ASTVผู้จัดการรายวัน-"แก้วสรร"ยันฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหายจาก "ปู" ฐานทำจำนำเจ๊ง 6 แสนล้านได้เลย ไม่ต้องรอคดีอาญา เหตุมีอายุความสั้นแค่ 2 ปี แนะ "บิ๊กตู่"เป็นโต้โผเอาผิด ครม.ปู ทั้งคณะ ฐานปล่อยชาติฉิบหาย ด้าน ป.ป.ท. ผนึกดีเอสไอ สตง. ป.ป.ช. บุกตรวจหาหลักฐานข้าวโครงการจำนำล่องหนที่พิจิตรเกือบ 5 หมื่นตัน รัฐเสียหายกว่า 2.4 พันล้าน
นายแก้วสรร อติโพธิ แกนนำกลุ่มไทยสปริง เปิดเผยว่า ปัญหาในโครงการจำนำข้าวยุครัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กำลังพาไปสู่การตรวจสอบทางกฎหมายเต็มรูปแบบ ทั้งการถอดถอนรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องออกจากวงการเมือง โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ การลงโทษทางอาญา โดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมือง และล่าสุด คือ การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย โดยกระทรวงการคลัง
ทั้งนี้ เห็นว่าการเรียกค่าเสียหายตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้กระทรวงคลังเรียกค่าเสียหายกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กว่า 6 แสนล้านบาท ก่อนผลคดีอาญาจะออกมานั้น เพราะคดีแพ่งมีอายุความแค่ 2 ปี และเริ่มนับไปแล้ว แม้คดีอาญาจะขึ้นศาล ผู้รับผิดชอบ ก็ต้องเร่งทำคดีแพ่งอยู่ดี เพราะอายุความแพ่งไม่สะดุดหยุดลงตามการฟ้องอาญา จะให้รอฟังผลคดีอาญาจนคดีแพ่งขาดอายุความไม่ได้ และหากศาลในคดีอาญาไม่พบความผิด ก็ต้องยกฟ้อง แต่คดีแพ่ง พบแค่ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ในการปฏิบัติราชการของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ศาลก็ตัดสินให้ต้องชดใช้ความเสียหายได้
"ข้อเสนอให้รอฟังคดีอาญาก่อน แล้วค่อยพิจารณาฟ้องคดีแพ่ง จึงไม่มีเหตุผล เพราะแม้จะเรื่องเดียวกัน แต่มันคนละงาน โดยงานทางแพ่งเป็นเรื่องชดใช้ความเสียหาย ไม่ใช่งานปราบคอร์รัปชัน ฐานความรับผิดสองคดีนี้ มันคนละฐานกัน และเหตุหนึ่งที่ทำให้คดีแพ่ง ไม่ต้องรอผลคดีอาญา เพราะการตรวจสอบความเสียหาย และความรับผิดทางแพ่ง ต้องรวบรวมผู้รับผิดชอบทั้งหมดมาฟ้องในคราวเดียวกัน ใครในรัฐบาลปู ที่รู้เห็น เกี่ยวข้องเห็นชัดตรงหน้าว่าเสียหายอยู่ทุกวัน แล้วยังร่วมกันดื้อดึง ผลักดันโครงการต่อไปอีก ก็ต้องร่วมกันรับผิดชอบหมด จะเหมามาลงที่ นายกฯปู คนเดียวไม่ได้ ถ้ารู้เห็นกันหมดทั้ง ครม. ก็โดนทั้ง ครม. เลยก็ได้ ส่วนใครจะโดนบ้าง โดนคนละเท่าใด ก็ขึ้นอยู่กับการตรวจสอบทางแพ่งโดยผู้รับผิดชอบทั้งสิ้น"นายแก้วสรรกล่าว
เมื่อถามว่า กระทรวงการคลังมีหน้าที่ต้องรับความเห็น ป.ป.ช. ไปฟ้องแพ่งหรือไม่ นายแก้วสรร กล่าวว่า กระทรวงการคลังไม่มีหน้าที่อย่างนั้น เพราะฐานความรับผิดทางแพ่งกับอาญา อาจจะเป็นคนละฐานกันก็ได้ ป.ป.ช. เพียงแต่บอกกล่าวมายังฝ่ายบริหารให้ทำหน้าที่ตรวจสอบความรับผิดทางแพ่งต่อไปเท่านั้น ซึ่งในส่วนนี้ ก็มีกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐวางระบบไว้โดยเฉพาะอยู่แล้วว่าต้องเริ่มกระบวนการตรวจสอบโดยการสั่งการของผู้รับผิดชอบทางบริหารก่อน
