ASTVผู้จัดการรายวัน - พลิกล็อก! ผลการประชุมบอร์ด กนง. ครั้งที่ 2 ปี 58 มีมติ 4 ต่อ 3 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% หรือจาก 2.00% เหลือ 1.75% ให้เหตุผลกระสุนมีเพียงพอรับมือความเสี่ยงเศรษฐกิจช่วงที่เหลือ หวังเรียกความเชื่อมั่น ช่วยลดภาระหนี้ให้ประชาชน พร้อมลดประมาณการณ์เศรษฐกิจยกชุด หลังเศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวต่ำกว่า 4% ด้านไทยพาณิชย์ เสือปืนไว นำร่องลดดอกเบี้ยเงินกู้
นายเมธี สุภาพงษ์ เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ผลการประชุมบอร์ด กนง. เมื่อวานนี้ (11 มี.ค.) มีมติ 4 ต่อ 3 ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จากระดับ 2% มาอยู่ที่ 1.75% ต่อปี โดยให้มีผลทันที ซึ่งมองว่าการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ จะช่วยสร้างบรรยากาศความเชื่อมั่นดีขึ้นบ้าง หลังจากการใช้จ่ายภายในประเทศต่ำกว่าคาดการณ์ไว้มาก
ทั้งนี้ ในวันที่ 20 มี.ค.2558 รายงานนโยบายการเงินฉบับเดือนมี.ค. เตรียมปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยต่ำกว่า 4% รวมถึงปรับตัวเลขส่งออก อัตราเงินเฟ้อ การอุปโภคบริโภค รวมถึงการลงทุน
สำหรับกรรมการ 4 เสียงที่ลงความเห็นให้ลดดอกเบี้ย ให้เหตุผลว่านโยบายการเงินควรผ่อนคลายเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มแรงสนับสนุนให้เศรษฐกิจและช่วยพยุงความเชื่อมั่นของภาคเอกชน ขณะที่กรรมการอีก 3 เสียง มองว่าควรคงอัตราดอกเบี้ยไว้ เนื่องจากนโยบายการเงินในปัจจุบันผ่อนคลายเพียงพอในการสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจและควรรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินเมื่อเวลาที่จำเป็นและมีประสิทธิภาพมากกว่าปัจจุบัน ซึ่งการกระตุ้นเศรษฐกิจควรอาศัยแรงขับเคลื่อนด้านการคลังมากกว่า โดยเฉพาะการดำเนินการตามแผนการลงทุนของภาครัฐ
“ในที่ประชุมมีการพูดคุยเรื่องประสิทธิผลของนโยบายการเงินด้วย โดยเห็นมาระยะหนึ่งแล้วว่าการใช้นโยบายการเงินมีประสิทธิผลไม่ได้มากในช่วงที่ผ่านมา แต่การดำเนินการครั้งนี้ น่าจะมีส่วนช่วยได้บ้างในภาวะที่กลไกอื่นๆ ไม่ได้ทำงานช่วยเต็มที่ อย่างไรก็ตาม การลดดอกเบี้ยครั้งนี้ ช่วยเหลือภาพรวมเศรษฐกิจมากกว่าที่จะช่วยเหลือภาคส่งออกหรือภาคใดภาคหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ”นายเมธีกล่าว และว่า การลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ คาดหวังธนาคารพาณิชย์ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ผ่านการให้สินเชื่อด้วย
ต่อข้อซักถามที่ว่า บอร์ด กนง.จะมีกระสุนเพียงพอรับมือความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยช่วงที่เหลือหรือไม่นั้น นายเมธี กล่าวว่า การประชุมมีการพูดคุยเรื่องนี้ และมองว่ากระสุนมีเพียงพอ ขณะที่ฝั่งกรรมการให้ลดดอกเบี้ยมองว่าควรเริ่มใช้บ้าง ไม่เช่นนั้นกระสุนจะด้านได้
สำหรับการปรับลดประมาณการณ์เศรษฐกิจไทย เนื่องจากมองว่าการใช้จ่ายภาคเอกชนต่ำกว่าคาดการณ์ไว้มาก สะท้อนจากข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2557 และข้อมูลบางส่วนในเดือนม.ค.-ก.พ.2558 อ่อนแรง ทำให้แรงส่งค่อนข้างต่ำในระยะข้างหน้า ส่วนหนึ่งเกิดจากความเชื่อมั่นของภาคเอกชนลดลง เช่นเดียวกับการใช้จ่ายภาครัฐ ก็ช้ากว่าคาดการณ์ไว้ สำหรับปัจจัยต่างประเทศ มองว่าความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากภาวะเศรษฐกิจจีนและเอเชีย ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้นกว่าประเมินไว้
“ถ้าความเชื่อมั่นดีขึ้น คนอยากจะจับจ่ายใช้สอย ถ้าความเชื่อมั่นไม่ดี การใช้ก็จะจ่ายน้อยลง มองว่าปัจจุบันภาครัฐทำเต็มที่ ถ้าเพิ่มขึ้นอีก ก็จะช่วยได้ หรือนโยบายดูแลผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ถ้าเร่งขึ้นอีกก็เป็นสิ่งที่ดี”
นายเมธีกล่าวว่า ในการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ ได้นำเหตุผลการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางอื่นมาประกอบการตัดสินใจด้วย เพราะเข้าใจว่าการดำเนินโนบายการเงินของแต่ละประเทศ ขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศนั้นๆ และไทยก็ดูความจำเป็นของเราเองมากกว่า และในที่ประชุมไม่ได้ห่วงเงินทุนไหลออกมากนัก ซึ่งในที่ประชุมได้หารือเรื่องนี้ โดยมองว่า ที่ผ่านมา เห็นว่าภาพรวมเงินทุนจากต่างประเทศไหลออกเล็กน้อย และมองว่าการลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ถือว่าไม่มาก ก็ไม่น่าจะกระตุ้นให้เงินไหลออกเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การประเมินทิศทางการเคลื่อนย้ายเงินทุนเป็นเรื่องยาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างประเทศเป็นสำคัญ
