หลวงปู่พุทธะอิสระ ร้องผู้ตรวจฯ สอบกรณีอัยการถอนฟ้องคดีธัมมชโย เมื่อปี 49 เตรียมจัดสังฆทานชุดใหญ่ให้ มส. หากไม่จัดการให้เป็นไปตามพระลิขิต จากนั้นไปร้องกองปราบ ดำเนินคดี "พระพรหมโมลี- พระพรหมเมธี-สมชาย" ฐาน ใส่ความคณะสงฆ์ สร้างความแตกแยก ด้าน "ส.ศิวรักษ์" จี้นายกฯยุบมหาเถรสมาคม เพราะเผด็จการ ล้าหลัง "ดีเอสไอ" พบหลักฐาน "ศุภชัย" โอนเงินให้พระวัดธรรมกายหลายรูป "ธัมมชโย" กวาด 225 ล้าน
วานนี้ (26 ก.พ.) พระพุทธะอิสระ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ผ่านนายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ตรวจสอบกรณีอัยการ มีคำสั่งถอนฟ้อง คดีพระธัมมชโย เมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยพระพุทธะอิสระ กล่าวว่า คดีดังกล่าวพนักงานอัยการชุดแรกได้มีคำสั่งฟ้องพระธัมมชโย ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงาน เบียดบังเอาทรัพย์สินไปเป็นของตนโดยทุจริต แต่เมื่อศาลจะมีคำพิพากษาพระธัมมชโย ได้มีการโอนทรัพย์สินทั้งหมดคืนให้กับวัดพระธรรมกาย ซึ่งขณะนั้น ก็มีการเปลี่ยนรัฐบาล เป็นรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนายพชร ยุติธรรมดำรง อัยการสูงสุดในขณะนั้น กลับมีคำสั่งให้พนักงานถอนฟ้องคดีดังกล่าว แต่พนักงานอัยการไม่ยอมถอนฟ้อง นายพชร จึงสั่งเปลี่ยนตัวพนักงานอัยการ และให้พนักงานอัยการชุดใหม่ ดำเนินการถอนฟ้องคดีดังกล่าว โดยอ้างว่า พระธัมมชโย ได้ปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชแล้ว จึงอยากให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ใช้อำนาจในการเรียกสำนวนหลักฐาน มาพิจารณาว่า การมีคำสั่งฟ้องของอัยการชุดแรก มีเหตุผลอย่างไร และการถอนฟ้องในอัยการชุดที่สอง มีเหตุผลอย่างไร เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากในการพิจารณาของ มหาเถรสมาคม (มส.) อ้างเหตุที่ไม่ดำเนินการกับ พระธัมมชโย ก็เพราะอัยการมีคำสั่งถอนฟ้อง โดยอยากให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน รีบดำเนินการ
พระพุทธะอิสระ ยังกล่าวอีกว่า หลังจากนี้จะไปแจ้งความที่กองปราบปราม เพราะในเมื่อขณะนี้ มส.ถือกฎหมายใหญ่กว่า พระธรรมวินัย ทั้งที่ในความจริงพระธรรมวินัย ใหญ่ยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ แต่รัฐธรรมนูญมนุษย์ที่เป็นผู้มีกิเลสตัณหา เป็นคนบัญญัติ และในวันพรุ่งนี้ ก็จะติดตามการประชุม มส. ต่อกรณีดังกล่าว ถ้าหากที่ประชุม มส. เอาพระธรรมวินัยเป็นใหญ่ พระธัมมชโย ผิด พุทธะอิสระ ก็จะจบแค่นี้ แต่ถ้าเอาธรรมกายเป็นใหญ่ เรื่องก็จะยาวเป็นมหากาพย์ คงจะได้มีการจัดสังฆทานชุดใหญ่ให้ มส. พุทธะอิสระ จะไปเยี่ยมทุกวัน แต่ถ้าการประชุม มส. ไม่มีการนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือ ก็ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ เพิกเฉยไม่ปฏิบัติ เข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
"ที่ผ่านมา มส.ไม่เคยทำอะไรที่โปร่งใส อย่างกรณีเจ้าคุณเสนาะ สตง.ชี้มูลว่า มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ 67 ล้านบาท มีการเอาผิดในทางกฎหมาย ในทางพระธรรมวินัย ต้องถือว่าปาราชิก แต่ มส.ก็กลับทำแค่ปรับลดตำแหน่ง จนทุกวันนี้ ก็ยัง นายเสนาะ ก็ยังเป็นพระ ดังนั้นที่มาวันนี้จึงอยากทำให้เห็นว่า วงการสงฆ์ต้องยึดหลักพระธรรมวินัยเป็นใหญ่ เมื่อมีพระลิขิตแล้วว่า พระธัมมชโย ปาราชิก มส. ต้องดำเนินการ ไม่ใช่มาอ้างว่ายึดคำสั่งอัยการเป็นใหญ่" พระพุทธะอิสระ กล่าว