ต่อข้อถามว่า คดีจำนำข้าวใครคือผู้รับผิดชอบตรวจสอบ นายแก้วสรร กล่าวว่า คดีนี้ผู้เกี่ยวข้องสั่งการในโครงการเป็นถึงรัฐมนตรี ตามระเบียบสำนักนายกฯ ระบุให้คนในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ตรวจสอบ ตรวจทั้งความเสียหาย และความรับผิดของทุกคนที่เกี่ยวข้องแล้วสั่งการออกมาในที่สุดว่าใครต้องชดใช้ค่าเสียหาย คนละเท่าใด
"ในกฎหมายปกครอง ระบุให้นายกฯ ต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นตรวจสอบ แล้วทำสำนวนรายงานมา จากนั้นก็สั่งการตามความเห็นอีกครั้ง หากผู้ถูกกล่าวหาไม่ยอมชดใช้ คดีก็ต้องไปถึงศาลปกครองในที่สุด โดยกระบวนการนี้ จะเดินตามกฎหมายไปเรื่อยๆ ไม่หยุดลงตามการเปลี่ยนรัฐบาล นายกฯ ที่สั่งสำนวนนี้ ในภายหน้าอาจไม่ใช่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ได้" นายแก้วสรร กล่าว
วันเดียวกันนี้ นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) พร้อมคณะ ที่มีทั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) , สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) , ป.ป.ช. และส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนสอบสวนเพื่อแสวงหาหลักฐานในการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวภายใต้นโยบายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
โดยได้เข้าตรวจสอบไซโล บริษัท เคทีบี อะโกร จำกัด ต.หอไกร อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร ที่รัฐเช่าเก็บข้าวสารในโครงการจำนำข้าวในถังไซโลทั้ง 17 ถัง มีปริมาณข้าวตามบัญชี 196,766.630 ตัน เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเกี่ยวกับกระบวนการจัดเก็บข้าวที่ได้รับจากชาวนาที่นำข้าวเปลือกมาจำนำ แล้วโรงสีนำไปแปรรูปเป็นข้าวสาร เพราะหลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ ได้ให้ทหารและฝ่ายปกครองในท้องถิ่น รวมถึงผู้เชี่ยวชาญจากส่วนกลางหลายฝ่ายดำเนินการตรวจนับปริมาณข้าว และตรวจสอบคุณภาพข้าวในไซโลแห่งนี้ พบว่าข้าวขาว 5% ที่เก็บไว้ในไซโลเกิดการสูญหาย และมีการปลอมปนใน 15 ถังไซโลจริง ทำให้รัฐเกิดความเสียหาย เพราะพบว่ามีข้าวขาดหายจากบัญชีจำนวน 47,433.684 ตัน มูลค่า 2,475 ล้านบาท
ทั้งนี้ นายประยงค์และคณะได้เข้าเผชิญสืบเพื่อหาหลักฐานข้อเท็จจริงที่จะดำเนินคดีต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมระบุว่า ได้เรียกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในทุกฝ่ายทั้งฝ่ายราชการ ฝ่ายเอกชนที่เกี่ยวข้องมาสอบสวน สอบถามขั้นตอนข้อเท็จจริงเกือบ 2 ชั่วโมง โดยเริ่มตั้งแต่รถบรรทุกข้าวสารมาจอดแล้ววิ่งเข้าประตูของไซโล ไปจนถึงการตรวจคุณภาพและปริมาณ จากนั้นก็ดูไปจนถึงกระบวนการส่งมอบข้าวโดยผ่านเซอร์เวเยอร์ที่องค์การคลังสินค้า (อคส.) จ้างมา แล้วนำข้าวสารไปเทลงบ่อเพื่อผ่านสายพานลำเลียงไปเก็บในถังไซโลทั้ง 17 ถัง จากนั้นได้ตรวจสอบดูห้องควบคุมระบบที่ใช้ควบคุมบังคับเปิด-ปิดถังไซโล
