วานนี้ (8 ก.พ.) นายฉันทวิทย์ เทียมรัตนานนท์ เลขาธิการกลุ่มพิทักษ์กฎหมายเพื่อประโยชน์สาธารณะ (พปส.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ทางกลุ่ม พปส. ได้ติดตามตรวจสอบการขออนุญาต และก่อสร้างสะพานลอยคนเดินข้ามถนนเชื่อมระหว่าง อาคารเซ็นทรัลเอ็มบาสซี่ พาร์ค และอาคารเซ็นทรัลชิดลม โดยได้มีการทำหนังสือถึง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อให้ออกมาชี้แจงเรื่องดังกล่าวไปตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค.ที่ผ่านมา บัดนี้เวลาล่วงเลยมาเกือบ 3 สัปดาห์ แต่ก็ยังไม่ได้รับคำตอบอย่างเป็นทางการ จากทางผู้ว่าฯ กทม. มีเพียงการออกมาให้สัมภาษณ์ ยืนยันอำนาจการให้อนุญาตจัดสร้างของผู้บริหาร กทม. บางคนเท่านั้น ทำให้พปส.จำเป็นต้องทำหนังสือสอบถามความคืบหน้าถึงผู้ว่าฯ กทม.อีกครั้ง โดย พปส. จะเข้าไปยื่นหนังสือที่ กทม.ในวันที่ 9 ก.พ.นี้
"เราต้องการคำตอบที่ชัดเจนจากผู้ว่าฯ กทม. แต่ผู้ว่าฯ กทม.กลับเพิกเฉย เหมือนไม่รับผิดชอบ เรารู้ดีว่ากทม.มีอำนาจที่จะให้อนุญาต แต่การอนุญาต จะต้องเป็นไปข้อบังคับ และชอบธรรม ด้วยดุลพินิจที่ถูกต้องโดยคำนึงถึงสาธารณประโยชน์อย่างแท้จริง เพราะสะพานที่สร้างขึ้นนั้น ไม่ได้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน แต่เป็นการเพิ่มมูลค่าให้ทั้ง 2 ห้างมากกว่า" นายฉันทวิทย์ ระบุ
เลขาธิการ พปส. กล่าวอีกว่า จากการลงสำรวจพื้นที่ซอยสมคิดก็พบว่า สภาพของถนนนั้นไม่มีความจำเป็นต้องสร้างสะพานลอยแต่อย่างใด เพราะเป็นถนนแคบ มีการจราจรเพียง 2 ช่องทาง กว้างประมาณ 5-6 เมตรเท่านั้น ซึ่งความกว้างของถนนไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของ กทม. ที่สำคัญการจราจรไม่ได้หนาแน่นถึงกับต้องมีสะพานลอย หากพิจารณาในแง่ความปลอดภัย และการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน เหตุใดจึงไม่จัดสร้างสะพานลอยที่บริเวณปากซอยหรือ ท้ายซอยสมคิด ซึ่งเชื่อมกับถนนเพลินจิต และถนนชิดลม จึงเห็นได้ชัดว่า การขออนุญาตในครั้งนี้เป็นไปเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มของบริษัทตน และเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าของห้าง เข้าข่ายการใช้พื้นที่สาธารณะโดยการเอารัดเอาเปรียบสังคม ใช้ทรัพยากรส่วนรวมเพื่อผลประโยชน์ของคนเพียงกลุ่มเดียว
"ถ้าอยากจะสร้างสะพานลอย ทำไมไม่สร้างที่ปากซอยหรือท้ายซอย และเปิดให้ประชาชนใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่กลับไปเจาะจงสร้างบริเวณระหว่าง 2 ห้าง แถมเปิดให้ประชาชนได้ใช้งานเฉพาะเวลาเปิดปิดของห้าง เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่ใช่การขออนุญาตและการให้อนุญาตเพื่อสาธารณะประโยชน์อย่างแน่นอน แต่มุ่งเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนมากกว่า" นายฉันทวิทย์ กล่าว
นายฉันทวิย์ กล่าวอีกว่า หาก กทม.ยังเพิกเฉยไม่มีคำตอบอย่างเป็นทางการมาถึง พปส. ทางกลุ่มก็จำเป็นต้องใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540 เพื่อให้ กทม.เปิดเผยข้อมูลทั้งหมด เพื่อนำไปประกอบคำร้องเรียนต่อหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาช่วยตรวจสอบ กทม.และผู้ที่เกี่ยวในกระบวนการพิจารณาอนุญาต เหมือนกับที่ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนให้นายกรัฐมนตรีไปเมื่อวันที่ 3 ก.พ.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามไม่เพียงแต่ กทม.เท่านั้น หน่วยงานรัฐอื่นๆก็มักพิจารณาการใช้พื้นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเพื่อประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือกลุ่มนายทุนเท่านั้น ไม่ได้พิจารณาบนพื้นฐานประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยเฉพาะในส่วนของการทำโครงการหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียม ที่หลายแห่งเลือกซื้อที่ตาบอด แล้วทำสะพานข้ามคลองหรือตัดถนนผ่านพื้นที่สาธารณะเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับโครงการ แต่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในบริเวณใกล้เคียง และก่อให้เกิดปัญหาตามมา ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการทุจริต หากปล่อยปะละเลยต่อไป ย่อมไม่อาจแก้ไขปัญหาการทุจริตในวงราชการได้ โดยมีอีกหลายกรณีที่ พปส.กำลังติดตามตรวจสอบและอยู่ในระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อดำเนินการสร้างความเป็นธรรมให้แก่สังคมต่อไป
