โดย...ไพรัตน์ แย้มโกสุม
วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2135 เป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะแก่พระมหาอุปราชาแห่งพม่า ณ ทุ่งสาหร่าย ต.ดอนเจดีย์ (ปัจจุบันเป็นอำเภอ) อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี และพระองค์ทรงสร้างพระเจดีย์ไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์
นี่คือภาพใหญ่ภาพเด่นเห็นชัด ที่ชาวไทยทุกคนทุกท่านรู้จักดี และไม่มีวันลืมวีรกรรมอันกล้าหาญเด็ดเดี่ยวของพระองค์ จนหลุดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ ได้รับเอกราชคืนมาโดยสมบูรณ์
ในภาพใหญ่อันเด่นชัด ก็มีภาพเล็กที่มองไม่ค่อยเห็นอยู่มากมาย ซึ่งภาพเล็กเหล่านี้ก็เป็นเหตุปัจจัยทำให้เกิดภาพใหญ่... “ใหญ่คือเล็ก-เล็กคือใหญ่” อะไรประมาณนั้น
เรามาดูภาพเล็กๆ กันหน่อย บางทีอาจจะเกิดมโนสร้างสรรค์ต่างๆ นานา
ผู้นำที่ดี ไม่กระหายผู้ตาม เชิงบังคับ...คุณต้องตามผมนะ, ผู้นำที่ดี เมื่อประชาชนศรัทธา...ผู้ตามก็จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ เจ๋งเป้ง
พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวันวลิต พ.ศ. 2182 หนังสือเล่มของภาควิชาประวัติศาสตร์ มศว.ประสานมิตร และกฤษฎาภินิหารอันบดบังมิได้ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นบทวิเคราะห์พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิต เคยตีพิมพ์ในสยามรัฐรายวันมาแล้ว
หนังสือ 2 เล่มให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์อันทรงค่า น่ารู้ และเต็มไปด้วยนิทัศน์อุทาหรณ์อันเหมาะสมแก่กาลเวลา
ผู้เขียนขออนุญาตหยิบยกเรื่องราวของพระองค์ท่านบางส่วนจากหนังสือ 2 เล่มดังกล่าว เพื่อให้เกิดภาพอีกครั้ง อันอาจจะซึมซับแก่เราชาวไทย
ภาพโดยทั่วๆ ไปของพระองค์นั้น ทรงเป็นนักรบที่เกรียงไกร เป็นวีรกษัตริย์ที่เฉียบขาดรักชาติเอกราชเป็นชีวิตจิตใจ
ท่ามกลางความยิ่งใหญ่ เกรียงไกร และน่าเกรงขามยิ่งนักนั้น พระองค์ท่านยังทรงมีน้ำพระราชหฤทัยอันเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณต่อผู้ยากไร้
ดังที่วันวลิต พ่อค้าชาวฮอลันดา เล่าว่า...
คืนวันหนึ่ง พระเจ้าอยู่หัว เสด็จอยู่ในเรือเล็กในลำแม่น้ำ ขณะนั้นเกิดพายุใหญ่ฝนตกหนัก ยังไม่สามารถเสด็จกลับพระราชวังได้ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินขึ้นยังกระท่อมหลังหนึ่ง ซึ่งมีหญิงชรายากจนอาศัยอยู่ แล้วเสด็จเข้าไปในกระท่อมนั้น โดยไม่มีใครรู้จักพระองค์ และด้วยเสียงอันดัง ฝ่ายหญิงชรานั้นก็ตกใจนัก กล่าวว่า
“ลูกเอ๋ย เจ้าไม่รู้หรือว่า พระเจ้าอยู่หัวของเรา อาจประทับอยู่ใกล้ๆ นี้ก็ได้”
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ตรัสด้วยพระสุรเสียงอันดังว่า “แม่เอ๋ย แม้พระเจ้าอยู่หัวจะทรงได้ยินเสียงข้าก็ช่างปะไร ถึงจะลงพระราชอาญาประหารชีวิตข้าเสีย ก็จะเป็นไรมี ถ้าเป็นดังนี้ ก็เป็นคราวเคราะห์ของข้า คนอื่นก็ได้รับเคราะห์นั้นมาแล้วมากต่อมาก จะได้รู้ตัวกันก่อนก็หาไม่”
