐอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผยก็ได้ อาทิ ข้อมูลเกี่ยวกับการฟ้องคดี การตรวจสอบ ความเห็นหรือคำแนะนำภายในองค์กร
นายดิเรกฤทธิ์ ยังได้อธิบายเหตุผลของการไม่อาจเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตาม มาตรา 15(3) ของ พ.ร.บ.ดังกล่าวด้วยว่า เนื่องจากการพิจารณาตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อาจต้องมีเจ้าหน้าที่ หรือผู้เกี่ยวข้องเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณากันหลายชั้น ซึ่งในแต่ละชั้นอาจจะมีความเห็นที่แตกต่างกัน หรือในการพิจารณาชั้นต้นอาจมีความเห็นอย่างหนึ่ง แต่เมื่อพิจารณาในชั้นสุดท้าย อาจมีข้อยุติ หรือข้อสรุปในการพิจารณาแตกต่างจากครั้งแรกก็ได้
"ในการให้อิสระกับเจ้าหน้าที่เสนอความเห็นอย่างเต็มที่ โดยไม่ถูกรบกวนก่อนมีผลยุติ จึงเป็นสิ่งจำเป็น" นายดิเรกฤทธิ์ ระบุ
ประการที่ 2 กรณีที่ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา ตั้งข้อสังเกตว่า หนังสือลงวันที่ 6 มี.ค.นั้น มีลักษณะเป็นการข่มขู่ เพราะมีการอ้างข้อกฎหมายนั้น นายดิเรกฤทธิ์ ชี้แจงว่า การมีหนังสือราชการจำเป็นต้องมีเหตุผลประกอบ ซึ่งเหตุผลย่อมประกอบไปด้วยข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย ในกรณีนี้มีข้อกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง
ประการที่ 3 ประเด็นที่ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา เห็นว่า มาตรา 164 ของประมวลกฎหมายอาญา ไม่อาจนำมาใช้กับสถาบันอิศราได้ เพราะเป็นบทบัญญัติที่ใช้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองอธิบายว่า มาตรา 164 เป็นข้อกฎหมายที่มุ่งบังคับตัวเจ้าหน้าที่รัฐผู้นำข้อมูลข่าวสารลับทางราชการมาเปิดเผยโดยมิชอบ แต่ทั้งนี้อาจครอบคลุมถึงบุคคลอื่นที่มิใช่เจ้าหน้าที่ หากแต่มีส่วนร่วมในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารลับของราชการโดยมิชอบด้วย
"การที่สำนักข่าวอิศรา นำข้อมูลลับที่ยังอยู่ในกระบวนการภายในของหน่วยงาน ซึ่งอาจไม่ตรงกับข้อเท็จจริงมาเผยแพร่นั้น อาจเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ได้" นายดิเรกฤทธิ์ ย้ำ
ประการที่ 4 การนำจดหมายเปิดผนึกของตุลาการศาลปกครอง ที่ไม่มีการลงชื่อผู้ทำมาเผยแพร่ต่อสาธารณะ อันส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่นในทางที่เกิดความเสียหาย โดย ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา ให้ความเห็นว่า สามารถทำได้นั้น นายดิเรกฤทธิ์ เห็นว่า การเผยแพร่เอกสารที่ส่งผลเสียหายต่อผู้อื่น จะต้องเป็นเอกสารที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งการลงชื่อของผู้มีหนังสือ ถือเป็นสาระสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากไม่มีการลงชื่อ ถือเป็นเอกสารที่ไม่มีผู้รับผิดชอบ สื่อมวลชนต้องคำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลอื่นด้วย
"ข่าวดังกล่าวน่าเชื่อถือหรือไม่ ต้องให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะตุลาการศาลปกครอง ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายและจริยธรรมของตุลาการเป็นผู้ตัดสิน" นายดิเรกฤทธิ์ ระบุ