นอกจากนี้ กรรมการยังกำชับให้ติดตามผลกระทบความเสี่ยงที่มีอาจสะสมจากพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่า (Search for yield) ภายใต้ภาวะอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่อยู่ระดับต่ำมาเป็นเวลานานทั้งการลงทุนพันธบัตรและตลาดหุ้น ส่วนการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ก็มีการปรับตัวพอสมควรในช่วงที่ผ่านมา ด้านเสถียรภาพการเงินอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ไม่รุนแรงขึ้น โดยในส่วนหนี้ครัวเรือนไม่น่าเป็นห่วง เพราะธนาคารระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อภาคครัวเรือน และกรรมการบางท่านมองว่าการลดดอกเบี้ยนโยบายลงจะช่วยลดภาระหนี้ครัวเรือนได้บ้าง แต่ไม่ทำให้สินเชื่อครัวเรือนขยายตัว ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ก็ไม่ได้น่าเป็นห่วง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระยะฟื้นตัว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า การประชุมบอร์ด กนง.ครั้งที่ 2 ของปี 2558 มีมติให้ลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เหลือ 1.75% ถือเป็นการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรก หลังจากการประชุมในช่วง 7 ครั้งที่ผ่านมา ไม่มีมติให้มีการลดดอกเบี้ยเลย หรือได้มีการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 2% ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 23 เม.ย.2557 เป็นต้นมา
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กล่าวว่า เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและขานรับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารจึงได้พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ลง 0.20%ต่อปี โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ที่ 6.55 % ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคมเป็นต้นไป
ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำลง 0.20% ต่อปี โดยปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน อยู่ที่ 0.90 - 0.95%ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 6 เดือน อยู่ที่ 1.15 -1.20% ต่อปี และ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน อยู่ที่ 1.50% ต่อปี ลูกค้าสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ทุกสาขา หรือ SCB Call Center (02) 777-7777.
.
นายเมธี สุภาพงษ์ เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ผลการประชุมบอร์ด กนง. เมื่อวานนี้ (11 มี.ค.) มีมติ 4 ต่อ 3 ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จากระดับ 2% มาอยู่ที่ 1.75% ต่อปี โดยให้มีผลทันที ซึ่งมองว่าการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ จะช่วยสร้างบรรยากาศความเชื่อมั่นดีขึ้นบ้าง หลังจากการใช้จ่ายภายในประเทศต่ำกว่าคาดการณ์ไว้มาก
ทั้งนี้ ในวันที่ 20 มี.ค.2558 รายงานนโยบายการเงินฉบับเดือนมี.ค. เตรียมปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยต่ำกว่า 4% รวมถึงปรับตัวเลขส่งออก อัตราเงินเฟ้อ การอุปโภคบริโภค รวมถึงการลงทุน
สำหรับกรรมการ 4 เสียงที่ลงความเห็นให้ลดดอกเบี้ย ให้เหตุผลว่านโยบายการเงินควรผ่อนคลายเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มแรงสนับสนุนให้เศรษฐกิจและช่วยพยุงความเชื่อมั่นของภาคเอกชน ขณะที่กรรมการอีก 3 เสียง มองว่าควรคงอัตราดอกเบี้ยไว้ เนื่องจากนโยบายการเงินในปัจจุบันผ่อนคลายเพียงพอในการสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจและควรรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินเมื่อเวลาที่จำเป็นและมีประสิทธิภาพมากกว่าปัจจุบัน ซึ่งการกระตุ้นเศรษฐกิจควรอาศัยแรงขับเคลื่อนด้านการคลังมากกว่า โดยเฉพาะการดำเนินการตามแผนการลงทุนของภาครัฐ
“ในที่ประชุมมีการพูดคุยเรื่องประสิทธิผลของนโยบายการเงินด้วย โดยเห็นมาระยะหนึ่งแล้วว่าการใช้นโยบายการเงินมีประสิทธิผลไม่ได้มากในช่วงที่ผ่านมา แต่การดำเนินการครั้งนี้ น่าจะมีส่วนช่วยได้บ้างในภาวะที่กลไกอื่นๆ ไม่ได้ทำงานช่วยเต็มที่ อย่างไรก็ตาม การลดดอกเบี้ยครั้งนี้ ช่วยเหลือภาพรวมเศรษฐกิจมากกว่าที่จะช่วยเหลือภาคส่งออกหรือภาคใดภาคหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ”นายเมธีกล่าว และว่า การลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ คาดหวังธนาคารพาณิชย์ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ผ่านการให้สินเชื่อด้วย