หญิงชรานั้น ก็ทรุดตัวลงแทบพระยุคลบาท แล้วกล่าววิงวอนด้วยความประหวั่นพรั่นพรึง ขออย่าให้ตรัสถึงพระเจ้าแผ่นดินอย่างนั้น หญิงชรากล่าวว่า
“เทพยดาฟ้าดินได้ส่งพระองค์พระเจ้าอยู่หัวมาให้แก่เราทั้งปวง ฉะนั้นพระองค์จะทรงกระทำความชั่วมิได้ เทพยดาได้ส่งพระองค์ลงมาให้ลงพระราชอาญา และให้ทรงตัดสินบาปกรรมของคนอย่างเรา เราควรจะต้องอยู่ในโอวาทของท่านผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินที่ปกครองเรา”
ยิ่งแม่เฒ่าพยายามที่จะให้เบาพระสุรเสียงลงเพียงใด พระเจ้าอยู่หัวก็ตรัสด้วยพระสุรเสียงดังขึ้น จนเป็นเสียงตะโกนจนถึงที่สุด หญิงชรานั้นก็ขอให้พระองค์เสด็จออกจากบ้านไปเสีย เพราะหากประทับต่อไป ตนก็จะต้องร่วมเป็นโทษด้วย พระเจ้าอยู่หัวก็ตรัสว่าจะเสด็จไป แต่จะขอน้ำจัณฑ์เสวยก่อน เพราะได้ทรงต้องละอองฝนจนหนาวพระองค์ หญิงนั้นก็ตอบว่า “ลูกเอ๋ย เจ้าก็รู้อยู่ว่าเทศกาลนี้เป็นเทศกาลเข้าพรรษาเมื่อยังอยู่ในพรรษาแล้ว ผู้ใดจะล่วงพระราชอาญาซื้อหรือดื่มเหล้าไม่ได้ แต่ถ้าเจ้าจะต้องการเสื้อผ้าที่แห้งอย่างที่แม่นุ่งห่มอยู่แล้ว แม่ก็จะหาให้ แม่จะซักและตากเสื้อผ้าที่เจ้านุ่งอยู่ให้แห้ง เจ้าจงไปพักผ่อนหลับนอนเสียก่อนเถิด”
พระเจ้าอยู่หัว ทรงยอมรับผ้าผ่อนจากหญิงนั้นมาผลัดพระภูษาทรง และทรงมอบพระภูษาให้แก่หญิงนั้นไปซักตากให้แห้ง แต่ก็ยังคงตรัสเรียกน้ำจัณฑ์มาเสวยอยู่ ตรัสว่า ไม่มีพระราชประสงค์ที่จะให้พระราชกำหนดอันเคร่งครัดของพระเจ้าอยู่หัวนั้นมาผูกมัดพระองค์ หญิงนั้นจึงรินสุราใส่ถ้วยเล็กมาถวายแล้วสาบานว่า สุรานั้นตนได้ซื้อไว้ก่อนเข้าพรรษา เมื่อเข้าพรรษาแล้วก็มิได้ดื่มสุรานั้นเลย เมื่อหญิงนั้นถวายสุราต่อพระเจ้าอยู่หัว พลางก็ขอสัญญาจากพระองค์ว่า จะมิทรงแพร่งพรายเรื่องนี้ให้แก่ผู้ใดทราบ เมื่อเสวยน้ำจัณฑ์แล้ว หญิงนั้น ก็นำพระองค์ไปบรรทมบนเสื่อผืนเล็กของตน แล้วจึงนำพระภูษาไปซักตากให้แห้ง เมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรรทมตื่นแล้ว ก็ทรงผลัดพระภูษาที่แห้ง แล้วตรัสขอบใจหญิงนั้น แล้วก็ทรงอำลา หญิงนั้นก็กล่าวว่า
“ลูกเอ๋ย เจ้าจงอยู่ที่นี่จนสว่างก่อนเถิด หรือถ้าจะกลับบ้านเดี๋ยวนี้ ก็จงพายเรือไปเงียบๆ อย่าให้มีเสียงดังถึงพระกรรณพระเจ้าอยู่หัว โทษจะมีมาถึงตัวลูก”
พระเจ้าอยู่หัว ตรัสตอบว่า “ข้าจะทำดังนั้น” แล้วก็เสด็จออกจากกระท่อมน้อยของหญิงชรา แล้วจึงเสด็จด้วยเรือเล็กไปยังหมู่ตำรวจ ซึ่งคอยพระองค์อยู่ในเรือของตน ไม่ไกลจากกระท่อมหลังนั้น