"ได้รับการชี้แจงจากผู้ที่เกี่ยวข้องว่าทุกอย่างทุกห้องควบคุมจะต้องถูกใส่ด้วยกุญแจ 3 ดอก โดยมีผู้ถือลูกกุญแจจาก 3 ฝ่าย คือ อคส., ฝ่ายปกครองท้องที่ และผู้ตรวจสอบคุณภาพข้าว หรือเซอร์เวเยอร์ ดังนั้น การที่ข้าวหายเป็นจำนวนมากอย่างนี้ก็จะต้องเรียกผู้เกี่ยวข้องมาสอบสวน"
นายประยงค์กล่าวว่า เบื้องต้น อคส.ได้ไปแจ้งความที่ สภ.บางมูลนาก และได้มีการสอบสวนได้รายละเอียดลงลึกมามากมาย แต่เนื่องจากรูปคดีไปเกี่ยวข้องกับเจ้าพนักงานของรัฐ จึงจำเป็นต้องให้ ป.ป.ท. และคณะเข้ามารับช่วงคดีต่อ ซึ่งต่อจากนี้คาดว่าไม่เกิน 3 เดือน จะรวบรวมหลักฐาน และสามารถบอกได้ว่าใครบ้างเป็นตัวการ และผู้สนับสนุน ถ้าเป็นราชการก็เป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช. หรือ สตง. ที่จะต้องตรวจสอบทรัพย์สินและชี้มูลความผิด ถ้าเป็นภาคเอกชนก็จะให้ดีเอสไอเข้าไปดำเนินคดี โดยจะไม่ละเว้นผู้หนึ่งผู้ใด ไม่ว่าจะตัวเล็ก หรือผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งถ้าหลักฐานเกี่ยวข้องถึงก็จะดำเนินคดีโดยไม่มีข้อละเว้น เพราะเรื่องขบวนการโกงโครงการรับจำนำข้าวครั้งมโหฬาร ทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียเงินภาษีของประชาชนไปกว่า 6 แสนล้าน ถือเป็นเรื่องทำลายความมั่งคงทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย จึงต้องเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่จะต้องดำเนินการอย่างจริงจัง.
นายแก้วสรร อติโพธิ แกนนำกลุ่มไทยสปริง เปิดเผยว่า ปัญหาในโครงการจำนำข้าวยุครัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กำลังพาไปสู่การตรวจสอบทางกฎหมายเต็มรูปแบบ ทั้งการถอดถอนรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องออกจากวงการเมือง โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ การลงโทษทางอาญา โดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมือง และล่าสุด คือ การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย โดยกระทรวงการคลัง
ทั้งนี้ เห็นว่าการเรียกค่าเสียหายตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้กระทรวงคลังเรียกค่าเสียหายกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กว่า 6 แสนล้านบาท ก่อนผลคดีอาญาจะออกมานั้น เพราะคดีแพ่งมีอายุความแค่ 2 ปี และเริ่มนับไปแล้ว แม้คดีอาญาจะขึ้นศาล ผู้รับผิดชอบ ก็ต้องเร่งทำคดีแพ่งอยู่ดี เพราะอายุความแพ่งไม่สะดุดหยุดลงตามการฟ้องอาญา จะให้รอฟังผลคดีอาญาจนคดีแพ่งขาดอายุความไม่ได้ และหากศาลในคดีอาญาไม่พบความผิด ก็ต้องยกฟ้อง แต่คดีแพ่ง พบแค่ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ในการปฏิบัติราชการของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ศาลก็ตัดสินให้ต้องชดใช้ความเสียหายได้
