เมื่อเวลา 13.00 น. วานนี้ (28 ม.ค.) ที่สโมสรทหารบก ถ.วิภาวดีรังสิต สถาบันพระปกเกล้า จัดงานปาฐกถาพิเศษ เรื่อง“พระผู้ให้กำเนิดประชาธิปไตย”เพื่อเทิดพระเกียรติในวโรกาส 120 ปี พระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวเปิดงานตอนหนึ่งว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรชาวไทย ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา โดยเฉพาะการวางรากฐานการเมืองการปกครองของไทย โดยเมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2475 ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรก และเนื่องในโอกาสครบ 120 ปี วันพระบรมราชสมภพ ในนามสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ขอรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงเป็นพระบิดาแห่งการปกครอง และการเมืองไทย
จากนั้นนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "ประวัติของพระผู้ให้กำเนิดประชาธิปไตย" และ "ประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญฉบับแรก กับอนาคตรัฐธรรมนูญไทย" โดยความตอนหนึ่งว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานระบอบประชาธิปไตย หากย้อนกลับไปเมื่อปี 2556 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) มีมติยกย่องให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุคคลที่มีผลงานดีเด่นของโลก
นายวิษณุ กล่าวว่า คนไทยมีความรู้เกี่ยวกับ รัชกาลที่ 7 น้อยที่สุด ทั้งที่พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ มีจุดเด่น 4 ประการ คือ 1. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่อาภัพ 2. ทรงมีบทบาทสำคัญมากในการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม 3. ทรงมีบทบาทในการวางรากฐาน ในระบอบประชาธิปไตย และ 4. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เป็นนักสินติวิธี ซึ่งจุดเด่นเรื่องการเป็นนักสันติวิธี คือไม่ทรงปรารถนาจะเห็นการนองเลือด ครั้งที่ถูกยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งต่อมาได้ทรงลงพระปรมาภิไธย พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว หรือในอดีตเรียกว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญแผ่นดินสยาม” ในวันที่ 27 มิ.ย. 2475 ซึ่งตนมองว่า เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ และเป็นการแสดงให้เห็นว่า ไม่ลุแก่อำนาจ ใช้สันติธรรมเป็นเครื่องนำทางตลอด ทั้งที่มีโอกาสชนะ
นายวิษณุ กล่าวว่า ที่ผ่านมาตั้งแต่ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญ ไม่เคยมีฉบับไหนที่อายุยาวนานเท่ากับรัฐธรรมนูญที่พระราชทาน เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.2475 ซึ่งเป็นฉบับแรกที่ใช้นานถึง 14 ปี ซึ่งตนคิดว่าเป็นเรื่องยากที่จะมีรัฐธรรมนูญฉบับไหน มีอายุยาวนานเท่าฉบับดังกล่าว ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังร่างอยู่ จะเป็นฉบับที่ 21 ตนจึงเห็นว่า ต้องไปดูฤกษ์ให้ดี เพื่อให้รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 21 มีอายุยาวกว่า 14 ปีให้ได้
จากนั้นนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "ประวัติของพระผู้ให้กำเนิดประชาธิปไตย" และ "ประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญฉบับแรก กับอนาคตรัฐธรรมนูญไทย" โดยความตอนหนึ่งว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานระบอบประชาธิปไตย หากย้อนกลับไปเมื่อปี 2556 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) มีมติยกย่องให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุคคลที่มีผลงานดีเด่นของโลก
นายวิษณุ กล่าวว่า คนไทยมีความรู้เกี่ยวกับ รัชกาลที่ 7 น้อยที่สุด ทั้งที่พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ มีจุดเด่น 4 ประการ คือ 1. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่อาภัพ 2. ทรงมีบทบาทสำคัญมากในการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม 3. ทรงมีบทบาทในการวางรากฐาน ในระบอบประชาธิปไตย และ 4. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เป็นนักสินติวิธี ซึ่งจุดเด่นเรื่องการเป็นนักสันติวิธี คือไม่ทรงปรารถนาจะเห็นการนองเลือด ครั้งที่ถูกยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งต่อมาได้ทรงลงพระปรมาภิไธย พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว หรือในอดีตเรียกว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญแผ่นดินสยาม” ในวันที่ 27 มิ.ย. 2475 ซึ่งตนมองว่า เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ และเป็นการแสดงให้เห็นว่า ไม่ลุแก่อำนาจ ใช้สันติธรรมเป็นเครื่องนำทางตลอด ทั้งที่มีโอกาสชนะ
นายวิษณุ กล่าวว่า ที่ผ่านมาตั้งแต่ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญ ไม่เคยมีฉบับไหนที่อายุยาวนานเท่ากับรัฐธรรมนูญที่พระราชทาน เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.2475 ซึ่งเป็นฉบับแรกที่ใช้นานถึง 14 ปี ซึ่งตนคิดว่าเป็นเรื่องยากที่จะมีรัฐธรรมนูญฉบับไหน มีอายุยาวนานเท่าฉบับดังกล่าว ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังร่างอยู่ จะเป็นฉบับที่ 21 ตนจึงเห็นว่า ต้องไปดูฤกษ์ให้ดี เพื่อให้รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 21 มีอายุยาวกว่า 14 ปีให้ได้