ด้านนายรักษเกชา กล่าวว่า จะรีบนำเรื่องดังกล่าว เข้าสู่การพิจารณาผู้ตรวจการแผ่นดินโดยเร็ว ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดิน มีอำนาจในการขอดูเอกสาร หลักฐาน กรณีที่อัยการมีคำสั่งฟ้อง และถอนฟ้องในภายหลัง ซึ่งหากไม่ได้รับความร่วมมือ ก็มีโทษตามกฎหมาย จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนเมื่อพิจารณาหลักฐานแล้ว สามารถสั่งอัยการให้ฟ้องคดีได้หรือไม่ คงต้องดูรายละเอียดก่อน
**แจ้งจับพระพรหมเมธี- สมชาย
ต่อมาเวลา 14.00 น. หลวงปู่พุทธะอิสระ ได้เดินทางไปยังกองปราบปราม เพื่อเข้าพบ ร.ต.ท.ปรีชา ศรีอุดม พนักงานสอบสวน กก.1 บก.ป. เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับ พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระพรหมเมธี (จำนง ธัมมจารี) กรรมการ และโฆษกมหาเถรสมาคม และนายสมชาย สุรชาตรี โฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในความผิดฐาน ใส่ความคณะสงฆ์ หรือคณะสงฆ์อื่น อันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียหรือแตกแยก ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ มาตรา 44 (ตรี) และ เป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยนำเอกสาร และเทปเสียง มอบให้พนักงานสอบสวนไว้เป็นหลักฐาน
หลวงปู่พุทธะอิสระ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 20 ก.พ. ที่ผ่านมา พระพรหมเมธี และนายสมชาย แถลงข่าวว่า ในที่ประชุมมหาเถรสมาคม มีมติว่า พระเทพญาณมหามุนี ธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ไม่ต้องอาบัติปาราชิก ต่อมาอาตมาจึงเดินทางไปสอบถาม พระพรหมโมลี ซึ่งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ก็ให้คำตอบยืนยันว่า มีการลงมติไปแล้วเช่นเดียวกัน แต่หลังจากนั้นทางสำนักงานพระพุทธศาสนา ก็ได้ออกมาแถลงโต้ว่า ที่ผ่านมาทาง มหาเถรสมาคม ไม่เคยมีการลงมติในเรื่องดังกล่าวเลย ซึ่งแย้งกับที่ทั้งสามท่านได้ออกมาแถลงก่อนหน้านี้ ซึ่งเท่ากับว่าทั้งสามท่านได้ใส่ความคณะสงฆ์
หลวงปู่พุทธะอิสระ กล่าวต่อว่า ก่อนหน้านี้ มีการตรวจสอบ และทวงถามความถูกต้องตามหลักธรรมวินัย โดยมีการยื่นเรื่องไปที่ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และ สำนักนายกฯ ซึ่งสร้างความรู้สึกสงสัยในพฤติกรรมมหาเถรฯ ที่เห็นพระธรรมวินัย เป็นรองคำสั่งอัยการ โดย มหาเถรสมาคมอ้างว่าที่ ไม่ฟ้องเอาผิด ธัมมชโย เพราะว่า อัยการเป็นผู้สั่งไม่ฟ้อง คดีทางพระจึงยุติไปด้วย แต่หลังจากมีเรื่องมีราวมหาเถรสมาคม ก็มากลับลำว่าไม่ได้มีการประชุม
อย่างไรก็ตาม งานนี้ก็ต้องมีคนรับผิดชอบ ซึ่งก็คือคนที่ออกมาให้สัมภาษณ์ และมาตั้งโต๊ะแถลงข่าวว่า ลงมติไปแล้ว และคนที่คุยกับอาตมาคือ พระพรหมโมลี ที่ยืนยันเป็นมั่นเป็นเหมาะว่า มีการลงมติไปแล้ว