ในวันรุ่งขึ้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชดำรัสสั่งให้เอาเรือกันยามีบุษบกไปจอดที่หน้ากระท่อมน้อย ที่ได้ประทับแรมเมื่อคืนนั้น เรือลำนี้เป็นเรือพระที่นั่งทรงของสมเด็จพระราชชนนี หรือพระอัครมเหสี ในงานพระราชพิธีเต็มยศใหญ่ พระภูษาที่ทรงในคืนนั้น ก็ให้เชิญไปในเรือพระที่นั่งนั้นด้วย มีพระราชดำรัสสั่งมหาดเล็กว่า ให้นำพระภูษาทรงนี้ไปแสดงแก่หญิงชราผู้นั้น ให้นำตัวหญิงชราลงเรือพระที่นั่งมายังพระราชวัง แล้วนำเข้ามาเฝ้า เมื่อหญิงชราเห็นมหาดเล็กเดินมาหาตน ก็ตกใจกลัวจนตัวสั่น คิดว่าพระเจ้าอยู่หัวคงจะได้ทรงทราบถึงเหตุที่เกิดขึ้นในบ้านของตนเมื่อตอนกลางคืน ถึงแม้มหาดเล็กจะปลอบว่า พระเจ้าอยู่หัวตรัสใช้ให้มารับ หญิงชรานั้นก็มิได้เชื่อว่าตนจะมิต้องราชภัย เฝ้าแต่วิงวอนให้มหาดเล็กกลับไปกราบบังคมทูลว่า ตนได้ตกใจตายเสียแล้วด้วยอาการอันน่าสมเพช ขณะนั้นแม่เฒ่าก็คิดจะหนีไปหาพระสงฆ์ให้ช่วยชีวิตตนไว้ แต่เหล่ามหาดเล็กก็มิได้ฟัง เข้ากุมตัวแม่เฒ่านั้นอย่างนอบน้อม ช่วยกันแต่งกายแม่เฒ่า แล้วนำขึ้นเรือมายังพระราชวัง นำเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นหญิงชรานั้น ก็เสด็จพระราชดำเนินเข้ามารับมือหญิงชรานั้นไว้ แล้วตรัสว่า “พระองค์คือคนที่เข้าไปนอนค้างที่กระท่อม แลหญิงชรานั้นได้มีอุปการคุณแก่พระองค์เมื่อคืน” แล้วตรัสต่อไปว่า “แลเพระเหตุว่าในยามยาก ท่านได้รับเราเป็นบุตรของท่าน ต่อนี้ไปเราจะเรียกท่านว่าแม่ และรักท่านเช่นเดียวกับมารดาบังเกิดเกล้าของเรา”
พระเจ้าอยู่หัวตรัสสั่งให้จัดตำหนักในพระราชวัง ให้หญิงชรานั้นได้เข้าพำนักอาศัย แล้วทรงอุปการะเลี้ยงดู จนหญิงชรานั้นถึงกาลเวลาแห่งตนประดุจว่าเป็นพระราชมารดาแท้จริง เมื่อหญิงชรานั้นถึงแก่กรรมลง ก็ได้พระราชทานเพลิงศพเช่นเดียวกับพระบรมศพพระมเหสี
จากเรื่องราวที่วันวลิตเล่ามา ผู้เขียนยังประทับใจมิรู้หาย เป็นภาพอีกด้านหนึ่งที่สำคัญยิ่ง คงมิใช่จะทรงมีน้ำพระราชหฤทัย อันเปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณาต่อผู้ยากไร้ เฉพาะหญิงชราคนนั้นเท่านั้น ทว่าจะต้องครอบคลุมไปถึงผู้ยากไร้อีกจำนวนมหาศาลในพระราชอาณาจักรอย่างแน่นอน
บุคคลใดประพฤติดีประพฤติชอบ จักได้รับการสนับสนุน และบุคคลใดประพฤติมิดีมิชอบ จะได้รับการลงโทษอย่างเฉียบขาด โดยเสมอหน้ากัน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่แบ่งชั้นวรรณะ ไม่จำแนกคนเขาคนเรา
พระองค์ทรงเป็นนักรบที่ยิ่งใหญ่ รักชาติเหนือสิ่งใด และทรงห่วงใยต่อผู้ยากไร้ ซึ่งเป็นประชาชนคนส่วนใหญ่ของแผ่นดิน ทุกข์ของแผ่นดิน ก็คือทุกข์ของพระองค์
แบบอย่างที่ดี ตัวอย่างที่ดี มีค่าหรือดีกว่าคำพูดคำสอน อันนี้ชัดแจ้งแทงตลอดอยู่แล้ว เนื่องเพราะ “ธรรมใดก็ไร้ค่า ถ้าไม่ทำ”
สังคมเรา สังคมโลก ทุกวันนี้ “พูดมาก” เกินไป ไม่กลัวคนอื่นจะรำคาญบ้างหรือ หรือไม่ก็เกรงใจตัวเองจะรำคาญบ้าง ของดีๆ มีคุณค่า ส่วนมากมันเกิดจากตัวของมันเอง เกิดจากภายใน แล้วไหลออกสู่ภายนอก ดูดอกไม้ผลิบานเป็นตัวอย่างซิ มีใครไปสั่งมัน มันผลิบานและส่งกลิ่นหอมออกมาเอง
