ครม. ไฟเขียว เก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชาเอกชน เพื่อลดแรงจูงใจและความจำเป็นในการเข้าไปโรงเรียนกวดวิชา หวังเก็บรายได้เพิ่มปีละ 1.2 พันล้านบาท ย้ำมีมาตรการให้โยนภาระให้นักเรียน-ผู้ปกครอง พร้อมอนุมัติ ร่าง พ.ร.บ. ธรรมศาสตร์-ขอนแก่น เป็น ม.ในกำกับของรัฐ ด้าน นายกฯ วอนหยุดถกเรื่องการออก กม.ภาษีบ้าน ระบุเรื่องยังไม่จบ ฟาก “มาร์ค” จวกรัฐบาลเพี้ยนเก็บภาษีบ้าน “พิเชษฐ” อัดยับเปิดช่องให้เจ้าของผลักภาระให้คนเช่า “เพื่อไทย” ร่วมวงค้าน ชี้ภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ยังซ้ำเติมประชาชน “กิตติรัตน์” โพสต์ยก 3 ข้อไม่เห็นด้วย
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (10 มี.ค.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้มีการจัดเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชาเอกชนที่มีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจ โดยกำหนดให้จัดเก็บภาษีเงินได้ที่ได้รับจากการประกอบกิจการดังกล่าวทั้งที่เป็นกำไรสุทธิ หรือผลตอบแทน และเงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษี โดย กระทรวงการคลัง คาดว่าจะจัดเก็บภาษีดังกล่าวได้ปีละ 1.2 พันล้านบาท ส่วนกรณีที่ผู้ประกอบกิจการจะไปปรับขึ้นราคาค่าเรียนหรือไม่นั้นคงไม่สามารถควบคุมได้ เพราะถือเป็นสิทธิของผู้ประกอบกิจการไปพิจารณาราคาที่เหมาะสมกับต้นทุน
ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เสนอความเห็นว่า มาตรการดังกล่าวจะต้องดำเนินการควบคู่กับมาตรการของ กระทรวงศึกษาธิการ โดยให้ กระทรวงศึกษาธิการ รับข้อเสนอแนะทั้งระยะสั้นและระยะยาวของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แก้ไขประกาศของ คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เกี่ยวกับโรงเรียนสอนกวดวิชา โดยให้จำแนกประเภทที่ชัดเจนเพื่อเป็นฐานข้อมูลของ กระทรวงการคลัง ในการจัดเก็บภาษี โดยรัฐบาลต้องมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเป็นธรรมด้านโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ เน้นการขยายบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพและทั่วถึง ปรับเปลี่ยนวิธีการวัดผลการเรียนและการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมและอุดมศึกษา เพื่อลดแรงจูงใจและความจำเป็นในการเข้าไปโรงเรียนกวดวิชา
ด้าน พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ความเห็นว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลกับโรงเรียนกวดวิชา เพราะถือว่าเป็นการประกอบกิจการพาณิชย์เพื่อหากำไร โดยตนไม่เป็นห่วงเรื่องการปรับเพิ่มราคาที่จะเป็นภาระกับนักเรียน เพราะมีหน่วยงานควบคุมการคิดค่าเรียน หากจะมีการขึ้นราคาต้องขออนุญาต ไม่ใช่ขึ้นตามใจชอบ
อนุมัติ มธ.-มข. อยู่ในกำกับรัฐ
นายกฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่ ศธ.เสนอร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือมหาวิทยาลัยนอกระบบ 2 ฉบับคือ ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. .... และร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. …. ซึ่งหลังจากนี้จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยขณะนี้ยังคงเหลือร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยศิลปากร อีกเพียงฉบับเดียวที่อยู่ในพิจารณาของ นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอให้ ครม. เห็นชอบต่อไป นอกจากนั้นที่ประชุมยังเห็นชอบ ร่างกฎกระทรวงการขอให้รับรองและการรับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. …. ด้วย
ในส่วนของการเปลี่ยนสถานะไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐนั้นมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องซึ่งหากมหาวิทยาลัยใดมีความพร้อมก็สามารถเสนอร่างกฎหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) พิจารณาได้ตามขั้นตอน โดยที่ผ่านมาได้มีการหารือกับ สกอ. ว่าอาจต้องมีระบบเข้าไปช่วยสร้างความพร้อมให้มหาวิทยาลัย ทั้งเรื่องการบริหารจัดการและธรรมาภิบาล
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า ในส่วนของร่างกฎกระทรวงการขอให้รับรองและการรับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. .... ที่ ครม. เพิ่งให้ความเห็นชอบไปนั้น เป็นการปรับแก้รายละเอียดจากกฎกระทรวงเดิมซึ่งตามปกติการรับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจะรับรองในระดับปริญญา แต่เนื่องจากที่ผ่านมาเกิดปัญหาว่าในชื่อปริญญาเดียวกันแต่ใช้หลักสูตรไม่เหมือนกัน จึงต้องปรับมารับรองเป็นรายหลักสูตรเพื่อให้การจัดการศึกษามีคุณภาพและได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด ส่วนจะมีผลบังคับใช้ทันทีหรือไม่ต้องพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง
นายกฯ ย้ำทุกฝ่ายต้องเข้าใจ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังการประชุม ครม. ถึงกรณีที่ประชุมเห็นชอบการเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคลของโรงเรียนกวดวิชาว่า ต้องพิจารณาว่าโรงเรียนกวดวิชานั้นอยู่นอกระบบ หรือในระบบ รวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่ก่อให้เกิดรายได้ โดยโรงเรียนกวดวิชาอาจต้องเป็นฝ่ายเสียภาษีและไม่เพิ่มภาระให้แต่ผู้ปกครอง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจว่าการเก็บภาษีไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลไม่มีเงิน แต่จำเป็นต้องใช้เงินทุกบาทให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่ใช้งบประมาณจำนวนมากอย่างเสียหาย แต่ควรใช้เพื่อให้เกิดการสร้างสร้างรายได้เท่านั้น
“ส่วนกรณีร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยนอกระบบ ต้องพิจารณากันอีกครั้งถึงการตัดสินใจแบบนั้น โดยเฉพาะปัญหาที่จะตามมาคือการขึ้นค่าตอบแทน เพราะไม่ได้ขึ้นอยู่กับรัฐแล้ว”
ออกตัวยังไม่สรุปเรื่องภาษีบ้าน
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า ตนได้ชี้แจงในที่ประชุมถึงเรื่องภาษีบ้านและที่ดินว่าทุกอย่างยังอยู่ในขั้นตอนการหารือและยังไม่ชัดเจน โดยตนได้ให้มาตรการว่าจะดูแลประชาชนอย่างไรให้เกิดความเป็นธรรมที่สุด หากบ้านราคาแพงก็ต้องเสียมาก แต่ถ้าบ้านราคาถูกก็ต้องเสียน้อย ถ้าลดลงได้อีกก็ต้องลดลง แต่ก็จะมีกำหนดว่าไม่เกินเท่าไร สมมุติว่าเป็นบ้านราคาสูงก็ต้องกำหนดว่าไม่เกินเท่าไร ซึ่งทั้งหมดยังอยู่ในระหว่างการหารือกัน ขอให้ทุกฝ่ายอย่าเพิ่งวิตก เพราะเรายังต้องเตรียมเรื่องการสร้างความเข้มแข็งให้ประเทศชาติในวันหน้า ฉะนั้นจึงอยากขอร้องให้พอได้แล้วเรื่องภาษีเพราะยังไม่เกิดในวันนี้หรือพรุ่งนี้
“ภาษีอย่างนี้เกิดได้ แต่ถ้าเป็นการเมืองเข้ามาก็จะเดือดร้อน วันนี้จะเห็นว่าพวกนักการเมืองต่างออกมาเชียร์ให้ออก รวมถึงมีตีกลับ นี่ละมันมีทั้งสองด้าน ซึ่งผมไม่ต้องการคะแนนนิยมแต่ต้องการความร่วมมือ ถ้าได้คะแนนนิยมผมก็ต้องขอบคุณในความร่วมมือต่างๆ แต่ถ้าจะเชียร์ผมให้มีคะแนนนิยมขึ้นเป็น 8 เป็น 9 หรือลงมา 7 ผมก็ยังขอบคุณ แต่ไม่เอามาเป็นบรรทัดฐานในการทำงาน เพราะบรรทัดฐานของผมคือเห็นรอยยิ้มจากประชาชนและสนับสนุนผมในการแก้ปัญหา ผมยังคิดว่าเขาฝากความหวังไว้มากเหลือเกิน และอย่าหาว่าผมจะปลื้มคำเยินยอ ผมมาอยู่ตรงนี้ทำตามกระแสไม่ได้ เพราะผมไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ถ้ามาหาคะแนนเสียงผมคงไม่มานั่งคิดเรื่องภาษี ปัญหาล็อตเตอรี่ก็ไม่ต้องแก้ ที่ดินก็ไม่ต้องไปยึดคืน คลองถมก็ปล่อยให้เละไป นี่คือความแตกต่าง คือความเป็นระเบียบของบ้านเมือง” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวในตอนท้ายว่า ยกตัวอย่างว่าเมื่อมีการลงทุนสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าแล้วอยากให้มีการสร้างตึกขึ้นมาเพื่อเอาคนขึ้นไปอยู่ ถ้าเป็นรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งก็คงจะปล่อยให้เป็นชุมชนไปเรื่อยๆ แถมมีบ้านเลขที่เลือกตั้งได้อีก คือสิ่งที่มีความแตกต่างว่าคะแนนเสียงส่วนใหญ่และส่วนน้อยเป็นอย่างไร คนเหล่านี้อะไรที่ได้ประโยชน์เขาก็ต้องเลือก ต้องสอนคนแบบนี้ ถ้าจนแล้วทำได้ทุกอย่าง ถ้ารวยแล้วยึดคืนทั้งหมดมันก็ไม่ใช่ แต่ต้องหามาตรการที่เหมาะสม
“มาร์ค” อัดแนวคิดทุนนิยม
ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความเป็นห่วงต่อหลักการใน ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ เพราะในสมัยที่ตนเป็นนายกรัฐมนตรี มีหลักการชัดเจนว่า เป้าหมายคือการใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นเครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำด้านทรัพย์สิน โดยมีการกำหนดชัดเจนถึงรายได้ว่านอกจากมอบให้ท้องถิ่นแล้วจะต้องจัดสรรบางส่วนไปไว้ในธนาคารที่ดิน เพื่อจัดทำโฉนดชุมชนและแก้ปัญหาเรื่องที่ทำกินให้กับประชาชนควบคู่ไปด้วย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ข่าวที่ออกมาในขณะนี้ทำให้มีความเป็นห่วงว่ารัฐบาลขาดความชัดเจนหลายเรื่อง เช่น ธนาคารที่ดินและโฉนดชุมชนจะยังดำเนินการหรือไม่ จะใช้เงินที่ได้มาแก้ปัญหาที่ดินทำกินให้ประชาชนหรือไม่ รวมถึงกรณีที่ในร่างเดิมของรัฐบาล ตนได้กำหนดให้มีการปรับกรณีสะสมที่ดินรกร้างว่างเปล่าโดยยกเว้นที่อยู่อาศัยกับการประกอบกิจการทางการเกษตรตามความเหมาะสมเพราะจะเป็นภาระต่อประชาชนและไม่ตรงเป้าหมายที่ต้องการแก้ปัญหาเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ เนื่องจากการอยู่อาศัยนั้นประชาชนอาจอยู่มาก่อนในขณะที่ราคาที่ดินไม่สูง แต่ต่อมาบ้านเมืองพัฒนามากขึ้นทำให้ราคาที่ดินสูงมูลค่าบ้านจึงสูงตามไปด้วย ทั้งๆ ที่ประชาชนเหล่านั้นอาจไม่ใช่คนรวยแต่กลับต้องรับภาระโดยไม่เป็นธรรม
“แนวคิดที่ กระทรวงการคลัง กำหนดว่าจะคิดภาษีจากมูลค่าทรัพย์สินและที่ดินจึงเป็นการคิดแบบทุนนิยม ไม่ตรงเป้าหมายเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ อีกทั้งยังอาจเกิดปัญหาทางอ้อมกลายเป็นการบีบให้ประชาชนที่ไม่ใช่คนรวยแต่อยู่อาศัยในพื้นที่ที่มีราคาต้องย้ายจากที่อยู่อาศัยของตัวเอง เนื่องจากไม่สามารถรับภาระที่จะเกิดขึ้นได้ จึงอยากให้รัฐบาลทบทวนหลักคิดและกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและอย่าเปลี่ยนแปลงหลักคิดที่จะใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นเครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำ ถ้ายังเดินหน้าเช่นนี้ก็เท่ากับทำผิดเป้าหมาย” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
