ASTVผู้จัดการรายวัน- "ประยุทธ์" มาแนวปรองดอง ให้แยกศาสนจักร อาณาจักร ออกจากกัน สั่ง ก.วัฒนธรรมร่วมคณะสงฆ์ ทบทวน คำสอนถูกผิดอย่างไร "ประวิตร" ยันในรัฐบาลไม่มีลูกศิษย์หลวงปู่ฯ "วิษณุ"ยันไม่มีมติสม.เมื่อ 20 ก.พ. "ลิ่วล้อนะจ๊ะ" บุกสภา จี้ "เทียนฉาย" ยุบ กก.ปฏิรูปพระพุทธศาสนา ชุด"ไพบูลย์" อ้างพฤติกรรมละเมิด มส. ขู่หากไม่ทำภายใน 15 วัน จะออกมาเคลื่อนไหว ด้าน"ไพบูลย์"ไม่สน ยันทำตามหน้าที่ สปช. จี้ ผอ.พศ.-โฆษก มส. แจงใครพูดจริง ไม่จริง ขณะที่นักกฎหมายชี้ ธัมมชโย ปาราชิกไปแล้ว แต่ มส.มาบิดเบือนพระธรรมวินัย เข้าข่ายผิดอาญา ม.157 เพราะถือว่า มส. เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา แนะฟ้องศาลปกครอง ล้มมติสม.
วานนี้ (24 ก.พ.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. แถลงภายหลังการประชุมร่วมระหว่างครม.และคสช. ถึงกรณีความขัดแย้งทางศาสนา ภายหลังจากมหาเถรสมาคมพิจารณาความเป็น ปาราชิกของพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายว่า เรื่องดังกล่าวขอให้แยกคำว่า อาณาจักร ซึ่งหมายถึงประชาชนคนไทย และศาสนจักร ซึ่งหมายถึง พระสงฆ์องค์เจ้า ออกจากกัน โดยแต่ละองค์กร มีกฎหมายคุ้มครองอยู่แล้ว ซึ่งในส่วนของพระ ก็มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องและพ.ร.บ.หลายฉบับ ก็ต้องว่ากันตามกระบวนการดังกล่าว จะผิดหรือถูก เราไม่ควรไปยุ่งในส่วนนั้น ให้เป็นเรื่องของการปกครองคณะสงฆ์ ซึ่งบางอย่างที่มีการตัดสินไปแล้ว สิ่งที่เราสามารถทำได้คือต้องไปดูแลด้านกฎหมาย เรื่องคดีอาญา คดีทุจริต หรือกฎหมายการเงิน โดยกรณีดังกล่าว ตนได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบการทุจริตในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนว่า มีส่วนโยงใยกับใครอย่างไร
เมื่อถามว่า จะมีการเร่งรัดในเรื่องคดีความการทุจริตในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนใช่ หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ไม่ได้เร่งรัด ต้องตรวจสอบตามกระบวนการ ทำไมต้องเร่งรัดทุกอย่าง ไม่ทันใจหรืออย่างไร แล้วเรื่องพวกนี้รัฐบาลที่ผ่านมาได้ดำเนินการอย่างไรบ้าง โกงตั้งแต่สมัยใด ทำไมไม่ไปเร่งรัดเขาแบบนี้บ้าง เห็นชื่นชมกันดีนัก ครั้งหน้าก็ขอให้เร่งรัดรัฐบาลใหม่แบบนี้ด้วย และหวังว่าคงได้รัฐบาลใหม่ที่ดี เพราะหากไม่ดี จะเลือกกันมาทำไม
" อย่าให้ไปก้าวล่วงกันมากนักเลย เดี๋ยวมันจะเกิดปัญหา ทุกคนก็เป็นไทยพุทธ หลายคนนับถือทางโน้นบ้าง ทางนี้บ้าง ขึ้นอยู่กับความเชื่อ แต่หากมีคำสอนผิด คำสอนถูก ผมจะให้กระทรวงวัฒนธรรมไปทบทวนว่า คำสอนไหนถูกหรือผิด และต้องให้คณะสงฆ์พิจารณากันด้วย อะไรเป็นเรื่องของพระ ก็ต้องให้พระแก้ไข เพราะไม่ใช่มีแค่เรื่องพระอย่างเดียว แต่ยังมีกลุ่มคนที่นับถือศรัทธาอีกเป็นล้านๆ คน เราจึงไม่อยากให้ประชาชนมาขัดแย้งกันด้วยเรื่องศาสนา" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
เมื่อถามว่าพระผู้ใหญ่บางรูป ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน แล้วมาแสดงออกทางสาธารณะ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เราก็ต้องฟังอย่างมีสติ การนับถือพระนั้น ไม่มีใครบังคับเราได้ หากคิดว่าองค์ใดไม่ดี ไม่น่าศรัทธา เราก็ไม่เคารพ ก็ปล่อยท่านไป ท่านมีองค์กรของท่าน หากไม่ดูแล องค์กรก็จะเสียหายเอง หากเราจะไปก้าวก่ายทุกเรื่อง คงไม่ได้ จะเสียหาย เพราะมีคนกราบไหว้กันอยู่
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อถึงกรณีที่กลุ่มพระสงฆ์ ยื่นหนังสือคัดค้านการปฏิรูปศาสนาว่า "ขณะนี้ยังไม่มีการปฏิรูป แต่เป็นเรื่องที่ สปช. คิดขึ้นมา ยังไม่มีผลในทางปฏิบัติ สปช. มีหน้าที่ปฏิรูป จะปฏิรูปอะไรก็เรื่องของเขา แต่ตนยังไม่อนุมัติอะไรเลย ใครพูดอะไรออกมาก็อย่าไปฟังมากมายนัก ขออย่าเอาเรื่องอื่นมาพันกัน เรื่องทุจริตก็สอบต่อไปไม่ใช่มีเรื่องทุตจริต แล้วศาสนาต้องล่มสลายไป หากทุกอย่างสลายไปหมดให้ตนมาฟื้นทุกอย่างจะทำไหวหรือไม่ เพราะคนก็จะแห่กันออกมาต่อสู้ทุกเรื่อง แล้วบอกว่า คสช. ต้องทำให้ได้หมดทุกเรื่อง ทำไมท่านไม่รู้จักลดลาวาศอกกันบ้าง
เมื่อถามต่อว่า เกรงว่าเรื่องพระจะกลายเป็นเรื่องการเมืองหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า อย่ามาถามแบบนี้ ตนก็ได้พูดไปแล้วว่า อย่าให้ประชาชนเดือดร้อน อย่ามาถูกปลุกปั่นเดินขบวน หรือทำอะไรผิดกฎหมาย เมื่อถามต่อว่ากฎอัยการศึกจะควบคุม รวมถึงพระสงฆ์ด้วยหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า "ไม่รู้ คำถามนี้ไม่เกิดประโยชน์ จะคุมพระ คุมเจ้า คุมบ้าคุมบออะไร "