หัด “หยุด นิ่ง เงียบ” บ้างก็จะดี (พูดมากเสียมาก พูดน้อยเสียน้อย ไม่พูดไม่เสีย นิ่งเสียโพธิสัตว์ นั่นคือคำพระเตือน-อย่างหลวงปู่ทวด) แล้วกลับไป “ทำ” ในสิ่งที่เป็นธรรม ถูกต้อง ดีงาม สร้างสรรค์ สันติสุขก็จะเกิดขึ้นเองอย่างเป็นธรรมชาติ
เรื่องสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ยกมานี้ ไม่ควรพูดมาก แต่ให้ดูและสังเกต ตัวเองอ่านแล้วรู้แล้วเป็นอย่างไร คนอื่นอ่านแล้วรู้แล้วเป็นอย่างไร ชอบหรือไม่ชอบ
คำตอบ ชอบหรือไม่ชอบ นี่แหละ จะเป็นกระจกส่องตนหรือคนอื่นได้อย่างวิเศษ ไม่เชื่อก็ลองดูหัดมีวิมังสา วิเคราะห์ วิจารณ์ ไตร่ตรองบ้าง จะได้รู้เท่าทันและสัมผัสตน สังคม โลก แลจักรวาล อย่างเป็นจริง
วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2135 เป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะแก่พระมหาอุปราชาแห่งพม่า ณ ทุ่งสาหร่าย ต.ดอนเจดีย์ (ปัจจุบันเป็นอำเภอ) อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี และพระองค์ทรงสร้างพระเจดีย์ไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์
นี่คือภาพใหญ่ภาพเด่นเห็นชัด ที่ชาวไทยทุกคนทุกท่านรู้จักดี และไม่มีวันลืมวีรกรรมอันกล้าหาญเด็ดเดี่ยวของพระองค์ จนหลุดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ ได้รับเอกราชคืนมาโดยสมบูรณ์
ในภาพใหญ่อันเด่นชัด ก็มีภาพเล็กที่มองไม่ค่อยเห็นอยู่มากมาย ซึ่งภาพเล็กเหล่านี้ก็เป็นเหตุปัจจัยทำให้เกิดภาพใหญ่... “ใหญ่คือเล็ก-เล็กคือใหญ่” อะไรประมาณนั้น
เรามาดูภาพเล็กๆ กันหน่อย บางทีอาจจะเกิดมโนสร้างสรรค์ต่างๆ นานา
ผู้นำที่ดี ไม่กระหายผู้ตาม เชิงบังคับ...คุณต้องตามผมนะ, ผู้นำที่ดี เมื่อประชาชนศรัทธา...ผู้ตามก็จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ เจ๋งเป้ง
พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวันวลิต พ.ศ. 2182 หนังสือเล่มของภาควิชาประวัติศาสตร์ มศว.ประสานมิตร และกฤษฎาภินิหารอันบดบังมิได้ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นบทวิเคราะห์พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิต เคยตีพิมพ์ในสยามรัฐรายวันมาแล้ว
หนังสือ 2 เล่มให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์อันทรงค่า น่ารู้ และเต็มไปด้วยนิทัศน์อุทาหรณ์อันเหมาะสมแก่กาลเวลา
ผู้เขียนขออนุญาตหยิบยกเรื่องราวของพระองค์ท่านบางส่วนจากหนังสือ 2 เล่มดังกล่าว เพื่อให้เกิดภาพอีกครั้ง อันอาจจะซึมซับแก่เราชาวไทย
ภาพโดยทั่วๆ ไปของพระองค์นั้น ทรงเป็นนักรบที่เกรียงไกร เป็นวีรกษัตริย์ที่เฉียบขาดรักชาติเอกราชเป็นชีวิตจิตใจ
ท่ามกลางความยิ่งใหญ่ เกรียงไกร และน่าเกรงขามยิ่งนักนั้น พระองค์ท่านยังทรงมีน้ำพระราชหฤทัยอันเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณต่อผู้ยากไร้
ดังที่วันวลิต พ่อค้าชาวฮอลันดา เล่าว่า...
