เอเจนซีส์ - หลังจากข่าวไทยหันไปจับมือกับจีนในการร่วมมือทางทหารมากขึ้น ล่าสุดวอชิงตันโพสต์ สื่อสหรัฐฯรายงานเมื่อวันที่ 7 ก.พ. แหล่งข่าวสหรัฐฯ ยืนยันว่า จะจัดส่งทหารอเมริกันจำนวน 3,600 นายเดินทางมาในสัปดาห์นี้เพื่อร่วมฝึกกับคอบบร้าโกลด์กองทัพไทยอย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าประเทศยังอยู่ภายใต้การบริหารโดยพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ที่ขึ้นสู่อำนาจจากการทำรัฐประหารในปีที่ผ่านมา
วอชิงตันโพสต์ รายงานเมื่อวานนี้(7) ว่า หลังจากเกิดการทำรัฐประหารในไทยในปีที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี บารัค โอบามา ได้หยุดให้ความช่วยเหลือทางทหารจำนวน 4.7 ล้านดอลลาร์ และโครงการแลกเปลี่ยนต่างๆกับไทย ซึ่งแม้จะย่างเข้าสู่ปี 2015 แต่ไทยยังอยู่ภายใต้กฎหมายควบคุมความมั่นคงทางทหาร และตัวรัฐบาลรักษาการที่อยู่ภายใต้การนำของบิ๊กตู่ดูเหมือนจะไม่ยอมให้ไทยกลับเข้าสู่โหมดการเลือกตั้งโดยเร็ว แต่กระนั้นทำเนียบขาวตัดสินใจให้สหรัฐฯยังคงส่งทหารร่วมฝึกคอบบร้าโกลด์ประจำปีกับกองทัพไทยต่อไปในปีนี้
สื่อสหรัฐฯรายงานว่า โครงการฝึกคอบบร้าโกลด์ถือเป็นการฝึกผสมนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งไทยและสหรัฐฯได้ฝึกร่วมกันในโครงการนี้มานานกว่า 30 ปีแล้ว ซึ่งการฝึกในปีนี้จะมีทหารจำนวน 13,000 คนจากประเทศในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกร่วม 12 ชาติ รวมไปถึง ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ เข้าร่วม โดยวอชิงตันลังเลที่จะถอนไทยออกจากการฝึกด้วยเกรงจะกระทบความสำพันธ์อันยาวนานทางทหารระหว่างทั้งสองชาติ โดยไทยเป็นพันธมิตรที่เก่าแก่ของสหรัฐฯเกือบ 2 ศตวรรษ และนอกจากนี้วอชิงตันเกรงว่า ผู้กุมบังเหียนของไทยในขณะนี้จะหันไปจับมือกับจีนมากขึ้น ซึ่งจะกระทบต่ออิทธิพลของสหรัฐฯในย่านเอเชียแปซิฟิก และในขณะเดียวกัน แหล่งข่าวสหรัฐฯเผยว่า วอชิงตันเกรงว่า อาจจะเป็นการส่งสัญญาณผิดให้เห็นว่า สหรัฐฯนั้นสนับสนุนการทำรัฐประหาร และหนุนหลังพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ซึ่งต่างจากในปีที่ผ่านมา เพนตากอนให้ความสำคัญน้อยมากกับการฝึกผสมคอบบร้าโกลด์ ที่จะเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 9 - 20 กุมภาพันธ์
ด้านเจฟรี พูล โฆษกเพนตากอนปฎิเสธที่จะตอบข้อสงสัยในเรื่องนี้ แต่ให้วอชิงตันโพสต์สอบถามสถานทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทยแทน
และในแถลงการณ์ของสถานทูตสหรัฐฯประจำไทย เมลิสซา สวีนีย์ (Melissa Sweeney) โฆษกสถานทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทยกล่าวว่า “เจ้าหน้าที่สหรัฐฯตัดสินใจที่จะยังคงดำเนินการฝึกผสมคอบบร้าโกลด์ต่อไป แต่ได้ปรับเปลี่ยนและจำกัดการฝึกในปี 2015 ลงอย่างมาก เนื่องจากเหตุการณ์ทำรัฐประหารในไทย” สวีนีย์ชี้ว่า ในปีนี้การฝึกจะเน้นหนักในการช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมมากขึ้น แต่การฝึกจู่โจมสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก หรือ amphibious landing exercise ได้ถูกยกเลิกไป แต่กระนั้นโฆษกสถานทูตสหรัฐฯประจำไทยยอมรับว่า มีการนำการฝึกยิงภาคสนามในสถานการณ์จริงมาแทน และนอกจากนี้ตัวเลขของทหารสหรัฐฯที่จะมาเข้าร่วมลดลงจาก 4,300 นายในปีที่ผ่านมา เหลือเพียงแค่ 3,600 นายที่จะเข้าร่วมในปีนี้
ซึ่งก่อนหน้านี้ เพนตากอนได้ป่าวประกาศการฝึกผสมคอบร้าโกลด์ ว่า เป็นความร่วมมือใกล้ชิดทางการทหารระหว่างสหรัฐฯและไทย มีการนำนักข่าวเข้าร่วมชมการฝึกในป่าลึก เพื่อฝึกให้เอาตัวรอดโดยมีครูจากกองทัพไทยนำชมสาทิตการดื่มเลือดจากงู และกินแมลงเพื่อประทังชีวิต
สวีนีย์ยังเผยว่า ในเดือนหน้า จะมีการฝึกผสมร่วมระหว่างสหรัฐฯและไทยภายใต้ชื่อ “Cope Tiger” ที่เป็นการฝึกผสมที่มีทหารป้องกันทางอากาศยานและบินรบหลายสิบหน่วยเข้าร่วม ซึ่งในเดือนมีนาคม ปี 2014 มีทหารสหรัฐฯจำนวน 160 คนเข้าร่วมฝึกที่กองบิน 1 นครราชสีมา ของกองทัพอากาศไทย และทหารอากาศสิงคโปร์เข้าร่วมฝึกด้วยเช่นกัน
วอชิงตันโพสต์รายงานต่อว่า หลังการทำรัฐประหารในไทย เพนตากอนพยายามที่จะรักษาระยะห่าง แต่จะไม่ด่วนตัดสัมพันธ์กับไทย ซึ่งพบว่าในเดือนที่ผ่านมา แดเนียล อาร์ รัสเซล (Daniel R. Russel) นักการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ ถือเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดจากรัฐบาลโอบามาเดินทางมายังไทยนับตั้งแต่เกิดการทำรัฐประหารในเดือนพฤษภาคม 2014 และในสุนทรพจน์ของรัสเซลเมื่อวันที่ 26 มกราคม ล่าสุด ตัวแทนสหรัฐฯได้กล่าวชื่นชมถึงความสัมพันธ์ที่ยาวนานของสองชาติ แต่กระนั้นรัสเซลได้กล่าวตำหนิถึงความไม่เป็นประชาธิปไตยหลายอย่างของไทย “ผมจะขอพูดตรงไปตรงมาว่า ในการที่ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งถูกทำให้หลุดจากอำนาจจากการทำรัฐประหาร และยังถูกยัดด้วยข้อกล่าวหาทางอาญา ซึ่งสิ่งนี้ทำให้สังคมนานาชาติเข้าใจได้ว่า เกิดมาจากแรงจูงใจทางการเมือง”
การวิจารณ์ของรัสเซลนี้ส่งผลให้รัฐบาลไทยต้องขอคำอธิบายอย่างเป็นทางการจากสถานทูตสหรัฐฯประจำกรุงเทพฯ และไม่กี่วันต่อจากนั้นพลเอกประยุทธได้ตอบโต้สหรัฐฯอย่างเผ็ดร้อน ด้วยการพบกับรัฐมนตรีกลาโหมของจีนที่กรุงเทพฯ พร้อมปรึกษาหารือความร่วมมือที่มากขึ้นทางทหารระหว่างสองชาติ พร้อมทั้งขอบคุณจีนที่เข้าใจสถานการณ์ทางการเมืองในไทย.