** ยันในรัฐบาลไม่มีศิษย์หลวงปู่ฯ
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง และรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณี หลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. คัดค้านมติมหาเถรสมาคมว่า พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ไม่ต้องอาบัติปาราชิก พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการตรวจสอบ รื้อคดีของวัดพระธรรมกาย ขึ้นมาพิจารณาใหม่ ว่า เรื่องดังกล่าวต้องว่ากันไปตามกฎหมาย และทางมหาเถรสมาคม เราอย่าไปยุ่งกับท่าน เพราะเราไม่ได้เป็นคนบริหาร
เมื่อถามว่า มีคนมองว่าผู้ใหญ่ในรัฐบาลเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่พุทธะอิสระ หลายคน อาจจะเกิดความไม่เป็นกลางได้ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า "ไม่มีครับ ในรัฐบาลไม่มี ให้เป็นเรื่องของพระ ผมไม่อยากพูดมาก และให้เป็นเรื่องของกฎหมาย และมหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นอย่างไรก็ต้องว่ากันไป ส่วนที่เกรงว่าเรื่องของพระ จะกลายเป็นเรื่องการเมือง ก็คงต้องไปคุยกับพระดูมั้ง ผมไม่ค่อยถนัดด้วย"
เมื่อถามว่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ส่งผู้แทนไปยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ให้ยกเลิกการตั้งคณะปฏิรูปศาสนาภายใน15 วัน หากไม่ยกเลิกการปฎิรูปศาสนา จะมีการออกมาเคลื่อนไหวนั้น จะผิดกฎอัยการศึกหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า"จะเคลื่อนไหวไม่ได้ ต้องเรียนว่า ท่านต้องคุยกัน ท่านเป็นพระ แต่ทั้งนี้เชื่อว่า การเคลื่อนไหวของพระคงไม่ทำจนถึงขั้นผิดกฎอัยการศึก อย่าเพิ่งไปถามล่วงหน้า ส่วนที่มีการเกรงว่า หลวงปู่พุทธะอิสระ ออกมาแล้วลูกศิษย์ก็จะออกมาเคลื่อนไหวด้วยนั้น จะเคลื่อนไหวไม่ได้ พระต้องไปคุยกับพระ ลูกศิษย์จะไปยุ่งได้อย่างไร ตามความคิดของผม เป็นเรื่องของพระ กฎหมาย และเถรสมาคมที่จะต้องไปคุยกันที่ทำให้สงบๆ และขอให้รัฐบาลได้ทำงาน" รองนายกฯ กล่าว
** "วิษณุ"มีคำตอบ"พระลิขิต-พระบัญชา"แล้ว
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลัง พศ. เข้าชี้แจงข้อขัดแย้งมติ มส.ว่า มติ มส.วันที่ 20 ก.พ. เป็นเพียงรับทราบการรายงาน กมธ.สปช. ที่เรียก พศ. ไปสอบถามเรื่องวัดพระธรรมกาย และมีมติตั้งกรรมการขึ้นมา 1 ชุด ประกอบด้วยพระสงฆ์ 4 รูป ฆารวาส 2 คน รวมเป็น 6 คนขึ้นมา เพื่อไปตรวจสอบรวบรวมศึกษาเรื่องนี้ แล้วกลับมารายงาน มส.ต่อไป วันนั้นไม่ได้มีมติใดๆ เรื่องอาบัติปาราชิก งานนี้ มส.เลยถูกด่าฟรีไป และ มส.กำลังจะประชุมเพื่อรับทราบมติ วันที่ 20 ก.พ. ซึ่งวันนั้นจะมีการแถลงข่าวชี้แจง
เมื่อถามว่า กรณีพระลิขิต กับพระบัญชา แตกต่างกันอย่างไร นายวิษณุ กล่าวว่า มีคำตอบเรื่องนี้แล้ว แต่เวลานี้ยังไม่สมควรพูด ขอไปตรวจสอบให้ชัดเจนก่อน แต่เห็นพระลิขิตทั้ง 5 ฉบับแล้ว เรื่องนี้ในที่สุดต้องทำให้ถูก ระมัดระวัง อย่าเร่งรัด เพราะไม่อย่างนั้นจะถูกมองว่า มวยล้มต้มคนดู
** ลิ่วล้อนะจ๊ะจี้ยุบกก.ปฏิรูปฯชุดไพบูลย์
เมื่อเวลา 09.45 น. วานนี้ (24 ก.พ.) ที่รัฐสภา เครือข่ายองค์กรชาวพุทธแห่งประเทศไทย นำโดย พระเมธีธรรมาจารย์ ประธานสงฆ์ฆสามัคคี และ นายเสถียร วิพรมหา รักษาการนายกสมาคมนักวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนา เข้ายื่นหนังสือต่อ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ผ่านเจ้าหน้าที่ ขอให้ยุบเลิกคำสั่ง สปช. ในการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่มี นายไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นประธาน โดยพระเมธีธรรมาจารย์ กล่าวว่า การกำหนดให้คณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจในการวิเคราะห์ประเด็นสำคัญของพุทธศาสนาเพื่อกำหนดแนวทางปฏิรูปโครงสร้างกิจการพระพุทธศาสนา เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ปรากฎว่า กรรมการฯชุดนี้แสดงออกถึงพฤติกรรมที่ขัดแย้งต่อหน้าที่ โดยเฉพาะนายไพบูลย์ มีพฤติกรรมล่วงละเมิดต่อเถรสมาคม (มส.) ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของ พระสุวิทย์ ธีรธมฺโม หรือ หลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม ดังนั้น ขอให้ สปช.ยุบคณะกรรมการชุดนี้ภายใน 15 วัน ไม่เช่นนั้นทางเครือข่ายฯ จำเป็นต้องออกเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องคุ้มครองมส. และคุ้มครองพระพุทธศาสนา