คืนวันหนึ่ง พระเจ้าอยู่หัว เสด็จอยู่ในเรือเล็กในลำแม่น้ำ ขณะนั้นเกิดพายุใหญ่ฝนตกหนัก ยังไม่สามารถเสด็จกลับพระราชวังได้ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินขึ้นยังกระท่อมหลังหนึ่ง ซึ่งมีหญิงชรายากจนอาศัยอยู่ แล้วเสด็จเข้าไปในกระท่อมนั้น โดยไม่มีใครรู้จักพระองค์ และด้วยเสียงอันดัง ฝ่ายหญิงชรานั้นก็ตกใจนัก กล่าวว่า
“ลูกเอ๋ย เจ้าไม่รู้หรือว่า พระเจ้าอยู่หัวของเรา อาจประทับอยู่ใกล้ๆ นี้ก็ได้”
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ตรัสด้วยพระสุรเสียงอันดังว่า “แม่เอ๋ย แม้พระเจ้าอยู่หัวจะทรงได้ยินเสียงข้าก็ช่างปะไร ถึงจะลงพระราชอาญาประหารชีวิตข้าเสีย ก็จะเป็นไรมี ถ้าเป็นดังนี้ ก็เป็นคราวเคราะห์ของข้า คนอื่นก็ได้รับเคราะห์นั้นมาแล้วมากต่อมาก จะได้รู้ตัวกันก่อนก็หาไม่”
หญิงชรานั้น ก็ทรุดตัวลงแทบพระยุคลบาท แล้วกล่าววิงวอนด้วยความประหวั่นพรั่นพรึง ขออย่าให้ตรัสถึงพระเจ้าแผ่นดินอย่างนั้น หญิงชรากล่าวว่า
“เทพยดาฟ้าดินได้ส่งพระองค์พระเจ้าอยู่หัวมาให้แก่เราทั้งปวง ฉะนั้นพระองค์จะทรงกระทำความชั่วมิได้ เทพยดาได้ส่งพระองค์ลงมาให้ลงพระราชอาญา และให้ทรงตัดสินบาปกรรมของคนอย่างเรา เราควรจะต้องอยู่ในโอวาทของท่านผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินที่ปกครองเรา”
ยิ่งแม่เฒ่าพยายามที่จะให้เบาพระสุรเสียงลงเพียงใด พระเจ้าอยู่หัวก็ตรัสด้วยพระสุรเสียงดังขึ้น จนเป็นเสียงตะโกนจนถึงที่สุด หญิงชรานั้นก็ขอให้พระองค์เสด็จออกจากบ้านไปเสีย เพราะหากประทับต่อไป ตนก็จะต้องร่วมเป็นโทษด้วย พระเจ้าอยู่หัวก็ตรัสว่าจะเสด็จไป แต่จะขอน้ำจัณฑ์เสวยก่อน เพราะได้ทรงต้องละอองฝนจนหนาวพระองค์ หญิงนั้นก็ตอบว่า “ลูกเอ๋ย เจ้าก็รู้อยู่ว่าเทศกาลนี้เป็นเทศกาลเข้าพรรษาเมื่อยังอยู่ในพรรษาแล้ว ผู้ใดจะล่วงพระราชอาญาซื้อหรือดื่มเหล้าไม่ได้ แต่ถ้าเจ้าจะต้องการเสื้อผ้าที่แห้งอย่างที่แม่นุ่งห่มอยู่แล้ว แม่ก็จะหาให้ แม่จะซักและตากเสื้อผ้าที่เจ้านุ่งอยู่ให้แห้ง เจ้าจงไปพักผ่อนหลับนอนเสียก่อนเถิด”