หลวงปู่พุทธะอิสระ กล่าวอีกว่า ทั้ง 3 ท่านนี้ เป็นบุคคลที่ถือว่าผิดอาญา ในฐานะที่ตัวเองเป็นเจ้าพนักงานของรัฐตามกฎหมาย ตามมาตรา 157 และละเมิดกฎหมายมหาเถรสมาคม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ปี 2505 ว่าด้วยเรื่องการใส่ร้ายคณะสงฆ์ และมหาเถรสมาคม อาตมาจึงมาร้องทุกข์กล่าวโทษกับบุคคลทั้ง 3 ท่าน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งหมด ว่าต้องมีส่วนรับผิดชอบหรือออกมาแสดงความรับผิดชอบอะไรบ้าง ไม่ใช่เงียบหายไปแล้วก็ทำให้มหาเถรกลายเป็นที่น่ารังเกียจของสังคม
" ต้องรอดูการประชุมของมหาเถร ก่อนว่า ผลการประชุมมหาเถร จะรักษาพระธรรมวินัย หรือจะยึดโยงเอาธรรมกาย มารักษา ถ้าเมื่อใดที่มหาเถรรักษาธรรม และวินัย ก็คงจบ พุทธะอิสระ ก็กลับวัดทำศาสนกิจ แต่ถ้าหากมหาเถรรักษาธรรมกายมากกว่าธรรม และวินัยถ้าอย่างนั้นก็จะต้องมีการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป อย่างไรก็ตาม อยากให้พระรูปอื่นมาช่วยอาตมาต่อสู้ด้วย ตอนนี้อาตมาไม่ไหวแล้ว เอาหัวโขกกำแพงอยู่คนเดียว ใกล้หมดแรงแล้ว” หลวงปู่พุทธะอิสระ กล่าว
ด้าน ร.ต.ท.ปรีชา กล่าวว่า เบื้องต้นหลังจากรับเรื่องและทำการตรวจสอบแล้วพบว่า เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นในพื้นที่ อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม จึงส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวน กก.5 บก.ป. รับไปดำเนินการเพื่อทำการสอบปากคำผู้ร้องและตรวจสอบพยานหลักฐาน ก่อนนำเรื่องเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งการต่อไป
** ส.ศิวรักษ์ จี้นายกฯยุบมหาเถร
นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักเขียนชื่อดัง กล่าวถึงการประชุมมหาเถรสมาคม ที่จะมีขึ้นในวันนี้ (27 ก.พ.) ซึ่งจะมีการพิจารณารับรองผลการประชุม เมื่อวันที่ 20 ก.พ. ที่มีมติให้พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ไม่เป็นอาบัติปราชิก ว่า ไม่ทราบว่า ผลการประชุมจะออกมาเป็นอย่างไร แต่ท้าทายให้มหาเถรสมาคม มีมติให้พระธัมมชโย เป็นปาราชิก ถ้ากล้าจะบุกไปกราบถึงวัด ซึ่งส่วนตัวเห็นว่า พระธัมมชโย ปาราชิก ชัดเจนแล้ว คดีเคยถึงอัยการด้วยซ้ำ การระบุว่า มีการคืนทรัพย์สินแล้ว ไม่ปาราชิก เป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น
นายสุลักษณ์ กล่าวด้วยว่า ควรจะยุบมหาเถรสมาคม เพราะเป็นองค์กรที่ล้าหลัง มีความเป็นเผด็จการ พร้อมระบุด้วยว่า กรรมการหลายองค์ อายุมากเกินไป ทั้งนี้ส่วนตัวเห็นว่า การปกครองสงฆ์ไม่จำเป็นต้องมีองค์กรกลาง แต่ควรปกครองด้วยพระธรรมวินัย โดยให้ครูอาจารย์ปกครองลูกศิษย์ เหมือนอย่างประเทศศรีลังกา และพม่า พร้อมฝากไปถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ว่า ถ้ามีความกล้าหาญพอ ควรจะยุบมหาเถรสมาคม
นายสุลักษณ์ ยังเห็นว่า ควรเอาศาสนา แยก ออกจากรัฐ ให้ชัดเจน การออกกฎหมายควบคุมสงฆ์ ควรเป็นทางเลือกสุดท้าย เพราะควรให้การศึกษาที่ถูกต้องก่อน ปัจจุบันมีคนเสนอให้ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งอันตรายอย่างมาก เพราะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้นับถือศาสนาอื่น เท่าให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งผิดหลักพระพุทธศาสนา
