ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -ครม “ประยุทธ์”อนุมัติแผน 11 ปีใช้เงิน 5.8 พันล้านบาท “อนุรักษ์ควาย” ให้พร้อมกันในปีแรก รวม 182.15 ล้านบาท ร่วมกับการอนุรักษ์ไก่พื้นเมือง-เพิ่มผลผลิตนมวัว”เป็นไปตามนโยบายของกระรวงเกษตรและสหกรณ์
หัวข่าวการประชุม คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา ไม่ใช่ให้ไปอนุรักษ์ควายทั้ง 5 พันล้านบาท
เป็นมติที่เห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอผ่าน หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ในวาระที่ขอความเห็นชอบแนวทางดำเนินงานตามโครงการและวงเงินดำเนินการทั้งหมด 3 โครงการ ประกอบด้วย โครงการอนุรักษ์และพัฒนาการผลิตกระบือ วงเงินดำเนินการรวม 5,816.70 ล้านบาท เป็นวงเงินใช้จ่ายจากงบประมาณ 2,208.30 ล้านบาท
รวมทั้งโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตน้ำนมโค วงเงินดำเนินการรวม 1,057.20ล้านบาท เป็นวงเงินใช้จ่ายจากงบประมาณ 157.20 ล้านบาท และโครงการอนุรักษ์และพัฒนาการผลิตไก่พื้นเมืองวงเงินดำเนินการรวม 16.27 ล้านบาท เป็นวงเงินใช้จ่ายจากงบประมาณทั้งหมด และนอกจากนี้ครม.ยังได้ให้ความเห็นชอบวงเงินสนับสนุนจากงบกลางฯปี 2558
โครงการนี้ กระทรวงเกษตรฯ เห็นว่า เนื่องจากสถานการณ์การผลิตโคเนื้อและกระบือมีปริมาณลดลงอย่างรวดเร็วไม่สามารถเพิ่มผลผลิตได้ทันกับความต้องการ ประกอบกับโคเนื้อและกระบือเป็นสัตว์ใหญ่รอบการผลิตต้องใช้เวลามากกว่า 1 ปี และลักษณะของการเลี้ยงเป็นเกษตรกรรายย่อยและแนวทางแก้ไขปัญหาต่างจากปศุสัตว์ชนิดอื่นโดยเฉพาะกระบือที่ประเทศไทยเคยมีความยิ่งใหญ่ แต่ปัจจุบันสถานการณ์แนวโน้มกระบือลดลงและจะหมดไปภายใน5ปี จึงต้องเร่งแก้ไขปัญหาการเลี้ยงโคนมที่ขาดแคลนแรงงานและอัตราส่วนพื้นที่การเลี้ยงสัตว์ก็ลดลง จึงต้องปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อขยายปริมาณและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำนมโค รวมถึงการวิจัยพัฒนาการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเพื่อเสริมสร้างอาหารให้ชุมชนท้องถิ่น
จากการวิเคราะห์สถานการณ์กระบือโดยกลุ่มวิจัยเศรษฐกิจปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ในช่วงระยะเวลา 5 ปี คือ พ.ศ. 2553-2557 พบว่ากระบือลดลงจากจำนวน 1,190,886 ตัวในปี พ.ศ. 2553 เหลือ 840,064 ตัว ในปี พ.ศ. 2557 หรือร้อยละ 29.46 จึงมีการเสนอโครงการดังกล่าวทั้งในระยะสั้น คือ กรมปศุสัตว์ห้ามฆ่าและส่งออกกระบือเพศเมีย ตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ส่วนระยะกลางจะพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือเพื่อการอนุรักษ์และรักษาวัฒนธรรมชุนชนท้องถิ่น และระยะยาวจะเสนอโครงการอนุรักษ์และพัฒนาการผลิตกระบือโดยเพิ่มประมาณและรักษาวิถีกระบือไทย
มีการเสนอมีระยะเวลาในการดำเนินการรวม 11 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558-2568 วงเงินรวมจำนวน 5,816.70 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินกู้ธนาคาร ธ.ก.ส. จำนวน 3,608.40 ล้านบาท และงบประมาณจำนวน 2,208.30 ล้านบาท โดยโครงการดังกล่าวมีเป้าหมายสร้างสมดุลในการผลิตกระบือให้จำนวนกลับไปสู่ระดับเดิมเมื่อปี พ.ศ. 2550 ที่เคยมีจำนวนประชากรกระบือรวมเพศผู้และเมียรายปีรวม 1.5ล้านบาท หรือ ประชากรกระบือเพศเมียเพิ่มจำนวนเป็น 1ล้านตัวภายในปีพ.ศ. 2567 และกระบือในพื้นที่เป้าหมายต้องมีอัตราเพิ่มจำนวนเฉลี่ยรายปีละไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8.8
ในส่วนของโคนมนั้นพบปัญหาขาดแคลนแรงงานและอัตราส่วนพื้นที่เลี้ยงลดลง สถานการณ์การผลิตน้ำนมช่วงปี 2553-2557 เฉลี่ยมี 12 ตัว ต่อ 1 ฟาร์ม ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตน้ำนมโคค่อนข้างต่ำ จึงเสนอโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตน้ำนมโค ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี คือ 2558-2562 รวมจำนวน 1,057.20 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินกู้จาก ธ.ก.ส.จำนวน 900 ล้านบาท และงบประมาณจำนวน 157.20 ล้านบาท โดยมี 5 กิจกรรมหลักคือ 1.ปรับโครงสร้างฟาร์มเกษตรกร 2.พัฒนาระบบฟาร์มเลี้ยงโคสาวทดแทน 3.จัดตั้งศูนย์ผลิตอาหาร 4.การรวบรวมน้ำนมดิบและลดต้นทุนโลจิสติกในการขนส่งน้ำนม และ 5.การสร้างความเชื่อมโยง