ประการที่ 5 การที่ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา เห็นว่า ข่าวดังกล่าวมีการวิเคราะห์ และใส่ความเห็นของผู้เขียน ถือเป็นลักษณะของบทความ จึงไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ สภาการหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2541 นายดิเรกฤทธิ์ มีข้อสังเกตว่า การนำเสนอบทความที่ใส่ความเห็นของผู้เขียนลงไปด้วยนั้น ควรมีการแยกข้อเท็จจริง กับความคิดเห็นของผู้เขียนให้ชัดเจน เพื่อป้องกันความเข้าใจคลาดเคลื่อนหรือสับสนต่อผู้อ่านข่าว รวมทั้งการอ้างอิงแหล่งข่าวที่ไม่ชัดเจน ก็อาจทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริงได้
ในช่วงท้ายของหนังสือระบุว่า "สำนักงานศาลปกครอง หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับความร่วมมือจากสำนัหข่าวอิศรา ในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ในกรอบของกฎหมายและจริยธรรม เพื่อบรรยากาศที่ดีในการทำงานของทุกฝ่าย ซึ่งการทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานต่างๆ ของสื่อสารมวลชนนั้น เป็นเรื่องที่ดียิ่ง หากแต่ขอได้โปรดระมัดระวังในการนำเสนอข่าวสาร ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นอิสระในการทำหน้าที่ของผู้ที่มีหน้าที่ตามกฎหมาย และคำนึงถึงความเป็นธรรมของทุกฝ่าย"
เนื้อหาในหนังสือฉบับใหม่ กล่าวถึงกรณีที่สำนักข่าวอิศราเผยแพร่บทความ “ว่าด้วย “ช้างตาย-วัวสันหลังหวะ”ที่ศาลปกครอง” เมื่อวันที่ 8 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเขียนโดยนายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา ภายหลังจากที่ได้รับหนังสือขอความร่วมมือฯ จากนายดิเรกฤทธิ์ โดยระบุว่า ทางสำนักข่าวอิศรา มีความคลาดเคลื่อนต่อหลักการ และกฎหมายหลายประการ ดังนี้
ประการแรก ผู้อำนวยการสถาบันอิศราได้อ้างอิง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ในการเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับการประชุมของคณะกรรมการศาลปกครอง (ก.ศป.) เป็นความเข้าใจผิด เพราะเนื้อหามาตรา 9 ของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ ระบุถึงข้อมูลที่หน่วยงานรัฐต้องเปิดเผยให้ประชาชนเข้าตรวจดู ใน (7) ได้กล่าวถึง มติคณะกรรมการ ที่แต่งตั้งโดยกฎหมายด้วย อย่างไรก็ตาม มติคณะกรรมการฯ ตามที่กฎหมายกำหนดให้เปิดเผยนั้น ล้วนต้องเป็นมติที่มีความเป็นทางการผ่านการรับรองรายงานการประชุมโดยกรรมการทุกท่านแล้ว ในขณะที่ มาตรา 15 ของกฎหมายฉบับเดียวกัน ยังระบุถึงประเภทของข้อมูลที่หน่วยงานรัฐอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผยก็ได้ อาทิ ข้อมูลเกี่ยวกับการฟ้องคดี การตรวจสอบ ความเห็นหรือคำแนะนำภายในองค์กร
นายดิเรกฤทธิ์ ยังได้อธิบายเหตุผลของการไม่อาจเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตาม มาตรา 15(3) ของ พ.ร.บ.ดังกล่าวด้วยว่า เนื่องจากการพิจารณาตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อาจต้องมีเจ้าหน้าที่ หรือผู้เกี่ยวข้องเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณากันหลายชั้น ซึ่งในแต่ละชั้นอาจจะมีความเห็นที่แตกต่างกัน หรือในการพิจารณาชั้นต้นอาจมีความเห็นอย่างหนึ่ง แต่เมื่อพิจารณาในชั้นสุดท้าย อาจมีข้อยุติ หรือข้อสรุปในการพิจารณาแตกต่างจากครั้งแรกก็ได้
"ในการให้อิสระกับเจ้าหน้าที่เสนอความเห็นอย่างเต็มที่ โดยไม่ถูกรบกวนก่อนมีผลยุติ จึงเป็นสิ่งจำเป็น" นายดิเรกฤทธิ์ ระบุ