ต่อข้อซักถามที่ว่า บอร์ด กนง.จะมีกระสุนเพียงพอรับมือความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยช่วงที่เหลือหรือไม่นั้น นายเมธี กล่าวว่า การประชุมมีการพูดคุยเรื่องนี้ และมองว่ากระสุนมีเพียงพอ ขณะที่ฝั่งกรรมการให้ลดดอกเบี้ยมองว่าควรเริ่มใช้บ้าง ไม่เช่นนั้นกระสุนจะด้านได้
สำหรับการปรับลดประมาณการณ์เศรษฐกิจไทย เนื่องจากมองว่าการใช้จ่ายภาคเอกชนต่ำกว่าคาดการณ์ไว้มาก สะท้อนจากข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2557 และข้อมูลบางส่วนในเดือนม.ค.-ก.พ.2558 อ่อนแรง ทำให้แรงส่งค่อนข้างต่ำในระยะข้างหน้า ส่วนหนึ่งเกิดจากความเชื่อมั่นของภาคเอกชนลดลง เช่นเดียวกับการใช้จ่ายภาครัฐ ก็ช้ากว่าคาดการณ์ไว้ สำหรับปัจจัยต่างประเทศ มองว่าความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากภาวะเศรษฐกิจจีนและเอเชีย ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้นกว่าประเมินไว้
“ถ้าความเชื่อมั่นดีขึ้น คนอยากจะจับจ่ายใช้สอย ถ้าความเชื่อมั่นไม่ดี การใช้ก็จะจ่ายน้อยลง มองว่าปัจจุบันภาครัฐทำเต็มที่ ถ้าเพิ่มขึ้นอีก ก็จะช่วยได้ หรือนโยบายดูแลผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ถ้าเร่งขึ้นอีกก็เป็นสิ่งที่ดี”
นายเมธีกล่าวว่า ในการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ ได้นำเหตุผลการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางอื่นมาประกอบการตัดสินใจด้วย เพราะเข้าใจว่าการดำเนินโนบายการเงินของแต่ละประเทศ ขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศนั้นๆ และไทยก็ดูความจำเป็นของเราเองมากกว่า และในที่ประชุมไม่ได้ห่วงเงินทุนไหลออกมากนัก ซึ่งในที่ประชุมได้หารือเรื่องนี้ โดยมองว่า ที่ผ่านมา เห็นว่าภาพรวมเงินทุนจากต่างประเทศไหลออกเล็กน้อย และมองว่าการลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ถือว่าไม่มาก ก็ไม่น่าจะกระตุ้นให้เงินไหลออกเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การประเมินทิศทางการเคลื่อนย้ายเงินทุนเป็นเรื่องยาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างประเทศเป็นสำคัญ
นอกจากนี้ กรรมการยังกำชับให้ติดตามผลกระทบความเสี่ยงที่มีอาจสะสมจากพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่า (Search for yield) ภายใต้ภาวะอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่อยู่ระดับต่ำมาเป็นเวลานานทั้งการลงทุนพันธบัตรและตลาดหุ้น ส่วนการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ก็มีการปรับตัวพอสมควรในช่วงที่ผ่านมา ด้านเสถียรภาพการเงินอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ไม่รุนแรงขึ้น โดยในส่วนหนี้ครัวเรือนไม่น่าเป็นห่วง เพราะธนาคารระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อภาคครัวเรือน และกรรมการบางท่านมองว่าการลดดอกเบี้ยนโยบายลงจะช่วยลดภาระหนี้ครัวเรือนได้บ้าง แต่ไม่ทำให้สินเชื่อครัวเรือนขยายตัว ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ก็ไม่ได้น่าเป็นห่วง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระยะฟื้นตัว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า การประชุมบอร์ด กนง.ครั้งที่ 2 ของปี 2558 มีมติให้ลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เหลือ 1.75% ถือเป็นการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรก หลังจากการประชุมในช่วง 7 ครั้งที่ผ่านมา ไม่มีมติให้มีการลดดอกเบี้ยเลย หรือได้มีการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 2% ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 23 เม.ย.2557 เป็นต้นมา
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กล่าวว่า เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและขานรับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารจึงได้พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ลง 0.20%ต่อปี โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ที่ 6.55 % ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคมเป็นต้นไป
ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำลง 0.20% ต่อปี โดยปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน อยู่ที่ 0.90 - 0.95%ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 6 เดือน อยู่ที่ 1.15 -1.20% ต่อปี และ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน อยู่ที่ 1.50% ต่อปี ลูกค้าสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ทุกสาขา หรือ SCB Call Center (02) 777-7777.
.