วอชิงตันโพสต์ รายงานเมื่อวานนี้(7) ว่า หลังจากเกิดการทำรัฐประหารในไทยในปีที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี บารัค โอบามา ได้หยุดให้ความช่วยเหลือทางทหารจำนวน 4.7 ล้านดอลลาร์ และโครงการแลกเปลี่ยนต่างๆกับไทย ซึ่งแม้จะย่างเข้าสู่ปี 2015 แต่ไทยยังอยู่ภายใต้กฎหมายควบคุมความมั่นคงทางทหาร และตัวรัฐบาลรักษาการที่อยู่ภายใต้การนำของบิ๊กตู่ดูเหมือนจะไม่ยอมให้ไทยกลับเข้าสู่โหมดการเลือกตั้งโดยเร็ว แต่กระนั้นทำเนียบขาวตัดสินใจให้สหรัฐฯยังคงส่งทหารร่วมฝึกคอบบร้าโกลด์ประจำปีกับกองทัพไทยต่อไปในปีนี้
สื่อสหรัฐฯรายงานว่า โครงการฝึกคอบบร้าโกลด์ถือเป็นการฝึกผสมนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งไทยและสหรัฐฯได้ฝึกร่วมกันในโครงการนี้มานานกว่า 30 ปีแล้ว ซึ่งการฝึกในปีนี้จะมีทหารจำนวน 13,000 คนจากประเทศในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกร่วม 12 ชาติ รวมไปถึง ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ เข้าร่วม โดยวอชิงตันลังเลที่จะถอนไทยออกจากการฝึกด้วยเกรงจะกระทบความสำพันธ์อันยาวนานทางทหารระหว่างทั้งสองชาติ โดยไทยเป็นพันธมิตรที่เก่าแก่ของสหรัฐฯเกือบ 2 ศตวรรษ และนอกจากนี้วอชิงตันเกรงว่า ผู้กุมบังเหียนของไทยในขณะนี้จะหันไปจับมือกับจีนมากขึ้น ซึ่งจะกระทบต่ออิทธิพลของสหรัฐฯในย่านเอเชียแปซิฟิก และในขณะเดียวกัน แหล่งข่าวสหรัฐฯเผยว่า วอชิงตันเกรงว่า อาจจะเป็นการส่งสัญญาณผิดให้เห็นว่า สหรัฐฯนั้นสนับสนุนการทำรัฐประหาร และหนุนหลังพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ซึ่งต่างจากในปีที่ผ่านมา เพนตากอนให้ความสำคัญน้อยมากกับการฝึกผสมคอบบร้าโกลด์ ที่จะเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 9 - 20 กุมภาพันธ์
ด้านเจฟรี พูล โฆษกเพนตากอนปฎิเสธที่จะตอบข้อสงสัยในเรื่องนี้ แต่ให้วอชิงตันโพสต์สอบถามสถานทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทยแทน
และในแถลงการณ์ของสถานทูตสหรัฐฯประจำไทย เมลิสซา สวีนีย์ (Melissa Sweeney) โฆษกสถานทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทยกล่าวว่า “เจ้าหน้าที่สหรัฐฯตัดสินใจที่จะยังคงดำเนินการฝึกผสมคอบบร้าโกลด์ต่อไป แต่ได้ปรับเปลี่ยนและจำกัดการฝึกในปี 2015 ลงอย่างมาก เนื่องจากเหตุการณ์ทำรัฐประหารในไทย” สวีนีย์ชี้ว่า ในปีนี้การฝึกจะเน้นหนักในการช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมมากขึ้น