เปิดช่องให้เจ้าของผลักภาระให้คนเช่า
นายพิเชษฐ พันธ์วิชาติกุล อดีต รมช.คลัง โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณี ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและปัญหาการจับเก็บภาษีของท้องถิ่นว่า ในฐานะที่เคยเป็นกรรมาธิการพิจารณาพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี นานถึง 17-18 สมัย ทั้งยังเคยเป็นผู้กระจายอำนาจการคลังจาก กระทรวงการคลัง ไปยังท้องถิ่น มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ของประเทศร่วม 10 ปี ขอให้ข้อมูลประกอบความเข้าใจของสังคมดังนี้
เรื่องกฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและเรื่องภาษีโรงเรือนที่กำลังพิจารณากันอยู่เป็นเรื่องกฎหมายเก่าที่ใช้กันมาและเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมออกมาเป็นกฎหมายใหม่ตามที่กำลังพยายามกระทำอยู่ สาระสำคัญเกี่ยวกับบ้านอยู่อาศัยคือตามกฎหมายเดิมพิจารณาจากเนื้อที่เป็นหลักคือที่ดินเพื่ออยู่อาศัยแต่เดิมเนื้อที่ไม่เกิน 100 ตารางวาไม่ต้องเสียภาษี กำลังมีการแก้ไขให้คิดตามมูลค่าของราคาบ้านและที่ดินฯ โดยให้กรมธนารักษ์ทำหน้าที่ประเมินราคาและต้องเสียภาษีตามที่กำหนด (จะเป็น 1 ล้านบาท หรือ 1.5 ล้านบาทก็ตาม) ผลคือหากบ้านไหนถูกประเมินราคาถึงอัตราที่กำหนดจะต้องเสียภาษีทั้งหมด ไม่ว่าเนื้อที่เท่าไร หรือปลูกอยู่ที่ไหน ลักษณะจะลามไปถึงบ้านในลักษณะตึกแถว ทาวน์เฮ้าส์ จนถึงคอนโดมิเนียมและอพาร์ตเม้นท์ แฟลต แม้แต่บ้านเอื้ออาทร เมื่อเป็นเช่นนี้คงต้องพิจารณาว่ายังมีตึกแถวริมถนน ทาวน์เฮ้าส์ หรือบ้านที่ไหนมีราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาทบ้าง
นายพิเชษฐ ระบุต่อว่า ต้องยอมรับว่าบ้านเหล่านี้ส่วนหนึ่งเจ้าของบ้านอยู่เอง แต่อีกส่วนหนึ่งมีผู้เช่าอยู่ ไม่ว่าเช่าอาศัย หรือเช่าเพื่อประกอบการอาชีพ หากเจ้าของบ้านมีภาระต้องเสียภาษีบ้าน แน่นอนที่จะต้องผลักภาระไปยังผู้เช่าบ้านในรูปของค่าเช่า ค่าเช่าที่จะขึ้นคงไม่ได้เป็นไปตามสัดส่วนภาษี เช่น ภาษีปีละ 1,500 บาท ค่าเช่าอาจขึ้นเดือนละ 200 บาท กลายเป็นภาระที่จะถูกผลักต่อไปปีละ 2,400 บาท นั่นคืออีกส่วนหนึ่งของค่าครองชีพที่จะเพิ่มขึ้น หรือกระทรวงการคลังคิดว่าบ้านที่ให้เช่าลักษณะเช่นว่านี้ไม่มีจริง หรือคิดว่าเจ้าของบ้านจะรับภาระภาษีไว้เองโดยไม่ผลักภาระต่อให้ผู้เช่า
“หากมีการประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ อยากทราบว่า ณ บัดนี้ยังมีคอนโมีเนียมในเมืองที่ไหนมีราคาหน่วยละไม่เกิน 1 ล้านบาท แม้แต่ทาวน์เฮ้าส์ หรือตึกแถวริมถนนที่ไหนในเขตเทศบาลที่มีราคาไม่เกินหน่วยละ 1 ล้านบาท นี่คือข้อเท็จจริงที่รัฐบาล หรือรัฐมนตรีผู้เกี่ยวข้องต้องรับฟัง เพราะประชาชนทั่วไปไม่มีบ้านพักราชการ หรือสามารถเบิกค่าที่พักจากทางราชการเหมือนข้าราชการที่ท่านกำลังคิดขึ้นภาษีเอาเงินมาขึ้นเงินเดือนให้”
นายพิเชษฐ ระบุอีกว่า ในทางเศรษฐกิจภาระทางภาษีคือปัจจัยต้นทุนที่ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึง เมื่อภาคผลิตเกิดต้นทุนเพิ่มขึ้นจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งตัวเครื่องจักรและส่วนควบซึ่งจะส่งผลถึงราคาสินค้าที่ผลิตขึ้น ขณะที่ภาคการค้าและภาคบริการเกิดต้นทุนสูงขึ้นในสถานที่ประกอบการต่างๆ ทั้งโรงแรม ศูนย์การค้า รวมทั้งตลาดในรูปแบบต่างๆ เมื่อเจ้าของสถานที่เกิดภาระภาษีเพิ่มขึ้น ย่อมผลักภาระไปสู่ผู้เช่าช่วง ผู้เช่าช่วงผู้ประกอบการก็ต้องผลักภาระไปสู่ค่าสินค้าและบริการ ภาระก็จะตกแก่ประชาชนผู้บริโภคทุกระดับ เป็นผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ต้องเรียกว่า “เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า”
นายพิเชษฐ กล่าวว่า ในเชิงสังคมรัฐบาลต้องไม่ลืมว่า “บ้านที่อยู่อาศัยคือหนึ่งในปัจจัยสี่ของชีวิตมนุษย์” ทุกวันนี้ภาระค่าครองชีพของประชาชนแทบจะอยู่ในวิกฤตแล้ว วันนี้ประชาชนกำลังรู้สึกว่าถูกอำนาจรัฐ บังคับให้ต้องเสีย “ภาษีค่าที่ซุกหัวนอน” อย่างน่าเจ็บช้ำน้ำใจ เมื่อถามว่าแล้วราคาประเมินบ้านบนที่ดินราคาถูกแต่ราคาบ้านแพง จะมีการหักค่าเสื่อมราคาตามอายุบ้านเหมือนที่ธนาคารคิดเวลาไปกู้หรือไม่ ตอบว่า มีหักแต่ระวังค่าที่ดินซึ่งไม่มีค่าเสื่อม แต่จะสวนทางกับค่าเสื่อมราคาบ้านต่อไปคือ ภาษีค่า “อาหารยาไส้”
ซ้ำเติม ปชช. จากภาวะ ศก.แย่
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว.พลังงาน และคณะทำงานด้านเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงแนวนโยบายการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของรัฐบาลว่า พรรคเพื่อไทยไม่เห็นด้วย เพราะจะสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนเป็นจำนวนมากและอาจจะทำให้ประชาชนที่ไม่สามารถจ่ายภาษีดังกล่าวได้ต้องแก้ปัญหาด้วยการขายที่ดิน หรือบ้านพักเพื่อย้ายออก อย่างไรก็ตามในอดีตก็เคยมีแนวคิดนี้ แต่หลังจากพิจารณาแล้วพบว่าจะยิ่งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ทำให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยไม่สามารถอยู่ร่วมกับประชาชนที่มีรายได้มากได้ เพราะจะต้องขายที่ดิน และบ้านเพื่อมาชำระภาษีนี้