** "ไพบูลย์"ยันทำตามหน้าที่ สปช.
ด้านนายไพบูลย์ นิติตะวัน ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์ กิจการพระพุทธศาสนา สปช. กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เป็นสิทธิของผู้ที่เห็นต่างในการทำหน้าที่ของตน แต่ยืนยันว่า เป็นการทำหน้าที่ในฐานะสปช. ที่ได้รับมอบหมายรับผิดชอบศึกษา วิเคราะห์ปัญหาสำคัญของพุทธศาสนาในสังคมไทย ซึ่งเมื่อเห็นปัญหาแล้ว ก็จำเป็นที่ต้องเสนอให้แก้ไข และเป็นธรรมดาที่คนบางส่วน ย่อมมีผลกระทบต่อกลุ่มที่ได้ผลประโยชน์ และไม่อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเหล่านั้น หรือไม่ อย่างไร เป็นเรื่องที่สังคมต้องคิด
อย่างไรก็ตาม การจะให้ตนละเว้น ไม่ทำหน้าที่นั้น คงไม่ได้ รวมถึงการข่มขู่ใดๆ ก็ไม่มีผลให้การทำงานนี้ต้องสะดุดลง แต่อยากให้สังคมจับตามองว่า ผู้ที่ออกมาคัดค้านตน เป็นกลุ่มใด ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่ได้ประโยชน์จากสถานะทางสงฆ์ที่เป็นอยู่หรือไม่ ซึ่งมีส่วนที่ได้มาทั้ง ลาภ ยศ สรรเสริญ ที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น การคัดค้านเพื่อไม่ให้มีการเปิดเผย หรือให้มีกฎหมายที่จะมาตรวจสอบทรัพย์สินของวัดก็ย่อมสะท้อนทัศนคติได้แล้ว เพราะที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า ปัญหาหนึ่งของพระพุทธศาสนาในบ้านเราคือ การได้มาของทรัพย์สินที่วัด หรือพระไม่ต้องแสดงต่อสังคม จนเป็นช่องว่าง โดยอ้างว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ในการจะเปลี่ยนแปลงปิดช่องว่างให้ดีขึ้น ก็ย่อมสร้างความไม่พอใจในการปฏิรูป
เมื่อถามว่า บางฝ่ายระบุว่า กรรมการชุด นายไพบูลย์ ทำเช่นนี้ เป็นการทำให้สงฆ์แตกแยก แบ่งฝ่าย นายไพบูลย์ กล่าวว่า ต้องถามว่าใครกันแน่ ที่ทำให้คณะสงฆ์แตกแยก ยืนยันว่าไม่ใช่กรรมการชุดนี้แน่ เพราะเราแค่ศึกษาปมปัญหาที่เคยมีอยู่ และยังเกิดขึ้นอยู่ เมื่อเจอปัญหาก็ต้องแก้ไขให้ถูกต้อง และเรื่องสงฆ์แตกแยกก็เป็นปัญหาที่มีอยู่ก่อนแล้ว แต่พยายามปกปิดกันต่างหาก พอถูกยกปัญหาใหญ่เกี่ยวกับทรัพย์สินของวัด ที่ถูกนำมาใส่ชื่อของบุคคล ก็หันมาใช้ข้ออ้างเรื่องนี้ว่า ทำให้สงฆ์แตกแยก ทั้งที่ข้อเท็จจริงไม่มีความเกี่ยวเนื่องกัน แต่เป็นการฉวยโอกาสนำมาอ้างเพื่อบิดเบือนประเด็นในการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องเท่านั้น
" ขอให้ดูพระสงฆ์ส่วนใหญ่ ที่ไม่ได้เดือดร้อนใดๆ เลย เพราะท่านปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ หากมีความบริสุทธิ์ใจจริงและยึดมั่นในพระธรรมวินัย พระดีๆส่วนใหญ่ก็ไม่มีเห็นท่านใดเดือดร้อน เพราะรู้เจตนาว่า เราต้องการแก้ไขปัญหาเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน ไม่ได้ปกป้องบุคคลเป็นการเฉพาะ " นายไพบูลย์ กล่าว
**จี้ผอ.พศ.-โฆษก มส.แจงใครพูดจริงไม่จริง
"เท่าที่ติดตามข่าว ก็สับสน เพราะล่าสุด เลขาธิการ มส.( นายพนม ศรศิลป์ ผอ.สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือ พศ.) ออกมาระบุว่า ที่ประชุม มส. เมื่อวันที่ 20 ก.พ. ไม่มีการลงมติใดๆ เกี่ยวกับพระธัมมชโย โดยยังไม่ได้พิจารณาด้วยว่า ต้องปาราชิกหรือไม่ แต่อย่างใด ซึ่งขัดแย้งต่อคำแถลงของ พระพรหมเมธี กรรมการ และโฆษกพศ. ออกมาแถลงว่า พระธัมมชโย ยังไม่ขาดปาราชิก ขาดจากความเป็นภิกษุ เพราะได้มีการคืนทรัพย์สินทั้งหมดให้วัดแล้ว ไม่ถือเป็นการขัดต่อพระลิขิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วันที่ 26 เม.ย. 42แต่อย่างใด มันยิ่งสร้างความสับสนต่อสังคม แต่ขอตั้งข้อสังเกตว่า พระพรหมเมธี น่าจะเป็นตัวแทนมส. ในขณะที่ นายพนม เป็นเพียงเลขาฯ มส.เท่านั้น จึงเห็นควรที่จะชี้แจงต่อสังคมว่า ท่านใดที่พูดไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ในการประชุม มส. ทั้งที่เป็นเรื่องที่โฆษก มส.ที่เป็นพระภิกษุสงฆ์ออกมาแถลงเองทั้งสิ้น ทั้งนี้ตนได้ทำหนังสือไปถึง มส.เพื่อขอรายงานการประชุมล่าสุดมาศึกษารายละเอียดแล้ว"
**โยนผู้ตรวจฯ ดำเนินการมติมส.
นายไพบูลย์ ยังกล่าวถึง กรณีที่ที่คณะกรรมการฯ มีมติไม่เห็นด้วยกับมติมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 20 ก.พ.ว่า หลังจากนี้คณะกรรมการฯ คงไม่ดำเนินการอะไรกับมหาเถรสมาคม เพราะไม่ใช่หน้าที่ของเรา หน้าที่ของคณะกรรมการฯ มีเพียงศึกษากรณีที่เกิดขึ้นแล้วมีมติออกมาว่าไม่เห็นด้วยกับมหาเถรสมาคม ซึ่งขณะนี้การดำเนินการศึกษาของคณะกรรมการฯ ถือว่าจบแล้ว ส่วนการยื่นสอบมหาเถรสมาคม คงไม่ใช่หน้าที่ของคณะกรรมการฯ เนื่องจากมหาเถรสมาคมเป็นองค์กรของรัฐ ส่วนกรรมการเถรสมาคมเป็นเจ้าพนักงาน จึงเป็นหน้าที่ขององค์กรตรวจสอบ เท่าที่ทราบผู้ตรวจการแผ่นดิน บอกว่าอยู่ในอำนาจของเขา ซึ่งขณะนี้มีประชาชนไปร้องเรียนแล้ว
**ชง ปปง.อายัดบัญชีธัมมชโย-ธรรมกาย
นายไพบูลย์ กล่าวต่อว่า ส่วนการเชิญตัวแทนสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) มาชี้แจงการตรวจสอบเส้นทางทางการเงินของ พระธัมมชโย และ วัดพระธรรมกาย พบว่า มีข้อมูลหลายส่วนชี้ชัดว่า เส้นทางการเงินของพระธัมมชโย มีข้อสงสัยหลายจุด เลยขอให้ ปปง. เร่งอายัดบัญชีเงินของพระธัมมชโย และวัดพระธรรมกายไว้ก่อน จนกว่าการสอบสวนจะเสร็จสิ้น เพื่อปกป้องรักษาประโยชน์จากความเสียหายของผู้ที่ฝากเงินไว้กับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ที่เสียหายจำนวนมาก เพราะพบว่ายังมีเงินในบัญชีของพระธัมมชโยอีกกว่า 300 ล้านบาท และมีเงินในชื่อวัดพระธรรมกายอีกกว่า 400 ล้านบาท