ประการที่ 2 กรณีที่ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา ตั้งข้อสังเกตว่า หนังสือลงวันที่ 6 มี.ค.นั้น มีลักษณะเป็นการข่มขู่ เพราะมีการอ้างข้อกฎหมายนั้น นายดิเรกฤทธิ์ ชี้แจงว่า การมีหนังสือราชการจำเป็นต้องมีเหตุผลประกอบ ซึ่งเหตุผลย่อมประกอบไปด้วยข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย ในกรณีนี้มีข้อกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง
ประการที่ 3 ประเด็นที่ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา เห็นว่า มาตรา 164 ของประมวลกฎหมายอาญา ไม่อาจนำมาใช้กับสถาบันอิศราได้ เพราะเป็นบทบัญญัติที่ใช้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองอธิบายว่า มาตรา 164 เป็นข้อกฎหมายที่มุ่งบังคับตัวเจ้าหน้าที่รัฐผู้นำข้อมูลข่าวสารลับทางราชการมาเปิดเผยโดยมิชอบ แต่ทั้งนี้อาจครอบคลุมถึงบุคคลอื่นที่มิใช่เจ้าหน้าที่ หากแต่มีส่วนร่วมในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารลับของราชการโดยมิชอบด้วย
"การที่สำนักข่าวอิศรา นำข้อมูลลับที่ยังอยู่ในกระบวนการภายในของหน่วยงาน ซึ่งอาจไม่ตรงกับข้อเท็จจริงมาเผยแพร่นั้น อาจเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ได้" นายดิเรกฤทธิ์ ย้ำ
ประการที่ 4 การนำจดหมายเปิดผนึกของตุลาการศาลปกครอง ที่ไม่มีการลงชื่อผู้ทำมาเผยแพร่ต่อสาธารณะ อันส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่นในทางที่เกิดความเสียหาย โดย ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา ให้ความเห็นว่า สามารถทำได้นั้น นายดิเรกฤทธิ์ เห็นว่า การเผยแพร่เอกสารที่ส่งผลเสียหายต่อผู้อื่น จะต้องเป็นเอกสารที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งการลงชื่อของผู้มีหนังสือ ถือเป็นสาระสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากไม่มีการลงชื่อ ถือเป็นเอกสารที่ไม่มีผู้รับผิดชอบ สื่อมวลชนต้องคำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลอื่นด้วย
"ข่าวดังกล่าวน่าเชื่อถือหรือไม่ ต้องให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะตุลาการศาลปกครอง ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายและจริยธรรมของตุลาการเป็นผู้ตัดสิน" นายดิเรกฤทธิ์ ระบุ
ประการที่ 5 การที่ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา เห็นว่า ข่าวดังกล่าวมีการวิเคราะห์ และใส่ความเห็นของผู้เขียน ถือเป็นลักษณะของบทความ จึงไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ สภาการหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2541 นายดิเรกฤทธิ์ มีข้อสังเกตว่า การนำเสนอบทความที่ใส่ความเห็นของผู้เขียนลงไปด้วยนั้น ควรมีการแยกข้อเท็จจริง กับความคิดเห็นของผู้เขียนให้ชัดเจน เพื่อป้องกันความเข้าใจคลาดเคลื่อนหรือสับสนต่อผู้อ่านข่าว รวมทั้งการอ้างอิงแหล่งข่าวที่ไม่ชัดเจน ก็อาจทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริงได้
ในช่วงท้ายของหนังสือระบุว่า "สำนักงานศาลปกครอง หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับความร่วมมือจากสำนัหข่าวอิศรา ในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ในกรอบของกฎหมายและจริยธรรม เพื่อบรรยากาศที่ดีในการทำงานของทุกฝ่าย ซึ่งการทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานต่างๆ ของสื่อสารมวลชนนั้น เป็นเรื่องที่ดียิ่ง หากแต่ขอได้โปรดระมัดระวังในการนำเสนอข่าวสาร ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นอิสระในการทำหน้าที่ของผู้ที่มีหน้าที่ตามกฎหมาย และคำนึงถึงความเป็นธรรมของทุกฝ่าย"