เมื่อวานนี้ (27ม.ค.) นายพงศ์โพยม วาศภูติ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น และ นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ รับยื่นหนังสือจาก พล.อ.สำเริง พินกลาง ประธานคณะกรรมการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชันของชาติ เรื่อง ขอให้ยุบรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อให้การใช้งบประมาณของรัฐเป็นไปตามระเบียบและกฎหมาย มิให้เกิดการทับซ้อนกัน และให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับราชการ โดยทางภาคีเครือข่ายฯได้ขอรวบรวมข้อมูลการทุจริตต่างๆ ที่ทางเครือข่ายได้รวบรวม และลงตรวจสอบให้หลายๆ พื้นที่ มอบให้แก่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปเป็นข้อมูลประกอบการปฏฺิรูปประเทศ ดังนี้
1. ขอให้นำข้อมูลไปประกอบการปรับปรุงแก้ไข เพื่อปฏิรูปประเทศ แก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่เห็นสมควร
2. ขอให้นำข้อมูลและข้อเท็จจริงตามที่ทางกลุ่มได้เสนอ เพื่อประกอบการแก้ไขปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามที่เห็นสมควร
3. ขอให้พิจารณายุบรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เป็นปัญหาอุปสรรคในการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่ออำนวยประโยชน์สูงสุดให้ประชาชน แก้ไขปัญหาผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ปัญหาการทับซ้อนการใช้อำนาจ และงบประมาณแผ่นดิน
ในวันเดียวกันนี้ นายบุญเลิศ คชายุทธเดช สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะรองประธานคณะทำงานศึกษาแนวทางการสร้างการปรองดอง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้พิจารณากรณีการเยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมือง ตั้งแต่ปี 2548 –2557 ที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ โดยที่ นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของ น.ส.กมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิต จากเหตุชุมนุมทางการเมืองปี 2553 เสนอให้มุ่งเน้นการอำนวยความยุติธรรมผู้ที่ถูกคุมขังคดีการเมืองที่ยังไม่ได้รับการประกันตัวให้ได้รับความยุติธรรม ให้ได้รับการประกันตัวออกมาโดยเร็วที่สุด ส่วนนางนิชา ธุวธรรม ภรรยา พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม เสนอให้ภาครัฐดำเนินการจัดเสวนาในพื้นที่ต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน ต่อกระบวนการสร้างความปรองดอง
ทั้งนี้ คณะทำงานฯ เห็นว่า การอำนวยความยุติธรรมมีความสำคัญมาก เพราะตามหลักการ ผู้ถูกต้องขังถ้าคดียังไม่ถึงที่สุดจะยังถือเป็นผู้บริสุทธิ์ อีกทั้งอิสรภาพของประชาชนที่ถูกคุมขัง เป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างมาก และยังเป็นการคำนึงถึงมนุษยธรรม สำหรับผู้ต้องขังที่มีความพิการด้วย แต่ในส่วนของคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ยังไม่มีการพูดถึง เพราะสังคมเห็นว่าข้อหาดังกล่าวเป็นเรื่องร้ายแรง นอกจากนี้ หาก สปช.จะไปเยี่ยมผู้ถูกคุมขังทางการเมือง เพื่อแสดงความเอื้ออาทร ก็จะมีการพิจารณาเพื่อดำเนินการต่อไป ขณะเดียวกัน จะมีการประสานไปยัง นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนฯ รวมถึงญาติผู้ได้รับความเสียหาย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อคณะทำงานฯ โดยไม่เลือกสี เลือกฝ่าย
นอกจากนี้ คณะทำงานฯ ยังมีแนวคิดที่อยากพูดคุยกับภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้ประกัน หรือไม่ให้ประกัน รวมถึงการสร้างความยุติธรรม เช่น ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ประธานศาลฎีกา อัยการสูงสุด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ คณะทำงานฯ จะเสนอให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการเยียวยาดูแลและอำนวยความยุติธรรม ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมือง ตั้งแต่ปี 2548 – 2557 โดยประกอบด้วยบุคคลจากหลายฝ่ายที่ได้รับการยอมรับ ซึ่งขึ้นอยู่กับรัฐบาลจะตอบรับข้อเสนอหรือไม่ ซึ่งขณะนี้คณะทำงานฯ ได้เริ่มดำเนินการแล้ว โดยจะจัดทำเป็นจดหมายให้ ประธานสปช.ลงนาม เพื่อเสนอรัฐบาลโดยเร็ว นอกจากนี้ คณะทำงานฯ จะทำงานแข่งกับเวลา และเห็นว่าในเดือน ก.พ.ซึ่งเป็นเดือนแห่งความรัก และในเดือน เม.ย.ซึ่งมีวันขึ้นปีใหม่ไทย และวันผู้สูงอายุ จึงอาจมีกิจกรรมที่ทำให้คนไทยหันหน้าเข้าหากัน
1. ขอให้นำข้อมูลไปประกอบการปรับปรุงแก้ไข เพื่อปฏิรูปประเทศ แก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่เห็นสมควร
2. ขอให้นำข้อมูลและข้อเท็จจริงตามที่ทางกลุ่มได้เสนอ เพื่อประกอบการแก้ไขปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามที่เห็นสมควร
3. ขอให้พิจารณายุบรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เป็นปัญหาอุปสรรคในการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่ออำนวยประโยชน์สูงสุดให้ประชาชน แก้ไขปัญหาผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ปัญหาการทับซ้อนการใช้อำนาจ และงบประมาณแผ่นดิน
ในวันเดียวกันนี้ นายบุญเลิศ คชายุทธเดช สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะรองประธานคณะทำงานศึกษาแนวทางการสร้างการปรองดอง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้พิจารณากรณีการเยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมือง ตั้งแต่ปี 2548 –2557 ที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ โดยที่ นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของ น.ส.กมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิต จากเหตุชุมนุมทางการเมืองปี 2553 เสนอให้มุ่งเน้นการอำนวยความยุติธรรมผู้ที่ถูกคุมขังคดีการเมืองที่ยังไม่ได้รับการประกันตัวให้ได้รับความยุติธรรม ให้ได้รับการประกันตัวออกมาโดยเร็วที่สุด ส่วนนางนิชา ธุวธรรม ภรรยา พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม เสนอให้ภาครัฐดำเนินการจัดเสวนาในพื้นที่ต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน ต่อกระบวนการสร้างความปรองดอง
ทั้งนี้ คณะทำงานฯ เห็นว่า การอำนวยความยุติธรรมมีความสำคัญมาก เพราะตามหลักการ ผู้ถูกต้องขังถ้าคดียังไม่ถึงที่สุดจะยังถือเป็นผู้บริสุทธิ์ อีกทั้งอิสรภาพของประชาชนที่ถูกคุมขัง เป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างมาก และยังเป็นการคำนึงถึงมนุษยธรรม สำหรับผู้ต้องขังที่มีความพิการด้วย แต่ในส่วนของคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ยังไม่มีการพูดถึง เพราะสังคมเห็นว่าข้อหาดังกล่าวเป็นเรื่องร้ายแรง นอกจากนี้ หาก สปช.จะไปเยี่ยมผู้ถูกคุมขังทางการเมือง เพื่อแสดงความเอื้ออาทร ก็จะมีการพิจารณาเพื่อดำเนินการต่อไป ขณะเดียวกัน จะมีการประสานไปยัง นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนฯ รวมถึงญาติผู้ได้รับความเสียหาย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อคณะทำงานฯ โดยไม่เลือกสี เลือกฝ่าย
นอกจากนี้ คณะทำงานฯ ยังมีแนวคิดที่อยากพูดคุยกับภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้ประกัน หรือไม่ให้ประกัน รวมถึงการสร้างความยุติธรรม เช่น ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ประธานศาลฎีกา อัยการสูงสุด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ คณะทำงานฯ จะเสนอให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการเยียวยาดูแลและอำนวยความยุติธรรม ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมือง ตั้งแต่ปี 2548 – 2557 โดยประกอบด้วยบุคคลจากหลายฝ่ายที่ได้รับการยอมรับ ซึ่งขึ้นอยู่กับรัฐบาลจะตอบรับข้อเสนอหรือไม่ ซึ่งขณะนี้คณะทำงานฯ ได้เริ่มดำเนินการแล้ว โดยจะจัดทำเป็นจดหมายให้ ประธานสปช.ลงนาม เพื่อเสนอรัฐบาลโดยเร็ว นอกจากนี้ คณะทำงานฯ จะทำงานแข่งกับเวลา และเห็นว่าในเดือน ก.พ.ซึ่งเป็นเดือนแห่งความรัก และในเดือน เม.ย.ซึ่งมีวันขึ้นปีใหม่ไทย และวันผู้สูงอายุ จึงอาจมีกิจกรรมที่ทำให้คนไทยหันหน้าเข้าหากัน