“การที่รัฐจะเก็บภาษีเพิ่ม รวมถึงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม อาจจะทำให้เศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่แล้วยิ่งแย่ลงไปอีก เหมือนกับรถยนต์ที่เร่งไม่ขึ้นแล้วยังไปเหยียบเบรกอีกซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงัก สิ่งที่รัฐบาลควรเร่งทำเพื่อหารายได้เข้ารัฐคือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน โดยเร่งสร้างความมั่นใจจากต่างประเทศซึ่งเป็นปัจจัยหลัก และอยากให้รัฐบาลได้พิจารณาทบทวนว่าในภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่เช่นนี้รัฐบาลควรเก็บภาษีเพิ่มหรือไม่”
“โต้ง” ชี้ลับลวงพรางขึ้นภาษีบ้าน จ่อขึ้นแวตแทน
วานนี้ (10 มี.ค.) นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์เฟซบุ๊ก Kittiratt Na-Ranong (กิตติรัตน์ ณ ระนอง) ระบุว่า “ช่วงที่ผ่านมาใช้เวลาสอนหนังสือ สอนกีฬาแก่เด็กนักเรียนหลายโรงเรียน ขอแจ้งข่าวดีว่าประเทศเรามีความหวังกับเยาวชนครับ แต่พอหันไปดูความคิดของผู้อาวุโสระดับผู้บริหารประเทศกลับรู้สึกหดหู่หลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่อง “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” ที่บ่งบอกถึงความไม่เข้าใจในการบริหารเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่อง “ภาษี” อย่างถ่องแท้ ผมสามารถวิพากษ์วิจารณ์ความไม่เข้าใจของผู้ผลักดันนโยบายฯ นี้ได้มากมายหลายเรื่อง แต่จะขอหยิบยกประเด็นสำคัญเพียงสองสามประเด็นก็คงจะเพียงพอที่จะทำให้ “ผู้มีสติ” หยุดความคิดนี้ได้
ประการที่ 1 หลักการภาษีของประเทศเราคือ ขอรับภาษีเมื่อเกิด “เงินรายได้” และพยายามหักเป็นเงิน “ภาษี ณ ที่จ่าย” โดยผู้จ่ายเงินรายได้นั้นต้องมีหน้าที่หักเงินสดและนำส่งรัฐ เช่น กรณีเงินเดือน ค่าจ้างทำของ หรือแม้แต่กรณีเงินกำไรของนิติบุคคลก็กำหนดให้นิติบุคคลประมาณการผลกำไรและจ่ายภาษีก่อนครบปีเพื่อไม่เป็นภาระที่หนักเกินไปเมื่อคำนวณภาษีปลายปี หรือพูดง่ายๆ กลัวจะต้องจ่ายหนักเกินไปจนต้องเบี้ยวภาษีกัน
กรณีของอสังหาริมทรัพย์ซึ่งรวมถึงที่อยู่อาศัยก็ใช้หลักเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ห้องแถวสองห้องอยู่ติดกัน ห้องหนึ่งนำไปปล่อยเช่าและมีรายได้ อีกห้องหนึ่งคุณตาคุณยายอาศัยอยู่เอง ห้องแถวที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนคือห้องที่ปล่อยเช่าและมีรายได้เท่านั้น ถ้าบ้านไหนไม่จ่ายค่าน้ำก็ถูกตัดน้ำและบ้านไหนไม่จ่ายค่าไฟก็ถูกตัดไฟ แต่คราวนี้ถ้าเขาไม่จ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างล่ะ จะไล่เขาออกจากบ้านหรือ อย่าด่วนสรุปว่าคุณตาคุณยายเอาเปรียบสังคมเพราะกว่าท่านจะสามารถซื้อห้องแถวห้องนี้ได้น่ะ ท่านต้องมีเงินได้และจ่ายภาษีมาก่อนแล้ว รวมทั้งหากท่านขายห้องแถวแล้วมีกำไร ท่านก็ต้องเสียภาษีเงินได้และค่าโอนซึ่งก็เป็นไปตามหลักการภาษีที่ดีคือเก็บ “เมื่อมีเงินรายได้”
ประการที่ 2 “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” เป็นภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ผู้มีหน้าที่จัดเก็บคือ อปท. เพื่อนำรายได้ภาษีฯ นี้ ไปบริหารให้เกิดประโยชน์แก่ท้องถิ่นนั้นๆ หน่วยงานราชการย่อมเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อชุมชนที่ตนอาศัยอยู่ จึงต้องมีหน้าที่จ่ายภาษีฯ ตามมูลค่าทรัพย์สินด้วย หากไม่ยอมจ่ายจะอ้างต่อชุมชนเขาว่าอย่างไร ในอดีตนั้นคำอธิบายคือไม่มีเงินรายได้ที่เป็น “ฐานภาษี” ของภาษีโรงเรือน แต่เมื่อภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใช้ฐานภาษีเป็นมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ รัฐก็ย่อมต้องร่วมจ่ายภาษีด้วย
กรณีนี้ยังมีเรื่องที่น่าขำในความไม่รู้ของผู้บริหารประเทศที่นำภาษีฯ นี้ไปเทียบกับภาษีมูลค่าเพิ่ม แถมยังไปอ้างเรื่องภาระหนี้ที่ยกยอดมาจากรัฐบาลก่อนๆ แบบไม่มีความรู้
“รายได้จากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” เป็นของ อปท. ไม่สามารถนำมาจ่ายดอกเบี้ย หรือเงินต้นของหนี้สาธารณะของประเทศ (หรือทำทีเป็นคิดริเริ่มภาษีฯ นี้ แล้วอ้างว่าได้รับการต่อต้านจนเดินต่อไม่ได้ เพื่อไปเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มแบบลับ ลวง พราง ตามถนัดก็ไม่รู้ได้)”
ประการที่ 3 คำกล่าวอ้างในข้อดีของภาษีฯ นี้คือ จะทำให้เกิดกระบวนการทบทวนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์อสังหาริมทรัพย์ของประเทศอย่างขนานใหญ่ซึ่งในความรู้สึกของประชาชนทั่วไปคือ ทำให้นายทุนใหญ่ๆ ที่มีที่ดินมากๆ ไว้เก็งกำไรต้องคายที่ดินออกมาทำประโยชน์ แต่ดูดีๆนะครับ จะมีข้อยกเว้นที่อ้าง “การเกษตรกรรม” มาเอื้อประโยชน์กัน แต่ในทางตรงกันข้ามนอกจากจะสร้างความเดือดร้อนเป็นวงกว้างแก่ประชาชนเกือบทุกหย่อมหญ้าแล้ว จะพบว่า บ้านเล็กบ้านน้อยเก่าแก่ที่อยู่ในทำเลทองและมีราคาประเมินที่สูงจะต้องเดือดร้อนขยับขยายให้นายทุนธุรกิจมารับช่วงไปทำธุรกิจกันเสียละมากกว่า ผมไม่เห็นด้วยกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง”