**แฉ"ศุภชัย"ศิษย์ธรรมกาย สึกมาโกง
วานนี้ ( 26 ก.พ.) พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รับผิดชอบด้านภารกิจปราบปรามอาชญากรรมพิเศษ กล่าวถึง กรณีการดำเนินคดียักยอกเงินของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น กว่า 12,000 ล้านบาท ภายหลังที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดตู้เซฟที่ยึดได้จาก บริษัท เอส.ดับบลิว.โฮลดิ้ง กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ของนายสถาพร วัฒนาศิรินุกุล ผู้รับเช็คจาก นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์ฯ ผู้ต้องหาคดีนี้ ซึ่งพบโฉนดที่ดิน และหลักฐานที่เชื่อมโยงกับคดียักยอกทรัพย์สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น จำกัด ว่า ได้เรียก พ.ต.ท.ปกรณ์ สุชีวกุล หัวหน้าพนักงานสอบสวนชุดตรวจสอบความเชื่อมโยงทางการเงิน ระหว่างสหกรณ์ กับวัดพระธรรมกาย เข้าพบเพื่อวางแนวทางการสอบสวนขยายผล โดยเฉพาะเส้นทางการถ่ายโอนโฉนดที่ดิน จากนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์ฯ ไปยังบุคคลอื่นๆ ซึ่งก่อนหน้าปปง. เคยเข้าตรวจค้นสหกรณ์ เมื่อปี 2556
นอกจากนี้ ต้องสอบสวนถึงความเชื่อมโยงระหว่างสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐี ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ภายในวัดพระธรรมกาย และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น และวัดพระธรรมกาย เนื่องจากข้อมูลในชั้นสืบสวนพบความเชื่อมโยงทางการเงินระหว่างกัน อย่างชัดเจน
แหล่งข่าวชุดสืบสวนดีเอสไอ เปิดเผยว่า สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นฯ และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลฯ มีนายศุภชัย เป็นผู้บริหารทั้งสองแห่ง แต่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นฯ เปิดไว้เพื่อระดมฝากเงิน โดยให้เงินปันผลสูงกว่าดอกเบี้ยสถาบันการเงิน จากนั้นสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นฯ จะนำเงินเหล่านี้ไปลงทุนในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐี ซึ่งจะนำเงินมาปล่อยกู้ ในอัตราดอกเบี้ยต่ำอีกต่อหนึ่ง
ทั้งนี้ จากข้อมูลยังพบว่าสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐีมีวงปล่อยกู้ให้กับลูกศิษย์วัดเพื่อทำบุญกับวัดพระธรรมกาย และจากการตรวจสอบงบดุลของ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐี พบมีการปล่อยกู้เพื่อการกุศลจริง โดยมีลูกหนี้เกือบ 500 ราย เป็นเงินกว่า 230 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบเส้นทางการเงิน พบการสั่งจ่ายเช็คจาก นายศุภชัย ไปให้สหกรณ์เครดิต มงคลเศรษฐี ระหว่างปี 2552-2555 จำนวน 3 ครั้ง รวมเป็นเงิน 46.5 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังพบการโอนเงินให้กับพระหลายรูปในวัดพระธรรมกาย ทั้งพระธัมมชโย 225 ล้านบาท พระวิรัช 100 ล้านบาท พระปลัดวิจารณ์ 119 ล้านบาท พระมนตรี 100 ล้านบาท รวมถึง นายสถาพร วัฒนาศิรินุกุล กรรมการบริษัท เอส.ดับบลิวฯ 127 ล้านบาท โดยนายสถาพร ก็เคยบวชเป็นพระอยู่ที่วัดพระธรรมกาย นานกว่า 20 ปี ขณะที่ข้อมูลในชั้นสืบสวนพบว่า นายศุภชัย เคยมีตำแหน่งเป็นไวยาวัจกรของวัดพระธรรมกายด้วย
