รองเลขาฯ กกต. ประชุมร่วม นักวิจัยสถาบันปกเกล้าฯ ถกพัฒนารูปแบบเลือกตั้ง ก่อนมีข้อเสนอ ปชช. เป็นศูนย์กลาง ให้อำนวยความสะดวกใช้สิทธิ จัดลงคะแนนหลายรูปแบบ แต่ต้องน่าเชื่อถือ ปลอดทุจริต จัดฐานข้อมูลข้อจำกัด ปชช. พร้อมออกมาตรการจูงใจใช้สิทธิ
วันนี้ (14 ม.ค.) ที่สถาบันพระปกเกล้า นายธนิศร์ ศรีประเทศ รองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และเจ้าหน้าที่ กกต. ด้านพรรคการเมือง และการออกเสียงประชามติ ร่วมประชุมกับนักวิจัยสถาบันพระปกเกล้าฯ เพื่อพิจารณาร่างรายงานการพัฒนารูปแบบการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย และการชดเชยให้ผู้มาลงคะแนนให้สิทธิเลือกตั้งโดยรัฐ ทั้งนี้ รายงานฉบับดังกล่าวมีข้อเสนอแนะเบื้องต้น คือ 1. รูปแบบการลงคะแนนเลือกตั้งต้องเอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง อำนวยความสะดวกให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกกลุ่มสามารถออกไปใช้สิทธิได้อย่างสะดวก 2. การพัฒนารูปแบบการลงคะแนนเสียงควรใช้รูปแบบที่หลากหลาย มีรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ลงคะแนนกลุ่มต่างๆ และนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยมากขึ้น โดยนอกจากการใช้บัตรเลือกตั้งแล้ว อาจจะใช้การเลือกตั้งทางไปรษณีย์ หรือการเลือกตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่ต้องทำให้มีความน่าเชื่อถือ ประชาชนไว้วางใจในระบบได้ว่าไม่มีคะแนนที่ตกหล่น หรือเกิดการทุจริตเลือกตั้งจากการแทรกแซงข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
3. จัดทำบัญชีรายชื่อหรือฐานข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่มีรายละเอียดของความจำเป็นและข้อจำกัดของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เพื่อให้เป็นส่วนช่วยในการกำหนดรูปแบบการลงคะแนนเสียงครอบคลุมผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกคน 4. ต้องมีกฎหมายที่เปิดโอกาสให้มีการเลือกรูปแบบการลงคะแนนเลือกตั้ง และควรมีมาตรการชดเชย จูงใจ ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ และ 5. มาตรการชดเชยและจูงใจให้ประชาชนออกมาใช้สิทธินั้น ต้องกำหนดมาตรการเชิงลบที่มีบทลงโทษ ควบคู่กับมาตรการเชิงบวกที่มีการชดเชยเป็นเงิน เป็นผลประโยชน์ทางภาษี หรือการมีโอกาสเข้าไปกำหนดนโยบายสาธารณะ รวมทั้งให้รางวัลแบบ ลอตเตอรี กับผู้ออกมาใช้สิทธิ โดยต้องให้มีความสอดคล้องกัน แต่หากต้องการให้การออกมาใช้สิทธิแบบสมัครใจก็ไม่ต้องมีมาตรการชดเชยและจูงใจ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากประชุม ตัวแทนของ กกต. จะนำร่างรายงานดังกล่าวเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ กกต. เพื่อให้พิจารณาร่างรายงานดังกล่าวต่อไป
วันนี้ (14 ม.ค.) ที่สถาบันพระปกเกล้า นายธนิศร์ ศรีประเทศ รองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และเจ้าหน้าที่ กกต. ด้านพรรคการเมือง และการออกเสียงประชามติ ร่วมประชุมกับนักวิจัยสถาบันพระปกเกล้าฯ เพื่อพิจารณาร่างรายงานการพัฒนารูปแบบการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย และการชดเชยให้ผู้มาลงคะแนนให้สิทธิเลือกตั้งโดยรัฐ ทั้งนี้ รายงานฉบับดังกล่าวมีข้อเสนอแนะเบื้องต้น คือ 1. รูปแบบการลงคะแนนเลือกตั้งต้องเอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง อำนวยความสะดวกให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกกลุ่มสามารถออกไปใช้สิทธิได้อย่างสะดวก 2. การพัฒนารูปแบบการลงคะแนนเสียงควรใช้รูปแบบที่หลากหลาย มีรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ลงคะแนนกลุ่มต่างๆ และนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยมากขึ้น โดยนอกจากการใช้บัตรเลือกตั้งแล้ว อาจจะใช้การเลือกตั้งทางไปรษณีย์ หรือการเลือกตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่ต้องทำให้มีความน่าเชื่อถือ ประชาชนไว้วางใจในระบบได้ว่าไม่มีคะแนนที่ตกหล่น หรือเกิดการทุจริตเลือกตั้งจากการแทรกแซงข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
3. จัดทำบัญชีรายชื่อหรือฐานข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่มีรายละเอียดของความจำเป็นและข้อจำกัดของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เพื่อให้เป็นส่วนช่วยในการกำหนดรูปแบบการลงคะแนนเสียงครอบคลุมผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกคน 4. ต้องมีกฎหมายที่เปิดโอกาสให้มีการเลือกรูปแบบการลงคะแนนเลือกตั้ง และควรมีมาตรการชดเชย จูงใจ ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ และ 5. มาตรการชดเชยและจูงใจให้ประชาชนออกมาใช้สิทธินั้น ต้องกำหนดมาตรการเชิงลบที่มีบทลงโทษ ควบคู่กับมาตรการเชิงบวกที่มีการชดเชยเป็นเงิน เป็นผลประโยชน์ทางภาษี หรือการมีโอกาสเข้าไปกำหนดนโยบายสาธารณะ รวมทั้งให้รางวัลแบบ ลอตเตอรี กับผู้ออกมาใช้สิทธิ โดยต้องให้มีความสอดคล้องกัน แต่หากต้องการให้การออกมาใช้สิทธิแบบสมัครใจก็ไม่ต้องมีมาตรการชดเชยและจูงใจ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากประชุม ตัวแทนของ กกต. จะนำร่างรายงานดังกล่าวเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ กกต. เพื่อให้พิจารณาร่างรายงานดังกล่าวต่อไป