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (10 มี.ค.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้มีการจัดเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชาเอกชนที่มีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจ โดยกำหนดให้จัดเก็บภาษีเงินได้ที่ได้รับจากการประกอบกิจการดังกล่าวทั้งที่เป็นกำไรสุทธิ หรือผลตอบแทน และเงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษี โดย กระทรวงการคลัง คาดว่าจะจัดเก็บภาษีดังกล่าวได้ปีละ 1.2 พันล้านบาท ส่วนกรณีที่ผู้ประกอบกิจการจะไปปรับขึ้นราคาค่าเรียนหรือไม่นั้นคงไม่สามารถควบคุมได้ เพราะถือเป็นสิทธิของผู้ประกอบกิจการไปพิจารณาราคาที่เหมาะสมกับต้นทุน
ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เสนอความเห็นว่า มาตรการดังกล่าวจะต้องดำเนินการควบคู่กับมาตรการของ กระทรวงศึกษาธิการ โดยให้ กระทรวงศึกษาธิการ รับข้อเสนอแนะทั้งระยะสั้นและระยะยาวของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แก้ไขประกาศของ คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เกี่ยวกับโรงเรียนสอนกวดวิชา โดยให้จำแนกประเภทที่ชัดเจนเพื่อเป็นฐานข้อมูลของ กระทรวงการคลัง ในการจัดเก็บภาษี โดยรัฐบาลต้องมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเป็นธรรมด้านโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ เน้นการขยายบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพและทั่วถึง ปรับเปลี่ยนวิธีการวัดผลการเรียนและการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมและอุดมศึกษา เพื่อลดแรงจูงใจและความจำเป็นในการเข้าไปโรงเรียนกวดวิชา
ด้าน พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ความเห็นว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลกับโรงเรียนกวดวิชา เพราะถือว่าเป็นการประกอบกิจการพาณิชย์เพื่อหากำไร โดยตนไม่เป็นห่วงเรื่องการปรับเพิ่มราคาที่จะเป็นภาระกับนักเรียน เพราะมีหน่วยงานควบคุมการคิดค่าเรียน หากจะมีการขึ้นราคาต้องขออนุญาต ไม่ใช่ขึ้นตามใจชอบ
อนุมัติ มธ.-มข. อยู่ในกำกับรัฐ
นายกฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่ ศธ.เสนอร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือมหาวิทยาลัยนอกระบบ 2 ฉบับคือ ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. .... และร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. …. ซึ่งหลังจากนี้จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยขณะนี้ยังคงเหลือร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยศิลปากร อีกเพียงฉบับเดียวที่อยู่ในพิจารณาของ นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอให้ ครม. เห็นชอบต่อไป นอกจากนั้นที่ประชุมยังเห็นชอบ ร่างกฎกระทรวงการขอให้รับรองและการรับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. …. ด้วย
ในส่วนของการเปลี่ยนสถานะไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐนั้นมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องซึ่งหากมหาวิทยาลัยใดมีความพร้อมก็สามารถเสนอร่างกฎหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) พิจารณาได้ตามขั้นตอน โดยที่ผ่านมาได้มีการหารือกับ สกอ. ว่าอาจต้องมีระบบเข้าไปช่วยสร้างความพร้อมให้มหาวิทยาลัย ทั้งเรื่องการบริหารจัดการและธรรมาภิบาล
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า ในส่วนของร่างกฎกระทรวงการขอให้รับรองและการรับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. .... ที่ ครม. เพิ่งให้ความเห็นชอบไปนั้น เป็นการปรับแก้รายละเอียดจากกฎกระทรวงเดิมซึ่งตามปกติการรับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจะรับรองในระดับปริญญา แต่เนื่องจากที่ผ่านมาเกิดปัญหาว่าในชื่อปริญญาเดียวกันแต่ใช้หลักสูตรไม่เหมือนกัน จึงต้องปรับมารับรองเป็นรายหลักสูตรเพื่อให้การจัดการศึกษามีคุณภาพและได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด ส่วนจะมีผลบังคับใช้ทันทีหรือไม่ต้องพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง
นายกฯ ย้ำทุกฝ่ายต้องเข้าใจ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังการประชุม ครม. ถึงกรณีที่ประชุมเห็นชอบการเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคลของโรงเรียนกวดวิชาว่า ต้องพิจารณาว่าโรงเรียนกวดวิชานั้นอยู่นอกระบบ หรือในระบบ รวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่ก่อให้เกิดรายได้ โดยโรงเรียนกวดวิชาอาจต้องเป็นฝ่ายเสียภาษีและไม่เพิ่มภาระให้แต่ผู้ปกครอง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจว่าการเก็บภาษีไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลไม่มีเงิน แต่จำเป็นต้องใช้เงินทุกบาทให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่ใช้งบประมาณจำนวนมากอย่างเสียหาย แต่ควรใช้เพื่อให้เกิดการสร้างสร้างรายได้เท่านั้น