" ขณะนี้มีการตั้งกรรมการสอบสวนหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฯ ชุดเดิม เกี่ยวกับประเด็นการประวิงคดีและการสั่งไม่ฟ้อง นายจิรเดช วงเพียงกุล และ นายวัฒน์ชานนท์ นวอิสรารักษ์ ที่มีชื่อรับโอนเงินจากศุภชัยรวมกว่า 2,500 ล้านบาท " แหล่งข่าว ระบุ
วานนี้ (26 ก.พ.) พระพุทธะอิสระ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ผ่านนายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ตรวจสอบกรณีอัยการ มีคำสั่งถอนฟ้อง คดีพระธัมมชโย เมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยพระพุทธะอิสระ กล่าวว่า คดีดังกล่าวพนักงานอัยการชุดแรกได้มีคำสั่งฟ้องพระธัมมชโย ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงาน เบียดบังเอาทรัพย์สินไปเป็นของตนโดยทุจริต แต่เมื่อศาลจะมีคำพิพากษาพระธัมมชโย ได้มีการโอนทรัพย์สินทั้งหมดคืนให้กับวัดพระธรรมกาย ซึ่งขณะนั้น ก็มีการเปลี่ยนรัฐบาล เป็นรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนายพชร ยุติธรรมดำรง อัยการสูงสุดในขณะนั้น กลับมีคำสั่งให้พนักงานถอนฟ้องคดีดังกล่าว แต่พนักงานอัยการไม่ยอมถอนฟ้อง นายพชร จึงสั่งเปลี่ยนตัวพนักงานอัยการ และให้พนักงานอัยการชุดใหม่ ดำเนินการถอนฟ้องคดีดังกล่าว โดยอ้างว่า พระธัมมชโย ได้ปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชแล้ว จึงอยากให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ใช้อำนาจในการเรียกสำนวนหลักฐาน มาพิจารณาว่า การมีคำสั่งฟ้องของอัยการชุดแรก มีเหตุผลอย่างไร และการถอนฟ้องในอัยการชุดที่สอง มีเหตุผลอย่างไร เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากในการพิจารณาของ มหาเถรสมาคม (มส.) อ้างเหตุที่ไม่ดำเนินการกับ พระธัมมชโย ก็เพราะอัยการมีคำสั่งถอนฟ้อง โดยอยากให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน รีบดำเนินการ
พระพุทธะอิสระ ยังกล่าวอีกว่า หลังจากนี้จะไปแจ้งความที่กองปราบปราม เพราะในเมื่อขณะนี้ มส.ถือกฎหมายใหญ่กว่า พระธรรมวินัย ทั้งที่ในความจริงพระธรรมวินัย ใหญ่ยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ แต่รัฐธรรมนูญมนุษย์ที่เป็นผู้มีกิเลสตัณหา เป็นคนบัญญัติ และในวันพรุ่งนี้ ก็จะติดตามการประชุม มส. ต่อกรณีดังกล่าว ถ้าหากที่ประชุม มส. เอาพระธรรมวินัยเป็นใหญ่ พระธัมมชโย ผิด พุทธะอิสระ ก็จะจบแค่นี้ แต่ถ้าเอาธรรมกายเป็นใหญ่ เรื่องก็จะยาวเป็นมหากาพย์ คงจะได้มีการจัดสังฆทานชุดใหญ่ให้ มส. พุทธะอิสระ จะไปเยี่ยมทุกวัน แต่ถ้าการประชุม มส. ไม่มีการนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือ ก็ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ เพิกเฉยไม่ปฏิบัติ เข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
"ที่ผ่านมา มส.ไม่เคยทำอะไรที่โปร่งใส อย่างกรณีเจ้าคุณเสนาะ สตง.ชี้มูลว่า มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ 67 ล้านบาท มีการเอาผิดในทางกฎหมาย ในทางพระธรรมวินัย ต้องถือว่าปาราชิก แต่ มส.ก็กลับทำแค่ปรับลดตำแหน่ง จนทุกวันนี้ ก็ยัง นายเสนาะ ก็ยังเป็นพระ ดังนั้นที่มาวันนี้จึงอยากทำให้เห็นว่า วงการสงฆ์ต้องยึดหลักพระธรรมวินัยเป็นใหญ่ เมื่อมีพระลิขิตแล้วว่า พระธัมมชโย ปาราชิก มส. ต้องดำเนินการ ไม่ใช่มาอ้างว่ายึดคำสั่งอัยการเป็นใหญ่" พระพุทธะอิสระ กล่าว