พระเจ้าอยู่หัว ทรงยอมรับผ้าผ่อนจากหญิงนั้นมาผลัดพระภูษาทรง และทรงมอบพระภูษาให้แก่หญิงนั้นไปซักตากให้แห้ง แต่ก็ยังคงตรัสเรียกน้ำจัณฑ์มาเสวยอยู่ ตรัสว่า ไม่มีพระราชประสงค์ที่จะให้พระราชกำหนดอันเคร่งครัดของพระเจ้าอยู่หัวนั้นมาผูกมัดพระองค์ หญิงนั้นจึงรินสุราใส่ถ้วยเล็กมาถวายแล้วสาบานว่า สุรานั้นตนได้ซื้อไว้ก่อนเข้าพรรษา เมื่อเข้าพรรษาแล้วก็มิได้ดื่มสุรานั้นเลย เมื่อหญิงนั้นถวายสุราต่อพระเจ้าอยู่หัว พลางก็ขอสัญญาจากพระองค์ว่า จะมิทรงแพร่งพรายเรื่องนี้ให้แก่ผู้ใดทราบ เมื่อเสวยน้ำจัณฑ์แล้ว หญิงนั้น ก็นำพระองค์ไปบรรทมบนเสื่อผืนเล็กของตน แล้วจึงนำพระภูษาไปซักตากให้แห้ง เมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรรทมตื่นแล้ว ก็ทรงผลัดพระภูษาที่แห้ง แล้วตรัสขอบใจหญิงนั้น แล้วก็ทรงอำลา หญิงนั้นก็กล่าวว่า
“ลูกเอ๋ย เจ้าจงอยู่ที่นี่จนสว่างก่อนเถิด หรือถ้าจะกลับบ้านเดี๋ยวนี้ ก็จงพายเรือไปเงียบๆ อย่าให้มีเสียงดังถึงพระกรรณพระเจ้าอยู่หัว โทษจะมีมาถึงตัวลูก”
พระเจ้าอยู่หัว ตรัสตอบว่า “ข้าจะทำดังนั้น” แล้วก็เสด็จออกจากกระท่อมน้อยของหญิงชรา แล้วจึงเสด็จด้วยเรือเล็กไปยังหมู่ตำรวจ ซึ่งคอยพระองค์อยู่ในเรือของตน ไม่ไกลจากกระท่อมหลังนั้น
ในวันรุ่งขึ้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชดำรัสสั่งให้เอาเรือกันยามีบุษบกไปจอดที่หน้ากระท่อมน้อย ที่ได้ประทับแรมเมื่อคืนนั้น เรือลำนี้เป็นเรือพระที่นั่งทรงของสมเด็จพระราชชนนี หรือพระอัครมเหสี ในงานพระราชพิธีเต็มยศใหญ่ พระภูษาที่ทรงในคืนนั้น ก็ให้เชิญไปในเรือพระที่นั่งนั้นด้วย มีพระราชดำรัสสั่งมหาดเล็กว่า ให้นำพระภูษาทรงนี้ไปแสดงแก่หญิงชราผู้นั้น ให้นำตัวหญิงชราลงเรือพระที่นั่งมายังพระราชวัง แล้วนำเข้ามาเฝ้า เมื่อหญิงชราเห็นมหาดเล็กเดินมาหาตน ก็ตกใจกลัวจนตัวสั่น คิดว่าพระเจ้าอยู่หัวคงจะได้ทรงทราบถึงเหตุที่เกิดขึ้นในบ้านของตนเมื่อตอนกลางคืน ถึงแม้มหาดเล็กจะปลอบว่า พระเจ้าอยู่หัวตรัสใช้ให้มารับ หญิงชรานั้นก็มิได้เชื่อว่าตนจะมิต้องราชภัย เฝ้าแต่วิงวอนให้มหาดเล็กกลับไปกราบบังคมทูลว่า ตนได้ตกใจตายเสียแล้วด้วยอาการอันน่าสมเพช ขณะนั้นแม่เฒ่าก็คิดจะหนีไปหาพระสงฆ์ให้ช่วยชีวิตตนไว้ แต่เหล่ามหาดเล็กก็มิได้ฟัง เข้ากุมตัวแม่เฒ่านั้นอย่างนอบน้อม ช่วยกันแต่งกายแม่เฒ่า แล้วนำขึ้นเรือมายังพระราชวัง นำเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นหญิงชรานั้น ก็เสด็จพระราชดำเนินเข้ามารับมือหญิงชรานั้นไว้ แล้วตรัสว่า “พระองค์คือคนที่เข้าไปนอนค้างที่กระท่อม แลหญิงชรานั้นได้มีอุปการคุณแก่พระองค์เมื่อคืน” แล้วตรัสต่อไปว่า “แลเพระเหตุว่าในยามยาก ท่านได้รับเราเป็นบุตรของท่าน ต่อนี้ไปเราจะเรียกท่านว่าแม่ และรักท่านเช่นเดียวกับมารดาบังเกิดเกล้าของเรา”
