“ประยุทธ์” ไม่ฟันธงเดินหน้าสัมปทานปิโตรเลียม บอกให้รอผลสรุป คกก.ร่วมภาครัฐ-ปชช. “หม่อมปนัดดา” คาด 2 วันนี้รู้ตัวใครเป็น กก.บ้าง เผยฝ่ายการเมืองไม่ขอมีเอี่ยว ย้ำก่อน 16 มี.ค.ต้องมีข้อสรุป “ไก่อู” วอนมวลชนเข้าใจฝ่ายรัฐ เบรกอย่าเคลื่อนไหว หวั่นเป็นชนวนขัดแย้งรอบใหม่ คปพ.เตรียม 4 รายชื่อประกวด “ประสงค์-รสนา-กรกสิวัฒน์-ปานเทพ” ลั่นจำนวนคนต้องเท่ากัน หลังได้ยินข่าวรัฐเล็งดึงฝ่ายวิชาการเพิ่ม ก.พลังงานเผยฐานะกองทุนน้ำมันฯทะลุ 3.1 หมื่นล้านบาท
วานนี้ (23 ก.พ.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงเวทีกลางแสดงความคิดเห็น กรณีการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 เมื่อวันที่ 20 ก.พ.ที่ผ่านมาว่า ขอให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อคุยกัน อย่ามาถามก่อน ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบว่ามีรูปแบบเช่นไร จะต้องรอให้ฝ่ายเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้นำเรื่องเข้าที่ประชุม
ผู้สื่อข่าวถามว่า การตั้งคณะกรรมการร่วมต้องรวบรวมความเห็นทั้งหมดให้ได้ก่อนวันที่ 16 มี.ค.แล้วจึงส่งให้นายกฯเป็นผู้ตัดสินใจอีกครั้งหนึ่งใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เขาสรุปมาว่าจะหารือร่วมกัน จะร่วมมือหรือเดินหน้าสัมปทานได้อย่างไร แต่ตนจะเป็นคนตัดสินใจเอง ทำได้ก็ทำ ทำไม่ได้ก็รับผิดชอบเอาแล้วกัน
เมื่อถามย้ำว่าผลสรุปความคิดเห็นควรจะต้องได้ก่อนวันที่ 16 มี.ค.ใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า “ก่อนสิ มันต้องเปิดซองอีก”
เมื่อถามต่อว่า หมายความว่าจะเดินหน้าต่อใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ไม่รู้ จะเปิดหรือจะปิดหรือจะเลิก ก็ไม่รู้ รอสิ"
** เผยฝ่ายการเมืองไม่ขอร่วม
ขณะที่ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งกรณีการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ว่า นายกฯได้มอบหมายให้สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เป็นต้นเรื่องในการเชิญผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม และอำนวยการให้มีการประชุมหารือเพื่อให้ได้ข้อยุติ โดยขณะนี้ยังไม่มีการส่งหนังสือเชิญบุคคลต่างๆมาเป็นคณะกรรมการ แต่มีการตั้งกรอบไว้โดยสังเขปแล้ว คาดว่าภายใน 1 - 2 วันนี้จะทราบว่า จะมีใครบ้าง โดยการพิจารณาก็ใช้กรอบเดียวกับงานเสวนารับฟังความคิดเห็นเมื่อวันที่ 20 ก.พ.ที่ผ่านมานำมาสู่การปฏิบัติ โดยฝ่ายการเมืองไม่ต้องการที่เข้ามาเป็นคณะกรรมการฯ จึงต้องพิจารณาว่า มีใครอีกที่เป็นกลาง และรักษาผลประโยชน์ของทั้งภาครัฐและประชาชนได้ ทั้งนี้ต้องชัดเจนก่อนวันที่ 16 มี.ค. ซึ่งเป็นวันครบกำหนดการขยายระยะเวลายื่นเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21