"เราต้องการคำตอบที่ชัดเจนจากผู้ว่าฯ กทม. แต่ผู้ว่าฯ กทม.กลับเพิกเฉย เหมือนไม่รับผิดชอบ เรารู้ดีว่ากทม.มีอำนาจที่จะให้อนุญาต แต่การอนุญาต จะต้องเป็นไปข้อบังคับ และชอบธรรม ด้วยดุลพินิจที่ถูกต้องโดยคำนึงถึงสาธารณประโยชน์อย่างแท้จริง เพราะสะพานที่สร้างขึ้นนั้น ไม่ได้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน แต่เป็นการเพิ่มมูลค่าให้ทั้ง 2 ห้างมากกว่า" นายฉันทวิทย์ ระบุ
เลขาธิการ พปส. กล่าวอีกว่า จากการลงสำรวจพื้นที่ซอยสมคิดก็พบว่า สภาพของถนนนั้นไม่มีความจำเป็นต้องสร้างสะพานลอยแต่อย่างใด เพราะเป็นถนนแคบ มีการจราจรเพียง 2 ช่องทาง กว้างประมาณ 5-6 เมตรเท่านั้น ซึ่งความกว้างของถนนไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของ กทม. ที่สำคัญการจราจรไม่ได้หนาแน่นถึงกับต้องมีสะพานลอย หากพิจารณาในแง่ความปลอดภัย และการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน เหตุใดจึงไม่จัดสร้างสะพานลอยที่บริเวณปากซอยหรือ ท้ายซอยสมคิด ซึ่งเชื่อมกับถนนเพลินจิต และถนนชิดลม จึงเห็นได้ชัดว่า การขออนุญาตในครั้งนี้เป็นไปเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มของบริษัทตน และเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าของห้าง เข้าข่ายการใช้พื้นที่สาธารณะโดยการเอารัดเอาเปรียบสังคม ใช้ทรัพยากรส่วนรวมเพื่อผลประโยชน์ของคนเพียงกลุ่มเดียว
"ถ้าอยากจะสร้างสะพานลอย ทำไมไม่สร้างที่ปากซอยหรือท้ายซอย และเปิดให้ประชาชนใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่กลับไปเจาะจงสร้างบริเวณระหว่าง 2 ห้าง แถมเปิดให้ประชาชนได้ใช้งานเฉพาะเวลาเปิดปิดของห้าง เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่ใช่การขออนุญาตและการให้อนุญาตเพื่อสาธารณะประโยชน์อย่างแน่นอน แต่มุ่งเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนมากกว่า" นายฉันทวิทย์ กล่าว
นายฉันทวิย์ กล่าวอีกว่า หาก กทม.ยังเพิกเฉยไม่มีคำตอบอย่างเป็นทางการมาถึง พปส. ทางกลุ่มก็จำเป็นต้องใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540 เพื่อให้ กทม.เปิดเผยข้อมูลทั้งหมด เพื่อนำไปประกอบคำร้องเรียนต่อหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาช่วยตรวจสอบ กทม.และผู้ที่เกี่ยวในกระบวนการพิจารณาอนุญาต เหมือนกับที่ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนให้นายกรัฐมนตรีไปเมื่อวันที่ 3 ก.พ.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามไม่เพียงแต่ กทม.เท่านั้น หน่วยงานรัฐอื่นๆก็มักพิจารณาการใช้พื้นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเพื่อประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือกลุ่มนายทุนเท่านั้น ไม่ได้พิจารณาบนพื้นฐานประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยเฉพาะในส่วนของการทำโครงการหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียม ที่หลายแห่งเลือกซื้อที่ตาบอด แล้วทำสะพานข้ามคลองหรือตัดถนนผ่านพื้นที่สาธารณะเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับโครงการ แต่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในบริเวณใกล้เคียง และก่อให้เกิดปัญหาตามมา ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการทุจริต หากปล่อยปะละเลยต่อไป ย่อมไม่อาจแก้ไขปัญหาการทุจริตในวงราชการได้ โดยมีอีกหลายกรณีที่ พปส.กำลังติดตามตรวจสอบและอยู่ในระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อดำเนินการสร้างความเป็นธรรมให้แก่สังคมต่อไป