“ส่วนกรณีร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยนอกระบบ ต้องพิจารณากันอีกครั้งถึงการตัดสินใจแบบนั้น โดยเฉพาะปัญหาที่จะตามมาคือการขึ้นค่าตอบแทน เพราะไม่ได้ขึ้นอยู่กับรัฐแล้ว”
ออกตัวยังไม่สรุปเรื่องภาษีบ้าน
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า ตนได้ชี้แจงในที่ประชุมถึงเรื่องภาษีบ้านและที่ดินว่าทุกอย่างยังอยู่ในขั้นตอนการหารือและยังไม่ชัดเจน โดยตนได้ให้มาตรการว่าจะดูแลประชาชนอย่างไรให้เกิดความเป็นธรรมที่สุด หากบ้านราคาแพงก็ต้องเสียมาก แต่ถ้าบ้านราคาถูกก็ต้องเสียน้อย ถ้าลดลงได้อีกก็ต้องลดลง แต่ก็จะมีกำหนดว่าไม่เกินเท่าไร สมมุติว่าเป็นบ้านราคาสูงก็ต้องกำหนดว่าไม่เกินเท่าไร ซึ่งทั้งหมดยังอยู่ในระหว่างการหารือกัน ขอให้ทุกฝ่ายอย่าเพิ่งวิตก เพราะเรายังต้องเตรียมเรื่องการสร้างความเข้มแข็งให้ประเทศชาติในวันหน้า ฉะนั้นจึงอยากขอร้องให้พอได้แล้วเรื่องภาษีเพราะยังไม่เกิดในวันนี้หรือพรุ่งนี้
“ภาษีอย่างนี้เกิดได้ แต่ถ้าเป็นการเมืองเข้ามาก็จะเดือดร้อน วันนี้จะเห็นว่าพวกนักการเมืองต่างออกมาเชียร์ให้ออก รวมถึงมีตีกลับ นี่ละมันมีทั้งสองด้าน ซึ่งผมไม่ต้องการคะแนนนิยมแต่ต้องการความร่วมมือ ถ้าได้คะแนนนิยมผมก็ต้องขอบคุณในความร่วมมือต่างๆ แต่ถ้าจะเชียร์ผมให้มีคะแนนนิยมขึ้นเป็น 8 เป็น 9 หรือลงมา 7 ผมก็ยังขอบคุณ แต่ไม่เอามาเป็นบรรทัดฐานในการทำงาน เพราะบรรทัดฐานของผมคือเห็นรอยยิ้มจากประชาชนและสนับสนุนผมในการแก้ปัญหา ผมยังคิดว่าเขาฝากความหวังไว้มากเหลือเกิน และอย่าหาว่าผมจะปลื้มคำเยินยอ ผมมาอยู่ตรงนี้ทำตามกระแสไม่ได้ เพราะผมไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ถ้ามาหาคะแนนเสียงผมคงไม่มานั่งคิดเรื่องภาษี ปัญหาล็อตเตอรี่ก็ไม่ต้องแก้ ที่ดินก็ไม่ต้องไปยึดคืน คลองถมก็ปล่อยให้เละไป นี่คือความแตกต่าง คือความเป็นระเบียบของบ้านเมือง” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวในตอนท้ายว่า ยกตัวอย่างว่าเมื่อมีการลงทุนสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าแล้วอยากให้มีการสร้างตึกขึ้นมาเพื่อเอาคนขึ้นไปอยู่ ถ้าเป็นรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งก็คงจะปล่อยให้เป็นชุมชนไปเรื่อยๆ แถมมีบ้านเลขที่เลือกตั้งได้อีก คือสิ่งที่มีความแตกต่างว่าคะแนนเสียงส่วนใหญ่และส่วนน้อยเป็นอย่างไร คนเหล่านี้อะไรที่ได้ประโยชน์เขาก็ต้องเลือก ต้องสอนคนแบบนี้ ถ้าจนแล้วทำได้ทุกอย่าง ถ้ารวยแล้วยึดคืนทั้งหมดมันก็ไม่ใช่ แต่ต้องหามาตรการที่เหมาะสม
“มาร์ค” อัดแนวคิดทุนนิยม
ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความเป็นห่วงต่อหลักการใน ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ เพราะในสมัยที่ตนเป็นนายกรัฐมนตรี มีหลักการชัดเจนว่า เป้าหมายคือการใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นเครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำด้านทรัพย์สิน โดยมีการกำหนดชัดเจนถึงรายได้ว่านอกจากมอบให้ท้องถิ่นแล้วจะต้องจัดสรรบางส่วนไปไว้ในธนาคารที่ดิน เพื่อจัดทำโฉนดชุมชนและแก้ปัญหาเรื่องที่ทำกินให้กับประชาชนควบคู่ไปด้วย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ข่าวที่ออกมาในขณะนี้ทำให้มีความเป็นห่วงว่ารัฐบาลขาดความชัดเจนหลายเรื่อง เช่น ธนาคารที่ดินและโฉนดชุมชนจะยังดำเนินการหรือไม่ จะใช้เงินที่ได้มาแก้ปัญหาที่ดินทำกินให้ประชาชนหรือไม่ รวมถึงกรณีที่ในร่างเดิมของรัฐบาล ตนได้กำหนดให้มีการปรับกรณีสะสมที่ดินรกร้างว่างเปล่าโดยยกเว้นที่อยู่อาศัยกับการประกอบกิจการทางการเกษตรตามความเหมาะสมเพราะจะเป็นภาระต่อประชาชนและไม่ตรงเป้าหมายที่ต้องการแก้ปัญหาเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ เนื่องจากการอยู่อาศัยนั้นประชาชนอาจอยู่มาก่อนในขณะที่ราคาที่ดินไม่สูง แต่ต่อมาบ้านเมืองพัฒนามากขึ้นทำให้ราคาที่ดินสูงมูลค่าบ้านจึงสูงตามไปด้วย ทั้งๆ ที่ประชาชนเหล่านั้นอาจไม่ใช่คนรวยแต่กลับต้องรับภาระโดยไม่เป็นธรรม
“แนวคิดที่ กระทรวงการคลัง กำหนดว่าจะคิดภาษีจากมูลค่าทรัพย์สินและที่ดินจึงเป็นการคิดแบบทุนนิยม ไม่ตรงเป้าหมายเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ อีกทั้งยังอาจเกิดปัญหาทางอ้อมกลายเป็นการบีบให้ประชาชนที่ไม่ใช่คนรวยแต่อยู่อาศัยในพื้นที่ที่มีราคาต้องย้ายจากที่อยู่อาศัยของตัวเอง เนื่องจากไม่สามารถรับภาระที่จะเกิดขึ้นได้ จึงอยากให้รัฐบาลทบทวนหลักคิดและกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและอย่าเปลี่ยนแปลงหลักคิดที่จะใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นเครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำ ถ้ายังเดินหน้าเช่นนี้ก็เท่ากับทำผิดเป้าหมาย” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