ด้านนายรักษเกชา กล่าวว่า จะรีบนำเรื่องดังกล่าว เข้าสู่การพิจารณาผู้ตรวจการแผ่นดินโดยเร็ว ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดิน มีอำนาจในการขอดูเอกสาร หลักฐาน กรณีที่อัยการมีคำสั่งฟ้อง และถอนฟ้องในภายหลัง ซึ่งหากไม่ได้รับความร่วมมือ ก็มีโทษตามกฎหมาย จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนเมื่อพิจารณาหลักฐานแล้ว สามารถสั่งอัยการให้ฟ้องคดีได้หรือไม่ คงต้องดูรายละเอียดก่อน
**แจ้งจับพระพรหมเมธี- สมชาย
ต่อมาเวลา 14.00 น. หลวงปู่พุทธะอิสระ ได้เดินทางไปยังกองปราบปราม เพื่อเข้าพบ ร.ต.ท.ปรีชา ศรีอุดม พนักงานสอบสวน กก.1 บก.ป. เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับ พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระพรหมเมธี (จำนง ธัมมจารี) กรรมการ และโฆษกมหาเถรสมาคม และนายสมชาย สุรชาตรี โฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในความผิดฐาน ใส่ความคณะสงฆ์ หรือคณะสงฆ์อื่น อันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียหรือแตกแยก ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ มาตรา 44 (ตรี) และ เป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยนำเอกสาร และเทปเสียง มอบให้พนักงานสอบสวนไว้เป็นหลักฐาน
หลวงปู่พุทธะอิสระ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 20 ก.พ. ที่ผ่านมา พระพรหมเมธี และนายสมชาย แถลงข่าวว่า ในที่ประชุมมหาเถรสมาคม มีมติว่า พระเทพญาณมหามุนี ธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ไม่ต้องอาบัติปาราชิก ต่อมาอาตมาจึงเดินทางไปสอบถาม พระพรหมโมลี ซึ่งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ก็ให้คำตอบยืนยันว่า มีการลงมติไปแล้วเช่นเดียวกัน แต่หลังจากนั้นทางสำนักงานพระพุทธศาสนา ก็ได้ออกมาแถลงโต้ว่า ที่ผ่านมาทาง มหาเถรสมาคม ไม่เคยมีการลงมติในเรื่องดังกล่าวเลย ซึ่งแย้งกับที่ทั้งสามท่านได้ออกมาแถลงก่อนหน้านี้ ซึ่งเท่ากับว่าทั้งสามท่านได้ใส่ความคณะสงฆ์
หลวงปู่พุทธะอิสระ กล่าวต่อว่า ก่อนหน้านี้ มีการตรวจสอบ และทวงถามความถูกต้องตามหลักธรรมวินัย โดยมีการยื่นเรื่องไปที่ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และ สำนักนายกฯ ซึ่งสร้างความรู้สึกสงสัยในพฤติกรรมมหาเถรฯ ที่เห็นพระธรรมวินัย เป็นรองคำสั่งอัยการ โดย มหาเถรสมาคมอ้างว่าที่ ไม่ฟ้องเอาผิด ธัมมชโย เพราะว่า อัยการเป็นผู้สั่งไม่ฟ้อง คดีทางพระจึงยุติไปด้วย แต่หลังจากมีเรื่องมีราวมหาเถรสมาคม ก็มากลับลำว่าไม่ได้มีการประชุม
อย่างไรก็ตาม งานนี้ก็ต้องมีคนรับผิดชอบ ซึ่งก็คือคนที่ออกมาให้สัมภาษณ์ และมาตั้งโต๊ะแถลงข่าวว่า ลงมติไปแล้ว และคนที่คุยกับอาตมาคือ พระพรหมโมลี ที่ยืนยันเป็นมั่นเป็นเหมาะว่า มีการลงมติไปแล้ว
หลวงปู่พุทธะอิสระ กล่าวอีกว่า ทั้ง 3 ท่านนี้ เป็นบุคคลที่ถือว่าผิดอาญา ในฐานะที่ตัวเองเป็นเจ้าพนักงานของรัฐตามกฎหมาย ตามมาตรา 157 และละเมิดกฎหมายมหาเถรสมาคม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ปี 2505 ว่าด้วยเรื่องการใส่ร้ายคณะสงฆ์ และมหาเถรสมาคม อาตมาจึงมาร้องทุกข์กล่าวโทษกับบุคคลทั้ง 3 ท่าน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งหมด ว่าต้องมีส่วนรับผิดชอบหรือออกมาแสดงความรับผิดชอบอะไรบ้าง ไม่ใช่เงียบหายไปแล้วก็ทำให้มหาเถรกลายเป็นที่น่ารังเกียจของสังคม
" ต้องรอดูการประชุมของมหาเถร ก่อนว่า ผลการประชุมมหาเถร จะรักษาพระธรรมวินัย หรือจะยึดโยงเอาธรรมกาย มารักษา ถ้าเมื่อใดที่มหาเถรรักษาธรรม และวินัย ก็คงจบ พุทธะอิสระ ก็กลับวัดทำศาสนกิจ แต่ถ้าหากมหาเถรรักษาธรรมกายมากกว่าธรรม และวินัยถ้าอย่างนั้นก็จะต้องมีการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป อย่างไรก็ตาม อยากให้พระรูปอื่นมาช่วยอาตมาต่อสู้ด้วย ตอนนี้อาตมาไม่ไหวแล้ว เอาหัวโขกกำแพงอยู่คนเดียว ใกล้หมดแรงแล้ว” หลวงปู่พุทธะอิสระ กล่าว
ด้าน ร.ต.ท.ปรีชา กล่าวว่า เบื้องต้นหลังจากรับเรื่องและทำการตรวจสอบแล้วพบว่า เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นในพื้นที่ อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม จึงส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวน กก.5 บก.ป. รับไปดำเนินการเพื่อทำการสอบปากคำผู้ร้องและตรวจสอบพยานหลักฐาน ก่อนนำเรื่องเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งการต่อไป
** ส.ศิวรักษ์ จี้นายกฯยุบมหาเถร
นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักเขียนชื่อดัง กล่าวถึงการประชุมมหาเถรสมาคม ที่จะมีขึ้นในวันนี้ (27 ก.พ.) ซึ่งจะมีการพิจารณารับรองผลการประชุม เมื่อวันที่ 20 ก.พ. ที่มีมติให้พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ไม่เป็นอาบัติปราชิก ว่า ไม่ทราบว่า ผลการประชุมจะออกมาเป็นอย่างไร แต่ท้าทายให้มหาเถรสมาคม มีมติให้พระธัมมชโย เป็นปาราชิก ถ้ากล้าจะบุกไปกราบถึงวัด ซึ่งส่วนตัวเห็นว่า พระธัมมชโย ปาราชิก ชัดเจนแล้ว คดีเคยถึงอัยการด้วยซ้ำ การระบุว่า มีการคืนทรัพย์สินแล้ว ไม่ปาราชิก เป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น
นายสุลักษณ์ กล่าวด้วยว่า ควรจะยุบมหาเถรสมาคม เพราะเป็นองค์กรที่ล้าหลัง มีความเป็นเผด็จการ พร้อมระบุด้วยว่า กรรมการหลายองค์ อายุมากเกินไป ทั้งนี้ส่วนตัวเห็นว่า การปกครองสงฆ์ไม่จำเป็นต้องมีองค์กรกลาง แต่ควรปกครองด้วยพระธรรมวินัย โดยให้ครูอาจารย์ปกครองลูกศิษย์ เหมือนอย่างประเทศศรีลังกา และพม่า พร้อมฝากไปถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ว่า ถ้ามีความกล้าหาญพอ ควรจะยุบมหาเถรสมาคม
นายสุลักษณ์ ยังเห็นว่า ควรเอาศาสนา แยก ออกจากรัฐ ให้ชัดเจน การออกกฎหมายควบคุมสงฆ์ ควรเป็นทางเลือกสุดท้าย เพราะควรให้การศึกษาที่ถูกต้องก่อน ปัจจุบันมีคนเสนอให้ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งอันตรายอย่างมาก เพราะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้นับถือศาสนาอื่น เท่าให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งผิดหลักพระพุทธศาสนา