**ชี้ชัดธัมมชโย ปาราชิกไปแล้ว
นายปรีชา สุวรรณทัต อดีต คณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า เรื่องธัมมชโย ปาราชิก หรือไม่นี้ เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2542 เมื่อ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงมีหนังสือทีเรียกว่า "พระลิขิต" ออกมาถึง 3 ฉบับ ต่อเนื่องกัน หนึ่งในสามฉบับนั้น ลงวันที่ 26 เม.ย. 42 ชี้ชัดว่า พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ต้องอาบัติปาราชิก พ้นจากความเป็นสมณะโดยอัตโนมัติ
ทั้งนี้ ความตอนหนึ่งในพระลิขิต ระบุว่า "แต่เมื่อถึงอย่างไรก็ไม่ยอมมอบคืนสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระให้แก่วัด ก็แสดงชัดแจ้งว่าต้องอาบัติปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสมณะโดยอัตโนมัติ ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด เช่นเดียวกับผู้ไม่ใช่พระปลอมเป็นพระ ด้วยการนำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง ทำความเศร้าหมองเสื่อมเสียให้เกิดแก่สงฆ์ในพระพุทธศาสนา"
นายปรีชา กล่าวว่า การที่พระไม่ยอมคืนทรัพย์ของวัด ให้กับวัด ถือเป็นการยักยอกทรัพย์ของวัด เป็นของตนเอง ผิดพระธรรมวินัยว่าด้วยการลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อมีเจตนายักยอก เถยจิตเป็นโจร เท่ากับเจตนาทุจริต ขาดจากความเป็นพระทันที เป็นไปโดยอัตโนมัติตั้งแต่วินาทีนั้นเลย ไม่ต้องมีการสึกใดๆทั้งสิ้น นี่คือหลักใหญ่ของพระลิขิต ของสมเด็จพระสังฆราช
อย่างไรก็ดี ตลอดมามีกระบวนการไม่ปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช ขณะเดียวกัน ก็มีการดำเนินคดีพระธัมมชโย ตามประมวลกฎหมายอาญา โดยอัยการในสมัยนั้น ยื่นฟ้องต่อศาลในข้อหายักยอกทรัพย์วัดพระธรรมกาย คดีก็ดำเนินมาเรื่อยๆ กระทั่งใกล้วันที่ศาลตัดสิน ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จู่ๆ อัยการก็ถอนฟ้องคดีนี้ โดยอ้างว่า พระธัมมชโย คืนทรัพย์สิน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ดินให้กับวัดแล้ว ทำให้คดีอาญายุติ
จากนั้นเรื่องก็เงียบหายไป กระทั่งมีการรื้อฟื้นขึ้นมาเมื่อเร็วๆ นี้ และเรื่องก็ถูกเสนอเข้าที่ประชุม มส. ปรากฏว่า มส.ได้มีมติออกมาว่า เมื่อพระธัมมชโย ได้คืนทรัพย์ให้กับวัดแล้ว และอัยการได้ถอนฟ้องคดีแล้ว จึงเป็นเหตุ ไม่ปาราชิก
" ทั้งหมดคือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมา ส่วนข้อกฎหมาย เหตุปาราชิกนั้น เป็นตามพระธรรมวินัย เป็นไปตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติไว้เป็นวินัยของสมณะ จึงถือว่าสูงสุด มีศักดิ์สูงกว่ากฎหมายทั่วๆ ไป แม้แต่รัฐธรรมนูญ พระธรรมวินัยก็มีศักดิ์สูงกว่า "
"ฉะนั้นการเป็นเหตุให้อาบัติปาราชิก จึงเป็นไปตามพระธรรมวินัย ไม่เกี่ยวกับกฎหมายของบ้านเมือง เป็นคนละเหตุกัน ไม่ใช่นำคดีอาญาที่ยุติแล้วมาอ้าง แม้จะคืนทรัพย์สมบัติให้กับวัด อัยการถอนฟ้อง ก็เป็นเพียงคดีอาญาในทางโลก ไม่มีผลลบล้างเหตุปาราชิก เพราะปาราชิก เป็นไปตามพระธรรมวินัย เป็น 'อกาลิโก' ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ บัญญัติไว้อย่างไร ก็เป็นไปอย่างนั้น กฎหมายของบ้านเมืองจะมาบัญญัติให้เลิกปาราชิก ก็ทำไม่ได้"
** ซัด มส.บิดเบือนพระธรรมวินัย
นายปรีชา กล่าวต่อว่า ตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 15 ตรี บัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ มหาเถรสมาคม(มส.) ใน (4) ระบุว่า มส. มีหน้าที่รักษาพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา ขณะที่ วรรค 2 ของมาตราเดียวกัน บัญญัติว่า มติของ มส. ต้องไม่ขัดกับกฎหมาย และพระธรรมวินัย
"ฉะนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า พระธรรมวินัยสูงกว่ากฎหมาย มส. ที่มีมติข้างมากว่า พระธัมมชโย ไม่ปาราชิก จึงขัดกับพระธรรมวินัย เพราะพระธัมมชโย ปาราชิกไปแล้วเมื่อปี 2542 การมีมติว่าไม่ปาราชิก เท่ากับขัดแย้งบิดเบือนพระธรรมวินัย "
นอกจากนี้ ยังมีข้อกฎหมายที่น่าสนใจ และเกี่ยวข้องกับกรณีนี้อีกประเด็นหนึ่ง คือ เจ้าอาวาสทุกวัด และกรรมการ มส. ถือเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา) ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ มาตรา 45 ที่บัญญัติว่า ให้ถือว่าพระภิกษุ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์ และไวยาวัจกร (ผู้ดูแลรักษาทรัพย์สมบัติของวัด) เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
** มส.เข้าข่ายผิดอาญา ม.157
ด้วยเหตุนี้ เมื่อเจ้าอาวาส เจ้าคณะทุกระดับ และกรรมการ มส. เป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อาญา ย่อมมีฐานะพิเศษตาม ป.อาญาด้วย กล่าวคือหากกระทำผิดอาญา จะมีโทษหนักกว่าบุคคลธรรมดา สมมติบุคคลธรรมดายักยอกทรัพย์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี แต่ถ้าเป็นเจ้าพนักงานยักยอก จะมีโทษหนักขึ้น ฉะนั้นพระธัมมชโย และ มส. ที่ได้มีการละเมิดพระธรรมวินัย มีมติให้พระธัมมชโย ไม่ขาดจากการเป็นพระ จึงถือว่าผิดกฎหมายอาญา อาจเข้าข่ายเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ได้ด้วยเหมือนกัน
"เป็นที่น่าสังเกตว่ามติ มส.ไม่มีการระบุว่าเสียงข้างมากมีกี่เสียง และเสียงข้างน้อยมีกี่เสียง ซึ่งหากเปิดเผยจะได้ทราบว่าพระรูปใดลงมติให้พระธัมมชโย พ้นมลทินบ้าง เนื่องจากมีพระหลายรูปที่เป็นพระผู้ใหญ่ มีส่วนได้เสียในวัดพระธรรมกาย" อาจารย์ปรีชา ระบุ