** ไม่จำเป็นต้องฟังคนเห็นต่าง
ด้าน พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะกรรมการร่วมฯชุดนี้จะมีประมาณ 10 คน ไม่เกิน 15 คน ประกอบด้วย ตัวแทนกระทรวงพลังงาน กลุ่มผู้เห็นต่าง กลุ่มนักวิชาการ นักกฎหมาย เพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งกันและกันอย่างครบถ้วน เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจว่า จะดำเนินการต่อไปอย่างไร ตามกรอบภายในวันที่ 16 มี.ค. เพื่อให้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจ ส่วนประธานคณะกรรมการจะมีหรือไม่มีถือว่าไม่สำคัญ เพราะไม่ได้มีอำนาจในการตัดสินใจ ทั้งนี้หวังว่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสม ซึ่งรัฐบาลใจกว้างเปิดรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายมาโดยตลอด แต่ไม่ได้หมายความว่า เราต้องปฏิบัติตามความคิดเห็นของผู้เห็นต่างในทุกกรณี เพราะต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่มีอยู่ในเรื่องความมั่นคงทางพลังงาน ความเชื่อมั่นของนักลงทุนด้วย
“ขอยืนยันว่ารัฐบาลไม่มีธงที่จะเดินหน้าใดๆเกี่ยวกับการเปิดสัมปทานพลังงาน แต่จะรอข้อสรุปจากคณะกรรมการเสียก่อน แต่กระบวนการในการจัดสรรพลังงานเป็นอำนาจในการบริหารของรัฐบาล” พล.ต.สรรเสริญ กล่าว
** เบรกมวลชนอย่าก่อหวอด
เมื่อถามต่อว่า นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ตัวแทนเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ออกมาระบุว่า หากมีการเปิดสัมปทานเมื่อใด ก็จะนำมวลชนออกมาคัดค้านทันที พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า คงทำเช่นนั้นไม่ได้ เราต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมาบ้านเรามีปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งเกิดจากความคิดที่ต่างกัน แต่ก็สามารถเสนอข้อมูลเหตุผลและอธิบายความกันได้ เหมือนที่เราจัดเวทีวันที่ 20 ก.พ.ที่ผ่านมา แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องยอมรับการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐ เข้าใจในเหตุผลของฝ่ายบริหาร แต่ถ้าคิดว่าไม่เป็นไปตามอย่างที่ตัวเองตั้งใจ แล้วจะเคลื่อนไหวชุมนุม ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งรอบใหม่ ซึ่งรัฐบาลคงยอมไม่ได้ ขณะเดียวกันที่ผ่านมา รัฐบาลและ คสช.พยายามบริหารจัดการเรื่องราวต่างๆอย่างแนบเนียนที่สุด โดยใช้ทั้งเหตุและผลควบคู่กัน พยายามทำความเข้าใจกับทุกกลุ่มมาโดยตลอด เรื่องเล็กเราก็อะลุ่มอล่วยให้
“เรื่องที่จะส่งผลให้เกิดความขัดแย้งบานปลายในวันหน้า คงไม่สามารถยอมรับได้ ต้องว่ากันไปตามกฎหมาย และเชื่อว่าสื่อมวลชน และประชาชนจะเข้าใจในความลำบากในการบริหารงานของ คสช.และรัฐบาล” พล.ต.สรรเสริญ กล่าว
** ภาค ปชช.เตรียม 4 รายชื่อร่วมวง
อีกด้าน ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี แกนนำ คปพ. เปิดเผยว่า ภาคประชาชนฯได้สรุปรายชื่อที่จะส่งเข้าร่วมคณะทำงาน 2 ฝ่ายเพื่อหาทางแก้ไขกฏหมายและแก้ไขปัญหาร่วมกันในการเดินหน้าสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ไว้เบื้องต้น 4 คนได้แก่ ตน ที่เหลืออีก 3 ประกอบด้วย น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีต รมว.กระทรวงต่างประเทศ น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) และนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ แกนนำ คปพ. โดยคาดว่าจะมีการหารือวันที่ 26 ก.พ.นี้ ซึ่งเบื้องต้นได้เตรียมไว้ 4 คน แต่สิ่งที่เรายืนยันคือว่าจะต้องมีจำนวนที่เท่ากัน หากมีฝ่ายวิชาการเข้ามาเพิ่มก็เห็นว่าไม่เป็นธรรม และประเด็นที่ต้องการสรุปคือวันที่ 16 มี.ค.นี้จะเป็นวันสิ้นสุดที่รัฐให้เอกชนยื่นสิทธิ์สำรวจปิโตรเลียมไปก่อนหรือจะให้แก้กฏหมายก่อนเท่านั้น ที่ต้องการคำตอบ