**แฉ"ศุภชัย"ศิษย์ธรรมกาย สึกมาโกง
วานนี้ ( 26 ก.พ.) พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รับผิดชอบด้านภารกิจปราบปรามอาชญากรรมพิเศษ กล่าวถึง กรณีการดำเนินคดียักยอกเงินของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น กว่า 12,000 ล้านบาท ภายหลังที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดตู้เซฟที่ยึดได้จาก บริษัท เอส.ดับบลิว.โฮลดิ้ง กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ของนายสถาพร วัฒนาศิรินุกุล ผู้รับเช็คจาก นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์ฯ ผู้ต้องหาคดีนี้ ซึ่งพบโฉนดที่ดิน และหลักฐานที่เชื่อมโยงกับคดียักยอกทรัพย์สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น จำกัด ว่า ได้เรียก พ.ต.ท.ปกรณ์ สุชีวกุล หัวหน้าพนักงานสอบสวนชุดตรวจสอบความเชื่อมโยงทางการเงิน ระหว่างสหกรณ์ กับวัดพระธรรมกาย เข้าพบเพื่อวางแนวทางการสอบสวนขยายผล โดยเฉพาะเส้นทางการถ่ายโอนโฉนดที่ดิน จากนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์ฯ ไปยังบุคคลอื่นๆ ซึ่งก่อนหน้าปปง. เคยเข้าตรวจค้นสหกรณ์ เมื่อปี 2556
นอกจากนี้ ต้องสอบสวนถึงความเชื่อมโยงระหว่างสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐี ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ภายในวัดพระธรรมกาย และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น และวัดพระธรรมกาย เนื่องจากข้อมูลในชั้นสืบสวนพบความเชื่อมโยงทางการเงินระหว่างกัน อย่างชัดเจน
แหล่งข่าวชุดสืบสวนดีเอสไอ เปิดเผยว่า สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นฯ และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลฯ มีนายศุภชัย เป็นผู้บริหารทั้งสองแห่ง แต่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นฯ เปิดไว้เพื่อระดมฝากเงิน โดยให้เงินปันผลสูงกว่าดอกเบี้ยสถาบันการเงิน จากนั้นสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นฯ จะนำเงินเหล่านี้ไปลงทุนในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐี ซึ่งจะนำเงินมาปล่อยกู้ ในอัตราดอกเบี้ยต่ำอีกต่อหนึ่ง
ทั้งนี้ จากข้อมูลยังพบว่าสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐีมีวงปล่อยกู้ให้กับลูกศิษย์วัดเพื่อทำบุญกับวัดพระธรรมกาย และจากการตรวจสอบงบดุลของ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐี พบมีการปล่อยกู้เพื่อการกุศลจริง โดยมีลูกหนี้เกือบ 500 ราย เป็นเงินกว่า 230 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบเส้นทางการเงิน พบการสั่งจ่ายเช็คจาก นายศุภชัย ไปให้สหกรณ์เครดิต มงคลเศรษฐี ระหว่างปี 2552-2555 จำนวน 3 ครั้ง รวมเป็นเงิน 46.5 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังพบการโอนเงินให้กับพระหลายรูปในวัดพระธรรมกาย ทั้งพระธัมมชโย 225 ล้านบาท พระวิรัช 100 ล้านบาท พระปลัดวิจารณ์ 119 ล้านบาท พระมนตรี 100 ล้านบาท รวมถึง นายสถาพร วัฒนาศิรินุกุล กรรมการบริษัท เอส.ดับบลิวฯ 127 ล้านบาท โดยนายสถาพร ก็เคยบวชเป็นพระอยู่ที่วัดพระธรรมกาย นานกว่า 20 ปี ขณะที่ข้อมูลในชั้นสืบสวนพบว่า นายศุภชัย เคยมีตำแหน่งเป็นไวยาวัจกรของวัดพระธรรมกายด้วย
" ขณะนี้มีการตั้งกรรมการสอบสวนหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฯ ชุดเดิม เกี่ยวกับประเด็นการประวิงคดีและการสั่งไม่ฟ้อง นายจิรเดช วงเพียงกุล และ นายวัฒน์ชานนท์ นวอิสรารักษ์ ที่มีชื่อรับโอนเงินจากศุภชัยรวมกว่า 2,500 ล้านบาท " แหล่งข่าว ระบุ