ASTV ผู้จัดการรายวัน – นายกรัฐมนตรีมอบนโยบายผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับบริษัทจดทะเบียนขยายมูลค่าการซื้อขายอีก 4 เท่าหวังให้ใกล้เคียงตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่น เชื่อมั่น ณ ปัจจุบันตลาดทุนไทยเป็นที่หนึ่งในอาเซียน ย้ำหนทางที่จะไปสู่ความั่งคั่งยังยืนต้องสร้างบุคคลากรให้มีคุณธรรม จริยธรรมและรู้หน้าที่ของตน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เป็นประธานร่วมกับ นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พงพันธุ์ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มอบโล่แสดงความยินดีให้กับ 10 บริษัทจำกัด หรือ บจ. ที่ได้รับเลือกเป็น สมาชิกดัชนีความยั่งยืนระดับโลก Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สะท้อนถึงศักยภาพของ บจ. ไทย ที่สร้างความน่าเชื่อถือในการลงทุนให้กับประเทศ ซึ่งปัจจุบันกองทุนทั่วโลกที่เน้นลงทุนคำนึงถึงความยั่งยืนมีขนาดกว่า 9,100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 290,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรียังกล่าวปฐกถาพิเศษ หัวข้อ "ธุรกิจไทยขับเคลื่อนไทยสู่ความมั่นคั่งยั่งยืนด้วยมาตรฐานสากล" ตอนหนึ่งว่า การเข้ามาบริหารประเทศและมีแนวทางวิสัยทัศน์ประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ซึ่งสอดคลองกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีนโยบาย ที่จะไปสู่ความั่งคั่งยังยืน โดยจะต้องสร้างบุคคลากรให้มีคุณธรรม จริยธรรมและรู้หน้าที่ของตน
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่าปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมี market cap คือ มูลค่าตลาดอยู่ที่ประมาณ 15.5 ล้านล้านบาท คิดเป็น 120% ของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ GDP ประเทศ ทั้งนี้ได้ฝากให้ผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกันบริษัทจดทะเบียน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ร่วมกันพัฒนาศักยภาพของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4 เท่าจากที่เป็นอยู่
“ปัจจุบันเรามีมูลค่าตลาดฯ ประมาณ 5 เท่าของอัตราการขยายตัวทางเศรฐกิจของประเทศ หากพัฒนาร่วมกันอย่างต่อเนื่องให้ขยายตัวอีกสัก 4 เท่าก็น่าจะใกล้เคียงกับตลาดหุ้นญี่ปุ่น เห็นว่าญี่ปุ่นเขาเป็น 1 ในเอเซียอยู่ เราเป็น 1 ในอาเซียน จะเทียบขึ้นไปเอเซียคงไม่ยาก” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ขณะเดียวกันการทำธุรกิจก็ต้องดูแลผู้มีรายได้น้อย ซึ่งสัดส่วนในประเทศไทยจะมีบุคคลชนชั้นสูง 10% บุคคลชั้นกลาง 60% และผู้มีรายได้น้อยรวมถึงเกษตรกร30% ดังนั้น ทุกภาคส่วนจะต้องช่วนกันผลักดันให้ประเทศเดินหน้า ก้าวพ้นจากความขัดแย้ง ซึ่งการเข้ามาทำงานของรัฐบาล มีปัญหามาก ทั้งปัญหา คน พระ ฆารวาส และปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ และความเดือดร้อนของประซึ่งรัฐบาลได้ตั้งศูนย์ดำรงค์ธรรม ก็มีประชาขนร้องมากว่า 2 แสนเรื่อง โดยแก้ปัญหาได้แล้ว 90%
พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรี ยังได้เชิญชวน นักธุรกิจเข้ามาลงทุนในโครงการต่างๆของรัฐบาลบาล เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศ พร้อมพูดติดตลก ว่าหากไม่เข้าร่วมจะใช้อำนาจตามมาตรา 44 และขอให้เอกชนเข้ามาช่วยสนับสนุนการขุดลอกคูคลองลาดพร้าว ซึ่งรัฐบาลมีงบประมาณเพียง 2 พันล้าน ซึ่งไม่พอกับการแก้ปัญหา
ขณะเดียวกัน พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังรัฐบาลอนุมัติงบประมาณ 4 หมื่นล้านบาทให้กับกรมทางหลวงชนบท ควบคู่กับการสร้างทางรถไฟใหม่ เพื่อเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจทั่วประเทศ
“หากเราไม่มองภาพทั้งระบบคงไปไม่ได้ ดังนั้นการจะขยายการค้าการลงทุนสร้างความเข้มแข็ง ต้องพร้อมทุกอย่าง โดยเฉพาะเรื่องของสาธารนูปโภค ขณะที่เรื่องผลิตผลเกษตรกรของเราได้ให้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงมหาดไทย ไปดูว่าจะดูแลในเรื่องของรายได้เกษตรกร ต้นทุนการผลิต รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต เพื่อจะได้เสริมสร้างการค้าการลงทุนขนาดใหญ่ โดยการตั้งโรงงานต้องตั้งทั้งในและนอกประเทศโดยใช้สิทธิ์จีเอสพี และเข้ามาแปลรูป ทั้งนี้คาดหวังว่านอกจากงบประมาณ 4 หมื่นล้านที่ออกไปแล้ว ก็จะมีเรื่องของการลงทุนอีก ทั้งในด้านของเขตเศรษฐกิจพิเศษ” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