เรื่องของควาย วัว และไก่ นี้ รัฐมนตรีว่าการะทรวงเกษตรและสหกรณ์กับ กรมปศุกสัตร์ ทั้งท่านปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา และท่านสรวิศ ธานีโต รองอธิบดีฯ
เห็นว่าเป็นปัญหาด้าน “ความมั่นคงทางอาหารด้านการปศุสัตว์” (กระบือ โคนม และไก่พื้นเมือง) จึงเสนอเรื่องนี้ให้ ครม.เห็นชอบ เพื่อขับเคลื่อนภาคการเกษตรของประเทศไทย และกำหนดแผนปรับโครงสร้างและพัฒนาการผลิต เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรให้เชื่อมโยงตลอดห่วงโซ่อุปทาน ประกอบด้วย
1.โครงการอนุรักษ์และพัฒนาการผลิตกระบือ เพื่ออนุรักษ์กระบือไทยและรักษาสมดุลการผลิตกระบือให้มีจำนวนกระบือ 1 ล้านตัว ระยะดำเนินการ 11 ปี (พ.ศ.2558-2568) งบดำเนินการ 5,816.70 ล้านบาท
2.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตน้ำนมโค ระยะดำเนินการ 5 ปี (พ.ศ.2558-2562) งบ 1,057.20 ล้านบาท
และ 3.โครงการอนุรักษ์และพัฒนาไก่พื้นเมือง เป้าหมายขยายปริมาณไก่พื้นเมืองให้เกษตรกร 4,000 ราย ไก่พื้นเมือง 1.88 ล้านตัว ระยะดำเนินการ 1 ปี (พ.ศ.2558) ใช้งบ 16.27 ล้านบาท
เนื่องจากพบว่า ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (มากกว่าที่เสอน ครม. 5 ปี) กระบือในไทยลดลงอย่างรวดเร็ว ปีที่ผ่านมามีจำนวนประชากรกระบือทั้งสิ้น 840,064 ตัว ลดลง 56.22% จากปี 2547 ที่มี 1.49 ล้านตัว ขณะที่จำนวนผู้เลี้ยงก็ลดลง โดยปี 2557 มีผู้เลี้ยง 185,702 ราย ลดลงจาก 10 ปีก่อนที่มี 371,086 ราย สาเหตุเกิดจากพื้นที่เลี้ยงกระบือถูกแย่งชิงไปทำการเกษตรอื่นๆ เกษตรกรไม่อยากเลี้ยงกระบือ มีการลักลอบนำกระบือไปขายต่างประเทศ และมีการฆ่ากระบือเพศเมียและกระบือที่กำลังตั้งท้องเพื่อนำไปบริโภค ทำให้จำนวนกระบือไทยลดลงอย่างน่าใจหาย หากไม่ดำเนินมาตรการใดเลย อาจจะสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย
“เราประสานไปยังด่านสินค้าทั่วประเทศ ห้ามส่งออกแม่กระบือไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนในประเทศมีการออกมาตรการห้ามนำแม่กระบือสาวและแม่กระบือที่กำลังตั้งครรภ์เข้าโรงฆ่าเด็ดขาด หากฝ่าฝืนมีความผิดตามพ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ ว่าด้ายการเคลื่อนย้ายสัตว์ มีโทษทั้งจำทั้งปรับ”รองอธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวไว้
แต่ตั้งเป้าหมายว่า ปีแรกจะใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท เป้าหมายเพิ่มจำนวนแม่กระบือ 15,000 แม่แต่ครม.เห็นว่า ปีแรก ใช้รวมกัน 182.15 ล้านบาทก็พอ
จากข้อมูล : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
อ้างคำพูดของนายสัตวแพทย์อยุทธ์ หรินทรานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ ว่า “กรมปศุสัตว์เล็งเห็นความสำคัญของนโยบายเร่งด่วนในการแก้ปัญหาจำนวนกระบือในเชิงพาณิชย์ มุ่งเน้นให้ประชากรกระบือเพศเมียเพิ่มจำนวนเป็น 1 ล้านตัวในปี 2567
“ตั้งเป้าพื้นที่นำร่องในการดำเนินการทั้งหมด 21 จังหวัด 140 อำเภอ เกษตรกรทั้งหมด 103,970 ราย กระจายอยู่ใน 6 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มแม่น้ำปิง กก ยม อาทิ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ พะเยา ลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง อาทิ จังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท ลุ่มแม่น้ำสงคราม อาทิ จังหวัดอุดรธานี สกลนคร นครพนม ลุ่มแม่น้ำชี อาทิ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ลุ่มแม่น้ำมูล อาทิ จังหวัดอุบลราชธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ยโสธร สุรินทร์ และลุ่มแม่น้ำทะเลน้อย ควายฝูง (ควายทะเล) อาทิ จังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช สงขลา”
นำไปสู่การตั้งแผนใช้งบประมาณ 11 ปี ใน “การอนุรักษ์ควาย”ของประเทศ ไม่เกี่ยวกับเอาเงินไปให้ หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย (บ้านควาย) Buffalo Village ที่ จ.สุพรรณบุรี ของอดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 21