"ข้อเสนอให้รอฟังคดีอาญาก่อน แล้วค่อยพิจารณาฟ้องคดีแพ่ง จึงไม่มีเหตุผล เพราะแม้จะเรื่องเดียวกัน แต่มันคนละงาน โดยงานทางแพ่งเป็นเรื่องชดใช้ความเสียหาย ไม่ใช่งานปราบคอร์รัปชัน ฐานความรับผิดสองคดีนี้ มันคนละฐานกัน และเหตุหนึ่งที่ทำให้คดีแพ่ง ไม่ต้องรอผลคดีอาญา เพราะการตรวจสอบความเสียหาย และความรับผิดทางแพ่ง ต้องรวบรวมผู้รับผิดชอบทั้งหมดมาฟ้องในคราวเดียวกัน ใครในรัฐบาลปู ที่รู้เห็น เกี่ยวข้องเห็นชัดตรงหน้าว่าเสียหายอยู่ทุกวัน แล้วยังร่วมกันดื้อดึง ผลักดันโครงการต่อไปอีก ก็ต้องร่วมกันรับผิดชอบหมด จะเหมามาลงที่ นายกฯปู คนเดียวไม่ได้ ถ้ารู้เห็นกันหมดทั้ง ครม. ก็โดนทั้ง ครม. เลยก็ได้ ส่วนใครจะโดนบ้าง โดนคนละเท่าใด ก็ขึ้นอยู่กับการตรวจสอบทางแพ่งโดยผู้รับผิดชอบทั้งสิ้น"นายแก้วสรรกล่าว
เมื่อถามว่า กระทรวงการคลังมีหน้าที่ต้องรับความเห็น ป.ป.ช. ไปฟ้องแพ่งหรือไม่ นายแก้วสรร กล่าวว่า กระทรวงการคลังไม่มีหน้าที่อย่างนั้น เพราะฐานความรับผิดทางแพ่งกับอาญา อาจจะเป็นคนละฐานกันก็ได้ ป.ป.ช. เพียงแต่บอกกล่าวมายังฝ่ายบริหารให้ทำหน้าที่ตรวจสอบความรับผิดทางแพ่งต่อไปเท่านั้น ซึ่งในส่วนนี้ ก็มีกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐวางระบบไว้โดยเฉพาะอยู่แล้วว่าต้องเริ่มกระบวนการตรวจสอบโดยการสั่งการของผู้รับผิดชอบทางบริหารก่อน
ต่อข้อถามว่า คดีจำนำข้าวใครคือผู้รับผิดชอบตรวจสอบ นายแก้วสรร กล่าวว่า คดีนี้ผู้เกี่ยวข้องสั่งการในโครงการเป็นถึงรัฐมนตรี ตามระเบียบสำนักนายกฯ ระบุให้คนในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ตรวจสอบ ตรวจทั้งความเสียหาย และความรับผิดของทุกคนที่เกี่ยวข้องแล้วสั่งการออกมาในที่สุดว่าใครต้องชดใช้ค่าเสียหาย คนละเท่าใด
"ในกฎหมายปกครอง ระบุให้นายกฯ ต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นตรวจสอบ แล้วทำสำนวนรายงานมา จากนั้นก็สั่งการตามความเห็นอีกครั้ง หากผู้ถูกกล่าวหาไม่ยอมชดใช้ คดีก็ต้องไปถึงศาลปกครองในที่สุด โดยกระบวนการนี้ จะเดินตามกฎหมายไปเรื่อยๆ ไม่หยุดลงตามการเปลี่ยนรัฐบาล นายกฯ ที่สั่งสำนวนนี้ ในภายหน้าอาจไม่ใช่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ได้" นายแก้วสรร กล่าว
วันเดียวกันนี้ นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) พร้อมคณะ ที่มีทั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) , สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) , ป.ป.ช. และส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนสอบสวนเพื่อแสวงหาหลักฐานในการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวภายใต้นโยบายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