เปิดช่องให้เจ้าของผลักภาระให้คนเช่า
นายพิเชษฐ พันธ์วิชาติกุล อดีต รมช.คลัง โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณี ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและปัญหาการจับเก็บภาษีของท้องถิ่นว่า ในฐานะที่เคยเป็นกรรมาธิการพิจารณาพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี นานถึง 17-18 สมัย ทั้งยังเคยเป็นผู้กระจายอำนาจการคลังจาก กระทรวงการคลัง ไปยังท้องถิ่น มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ของประเทศร่วม 10 ปี ขอให้ข้อมูลประกอบความเข้าใจของสังคมดังนี้
เรื่องกฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและเรื่องภาษีโรงเรือนที่กำลังพิจารณากันอยู่เป็นเรื่องกฎหมายเก่าที่ใช้กันมาและเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมออกมาเป็นกฎหมายใหม่ตามที่กำลังพยายามกระทำอยู่ สาระสำคัญเกี่ยวกับบ้านอยู่อาศัยคือตามกฎหมายเดิมพิจารณาจากเนื้อที่เป็นหลักคือที่ดินเพื่ออยู่อาศัยแต่เดิมเนื้อที่ไม่เกิน 100 ตารางวาไม่ต้องเสียภาษี กำลังมีการแก้ไขให้คิดตามมูลค่าของราคาบ้านและที่ดินฯ โดยให้กรมธนารักษ์ทำหน้าที่ประเมินราคาและต้องเสียภาษีตามที่กำหนด (จะเป็น 1 ล้านบาท หรือ 1.5 ล้านบาทก็ตาม) ผลคือหากบ้านไหนถูกประเมินราคาถึงอัตราที่กำหนดจะต้องเสียภาษีทั้งหมด ไม่ว่าเนื้อที่เท่าไร หรือปลูกอยู่ที่ไหน ลักษณะจะลามไปถึงบ้านในลักษณะตึกแถว ทาวน์เฮ้าส์ จนถึงคอนโดมิเนียมและอพาร์ตเม้นท์ แฟลต แม้แต่บ้านเอื้ออาทร เมื่อเป็นเช่นนี้คงต้องพิจารณาว่ายังมีตึกแถวริมถนน ทาวน์เฮ้าส์ หรือบ้านที่ไหนมีราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาทบ้าง
นายพิเชษฐ ระบุต่อว่า ต้องยอมรับว่าบ้านเหล่านี้ส่วนหนึ่งเจ้าของบ้านอยู่เอง แต่อีกส่วนหนึ่งมีผู้เช่าอยู่ ไม่ว่าเช่าอาศัย หรือเช่าเพื่อประกอบการอาชีพ หากเจ้าของบ้านมีภาระต้องเสียภาษีบ้าน แน่นอนที่จะต้องผลักภาระไปยังผู้เช่าบ้านในรูปของค่าเช่า ค่าเช่าที่จะขึ้นคงไม่ได้เป็นไปตามสัดส่วนภาษี เช่น ภาษีปีละ 1,500 บาท ค่าเช่าอาจขึ้นเดือนละ 200 บาท กลายเป็นภาระที่จะถูกผลักต่อไปปีละ 2,400 บาท นั่นคืออีกส่วนหนึ่งของค่าครองชีพที่จะเพิ่มขึ้น หรือกระทรวงการคลังคิดว่าบ้านที่ให้เช่าลักษณะเช่นว่านี้ไม่มีจริง หรือคิดว่าเจ้าของบ้านจะรับภาระภาษีไว้เองโดยไม่ผลักภาระต่อให้ผู้เช่า
“หากมีการประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ อยากทราบว่า ณ บัดนี้ยังมีคอนโมีเนียมในเมืองที่ไหนมีราคาหน่วยละไม่เกิน 1 ล้านบาท แม้แต่ทาวน์เฮ้าส์ หรือตึกแถวริมถนนที่ไหนในเขตเทศบาลที่มีราคาไม่เกินหน่วยละ 1 ล้านบาท นี่คือข้อเท็จจริงที่รัฐบาล หรือรัฐมนตรีผู้เกี่ยวข้องต้องรับฟัง เพราะประชาชนทั่วไปไม่มีบ้านพักราชการ หรือสามารถเบิกค่าที่พักจากทางราชการเหมือนข้าราชการที่ท่านกำลังคิดขึ้นภาษีเอาเงินมาขึ้นเงินเดือนให้”
นายพิเชษฐ ระบุอีกว่า ในทางเศรษฐกิจภาระทางภาษีคือปัจจัยต้นทุนที่ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึง เมื่อภาคผลิตเกิดต้นทุนเพิ่มขึ้นจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งตัวเครื่องจักรและส่วนควบซึ่งจะส่งผลถึงราคาสินค้าที่ผลิตขึ้น ขณะที่ภาคการค้าและภาคบริการเกิดต้นทุนสูงขึ้นในสถานที่ประกอบการต่างๆ ทั้งโรงแรม ศูนย์การค้า รวมทั้งตลาดในรูปแบบต่างๆ เมื่อเจ้าของสถานที่เกิดภาระภาษีเพิ่มขึ้น ย่อมผลักภาระไปสู่ผู้เช่าช่วง ผู้เช่าช่วงผู้ประกอบการก็ต้องผลักภาระไปสู่ค่าสินค้าและบริการ ภาระก็จะตกแก่ประชาชนผู้บริโภคทุกระดับ เป็นผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ต้องเรียกว่า “เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า”
นายพิเชษฐ กล่าวว่า ในเชิงสังคมรัฐบาลต้องไม่ลืมว่า “บ้านที่อยู่อาศัยคือหนึ่งในปัจจัยสี่ของชีวิตมนุษย์” ทุกวันนี้ภาระค่าครองชีพของประชาชนแทบจะอยู่ในวิกฤตแล้ว วันนี้ประชาชนกำลังรู้สึกว่าถูกอำนาจรัฐ บังคับให้ต้องเสีย “ภาษีค่าที่ซุกหัวนอน” อย่างน่าเจ็บช้ำน้ำใจ เมื่อถามว่าแล้วราคาประเมินบ้านบนที่ดินราคาถูกแต่ราคาบ้านแพง จะมีการหักค่าเสื่อมราคาตามอายุบ้านเหมือนที่ธนาคารคิดเวลาไปกู้หรือไม่ ตอบว่า มีหักแต่ระวังค่าที่ดินซึ่งไม่มีค่าเสื่อม แต่จะสวนทางกับค่าเสื่อมราคาบ้านต่อไปคือ ภาษีค่า “อาหารยาไส้”
ซ้ำเติม ปชช. จากภาวะ ศก.แย่
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว.พลังงาน และคณะทำงานด้านเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงแนวนโยบายการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของรัฐบาลว่า พรรคเพื่อไทยไม่เห็นด้วย เพราะจะสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนเป็นจำนวนมากและอาจจะทำให้ประชาชนที่ไม่สามารถจ่ายภาษีดังกล่าวได้ต้องแก้ปัญหาด้วยการขายที่ดิน หรือบ้านพักเพื่อย้ายออก อย่างไรก็ตามในอดีตก็เคยมีแนวคิดนี้ แต่หลังจากพิจารณาแล้วพบว่าจะยิ่งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ทำให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยไม่สามารถอยู่ร่วมกับประชาชนที่มีรายได้มากได้ เพราะจะต้องขายที่ดิน และบ้านเพื่อมาชำระภาษีนี้
