วานนี้ (28 ส.ค.) นายตวง อันทะไชย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการสามัญยกร่างข้อบังคับการประชุมสนช. เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับ มีมติร่วมกันแล้วว่า จะให้มีคณะกรรมาธิการสามัญประจำ สนช. ทั้งหมด 15 คณะ แบ่งเป็น 11 คณะ ให้เป็นไปตาม มาตรา 27 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 ที่ว่าด้วยการปฏิรูปทั้ง 11 ด้าน เพื่อให้สอดคล้องต่อการทำงานตามโรดแมปของ คสช. และอีก 4 คณะ ก็จะมาจากการรวบรวมภารกิจจากเดิมของวุฒิสภา
ส่วนร่างข้อบังคับในหมวดของการถอดถอน โดยเฉพาะเรื่องการพ้นสมาชิกภาพ สนช. กรณีไม่มาแสดงตน ก็จะยึดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 9 (5) เพื่อแก้ปัญหาองค์ประชุมล่ม จากการพิจารณาผ่านร่างกฎหมายดังที่ผ่านมาของ สนช. ชุดปี 49 ซึ่งในส่วนนี้จะนำเข้าที่ประชุมในวันที่ 29 ส.ค. เวลา 8.00 น. เพื่อให้ที่ประชุมได้พิจารณาว่า จะเห็นเป็นอย่างไร จากนั้นก็จะนำร่างข้อบังคับการประชุมสนช. ที่คณะกรรมาธิการเห็นชอบให้ที่ประชุม สนช.ได้พิจารณาและลงมติเห็นชอบ ในวันที่ 4 ก.ย. ก่อนนำไปบังคับใช้แก่สมาชิกต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เบื้องต้น คณะกมธ. ทั้ง 15 คณะ ประกอบด้วย 1. คณะกรรมาธิการการเมือง 2. คณะกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดิน 3. คณะกรรมาธิการการกฎหมายกระบวนการยุติธรรมและการตำรวจ 4. คณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น 5. คณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา 6. คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงินการคลังและงบประมาณ การใช้จ่ายงบประมาณประจำปีของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ
7. คณะกรรมาธิการการพลังงาน 8. คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข 9. คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สารสนเทศ และสื่อสารมวลชน 10. คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว 11. คณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 12. คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ 13. คณะกรรมาธิการการคมนาคม 14. คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน และ 15. คณะกรรมาธิการการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิกา และผู้ด้อยโอกาส
ส่วนร่างข้อบังคับในหมวดของการถอดถอน โดยเฉพาะเรื่องการพ้นสมาชิกภาพ สนช. กรณีไม่มาแสดงตน ก็จะยึดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 9 (5) เพื่อแก้ปัญหาองค์ประชุมล่ม จากการพิจารณาผ่านร่างกฎหมายดังที่ผ่านมาของ สนช. ชุดปี 49 ซึ่งในส่วนนี้จะนำเข้าที่ประชุมในวันที่ 29 ส.ค. เวลา 8.00 น. เพื่อให้ที่ประชุมได้พิจารณาว่า จะเห็นเป็นอย่างไร จากนั้นก็จะนำร่างข้อบังคับการประชุมสนช. ที่คณะกรรมาธิการเห็นชอบให้ที่ประชุม สนช.ได้พิจารณาและลงมติเห็นชอบ ในวันที่ 4 ก.ย. ก่อนนำไปบังคับใช้แก่สมาชิกต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เบื้องต้น คณะกมธ. ทั้ง 15 คณะ ประกอบด้วย 1. คณะกรรมาธิการการเมือง 2. คณะกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดิน 3. คณะกรรมาธิการการกฎหมายกระบวนการยุติธรรมและการตำรวจ 4. คณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น 5. คณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา 6. คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงินการคลังและงบประมาณ การใช้จ่ายงบประมาณประจำปีของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ
7. คณะกรรมาธิการการพลังงาน 8. คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข 9. คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สารสนเทศ และสื่อสารมวลชน 10. คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว 11. คณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 12. คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ 13. คณะกรรมาธิการการคมนาคม 14. คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน และ 15. คณะกรรมาธิการการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิกา และผู้ด้อยโอกาส