โดยได้เข้าตรวจสอบไซโล บริษัท เคทีบี อะโกร จำกัด ต.หอไกร อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร ที่รัฐเช่าเก็บข้าวสารในโครงการจำนำข้าวในถังไซโลทั้ง 17 ถัง มีปริมาณข้าวตามบัญชี 196,766.630 ตัน เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเกี่ยวกับกระบวนการจัดเก็บข้าวที่ได้รับจากชาวนาที่นำข้าวเปลือกมาจำนำ แล้วโรงสีนำไปแปรรูปเป็นข้าวสาร เพราะหลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ ได้ให้ทหารและฝ่ายปกครองในท้องถิ่น รวมถึงผู้เชี่ยวชาญจากส่วนกลางหลายฝ่ายดำเนินการตรวจนับปริมาณข้าว และตรวจสอบคุณภาพข้าวในไซโลแห่งนี้ พบว่าข้าวขาว 5% ที่เก็บไว้ในไซโลเกิดการสูญหาย และมีการปลอมปนใน 15 ถังไซโลจริง ทำให้รัฐเกิดความเสียหาย เพราะพบว่ามีข้าวขาดหายจากบัญชีจำนวน 47,433.684 ตัน มูลค่า 2,475 ล้านบาท
ทั้งนี้ นายประยงค์และคณะได้เข้าเผชิญสืบเพื่อหาหลักฐานข้อเท็จจริงที่จะดำเนินคดีต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมระบุว่า ได้เรียกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในทุกฝ่ายทั้งฝ่ายราชการ ฝ่ายเอกชนที่เกี่ยวข้องมาสอบสวน สอบถามขั้นตอนข้อเท็จจริงเกือบ 2 ชั่วโมง โดยเริ่มตั้งแต่รถบรรทุกข้าวสารมาจอดแล้ววิ่งเข้าประตูของไซโล ไปจนถึงการตรวจคุณภาพและปริมาณ จากนั้นก็ดูไปจนถึงกระบวนการส่งมอบข้าวโดยผ่านเซอร์เวเยอร์ที่องค์การคลังสินค้า (อคส.) จ้างมา แล้วนำข้าวสารไปเทลงบ่อเพื่อผ่านสายพานลำเลียงไปเก็บในถังไซโลทั้ง 17 ถัง จากนั้นได้ตรวจสอบดูห้องควบคุมระบบที่ใช้ควบคุมบังคับเปิด-ปิดถังไซโล
"ได้รับการชี้แจงจากผู้ที่เกี่ยวข้องว่าทุกอย่างทุกห้องควบคุมจะต้องถูกใส่ด้วยกุญแจ 3 ดอก โดยมีผู้ถือลูกกุญแจจาก 3 ฝ่าย คือ อคส., ฝ่ายปกครองท้องที่ และผู้ตรวจสอบคุณภาพข้าว หรือเซอร์เวเยอร์ ดังนั้น การที่ข้าวหายเป็นจำนวนมากอย่างนี้ก็จะต้องเรียกผู้เกี่ยวข้องมาสอบสวน"
นายประยงค์กล่าวว่า เบื้องต้น อคส.ได้ไปแจ้งความที่ สภ.บางมูลนาก และได้มีการสอบสวนได้รายละเอียดลงลึกมามากมาย แต่เนื่องจากรูปคดีไปเกี่ยวข้องกับเจ้าพนักงานของรัฐ จึงจำเป็นต้องให้ ป.ป.ท. และคณะเข้ามารับช่วงคดีต่อ ซึ่งต่อจากนี้คาดว่าไม่เกิน 3 เดือน จะรวบรวมหลักฐาน และสามารถบอกได้ว่าใครบ้างเป็นตัวการ และผู้สนับสนุน ถ้าเป็นราชการก็เป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช. หรือ สตง. ที่จะต้องตรวจสอบทรัพย์สินและชี้มูลความผิด ถ้าเป็นภาคเอกชนก็จะให้ดีเอสไอเข้าไปดำเนินคดี โดยจะไม่ละเว้นผู้หนึ่งผู้ใด ไม่ว่าจะตัวเล็ก หรือผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งถ้าหลักฐานเกี่ยวข้องถึงก็จะดำเนินคดีโดยไม่มีข้อละเว้น เพราะเรื่องขบวนการโกงโครงการรับจำนำข้าวครั้งมโหฬาร ทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียเงินภาษีของประชาชนไปกว่า 6 แสนล้าน ถือเป็นเรื่องทำลายความมั่งคงทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย จึงต้องเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่จะต้องดำเนินการอย่างจริงจัง.