พระเจ้าอยู่หัวตรัสสั่งให้จัดตำหนักในพระราชวัง ให้หญิงชรานั้นได้เข้าพำนักอาศัย แล้วทรงอุปการะเลี้ยงดู จนหญิงชรานั้นถึงกาลเวลาแห่งตนประดุจว่าเป็นพระราชมารดาแท้จริง เมื่อหญิงชรานั้นถึงแก่กรรมลง ก็ได้พระราชทานเพลิงศพเช่นเดียวกับพระบรมศพพระมเหสี
จากเรื่องราวที่วันวลิตเล่ามา ผู้เขียนยังประทับใจมิรู้หาย เป็นภาพอีกด้านหนึ่งที่สำคัญยิ่ง คงมิใช่จะทรงมีน้ำพระราชหฤทัย อันเปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณาต่อผู้ยากไร้ เฉพาะหญิงชราคนนั้นเท่านั้น ทว่าจะต้องครอบคลุมไปถึงผู้ยากไร้อีกจำนวนมหาศาลในพระราชอาณาจักรอย่างแน่นอน
บุคคลใดประพฤติดีประพฤติชอบ จักได้รับการสนับสนุน และบุคคลใดประพฤติมิดีมิชอบ จะได้รับการลงโทษอย่างเฉียบขาด โดยเสมอหน้ากัน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่แบ่งชั้นวรรณะ ไม่จำแนกคนเขาคนเรา
พระองค์ทรงเป็นนักรบที่ยิ่งใหญ่ รักชาติเหนือสิ่งใด และทรงห่วงใยต่อผู้ยากไร้ ซึ่งเป็นประชาชนคนส่วนใหญ่ของแผ่นดิน ทุกข์ของแผ่นดิน ก็คือทุกข์ของพระองค์
แบบอย่างที่ดี ตัวอย่างที่ดี มีค่าหรือดีกว่าคำพูดคำสอน อันนี้ชัดแจ้งแทงตลอดอยู่แล้ว เนื่องเพราะ “ธรรมใดก็ไร้ค่า ถ้าไม่ทำ”
สังคมเรา สังคมโลก ทุกวันนี้ “พูดมาก” เกินไป ไม่กลัวคนอื่นจะรำคาญบ้างหรือ หรือไม่ก็เกรงใจตัวเองจะรำคาญบ้าง ของดีๆ มีคุณค่า ส่วนมากมันเกิดจากตัวของมันเอง เกิดจากภายใน แล้วไหลออกสู่ภายนอก ดูดอกไม้ผลิบานเป็นตัวอย่างซิ มีใครไปสั่งมัน มันผลิบานและส่งกลิ่นหอมออกมาเอง
หัด “หยุด นิ่ง เงียบ” บ้างก็จะดี (พูดมากเสียมาก พูดน้อยเสียน้อย ไม่พูดไม่เสีย นิ่งเสียโพธิสัตว์ นั่นคือคำพระเตือน-อย่างหลวงปู่ทวด) แล้วกลับไป “ทำ” ในสิ่งที่เป็นธรรม ถูกต้อง ดีงาม สร้างสรรค์ สันติสุขก็จะเกิดขึ้นเองอย่างเป็นธรรมชาติ
เรื่องสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ยกมานี้ ไม่ควรพูดมาก แต่ให้ดูและสังเกต ตัวเองอ่านแล้วรู้แล้วเป็นอย่างไร คนอื่นอ่านแล้วรู้แล้วเป็นอย่างไร ชอบหรือไม่ชอบ
คำตอบ ชอบหรือไม่ชอบ นี่แหละ จะเป็นกระจกส่องตนหรือคนอื่นได้อย่างวิเศษ ไม่เชื่อก็ลองดูหัดมีวิมังสา วิเคราะห์ วิจารณ์ ไตร่ตรองบ้าง จะได้รู้เท่าทันและสัมผัสตน สังคม โลก แลจักรวาล อย่างเป็นจริง