ขนะที่ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง กล่าวว่า ตนไม่ได้ร่วมกับคณะทำงานสองฝ่าย เนื่องจากส่วนตัวได้นำเสนอเรื่องทางวิชาการทุกอย่างครบถ้วนแล้ว
** ฝ่ายรัฐส่ง “ไกรฤทธิ์-มนูญ” ร่วม
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงานเปิดเผยว่า ขณะนี้ทางฝ่ายรัฐกำลังพิจารณาตัวบุคคลที่จะไปหารือร่วมกับฝ่ายเครือข่ายภาคประชาชน โดยรายชื่อที่แน่นอนคือ นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา กรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และนายมนูญ ศิริวรรณ สมาชิก สปช. ส่วนรายชื่ออื่นๆ กำลังพิจารณา
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า สำหรับข้อเสนอของเครือข่ายภาคประชาชนปฏิรูปพลังงานไทยที่ต้องการให้นำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีฐานะล่าสุดสูงถึง 3.1 หมื่นล้านบาทมาทำการสำรวจศักยภาพแหล่งผลิตปิโตรเลียมนั้นตามวัตถุประสงค์ของกองทุนน้ำมันฯไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะกฏหมายไม่ได้ระบุให้นำไปใช้เพื่อการลงทุน จะเห็นว่าแม้ที่ผ่านมาเคยมีการนำเสนอเรื่องการไปสร้างคลังน้ำมันโดยรัฐก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้
** กองทุนน้ำมันฯทะลุ3.1หมื่นลบ.
ขณะที่ นายชวลิต พิชาลัย ผู้อำนวยการสำนักนโยบายพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีฐานะสุทธิ 31,474 ล้านบาทเมื่อเทียบกับปีก่อนที่ยังมีฐานะติดลบ ทั้งนี้เนื่องจากผลพวงที่ระดับราคาน้ำมันตลาดโลกช่วงปลายปีจนถึงขณะนี้มีทิศทางอ่อนค่าลงมาทำให้การบริหารจัดเก็บได้มากขึ้น ประกอบกับส่วนหนึ่งมีการลอยตัวราคาก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี) ทำให้ลดเงินอุดหนุนราคาลงไปได้อีก ภาพรวมจึงมีเงินไหลเข้าล่าสุดเฉลี่ย7,513 ล้านบาท
วานนี้ (23 ก.พ.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงเวทีกลางแสดงความคิดเห็น กรณีการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 เมื่อวันที่ 20 ก.พ.ที่ผ่านมาว่า ขอให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อคุยกัน อย่ามาถามก่อน ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบว่ามีรูปแบบเช่นไร จะต้องรอให้ฝ่ายเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้นำเรื่องเข้าที่ประชุม
ผู้สื่อข่าวถามว่า การตั้งคณะกรรมการร่วมต้องรวบรวมความเห็นทั้งหมดให้ได้ก่อนวันที่ 16 มี.ค.แล้วจึงส่งให้นายกฯเป็นผู้ตัดสินใจอีกครั้งหนึ่งใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เขาสรุปมาว่าจะหารือร่วมกัน จะร่วมมือหรือเดินหน้าสัมปทานได้อย่างไร แต่ตนจะเป็นคนตัดสินใจเอง ทำได้ก็ทำ ทำไม่ได้ก็รับผิดชอบเอาแล้วกัน
เมื่อถามย้ำว่าผลสรุปความคิดเห็นควรจะต้องได้ก่อนวันที่ 16 มี.ค.ใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า “ก่อนสิ มันต้องเปิดซองอีก”
เมื่อถามต่อว่า หมายความว่าจะเดินหน้าต่อใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ไม่รู้ จะเปิดหรือจะปิดหรือจะเลิก ก็ไม่รู้ รอสิ"
** เผยฝ่ายการเมืองไม่ขอร่วม
ขณะที่ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งกรณีการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ว่า นายกฯได้มอบหมายให้สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เป็นต้นเรื่องในการเชิญผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม และอำนวยการให้มีการประชุมหารือเพื่อให้ได้ข้อยุติ โดยขณะนี้ยังไม่มีการส่งหนังสือเชิญบุคคลต่างๆมาเป็นคณะกรรมการ แต่มีการตั้งกรอบไว้โดยสังเขปแล้ว คาดว่าภายใน 1 - 2 วันนี้จะทราบว่า จะมีใครบ้าง โดยการพิจารณาก็ใช้กรอบเดียวกับงานเสวนารับฟังความคิดเห็นเมื่อวันที่ 20 ก.พ.ที่ผ่านมานำมาสู่การปฏิบัติ โดยฝ่ายการเมืองไม่ต้องการที่เข้ามาเป็นคณะกรรมการฯ จึงต้องพิจารณาว่า มีใครอีกที่เป็นกลาง และรักษาผลประโยชน์ของทั้งภาครัฐและประชาชนได้ ทั้งนี้ต้องชัดเจนก่อนวันที่ 16 มี.ค. ซึ่งเป็นวันครบกำหนดการขยายระยะเวลายื่นเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21
** ไม่จำเป็นต้องฟังคนเห็นต่าง
ด้าน พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะกรรมการร่วมฯชุดนี้จะมีประมาณ 10 คน ไม่เกิน 15 คน ประกอบด้วย ตัวแทนกระทรวงพลังงาน กลุ่มผู้เห็นต่าง กลุ่มนักวิชาการ นักกฎหมาย เพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งกันและกันอย่างครบถ้วน เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจว่า จะดำเนินการต่อไปอย่างไร ตามกรอบภายในวันที่ 16 มี.ค. เพื่อให้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจ ส่วนประธานคณะกรรมการจะมีหรือไม่มีถือว่าไม่สำคัญ เพราะไม่ได้มีอำนาจในการตัดสินใจ ทั้งนี้หวังว่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสม ซึ่งรัฐบาลใจกว้างเปิดรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายมาโดยตลอด แต่ไม่ได้หมายความว่า เราต้องปฏิบัติตามความคิดเห็นของผู้เห็นต่างในทุกกรณี เพราะต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่มีอยู่ในเรื่องความมั่นคงทางพลังงาน ความเชื่อมั่นของนักลงทุนด้วย
“ขอยืนยันว่ารัฐบาลไม่มีธงที่จะเดินหน้าใดๆเกี่ยวกับการเปิดสัมปทานพลังงาน แต่จะรอข้อสรุปจากคณะกรรมการเสียก่อน แต่กระบวนการในการจัดสรรพลังงานเป็นอำนาจในการบริหารของรัฐบาล” พล.ต.สรรเสริญ กล่าว
** เบรกมวลชนอย่าก่อหวอด
เมื่อถามต่อว่า นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ตัวแทนเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ออกมาระบุว่า หากมีการเปิดสัมปทานเมื่อใด ก็จะนำมวลชนออกมาคัดค้านทันที พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า คงทำเช่นนั้นไม่ได้ เราต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมาบ้านเรามีปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งเกิดจากความคิดที่ต่างกัน แต่ก็สามารถเสนอข้อมูลเหตุผลและอธิบายความกันได้ เหมือนที่เราจัดเวทีวันที่ 20 ก.พ.ที่ผ่านมา แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องยอมรับการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐ เข้าใจในเหตุผลของฝ่ายบริหาร แต่ถ้าคิดว่าไม่เป็นไปตามอย่างที่ตัวเองตั้งใจ แล้วจะเคลื่อนไหวชุมนุม ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งรอบใหม่ ซึ่งรัฐบาลคงยอมไม่ได้ ขณะเดียวกันที่ผ่านมา รัฐบาลและ คสช.พยายามบริหารจัดการเรื่องราวต่างๆอย่างแนบเนียนที่สุด โดยใช้ทั้งเหตุและผลควบคู่กัน พยายามทำความเข้าใจกับทุกกลุ่มมาโดยตลอด เรื่องเล็กเราก็อะลุ่มอล่วยให้
“เรื่องที่จะส่งผลให้เกิดความขัดแย้งบานปลายในวันหน้า คงไม่สามารถยอมรับได้ ต้องว่ากันไปตามกฎหมาย และเชื่อว่าสื่อมวลชน และประชาชนจะเข้าใจในความลำบากในการบริหารงานของ คสช.และรัฐบาล” พล.ต.สรรเสริญ กล่าว
** ภาค ปชช.เตรียม 4 รายชื่อร่วมวง
อีกด้าน ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี แกนนำ คปพ. เปิดเผยว่า ภาคประชาชนฯได้สรุปรายชื่อที่จะส่งเข้าร่วมคณะทำงาน 2 ฝ่ายเพื่อหาทางแก้ไขกฏหมายและแก้ไขปัญหาร่วมกันในการเดินหน้าสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ไว้เบื้องต้น 4 คนได้แก่ ตน ที่เหลืออีก 3 ประกอบด้วย น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีต รมว.กระทรวงต่างประเทศ น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) และนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ แกนนำ คปพ. โดยคาดว่าจะมีการหารือวันที่ 26 ก.พ.นี้ ซึ่งเบื้องต้นได้เตรียมไว้ 4 คน แต่สิ่งที่เรายืนยันคือว่าจะต้องมีจำนวนที่เท่ากัน หากมีฝ่ายวิชาการเข้ามาเพิ่มก็เห็นว่าไม่เป็นธรรม และประเด็นที่ต้องการสรุปคือวันที่ 16 มี.ค.นี้จะเป็นวันสิ้นสุดที่รัฐให้เอกชนยื่นสิทธิ์สำรวจปิโตรเลียมไปก่อนหรือจะให้แก้กฏหมายก่อนเท่านั้น ที่ต้องการคำตอบ
ขนะที่ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง กล่าวว่า ตนไม่ได้ร่วมกับคณะทำงานสองฝ่าย เนื่องจากส่วนตัวได้นำเสนอเรื่องทางวิชาการทุกอย่างครบถ้วนแล้ว
** ฝ่ายรัฐส่ง “ไกรฤทธิ์-มนูญ” ร่วม
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงานเปิดเผยว่า ขณะนี้ทางฝ่ายรัฐกำลังพิจารณาตัวบุคคลที่จะไปหารือร่วมกับฝ่ายเครือข่ายภาคประชาชน โดยรายชื่อที่แน่นอนคือ นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา กรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และนายมนูญ ศิริวรรณ สมาชิก สปช. ส่วนรายชื่ออื่นๆ กำลังพิจารณา
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า สำหรับข้อเสนอของเครือข่ายภาคประชาชนปฏิรูปพลังงานไทยที่ต้องการให้นำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีฐานะล่าสุดสูงถึง 3.1 หมื่นล้านบาทมาทำการสำรวจศักยภาพแหล่งผลิตปิโตรเลียมนั้นตามวัตถุประสงค์ของกองทุนน้ำมันฯไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะกฏหมายไม่ได้ระบุให้นำไปใช้เพื่อการลงทุน จะเห็นว่าแม้ที่ผ่านมาเคยมีการนำเสนอเรื่องการไปสร้างคลังน้ำมันโดยรัฐก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้
** กองทุนน้ำมันฯทะลุ3.1หมื่นลบ.
ขณะที่ นายชวลิต พิชาลัย ผู้อำนวยการสำนักนโยบายพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีฐานะสุทธิ 31,474 ล้านบาทเมื่อเทียบกับปีก่อนที่ยังมีฐานะติดลบ ทั้งนี้เนื่องจากผลพวงที่ระดับราคาน้ำมันตลาดโลกช่วงปลายปีจนถึงขณะนี้มีทิศทางอ่อนค่าลงมาทำให้การบริหารจัดเก็บได้มากขึ้น ประกอบกับส่วนหนึ่งมีการลอยตัวราคาก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี) ทำให้ลดเงินอุดหนุนราคาลงไปได้อีก ภาพรวมจึงมีเงินไหลเข้าล่าสุดเฉลี่ย7,513 ล้านบาท