** ชี้ช่องฟ้องศาลปกครอง ล้มมติ มส.
ส่วนกรณีที่มีบางฝ่ายอ้างว่า มติ มส.ถือเป็นที่สุด ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้แล้วนั้น นายปรีชา กล่าวว่า มติ มส.เป็นไปตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ฉะนั้นมติ มส. จึงถือเป็นคำสั่งทางปกครองอย่างหนึ่ง เพราะไม่ใช่พระธรรมวินัย แต่เป็นคำสั่งตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ ซึ่งถือได้ว่า เป็นคำสั่งทางปกครอง สามารถนำคำสั่งไปฟ้องต่อศาลปกครองได้ ซึ่งเรื่องนี้ ตนได้หารือกับนักกฎหมายอาวุโสหลายท่าน ก็ได้รับการยืนยันว่า เรื่องนี้ไปศาลปกครองได้
ในประเด็นที่มีผู้โต้แย้งว่า ใครเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยว่า พระรูปใดต้องอาบัติ ปาราชิก ถือเป็นอำนาจของสมเด็จพระสังฆราช หรือไม่ ประเด็นนี้ นายปรีชา อธิบายว่า พระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช มีการอ้างว่าปลอมบ้าง และบ้างก็อ้างว่า สมเด็จพระสังฆราชสั่งไม่ได้ เรื่องเหตุปาราชิก แท้จริงแล้ว ในพระลิขิตทั้ง 3 ฉบับ สมเด็จพระสังฆราช ทรงอ้างหลักพระธรรมวินัยว่า พระธัมมชโย มีเหตุปาราชิก ท่านไม่ได้สั่งเอง
"เมื่อปาราชิกแล้ว พระรูปนั้นก็ถูกสึกโดยอัตโนมัติ ไม่สามารถครองจีวรเป็นพระได้ การที่ยังครองจีวรอยู่ นำพระไปเดินธุดงค์ เข้าข่ายผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 ผู้ใดแต่งกาย หรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นภิกษุในศาสนาโดยมิชอบ เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นบุคคลเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ " นายปรีชา กล่าว
วานนี้ (24 ก.พ.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. แถลงภายหลังการประชุมร่วมระหว่างครม.และคสช. ถึงกรณีความขัดแย้งทางศาสนา ภายหลังจากมหาเถรสมาคมพิจารณาความเป็น ปาราชิกของพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายว่า เรื่องดังกล่าวขอให้แยกคำว่า อาณาจักร ซึ่งหมายถึงประชาชนคนไทย และศาสนจักร ซึ่งหมายถึง พระสงฆ์องค์เจ้า ออกจากกัน โดยแต่ละองค์กร มีกฎหมายคุ้มครองอยู่แล้ว ซึ่งในส่วนของพระ ก็มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องและพ.ร.บ.หลายฉบับ ก็ต้องว่ากันตามกระบวนการดังกล่าว จะผิดหรือถูก เราไม่ควรไปยุ่งในส่วนนั้น ให้เป็นเรื่องของการปกครองคณะสงฆ์ ซึ่งบางอย่างที่มีการตัดสินไปแล้ว สิ่งที่เราสามารถทำได้คือต้องไปดูแลด้านกฎหมาย เรื่องคดีอาญา คดีทุจริต หรือกฎหมายการเงิน โดยกรณีดังกล่าว ตนได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบการทุจริตในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนว่า มีส่วนโยงใยกับใครอย่างไร
เมื่อถามว่า จะมีการเร่งรัดในเรื่องคดีความการทุจริตในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนใช่ หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ไม่ได้เร่งรัด ต้องตรวจสอบตามกระบวนการ ทำไมต้องเร่งรัดทุกอย่าง ไม่ทันใจหรืออย่างไร แล้วเรื่องพวกนี้รัฐบาลที่ผ่านมาได้ดำเนินการอย่างไรบ้าง โกงตั้งแต่สมัยใด ทำไมไม่ไปเร่งรัดเขาแบบนี้บ้าง เห็นชื่นชมกันดีนัก ครั้งหน้าก็ขอให้เร่งรัดรัฐบาลใหม่แบบนี้ด้วย และหวังว่าคงได้รัฐบาลใหม่ที่ดี เพราะหากไม่ดี จะเลือกกันมาทำไม
" อย่าให้ไปก้าวล่วงกันมากนักเลย เดี๋ยวมันจะเกิดปัญหา ทุกคนก็เป็นไทยพุทธ หลายคนนับถือทางโน้นบ้าง ทางนี้บ้าง ขึ้นอยู่กับความเชื่อ แต่หากมีคำสอนผิด คำสอนถูก ผมจะให้กระทรวงวัฒนธรรมไปทบทวนว่า คำสอนไหนถูกหรือผิด และต้องให้คณะสงฆ์พิจารณากันด้วย อะไรเป็นเรื่องของพระ ก็ต้องให้พระแก้ไข เพราะไม่ใช่มีแค่เรื่องพระอย่างเดียว แต่ยังมีกลุ่มคนที่นับถือศรัทธาอีกเป็นล้านๆ คน เราจึงไม่อยากให้ประชาชนมาขัดแย้งกันด้วยเรื่องศาสนา" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
เมื่อถามว่าพระผู้ใหญ่บางรูป ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน แล้วมาแสดงออกทางสาธารณะ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เราก็ต้องฟังอย่างมีสติ การนับถือพระนั้น ไม่มีใครบังคับเราได้ หากคิดว่าองค์ใดไม่ดี ไม่น่าศรัทธา เราก็ไม่เคารพ ก็ปล่อยท่านไป ท่านมีองค์กรของท่าน หากไม่ดูแล องค์กรก็จะเสียหายเอง หากเราจะไปก้าวก่ายทุกเรื่อง คงไม่ได้ จะเสียหาย เพราะมีคนกราบไหว้กันอยู่
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อถึงกรณีที่กลุ่มพระสงฆ์ ยื่นหนังสือคัดค้านการปฏิรูปศาสนาว่า "ขณะนี้ยังไม่มีการปฏิรูป แต่เป็นเรื่องที่ สปช. คิดขึ้นมา ยังไม่มีผลในทางปฏิบัติ สปช. มีหน้าที่ปฏิรูป จะปฏิรูปอะไรก็เรื่องของเขา แต่ตนยังไม่อนุมัติอะไรเลย ใครพูดอะไรออกมาก็อย่าไปฟังมากมายนัก ขออย่าเอาเรื่องอื่นมาพันกัน เรื่องทุจริตก็สอบต่อไปไม่ใช่มีเรื่องทุตจริต แล้วศาสนาต้องล่มสลายไป หากทุกอย่างสลายไปหมดให้ตนมาฟื้นทุกอย่างจะทำไหวหรือไม่ เพราะคนก็จะแห่กันออกมาต่อสู้ทุกเรื่อง แล้วบอกว่า คสช. ต้องทำให้ได้หมดทุกเรื่อง ทำไมท่านไม่รู้จักลดลาวาศอกกันบ้าง
เมื่อถามต่อว่า เกรงว่าเรื่องพระจะกลายเป็นเรื่องการเมืองหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า อย่ามาถามแบบนี้ ตนก็ได้พูดไปแล้วว่า อย่าให้ประชาชนเดือดร้อน อย่ามาถูกปลุกปั่นเดินขบวน หรือทำอะไรผิดกฎหมาย เมื่อถามต่อว่ากฎอัยการศึกจะควบคุม รวมถึงพระสงฆ์ด้วยหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า "ไม่รู้ คำถามนี้ไม่เกิดประโยชน์ จะคุมพระ คุมเจ้า คุมบ้าคุมบออะไร "
** ยันในรัฐบาลไม่มีศิษย์หลวงปู่ฯ
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง และรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณี หลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. คัดค้านมติมหาเถรสมาคมว่า พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ไม่ต้องอาบัติปาราชิก พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการตรวจสอบ รื้อคดีของวัดพระธรรมกาย ขึ้นมาพิจารณาใหม่ ว่า เรื่องดังกล่าวต้องว่ากันไปตามกฎหมาย และทางมหาเถรสมาคม เราอย่าไปยุ่งกับท่าน เพราะเราไม่ได้เป็นคนบริหาร
เมื่อถามว่า มีคนมองว่าผู้ใหญ่ในรัฐบาลเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่พุทธะอิสระ หลายคน อาจจะเกิดความไม่เป็นกลางได้ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า "ไม่มีครับ ในรัฐบาลไม่มี ให้เป็นเรื่องของพระ ผมไม่อยากพูดมาก และให้เป็นเรื่องของกฎหมาย และมหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นอย่างไรก็ต้องว่ากันไป ส่วนที่เกรงว่าเรื่องของพระ จะกลายเป็นเรื่องการเมือง ก็คงต้องไปคุยกับพระดูมั้ง ผมไม่ค่อยถนัดด้วย"
เมื่อถามว่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ส่งผู้แทนไปยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ให้ยกเลิกการตั้งคณะปฏิรูปศาสนาภายใน15 วัน หากไม่ยกเลิกการปฎิรูปศาสนา จะมีการออกมาเคลื่อนไหวนั้น จะผิดกฎอัยการศึกหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า"จะเคลื่อนไหวไม่ได้ ต้องเรียนว่า ท่านต้องคุยกัน ท่านเป็นพระ แต่ทั้งนี้เชื่อว่า การเคลื่อนไหวของพระคงไม่ทำจนถึงขั้นผิดกฎอัยการศึก อย่าเพิ่งไปถามล่วงหน้า ส่วนที่มีการเกรงว่า หลวงปู่พุทธะอิสระ ออกมาแล้วลูกศิษย์ก็จะออกมาเคลื่อนไหวด้วยนั้น จะเคลื่อนไหวไม่ได้ พระต้องไปคุยกับพระ ลูกศิษย์จะไปยุ่งได้อย่างไร ตามความคิดของผม เป็นเรื่องของพระ กฎหมาย และเถรสมาคมที่จะต้องไปคุยกันที่ทำให้สงบๆ และขอให้รัฐบาลได้ทำงาน" รองนายกฯ กล่าว
** "วิษณุ"มีคำตอบ"พระลิขิต-พระบัญชา"แล้ว
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลัง พศ. เข้าชี้แจงข้อขัดแย้งมติ มส.ว่า มติ มส.วันที่ 20 ก.พ. เป็นเพียงรับทราบการรายงาน กมธ.สปช. ที่เรียก พศ. ไปสอบถามเรื่องวัดพระธรรมกาย และมีมติตั้งกรรมการขึ้นมา 1 ชุด ประกอบด้วยพระสงฆ์ 4 รูป ฆารวาส 2 คน รวมเป็น 6 คนขึ้นมา เพื่อไปตรวจสอบรวบรวมศึกษาเรื่องนี้ แล้วกลับมารายงาน มส.ต่อไป วันนั้นไม่ได้มีมติใดๆ เรื่องอาบัติปาราชิก งานนี้ มส.เลยถูกด่าฟรีไป และ มส.กำลังจะประชุมเพื่อรับทราบมติ วันที่ 20 ก.พ. ซึ่งวันนั้นจะมีการแถลงข่าวชี้แจง
เมื่อถามว่า กรณีพระลิขิต กับพระบัญชา แตกต่างกันอย่างไร นายวิษณุ กล่าวว่า มีคำตอบเรื่องนี้แล้ว แต่เวลานี้ยังไม่สมควรพูด ขอไปตรวจสอบให้ชัดเจนก่อน แต่เห็นพระลิขิตทั้ง 5 ฉบับแล้ว เรื่องนี้ในที่สุดต้องทำให้ถูก ระมัดระวัง อย่าเร่งรัด เพราะไม่อย่างนั้นจะถูกมองว่า มวยล้มต้มคนดู
** ลิ่วล้อนะจ๊ะจี้ยุบกก.ปฏิรูปฯชุดไพบูลย์
เมื่อเวลา 09.45 น. วานนี้ (24 ก.พ.) ที่รัฐสภา เครือข่ายองค์กรชาวพุทธแห่งประเทศไทย นำโดย พระเมธีธรรมาจารย์ ประธานสงฆ์ฆสามัคคี และ นายเสถียร วิพรมหา รักษาการนายกสมาคมนักวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนา เข้ายื่นหนังสือต่อ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ผ่านเจ้าหน้าที่ ขอให้ยุบเลิกคำสั่ง สปช. ในการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่มี นายไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นประธาน โดยพระเมธีธรรมาจารย์ กล่าวว่า การกำหนดให้คณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจในการวิเคราะห์ประเด็นสำคัญของพุทธศาสนาเพื่อกำหนดแนวทางปฏิรูปโครงสร้างกิจการพระพุทธศาสนา เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ปรากฎว่า กรรมการฯชุดนี้แสดงออกถึงพฤติกรรมที่ขัดแย้งต่อหน้าที่ โดยเฉพาะนายไพบูลย์ มีพฤติกรรมล่วงละเมิดต่อเถรสมาคม (มส.) ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของ พระสุวิทย์ ธีรธมฺโม หรือ หลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม ดังนั้น ขอให้ สปช.ยุบคณะกรรมการชุดนี้ภายใน 15 วัน ไม่เช่นนั้นทางเครือข่ายฯ จำเป็นต้องออกเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องคุ้มครองมส. และคุ้มครองพระพุทธศาสนา
** "ไพบูลย์"ยันทำตามหน้าที่ สปช.
ด้านนายไพบูลย์ นิติตะวัน ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์ กิจการพระพุทธศาสนา สปช. กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เป็นสิทธิของผู้ที่เห็นต่างในการทำหน้าที่ของตน แต่ยืนยันว่า เป็นการทำหน้าที่ในฐานะสปช. ที่ได้รับมอบหมายรับผิดชอบศึกษา วิเคราะห์ปัญหาสำคัญของพุทธศาสนาในสังคมไทย ซึ่งเมื่อเห็นปัญหาแล้ว ก็จำเป็นที่ต้องเสนอให้แก้ไข และเป็นธรรมดาที่คนบางส่วน ย่อมมีผลกระทบต่อกลุ่มที่ได้ผลประโยชน์ และไม่อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเหล่านั้น หรือไม่ อย่างไร เป็นเรื่องที่สังคมต้องคิด
อย่างไรก็ตาม การจะให้ตนละเว้น ไม่ทำหน้าที่นั้น คงไม่ได้ รวมถึงการข่มขู่ใดๆ ก็ไม่มีผลให้การทำงานนี้ต้องสะดุดลง แต่อยากให้สังคมจับตามองว่า ผู้ที่ออกมาคัดค้านตน เป็นกลุ่มใด ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่ได้ประโยชน์จากสถานะทางสงฆ์ที่เป็นอยู่หรือไม่ ซึ่งมีส่วนที่ได้มาทั้ง ลาภ ยศ สรรเสริญ ที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น การคัดค้านเพื่อไม่ให้มีการเปิดเผย หรือให้มีกฎหมายที่จะมาตรวจสอบทรัพย์สินของวัดก็ย่อมสะท้อนทัศนคติได้แล้ว เพราะที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า ปัญหาหนึ่งของพระพุทธศาสนาในบ้านเราคือ การได้มาของทรัพย์สินที่วัด หรือพระไม่ต้องแสดงต่อสังคม จนเป็นช่องว่าง โดยอ้างว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ในการจะเปลี่ยนแปลงปิดช่องว่างให้ดีขึ้น ก็ย่อมสร้างความไม่พอใจในการปฏิรูป
เมื่อถามว่า บางฝ่ายระบุว่า กรรมการชุด นายไพบูลย์ ทำเช่นนี้ เป็นการทำให้สงฆ์แตกแยก แบ่งฝ่าย นายไพบูลย์ กล่าวว่า ต้องถามว่าใครกันแน่ ที่ทำให้คณะสงฆ์แตกแยก ยืนยันว่าไม่ใช่กรรมการชุดนี้แน่ เพราะเราแค่ศึกษาปมปัญหาที่เคยมีอยู่ และยังเกิดขึ้นอยู่ เมื่อเจอปัญหาก็ต้องแก้ไขให้ถูกต้อง และเรื่องสงฆ์แตกแยกก็เป็นปัญหาที่มีอยู่ก่อนแล้ว แต่พยายามปกปิดกันต่างหาก พอถูกยกปัญหาใหญ่เกี่ยวกับทรัพย์สินของวัด ที่ถูกนำมาใส่ชื่อของบุคคล ก็หันมาใช้ข้ออ้างเรื่องนี้ว่า ทำให้สงฆ์แตกแยก ทั้งที่ข้อเท็จจริงไม่มีความเกี่ยวเนื่องกัน แต่เป็นการฉวยโอกาสนำมาอ้างเพื่อบิดเบือนประเด็นในการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องเท่านั้น
" ขอให้ดูพระสงฆ์ส่วนใหญ่ ที่ไม่ได้เดือดร้อนใดๆ เลย เพราะท่านปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ หากมีความบริสุทธิ์ใจจริงและยึดมั่นในพระธรรมวินัย พระดีๆส่วนใหญ่ก็ไม่มีเห็นท่านใดเดือดร้อน เพราะรู้เจตนาว่า เราต้องการแก้ไขปัญหาเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน ไม่ได้ปกป้องบุคคลเป็นการเฉพาะ " นายไพบูลย์ กล่าว
**จี้ผอ.พศ.-โฆษก มส.แจงใครพูดจริงไม่จริง
"เท่าที่ติดตามข่าว ก็สับสน เพราะล่าสุด เลขาธิการ มส.( นายพนม ศรศิลป์ ผอ.สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือ พศ.) ออกมาระบุว่า ที่ประชุม มส. เมื่อวันที่ 20 ก.พ. ไม่มีการลงมติใดๆ เกี่ยวกับพระธัมมชโย โดยยังไม่ได้พิจารณาด้วยว่า ต้องปาราชิกหรือไม่ แต่อย่างใด ซึ่งขัดแย้งต่อคำแถลงของ พระพรหมเมธี กรรมการ และโฆษกพศ. ออกมาแถลงว่า พระธัมมชโย ยังไม่ขาดปาราชิก ขาดจากความเป็นภิกษุ เพราะได้มีการคืนทรัพย์สินทั้งหมดให้วัดแล้ว ไม่ถือเป็นการขัดต่อพระลิขิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วันที่ 26 เม.ย. 42แต่อย่างใด มันยิ่งสร้างความสับสนต่อสังคม แต่ขอตั้งข้อสังเกตว่า พระพรหมเมธี น่าจะเป็นตัวแทนมส. ในขณะที่ นายพนม เป็นเพียงเลขาฯ มส.เท่านั้น จึงเห็นควรที่จะชี้แจงต่อสังคมว่า ท่านใดที่พูดไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ในการประชุม มส. ทั้งที่เป็นเรื่องที่โฆษก มส.ที่เป็นพระภิกษุสงฆ์ออกมาแถลงเองทั้งสิ้น ทั้งนี้ตนได้ทำหนังสือไปถึง มส.เพื่อขอรายงานการประชุมล่าสุดมาศึกษารายละเอียดแล้ว"
**โยนผู้ตรวจฯ ดำเนินการมติมส.
นายไพบูลย์ ยังกล่าวถึง กรณีที่ที่คณะกรรมการฯ มีมติไม่เห็นด้วยกับมติมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 20 ก.พ.ว่า หลังจากนี้คณะกรรมการฯ คงไม่ดำเนินการอะไรกับมหาเถรสมาคม เพราะไม่ใช่หน้าที่ของเรา หน้าที่ของคณะกรรมการฯ มีเพียงศึกษากรณีที่เกิดขึ้นแล้วมีมติออกมาว่าไม่เห็นด้วยกับมหาเถรสมาคม ซึ่งขณะนี้การดำเนินการศึกษาของคณะกรรมการฯ ถือว่าจบแล้ว ส่วนการยื่นสอบมหาเถรสมาคม คงไม่ใช่หน้าที่ของคณะกรรมการฯ เนื่องจากมหาเถรสมาคมเป็นองค์กรของรัฐ ส่วนกรรมการเถรสมาคมเป็นเจ้าพนักงาน จึงเป็นหน้าที่ขององค์กรตรวจสอบ เท่าที่ทราบผู้ตรวจการแผ่นดิน บอกว่าอยู่ในอำนาจของเขา ซึ่งขณะนี้มีประชาชนไปร้องเรียนแล้ว
**ชง ปปง.อายัดบัญชีธัมมชโย-ธรรมกาย
นายไพบูลย์ กล่าวต่อว่า ส่วนการเชิญตัวแทนสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) มาชี้แจงการตรวจสอบเส้นทางทางการเงินของ พระธัมมชโย และ วัดพระธรรมกาย พบว่า มีข้อมูลหลายส่วนชี้ชัดว่า เส้นทางการเงินของพระธัมมชโย มีข้อสงสัยหลายจุด เลยขอให้ ปปง. เร่งอายัดบัญชีเงินของพระธัมมชโย และวัดพระธรรมกายไว้ก่อน จนกว่าการสอบสวนจะเสร็จสิ้น เพื่อปกป้องรักษาประโยชน์จากความเสียหายของผู้ที่ฝากเงินไว้กับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ที่เสียหายจำนวนมาก เพราะพบว่ายังมีเงินในบัญชีของพระธัมมชโยอีกกว่า 300 ล้านบาท และมีเงินในชื่อวัดพระธรรมกายอีกกว่า 400 ล้านบาท
**ชี้ชัดธัมมชโย ปาราชิกไปแล้ว
นายปรีชา สุวรรณทัต อดีต คณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า เรื่องธัมมชโย ปาราชิก หรือไม่นี้ เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2542 เมื่อ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงมีหนังสือทีเรียกว่า "พระลิขิต" ออกมาถึง 3 ฉบับ ต่อเนื่องกัน หนึ่งในสามฉบับนั้น ลงวันที่ 26 เม.ย. 42 ชี้ชัดว่า พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ต้องอาบัติปาราชิก พ้นจากความเป็นสมณะโดยอัตโนมัติ
ทั้งนี้ ความตอนหนึ่งในพระลิขิต ระบุว่า "แต่เมื่อถึงอย่างไรก็ไม่ยอมมอบคืนสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระให้แก่วัด ก็แสดงชัดแจ้งว่าต้องอาบัติปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสมณะโดยอัตโนมัติ ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด เช่นเดียวกับผู้ไม่ใช่พระปลอมเป็นพระ ด้วยการนำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง ทำความเศร้าหมองเสื่อมเสียให้เกิดแก่สงฆ์ในพระพุทธศาสนา"
นายปรีชา กล่าวว่า การที่พระไม่ยอมคืนทรัพย์ของวัด ให้กับวัด ถือเป็นการยักยอกทรัพย์ของวัด เป็นของตนเอง ผิดพระธรรมวินัยว่าด้วยการลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อมีเจตนายักยอก เถยจิตเป็นโจร เท่ากับเจตนาทุจริต ขาดจากความเป็นพระทันที เป็นไปโดยอัตโนมัติตั้งแต่วินาทีนั้นเลย ไม่ต้องมีการสึกใดๆทั้งสิ้น นี่คือหลักใหญ่ของพระลิขิต ของสมเด็จพระสังฆราช
อย่างไรก็ดี ตลอดมามีกระบวนการไม่ปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช ขณะเดียวกัน ก็มีการดำเนินคดีพระธัมมชโย ตามประมวลกฎหมายอาญา โดยอัยการในสมัยนั้น ยื่นฟ้องต่อศาลในข้อหายักยอกทรัพย์วัดพระธรรมกาย คดีก็ดำเนินมาเรื่อยๆ กระทั่งใกล้วันที่ศาลตัดสิน ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จู่ๆ อัยการก็ถอนฟ้องคดีนี้ โดยอ้างว่า พระธัมมชโย คืนทรัพย์สิน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ดินให้กับวัดแล้ว ทำให้คดีอาญายุติ
จากนั้นเรื่องก็เงียบหายไป กระทั่งมีการรื้อฟื้นขึ้นมาเมื่อเร็วๆ นี้ และเรื่องก็ถูกเสนอเข้าที่ประชุม มส. ปรากฏว่า มส.ได้มีมติออกมาว่า เมื่อพระธัมมชโย ได้คืนทรัพย์ให้กับวัดแล้ว และอัยการได้ถอนฟ้องคดีแล้ว จึงเป็นเหตุ ไม่ปาราชิก
" ทั้งหมดคือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมา ส่วนข้อกฎหมาย เหตุปาราชิกนั้น เป็นตามพระธรรมวินัย เป็นไปตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติไว้เป็นวินัยของสมณะ จึงถือว่าสูงสุด มีศักดิ์สูงกว่ากฎหมายทั่วๆ ไป แม้แต่รัฐธรรมนูญ พระธรรมวินัยก็มีศักดิ์สูงกว่า "
"ฉะนั้นการเป็นเหตุให้อาบัติปาราชิก จึงเป็นไปตามพระธรรมวินัย ไม่เกี่ยวกับกฎหมายของบ้านเมือง เป็นคนละเหตุกัน ไม่ใช่นำคดีอาญาที่ยุติแล้วมาอ้าง แม้จะคืนทรัพย์สมบัติให้กับวัด อัยการถอนฟ้อง ก็เป็นเพียงคดีอาญาในทางโลก ไม่มีผลลบล้างเหตุปาราชิก เพราะปาราชิก เป็นไปตามพระธรรมวินัย เป็น 'อกาลิโก' ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ บัญญัติไว้อย่างไร ก็เป็นไปอย่างนั้น กฎหมายของบ้านเมืองจะมาบัญญัติให้เลิกปาราชิก ก็ทำไม่ได้"
** ซัด มส.บิดเบือนพระธรรมวินัย
นายปรีชา กล่าวต่อว่า ตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 15 ตรี บัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ มหาเถรสมาคม(มส.) ใน (4) ระบุว่า มส. มีหน้าที่รักษาพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา ขณะที่ วรรค 2 ของมาตราเดียวกัน บัญญัติว่า มติของ มส. ต้องไม่ขัดกับกฎหมาย และพระธรรมวินัย
"ฉะนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า พระธรรมวินัยสูงกว่ากฎหมาย มส. ที่มีมติข้างมากว่า พระธัมมชโย ไม่ปาราชิก จึงขัดกับพระธรรมวินัย เพราะพระธัมมชโย ปาราชิกไปแล้วเมื่อปี 2542 การมีมติว่าไม่ปาราชิก เท่ากับขัดแย้งบิดเบือนพระธรรมวินัย "
นอกจากนี้ ยังมีข้อกฎหมายที่น่าสนใจ และเกี่ยวข้องกับกรณีนี้อีกประเด็นหนึ่ง คือ เจ้าอาวาสทุกวัด และกรรมการ มส. ถือเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา) ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ มาตรา 45 ที่บัญญัติว่า ให้ถือว่าพระภิกษุ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์ และไวยาวัจกร (ผู้ดูแลรักษาทรัพย์สมบัติของวัด) เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
** มส.เข้าข่ายผิดอาญา ม.157
ด้วยเหตุนี้ เมื่อเจ้าอาวาส เจ้าคณะทุกระดับ และกรรมการ มส. เป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อาญา ย่อมมีฐานะพิเศษตาม ป.อาญาด้วย กล่าวคือหากกระทำผิดอาญา จะมีโทษหนักกว่าบุคคลธรรมดา สมมติบุคคลธรรมดายักยอกทรัพย์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี แต่ถ้าเป็นเจ้าพนักงานยักยอก จะมีโทษหนักขึ้น ฉะนั้นพระธัมมชโย และ มส. ที่ได้มีการละเมิดพระธรรมวินัย มีมติให้พระธัมมชโย ไม่ขาดจากการเป็นพระ จึงถือว่าผิดกฎหมายอาญา อาจเข้าข่ายเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ได้ด้วยเหมือนกัน
"เป็นที่น่าสังเกตว่ามติ มส.ไม่มีการระบุว่าเสียงข้างมากมีกี่เสียง และเสียงข้างน้อยมีกี่เสียง ซึ่งหากเปิดเผยจะได้ทราบว่าพระรูปใดลงมติให้พระธัมมชโย พ้นมลทินบ้าง เนื่องจากมีพระหลายรูปที่เป็นพระผู้ใหญ่ มีส่วนได้เสียในวัดพระธรรมกาย" อาจารย์ปรีชา ระบุ
** ชี้ช่องฟ้องศาลปกครอง ล้มมติ มส.
ส่วนกรณีที่มีบางฝ่ายอ้างว่า มติ มส.ถือเป็นที่สุด ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้แล้วนั้น นายปรีชา กล่าวว่า มติ มส.เป็นไปตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ฉะนั้นมติ มส. จึงถือเป็นคำสั่งทางปกครองอย่างหนึ่ง เพราะไม่ใช่พระธรรมวินัย แต่เป็นคำสั่งตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ ซึ่งถือได้ว่า เป็นคำสั่งทางปกครอง สามารถนำคำสั่งไปฟ้องต่อศาลปกครองได้ ซึ่งเรื่องนี้ ตนได้หารือกับนักกฎหมายอาวุโสหลายท่าน ก็ได้รับการยืนยันว่า เรื่องนี้ไปศาลปกครองได้
ในประเด็นที่มีผู้โต้แย้งว่า ใครเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยว่า พระรูปใดต้องอาบัติ ปาราชิก ถือเป็นอำนาจของสมเด็จพระสังฆราช หรือไม่ ประเด็นนี้ นายปรีชา อธิบายว่า พระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช มีการอ้างว่าปลอมบ้าง และบ้างก็อ้างว่า สมเด็จพระสังฆราชสั่งไม่ได้ เรื่องเหตุปาราชิก แท้จริงแล้ว ในพระลิขิตทั้ง 3 ฉบับ สมเด็จพระสังฆราช ทรงอ้างหลักพระธรรมวินัยว่า พระธัมมชโย มีเหตุปาราชิก ท่านไม่ได้สั่งเอง
"เมื่อปาราชิกแล้ว พระรูปนั้นก็ถูกสึกโดยอัตโนมัติ ไม่สามารถครองจีวรเป็นพระได้ การที่ยังครองจีวรอยู่ นำพระไปเดินธุดงค์ เข้าข่ายผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 ผู้ใดแต่งกาย หรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นภิกษุในศาสนาโดยมิชอบ เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นบุคคลเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ " นายปรีชา กล่าว