แต่การฝึกจู่โจมสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก หรือ amphibious landing exercise ได้ถูกยกเลิกไป แต่กระนั้นโฆษกสถานทูตสหรัฐฯประจำไทยยอมรับว่า มีการนำการฝึกยิงภาคสนามในสถานการณ์จริงมาแทน และนอกจากนี้ตัวเลขของทหารสหรัฐฯที่จะมาเข้าร่วมลดลงจาก 4,300 นายในปีที่ผ่านมา เหลือเพียงแค่ 3,600 นายที่จะเข้าร่วมในปีนี้
ซึ่งก่อนหน้านี้ เพนตากอนได้ป่าวประกาศการฝึกผสมคอบร้าโกลด์ ว่า เป็นความร่วมมือใกล้ชิดทางการทหารระหว่างสหรัฐฯและไทย มีการนำนักข่าวเข้าร่วมชมการฝึกในป่าลึก เพื่อฝึกให้เอาตัวรอดโดยมีครูจากกองทัพไทยนำชมสาทิตการดื่มเลือดจากงู และกินแมลงเพื่อประทังชีวิต
สวีนีย์ยังเผยว่า ในเดือนหน้า จะมีการฝึกผสมร่วมระหว่างสหรัฐฯและไทยภายใต้ชื่อ “Cope Tiger” ที่เป็นการฝึกผสมที่มีทหารป้องกันทางอากาศยานและบินรบหลายสิบหน่วยเข้าร่วม ซึ่งในเดือนมีนาคม ปี 2014 มีทหารสหรัฐฯจำนวน 160 คนเข้าร่วมฝึกที่กองบิน 1 นครราชสีมา ของกองทัพอากาศไทย และทหารอากาศสิงคโปร์เข้าร่วมฝึกด้วยเช่นกัน
วอชิงตันโพสต์รายงานต่อว่า หลังการทำรัฐประหารในไทย เพนตากอนพยายามที่จะรักษาระยะห่าง แต่จะไม่ด่วนตัดสัมพันธ์กับไทย ซึ่งพบว่าในเดือนที่ผ่านมา แดเนียล อาร์ รัสเซล (Daniel R. Russel) นักการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ ถือเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดจากรัฐบาลโอบามาเดินทางมายังไทยนับตั้งแต่เกิดการทำรัฐประหารในเดือนพฤษภาคม 2014 และในสุนทรพจน์ของรัสเซลเมื่อวันที่ 26 มกราคม ล่าสุด ตัวแทนสหรัฐฯได้กล่าวชื่นชมถึงความสัมพันธ์ที่ยาวนานของสองชาติ แต่กระนั้นรัสเซลได้กล่าวตำหนิถึงความไม่เป็นประชาธิปไตยหลายอย่างของไทย “ผมจะขอพูดตรงไปตรงมาว่า ในการที่ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งถูกทำให้หลุดจากอำนาจจากการทำรัฐประหาร และยังถูกยัดด้วยข้อกล่าวหาทางอาญา ซึ่งสิ่งนี้ทำให้สังคมนานาชาติเข้าใจได้ว่า เกิดมาจากแรงจูงใจทางการเมือง”
การวิจารณ์ของรัสเซลนี้ส่งผลให้รัฐบาลไทยต้องขอคำอธิบายอย่างเป็นทางการจากสถานทูตสหรัฐฯประจำกรุงเทพฯ และไม่กี่วันต่อจากนั้นพลเอกประยุทธได้ตอบโต้สหรัฐฯอย่างเผ็ดร้อน ด้วยการพบกับรัฐมนตรีกลาโหมของจีนที่กรุงเทพฯ พร้อมปรึกษาหารือความร่วมมือที่มากขึ้นทางทหารระหว่างสองชาติ พร้อมทั้งขอบคุณจีนที่เข้าใจสถานการณ์ทางการเมืองในไทย.