นอกจากนี้ยังได้ชี้แจงกรณีการเบิกจ่ายงบประมาณ ว่า มีขั้นตอนการดำเนินงานทั้งสิ้น 6 ขั้นตอน โดยมีขั้นตอนสำคัญคือกระบวรการตรวจสอบ ที่อาจทำให้หลายฝ่ายมองว่าล่าช้า พร้อมยืนยันว่าจะไม่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เป็นประธานร่วมกับ นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พงพันธุ์ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มอบโล่แสดงความยินดีให้กับ 10 บริษัทจำกัด หรือ บจ. ที่ได้รับเลือกเป็น สมาชิกดัชนีความยั่งยืนระดับโลก Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สะท้อนถึงศักยภาพของ บจ. ไทย ที่สร้างความน่าเชื่อถือในการลงทุนให้กับประเทศ ซึ่งปัจจุบันกองทุนทั่วโลกที่เน้นลงทุนคำนึงถึงความยั่งยืนมีขนาดกว่า 9,100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 290,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรียังกล่าวปฐกถาพิเศษ หัวข้อ "ธุรกิจไทยขับเคลื่อนไทยสู่ความมั่นคั่งยั่งยืนด้วยมาตรฐานสากล" ตอนหนึ่งว่า การเข้ามาบริหารประเทศและมีแนวทางวิสัยทัศน์ประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ซึ่งสอดคลองกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีนโยบาย ที่จะไปสู่ความั่งคั่งยังยืน โดยจะต้องสร้างบุคคลากรให้มีคุณธรรม จริยธรรมและรู้หน้าที่ของตน
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่าปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมี market cap คือ มูลค่าตลาดอยู่ที่ประมาณ 15.5 ล้านล้านบาท คิดเป็น 120% ของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ GDP ประเทศ ทั้งนี้ได้ฝากให้ผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกันบริษัทจดทะเบียน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ร่วมกันพัฒนาศักยภาพของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4 เท่าจากที่เป็นอยู่
“ปัจจุบันเรามีมูลค่าตลาดฯ ประมาณ 5 เท่าของอัตราการขยายตัวทางเศรฐกิจของประเทศ หากพัฒนาร่วมกันอย่างต่อเนื่องให้ขยายตัวอีกสัก 4 เท่าก็น่าจะใกล้เคียงกับตลาดหุ้นญี่ปุ่น เห็นว่าญี่ปุ่นเขาเป็น 1 ในเอเซียอยู่ เราเป็น 1 ในอาเซียน จะเทียบขึ้นไปเอเซียคงไม่ยาก” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ขณะเดียวกันการทำธุรกิจก็ต้องดูแลผู้มีรายได้น้อย ซึ่งสัดส่วนในประเทศไทยจะมีบุคคลชนชั้นสูง 10% บุคคลชั้นกลาง 60% และผู้มีรายได้น้อยรวมถึงเกษตรกร30% ดังนั้น ทุกภาคส่วนจะต้องช่วนกันผลักดันให้ประเทศเดินหน้า ก้าวพ้นจากความขัดแย้ง ซึ่งการเข้ามาทำงานของรัฐบาล มีปัญหามาก ทั้งปัญหา คน พระ ฆารวาส และปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ และความเดือดร้อนของประซึ่งรัฐบาลได้ตั้งศูนย์ดำรงค์ธรรม ก็มีประชาขนร้องมากว่า 2 แสนเรื่อง โดยแก้ปัญหาได้แล้ว 90%
พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรี ยังได้เชิญชวน นักธุรกิจเข้ามาลงทุนในโครงการต่างๆของรัฐบาลบาล เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศ พร้อมพูดติดตลก ว่าหากไม่เข้าร่วมจะใช้อำนาจตามมาตรา 44 และขอให้เอกชนเข้ามาช่วยสนับสนุนการขุดลอกคูคลองลาดพร้าว ซึ่งรัฐบาลมีงบประมาณเพียง 2 พันล้าน ซึ่งไม่พอกับการแก้ปัญหา
ขณะเดียวกัน พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังรัฐบาลอนุมัติงบประมาณ 4 หมื่นล้านบาทให้กับกรมทางหลวงชนบท ควบคู่กับการสร้างทางรถไฟใหม่ เพื่อเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจทั่วประเทศ
“หากเราไม่มองภาพทั้งระบบคงไปไม่ได้ ดังนั้นการจะขยายการค้าการลงทุนสร้างความเข้มแข็ง ต้องพร้อมทุกอย่าง โดยเฉพาะเรื่องของสาธารนูปโภค ขณะที่เรื่องผลิตผลเกษตรกรของเราได้ให้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงมหาดไทย ไปดูว่าจะดูแลในเรื่องของรายได้เกษตรกร ต้นทุนการผลิต รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต เพื่อจะได้เสริมสร้างการค้าการลงทุนขนาดใหญ่ โดยการตั้งโรงงานต้องตั้งทั้งในและนอกประเทศโดยใช้สิทธิ์จีเอสพี และเข้ามาแปลรูป ทั้งนี้คาดหวังว่านอกจากงบประมาณ 4 หมื่นล้านที่ออกไปแล้ว ก็จะมีเรื่องของการลงทุนอีก ทั้งในด้านของเขตเศรษฐกิจพิเศษ” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
นอกจากนี้ยังได้ชี้แจงกรณีการเบิกจ่ายงบประมาณ ว่า มีขั้นตอนการดำเนินงานทั้งสิ้น 6 ขั้นตอน โดยมีขั้นตอนสำคัญคือกระบวรการตรวจสอบ ที่อาจทำให้หลายฝ่ายมองว่าล่าช้า พร้อมยืนยันว่าจะไม่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว