เชียงราย - ศาลฎีกายกฟ้องคดีเจ้าหน้าที่ป่าไม้ฟ้องหนังสือพิมพ์ผู้จัดการช่วงชุมนุมพันธมิตรฯ หมิ่นประมาท อ้างข้อเท็จจริงป่าเชียงรายถูกออกโฉนดทับ แถมคนดีถูกย้ายพ้นพื้นที่ กระทำในฐานะสื่อมวลชนที่นำเสนอข่าวสารอันจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ถือเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม
วานนี้ (17 ก.พ.) ที่ศาลจังหวัดเชียงราย ศาลฎีกาอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีที่ 1211/2557 นายเก่งกาจ ศรีหาสาร อดีตหัวหน้าหน่วยปรับปรุงต้นน้ำแม่สลอง กรมป่าไม้ (ปี 2532) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมอีก 5 คนคือ นายขุนทอง ลอเสรีวานิช นายสุวัฒน์ ทองธนากุล นายมรุธัช รัตนปรารมย์ นายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ และนายวิรัตน์ แสงทองคำ ฐานหมิ่นประมาท ความผิดต่อ พ.ร.บ.การพิมพ์ ภายหลังตีพิมพ์ข่าวเกี่ยวกับนายเก่งกาจเมื่อปี 2550 ที่ผ่านมาว่าโจทก์กับข้าราชการกรมป่าไม้อาศัยอำนาจหน้าที่ตัดไม้ทำลายป่าในโครงการพระราชดำริ ออกโฉนดที่ดินทับพื้นที่ปลูกป่าของหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สลอง จ.เชียงราย เป็นการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้ และการควบคุมป่าไม้ โดยโจทก์เป็นผู้ชี้แนวเขตให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดทับพื้นที่แปลงปลูกป่าของหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สลอง และยังเป็นผู้นำเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ มาก่อกวน มีการจุดประทัดขนาดใหญ่ ทำให้ประชาชนที่เข้าฟังรายการของนายสนธิ ลิ้มทองกุล จัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรที่สวนลุมพินี ได้รับบาดเจ็บ
นายเก่งกาจ เห็นว่าได้รับความเสียหาย จึงขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญาตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ และห้ามจำเลยประกอบอาชีพหนังสือพิมพ์เป็นเวลา 5 ปี และให้พิมพ์คำพิพากษาลงในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน 5 ครั้งคนละวันกัน รวมทั้งให้ยึดและทำลายหนังสือพิมพ์ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 8 พ.ย.2550
คดีนี้ศาลชั้นต้นได้ไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูลเฉพาะจำเลยที่ 1 และ 2 และจำเลยให้การปฏิเสธ กระทั่งต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้ว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ให้ลงโทษปรับเป็นเงิน 100,000 บาทและหากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 ให้โฆษณาคำพิพากษาย่อพอได้ใจความในหนังสือพิมพ์ 5 วัน
ครั้งนี้ศาลฎีการับฟังมีเนื้อหาว่า เมื่อปี 2532 นายเก่งกาจ รับราชการ ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด และจำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์และผู้โฆษณาของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ซึ่งได้เผยแพร่ข่าวว่ามีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนชุดใหม่ เรื่องมีข้าราชการกรมป่าไม้อาศัยอำนาจหน้าที่ตัดไม้ทำลายป่าในโครงการตามพระราชดำริเป็นพันไร่ โดยใช้วิธีออกโฉนดทับพื้นที่ปลูกป่าของหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สลอง จ.เชียงราย และมีการยุบกรรมการชุดเดิมที่สอบสวนเกือบเสร็จแล้วโดยขาดเพียงการพิสูจน์แผนที่ทางอากาศ ซึ่งกรณีนี้เกี่ยวข้องกับการจับไม้เถื่อนในป่าผืนเดียวกัน
เรื่องนี้ทางกองอำนวยการร่วมป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้และควบคุมไฟป่าได้สืบสวนสอบสวนได้ความว่ามีข้าราชการกลุ่มป่าไม้เดิมกลุ่มหนึ่งเป็นผู้กระทำ เมื่อออกโฉนดทับแล้วก็มีนายทุนเข้าไปขออนุญาตตัดไม้ในพื้นที่สวนป่าไปประมาณ 3,000 ไร่ ซึ่งช่วงนั้นนายเก่งกาจ เป็นหัวหน้าจัดการต้นน้ำแม่สลองใน และเป็นผู้ชี้แนวเขตให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดทับพื้นที่ดังกล่าวตามที่มีบริษัทนายทุนขอ คือ นายดำรงค์ พิเดช ซึ่งขณะนั้นเป็นป่าไม้จังหวัดเชียงราย
ต่อมานายดำรงค์ ได้เป็นอธิบดีกรมอุยานฯ ก็ได้ยุบกองอำนวยการร่วมป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้และควบคุมไฟป่าทันที และย้ายข้าราชการระดับบริหารอย่างไม่เป็นธรรมนับร้อยคนเพื่อให้การสืบสวนสอบสวนนี้ยุติ ต่อมานายดำรงค์ มีความก้าวหน้าในราชการอย่างรวดเร็ว ในยุคที่นายยงยุทธ ติยะไพรัช เป็น รมว.ทรัพยากรฯ โดยได้รับตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมอุทยานฯ ข้ามหัวข้าราชการอาวุโสจำนวนมาก ส่วนนายเก่งกาจ ได้เป็นข้าราชการซี 8 ภายใน 5 เดือน และเป็นผู้นำเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ มาก่อกวนการจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรของนายสนธิ ที่มีการจุดประทัดขนาดใหญ่ทำให้ประชาชนที่เข้าฟังได้รับบาดเจ็บ ซึ่งกรณีนี้จำเลยให้การว่าเป็นการแสดงความเห็นและข้อความโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม
ส่วนโจทก์ระบุว่า ปี 2532 และปี 2538 ไม่เคยนำเจ้าพนักงานที่ดินชี้แจงเขตเพื่อออกโฉนดทับพื้นที่ป่าต้นน้ำแม่สลองและไม่เคยตัดไม้ทำลายป่า ส่วนกรณีการจัดรายการของนายสนธิ เมื่อวันที่ 20 ม.ค.2549 มีกลุ่มคนไม่เห็นด้วยเข้าไปก่อกวนและจุดประทัดนั้น ไม่ได้นำเจ้าหน้าที่ไปก่อกวน
กรณีนี้จำเลยให้การว่า การนำเสนอข่าวนี้มีการลงพื้นที่ตรวจสอบ และมีเอกสารสอบสวนของกองอำนวยการร่วมป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้และควบคุมไฟป่าภาคเหนือยืนยันว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้น โดยระบุว่าปี 2532-2549 มีการออกโฉนดทับพื้นที่ป่าดังกล่าว และปี 2547 มีการตัดไม้สัก พบท่อนไม้มีตราประทับของเอกชน ทางสำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ 15 จึงตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาพบมีผู้บุกรุกตัดไม้และมีการนำหลักหมุดไปปักในสวนป่า
นายวรวิทย์ เชื้อสุวรรณ ผอ.สำนักบริหารจัดการฯในขณะนั้น เบิกความในคดีนี้ว่ามีการออกโฉนดทับพื้นที่ป่าดังกล่าว 49 แปลง เนื้อที่ 1,429 ไร่ แต่ยังไม่ได้ดำเนินคดีต่อผู้เกี่ยวข้อง ทางกองอำนวยการร่วมป้องกันและปราบปรามฯ ก็ถูกยุบไป ส่วนนายพิชัย ถิระศุภศรี ผอ.ส่วนยุทธการป้องกันและปราบปราม สำนักปราบปรามและควบคุมไฟป่าในขณะนั้น ซึ่งเคยเป็นประธานคณะกรรมการสวบสวนข้อเท็จจริงกรณีมีการออกโฉนดทับพื้นที่ป่า ระบุว่ามีการออกโฉนดทับจริงตั้งแต่ปี 2532 ขณะที่โจทก์ คือ นายเก่งกาจ เป็นหัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สลอง ระหว่างปี 2532-2538 พอดีจึงต้องรับผิดชอบด้วย
กรณีนี้จึงเห็นว่าการออกโฉนดทับพื้นที่ป่าต้นน้ำแม่สลองเป็นข้อเท็จจริง โดยทางราชการดำเนินการสอบสวนอย่างต่อเนื่อง ด้วยการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงถึง 2 ชุด ชุดแรกมีนายวรวิทย์เป็นผู้ดำเนินการ ก็พบมีการออกโฉนดทับป่าจำนวนมาก ชุดที่ 2 นายพิชัย ก็ระบุว่าผู้รับผิดชอบคือโจทก์ดังกล่าว ดังนั้น เป็นเรื่องที่ประชาชนมีสิทธิรับรู้ข่าวสารที่ถูกต้องแท้จริง การที่หนังสือพิมพ์ผู้จัดการนำเสนอนี้จึงไม่ใช่สร้างเรื่องขึ้นมาเอง แต่กระทำในฐานะสื่อมวลชนที่นำเสนอข่าวสารในบ้านเมืองให้ประชาชนได้รับทราบ อันจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ จึงถือเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม
ส่วนกรณีการเสนอข่าวกลุ่มชายฉกรรจ์ประมาณ 1,000 คนไปก่อกวนการปราศรัยของนายสนธิ ที่สวนลุมพินีนั้นปรากฏว่า ได้มีหนังสือพิมพ์รายวันหลายฉบับนำเสนอข่าวดังกล่าว โดยอ้างว่ามีเจ้าหน้าที่ป่าไม้ชุมนุมกันที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แล้วเดินทางไปยังสวนลุมพินี ต่อมามีชายฉกรรจ์ประมาณ 1,000 คนไปก่อกวนการปราศรัย มีประทัดระเบิดทำให้ผู้ที่เข้าฟังในขณะนั้นได้รับบาดเจ็บ กลุ่มผู้ฟังล้อมจับผู้ที่ชื่อว่านายสุทิพย์ กับโจทก์ คือนายเก่งกาจ ไว้ได้ แล้วพนักงานตำรวจควบคุมตัวทั้ง 2 คนไปนั้นเป็นการนำเสนอข่าวประกอบข่าวกรณีออกโฉนดทับพื้นที่ป่าต้นน้ำแม่สลอง ซึ่งโจทก์เกี่ยวข้องอยู่ด้วย
ศาลฎีกาจึงพิพากษาว่า จำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา 329 (3) ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 นั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา จึงให้ยกฟ้อง
วานนี้ (17 ก.พ.) ที่ศาลจังหวัดเชียงราย ศาลฎีกาอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีที่ 1211/2557 นายเก่งกาจ ศรีหาสาร อดีตหัวหน้าหน่วยปรับปรุงต้นน้ำแม่สลอง กรมป่าไม้ (ปี 2532) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมอีก 5 คนคือ นายขุนทอง ลอเสรีวานิช นายสุวัฒน์ ทองธนากุล นายมรุธัช รัตนปรารมย์ นายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ และนายวิรัตน์ แสงทองคำ ฐานหมิ่นประมาท ความผิดต่อ พ.ร.บ.การพิมพ์ ภายหลังตีพิมพ์ข่าวเกี่ยวกับนายเก่งกาจเมื่อปี 2550 ที่ผ่านมาว่าโจทก์กับข้าราชการกรมป่าไม้อาศัยอำนาจหน้าที่ตัดไม้ทำลายป่าในโครงการพระราชดำริ ออกโฉนดที่ดินทับพื้นที่ปลูกป่าของหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สลอง จ.เชียงราย เป็นการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้ และการควบคุมป่าไม้ โดยโจทก์เป็นผู้ชี้แนวเขตให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดทับพื้นที่แปลงปลูกป่าของหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สลอง และยังเป็นผู้นำเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ มาก่อกวน มีการจุดประทัดขนาดใหญ่ ทำให้ประชาชนที่เข้าฟังรายการของนายสนธิ ลิ้มทองกุล จัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรที่สวนลุมพินี ได้รับบาดเจ็บ
นายเก่งกาจ เห็นว่าได้รับความเสียหาย จึงขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญาตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ และห้ามจำเลยประกอบอาชีพหนังสือพิมพ์เป็นเวลา 5 ปี และให้พิมพ์คำพิพากษาลงในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน 5 ครั้งคนละวันกัน รวมทั้งให้ยึดและทำลายหนังสือพิมพ์ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 8 พ.ย.2550
คดีนี้ศาลชั้นต้นได้ไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูลเฉพาะจำเลยที่ 1 และ 2 และจำเลยให้การปฏิเสธ กระทั่งต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้ว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ให้ลงโทษปรับเป็นเงิน 100,000 บาทและหากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 ให้โฆษณาคำพิพากษาย่อพอได้ใจความในหนังสือพิมพ์ 5 วัน
ครั้งนี้ศาลฎีการับฟังมีเนื้อหาว่า เมื่อปี 2532 นายเก่งกาจ รับราชการ ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด และจำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์และผู้โฆษณาของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ซึ่งได้เผยแพร่ข่าวว่ามีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนชุดใหม่ เรื่องมีข้าราชการกรมป่าไม้อาศัยอำนาจหน้าที่ตัดไม้ทำลายป่าในโครงการตามพระราชดำริเป็นพันไร่ โดยใช้วิธีออกโฉนดทับพื้นที่ปลูกป่าของหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สลอง จ.เชียงราย และมีการยุบกรรมการชุดเดิมที่สอบสวนเกือบเสร็จแล้วโดยขาดเพียงการพิสูจน์แผนที่ทางอากาศ ซึ่งกรณีนี้เกี่ยวข้องกับการจับไม้เถื่อนในป่าผืนเดียวกัน
เรื่องนี้ทางกองอำนวยการร่วมป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้และควบคุมไฟป่าได้สืบสวนสอบสวนได้ความว่ามีข้าราชการกลุ่มป่าไม้เดิมกลุ่มหนึ่งเป็นผู้กระทำ เมื่อออกโฉนดทับแล้วก็มีนายทุนเข้าไปขออนุญาตตัดไม้ในพื้นที่สวนป่าไปประมาณ 3,000 ไร่ ซึ่งช่วงนั้นนายเก่งกาจ เป็นหัวหน้าจัดการต้นน้ำแม่สลองใน และเป็นผู้ชี้แนวเขตให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดทับพื้นที่ดังกล่าวตามที่มีบริษัทนายทุนขอ คือ นายดำรงค์ พิเดช ซึ่งขณะนั้นเป็นป่าไม้จังหวัดเชียงราย
ต่อมานายดำรงค์ ได้เป็นอธิบดีกรมอุยานฯ ก็ได้ยุบกองอำนวยการร่วมป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้และควบคุมไฟป่าทันที และย้ายข้าราชการระดับบริหารอย่างไม่เป็นธรรมนับร้อยคนเพื่อให้การสืบสวนสอบสวนนี้ยุติ ต่อมานายดำรงค์ มีความก้าวหน้าในราชการอย่างรวดเร็ว ในยุคที่นายยงยุทธ ติยะไพรัช เป็น รมว.ทรัพยากรฯ โดยได้รับตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมอุทยานฯ ข้ามหัวข้าราชการอาวุโสจำนวนมาก ส่วนนายเก่งกาจ ได้เป็นข้าราชการซี 8 ภายใน 5 เดือน และเป็นผู้นำเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ มาก่อกวนการจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรของนายสนธิ ที่มีการจุดประทัดขนาดใหญ่ทำให้ประชาชนที่เข้าฟังได้รับบาดเจ็บ ซึ่งกรณีนี้จำเลยให้การว่าเป็นการแสดงความเห็นและข้อความโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม
ส่วนโจทก์ระบุว่า ปี 2532 และปี 2538 ไม่เคยนำเจ้าพนักงานที่ดินชี้แจงเขตเพื่อออกโฉนดทับพื้นที่ป่าต้นน้ำแม่สลองและไม่เคยตัดไม้ทำลายป่า ส่วนกรณีการจัดรายการของนายสนธิ เมื่อวันที่ 20 ม.ค.2549 มีกลุ่มคนไม่เห็นด้วยเข้าไปก่อกวนและจุดประทัดนั้น ไม่ได้นำเจ้าหน้าที่ไปก่อกวน
กรณีนี้จำเลยให้การว่า การนำเสนอข่าวนี้มีการลงพื้นที่ตรวจสอบ และมีเอกสารสอบสวนของกองอำนวยการร่วมป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้และควบคุมไฟป่าภาคเหนือยืนยันว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้น โดยระบุว่าปี 2532-2549 มีการออกโฉนดทับพื้นที่ป่าดังกล่าว และปี 2547 มีการตัดไม้สัก พบท่อนไม้มีตราประทับของเอกชน ทางสำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ 15 จึงตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาพบมีผู้บุกรุกตัดไม้และมีการนำหลักหมุดไปปักในสวนป่า
นายวรวิทย์ เชื้อสุวรรณ ผอ.สำนักบริหารจัดการฯในขณะนั้น เบิกความในคดีนี้ว่ามีการออกโฉนดทับพื้นที่ป่าดังกล่าว 49 แปลง เนื้อที่ 1,429 ไร่ แต่ยังไม่ได้ดำเนินคดีต่อผู้เกี่ยวข้อง ทางกองอำนวยการร่วมป้องกันและปราบปรามฯ ก็ถูกยุบไป ส่วนนายพิชัย ถิระศุภศรี ผอ.ส่วนยุทธการป้องกันและปราบปราม สำนักปราบปรามและควบคุมไฟป่าในขณะนั้น ซึ่งเคยเป็นประธานคณะกรรมการสวบสวนข้อเท็จจริงกรณีมีการออกโฉนดทับพื้นที่ป่า ระบุว่ามีการออกโฉนดทับจริงตั้งแต่ปี 2532 ขณะที่โจทก์ คือ นายเก่งกาจ เป็นหัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สลอง ระหว่างปี 2532-2538 พอดีจึงต้องรับผิดชอบด้วย
กรณีนี้จึงเห็นว่าการออกโฉนดทับพื้นที่ป่าต้นน้ำแม่สลองเป็นข้อเท็จจริง โดยทางราชการดำเนินการสอบสวนอย่างต่อเนื่อง ด้วยการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงถึง 2 ชุด ชุดแรกมีนายวรวิทย์เป็นผู้ดำเนินการ ก็พบมีการออกโฉนดทับป่าจำนวนมาก ชุดที่ 2 นายพิชัย ก็ระบุว่าผู้รับผิดชอบคือโจทก์ดังกล่าว ดังนั้น เป็นเรื่องที่ประชาชนมีสิทธิรับรู้ข่าวสารที่ถูกต้องแท้จริง การที่หนังสือพิมพ์ผู้จัดการนำเสนอนี้จึงไม่ใช่สร้างเรื่องขึ้นมาเอง แต่กระทำในฐานะสื่อมวลชนที่นำเสนอข่าวสารในบ้านเมืองให้ประชาชนได้รับทราบ อันจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ จึงถือเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม
ส่วนกรณีการเสนอข่าวกลุ่มชายฉกรรจ์ประมาณ 1,000 คนไปก่อกวนการปราศรัยของนายสนธิ ที่สวนลุมพินีนั้นปรากฏว่า ได้มีหนังสือพิมพ์รายวันหลายฉบับนำเสนอข่าวดังกล่าว โดยอ้างว่ามีเจ้าหน้าที่ป่าไม้ชุมนุมกันที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แล้วเดินทางไปยังสวนลุมพินี ต่อมามีชายฉกรรจ์ประมาณ 1,000 คนไปก่อกวนการปราศรัย มีประทัดระเบิดทำให้ผู้ที่เข้าฟังในขณะนั้นได้รับบาดเจ็บ กลุ่มผู้ฟังล้อมจับผู้ที่ชื่อว่านายสุทิพย์ กับโจทก์ คือนายเก่งกาจ ไว้ได้ แล้วพนักงานตำรวจควบคุมตัวทั้ง 2 คนไปนั้นเป็นการนำเสนอข่าวประกอบข่าวกรณีออกโฉนดทับพื้นที่ป่าต้นน้ำแม่สลอง ซึ่งโจทก์เกี่ยวข้องอยู่ด้วย
ศาลฎีกาจึงพิพากษาว่า จำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา 329 (3) ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 นั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา จึงให้ยกฟ้อง