“การที่รัฐจะเก็บภาษีเพิ่ม รวมถึงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม อาจจะทำให้เศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่แล้วยิ่งแย่ลงไปอีก เหมือนกับรถยนต์ที่เร่งไม่ขึ้นแล้วยังไปเหยียบเบรกอีกซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงัก สิ่งที่รัฐบาลควรเร่งทำเพื่อหารายได้เข้ารัฐคือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน โดยเร่งสร้างความมั่นใจจากต่างประเทศซึ่งเป็นปัจจัยหลัก และอยากให้รัฐบาลได้พิจารณาทบทวนว่าในภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่เช่นนี้รัฐบาลควรเก็บภาษีเพิ่มหรือไม่”
“โต้ง” ชี้ลับลวงพรางขึ้นภาษีบ้าน จ่อขึ้นแวตแทน
วานนี้ (10 มี.ค.) นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์เฟซบุ๊ก Kittiratt Na-Ranong (กิตติรัตน์ ณ ระนอง) ระบุว่า “ช่วงที่ผ่านมาใช้เวลาสอนหนังสือ สอนกีฬาแก่เด็กนักเรียนหลายโรงเรียน ขอแจ้งข่าวดีว่าประเทศเรามีความหวังกับเยาวชนครับ แต่พอหันไปดูความคิดของผู้อาวุโสระดับผู้บริหารประเทศกลับรู้สึกหดหู่หลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่อง “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” ที่บ่งบอกถึงความไม่เข้าใจในการบริหารเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่อง “ภาษี” อย่างถ่องแท้ ผมสามารถวิพากษ์วิจารณ์ความไม่เข้าใจของผู้ผลักดันนโยบายฯ นี้ได้มากมายหลายเรื่อง แต่จะขอหยิบยกประเด็นสำคัญเพียงสองสามประเด็นก็คงจะเพียงพอที่จะทำให้ “ผู้มีสติ” หยุดความคิดนี้ได้
ประการที่ 1 หลักการภาษีของประเทศเราคือ ขอรับภาษีเมื่อเกิด “เงินรายได้” และพยายามหักเป็นเงิน “ภาษี ณ ที่จ่าย” โดยผู้จ่ายเงินรายได้นั้นต้องมีหน้าที่หักเงินสดและนำส่งรัฐ เช่น กรณีเงินเดือน ค่าจ้างทำของ หรือแม้แต่กรณีเงินกำไรของนิติบุคคลก็กำหนดให้นิติบุคคลประมาณการผลกำไรและจ่ายภาษีก่อนครบปีเพื่อไม่เป็นภาระที่หนักเกินไปเมื่อคำนวณภาษีปลายปี หรือพูดง่ายๆ กลัวจะต้องจ่ายหนักเกินไปจนต้องเบี้ยวภาษีกัน
กรณีของอสังหาริมทรัพย์ซึ่งรวมถึงที่อยู่อาศัยก็ใช้หลักเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ห้องแถวสองห้องอยู่ติดกัน ห้องหนึ่งนำไปปล่อยเช่าและมีรายได้ อีกห้องหนึ่งคุณตาคุณยายอาศัยอยู่เอง ห้องแถวที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนคือห้องที่ปล่อยเช่าและมีรายได้เท่านั้น ถ้าบ้านไหนไม่จ่ายค่าน้ำก็ถูกตัดน้ำและบ้านไหนไม่จ่ายค่าไฟก็ถูกตัดไฟ แต่คราวนี้ถ้าเขาไม่จ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างล่ะ จะไล่เขาออกจากบ้านหรือ อย่าด่วนสรุปว่าคุณตาคุณยายเอาเปรียบสังคมเพราะกว่าท่านจะสามารถซื้อห้องแถวห้องนี้ได้น่ะ ท่านต้องมีเงินได้และจ่ายภาษีมาก่อนแล้ว รวมทั้งหากท่านขายห้องแถวแล้วมีกำไร ท่านก็ต้องเสียภาษีเงินได้และค่าโอนซึ่งก็เป็นไปตามหลักการภาษีที่ดีคือเก็บ “เมื่อมีเงินรายได้”
ประการที่ 2 “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” เป็นภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ผู้มีหน้าที่จัดเก็บคือ อปท. เพื่อนำรายได้ภาษีฯ นี้ ไปบริหารให้เกิดประโยชน์แก่ท้องถิ่นนั้นๆ หน่วยงานราชการย่อมเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อชุมชนที่ตนอาศัยอยู่ จึงต้องมีหน้าที่จ่ายภาษีฯ ตามมูลค่าทรัพย์สินด้วย หากไม่ยอมจ่ายจะอ้างต่อชุมชนเขาว่าอย่างไร ในอดีตนั้นคำอธิบายคือไม่มีเงินรายได้ที่เป็น “ฐานภาษี” ของภาษีโรงเรือน แต่เมื่อภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใช้ฐานภาษีเป็นมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ รัฐก็ย่อมต้องร่วมจ่ายภาษีด้วย
กรณีนี้ยังมีเรื่องที่น่าขำในความไม่รู้ของผู้บริหารประเทศที่นำภาษีฯ นี้ไปเทียบกับภาษีมูลค่าเพิ่ม แถมยังไปอ้างเรื่องภาระหนี้ที่ยกยอดมาจากรัฐบาลก่อนๆ แบบไม่มีความรู้
“รายได้จากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” เป็นของ อปท. ไม่สามารถนำมาจ่ายดอกเบี้ย หรือเงินต้นของหนี้สาธารณะของประเทศ (หรือทำทีเป็นคิดริเริ่มภาษีฯ นี้ แล้วอ้างว่าได้รับการต่อต้านจนเดินต่อไม่ได้ เพื่อไปเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มแบบลับ ลวง พราง ตามถนัดก็ไม่รู้ได้)”
ประการที่ 3 คำกล่าวอ้างในข้อดีของภาษีฯ นี้คือ จะทำให้เกิดกระบวนการทบทวนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์อสังหาริมทรัพย์ของประเทศอย่างขนานใหญ่ซึ่งในความรู้สึกของประชาชนทั่วไปคือ ทำให้นายทุนใหญ่ๆ ที่มีที่ดินมากๆ ไว้เก็งกำไรต้องคายที่ดินออกมาทำประโยชน์ แต่ดูดีๆนะครับ จะมีข้อยกเว้นที่อ้าง “การเกษตรกรรม” มาเอื้อประโยชน์กัน แต่ในทางตรงกันข้ามนอกจากจะสร้างความเดือดร้อนเป็นวงกว้างแก่ประชาชนเกือบทุกหย่อมหญ้าแล้ว จะพบว่า บ้านเล็กบ้านน้อยเก่าแก่ที่อยู่ในทำเลทองและมีราคาประเมินที่สูงจะต้องเดือดร้อนขยับขยายให้นายทุนธุรกิจมารับช่วงไปทำธุรกิจกันเสียละมากกว่า ผมไม่เห็นด้วยกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง”