อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประเทศไทยขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ด้วยการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคนแรกที่ถูกวุฒิสภาถอดถอนออกจากตำแหน่งนับตั้งแต่มีบทบัญญัตินี้มาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 17 เกือบจะ 18 ปี
ความที่เป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ก็เลยไม่ค่อยชัดเจนในเรื่องผลของการถูกถอดถอนกันเท่าไรนัก
ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ชัดเจนแล้วหากอ่านประกอบกัน 2 มาตรา คือมาตราว่าด้วยผลของการถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งโดยตรง และมาตราว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นต้นสายธารของลักษณะต้องห้ามดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและตำแหน่งทางการเมืองอื่นด้วย
รัฐธรรมนูญ 2550 มาตราว่าด้วยผลของการถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งโดยตรง อยู่ในมาตรา 274 วรรคสอง
“ผู้ใดถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งหรือให้ออกจากราชการนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติให้ถอดถอน และให้ตัดสิทธิผู้นั้นในการดำรงตำแหน่งใดในทางการเมืองหรือในการรับราชการเป็นเวลาห้าปี”
ที่พูดกันทั่วไปในภาษาชาวบ้านว่าถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปีน่ะถูกต้องแล้ว
แต่ยังไม่ถูกทั้งหมด!
เพราะต้องตามไปดูมาตราว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นต้นสายธารของลักษณะต้องห้ามดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและตำแหน่งทางการเมืองอื่นด้วย ซึ่งในรัฐธรรมนูญ 2550 อยู่ที่มาตรา 102 ที่มีอยู่ 14 วงเล็บหรือภาษากฎหมายเรียกว่า 14 อนุมาตรา กรณีนี้อยู่ในวงเล็บ 14 หรืออนุมาตรา 14
“บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร... (14) เคยถูกวุฒิสภามีมติตามมาตรา 274 ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง”
คำว่า “เคย” ในอนุมาตรานี้สำคัญมาก
แปลว่าแม้โทษโดยตรงคือตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งใดในทางการเมืองหรือในการรับราชการเป็นเวลา 5 ปีก็จริง แต่โทษต่อเนื่องคือห้ามสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตลอดชีวิต ก็คือไม่มีโอกาสเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตลอดชีวิต
และถ้าดูมาตราว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของการเข้าสมัครรับเลือกตั้งหรือเข้ารับการคัดสรรเป็นสมาชิกวุฒิสภาในมาตรา 115 (8) ก็จะพบว่าโยงอยู่กับมาตรา 102 (14) นี้เช่นกัน ก็แปลว่าไม่มีโอกาสเป็นสมาชิกวุฒิสภาตลอดชีวิต
และเช่นกันกับลักษณะต้องห้ามของการเป็นรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีในมาตรา 174 (4) ก็ยังโยงอยู่กับมาตรา 102 (14) ทำให้ไม่สามารถเป็นรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีตลอดชีวิต
สรุปก็คือถ้าถูกถอดถอดออกจากตำแหน่งก็จะถูกตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองตลอดชีวิต
นี่คือมาตรฐานของรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ดำรงมา 7 ปี!
หลักการนี้พัฒนายกระดับมาจากรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ให้กำเนิดบทบัญญัติการถอดถอนออกจากตำแหน่งขึ้นมาเป็นครั้งแรก ขอกล่าวโดยสรุปมาตราว่าด้วยผลของการถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งโดยตรงของรัฐธรรมนูญ 2540 อยู่ในมาตรา 307 วรรคสอง มีเนื้อความเดียวกับรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 274 วรรคสอง ทุกตัวอักษร แต่เมื่อตามไปดูมาตราว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นต้นสายธารของลักษณะต้องห้ามดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและตำแหน่งทางการเมืองอื่นด้วย ซึ่งในรัฐธรรมนูญ 2540 อยู่ที่มาตรา 109 จะพบว่ากรณีนี้อยู่ในอนุมาตรา 14 เหมือนรัฐธรรมนูญ 2550 ก็จริง แต่เนื้อความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
รัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 109 (14) เขียนไว้เพียงว่า “...เคยถูกวุฒิสภามีมติตามมาตรา 307 ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งและยังไม่พ้นกำหนดห้าปีนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติจนถึงวันเลือกตั้ง” เท่านั้น
ซึ่งก็หมายความว่ามาตรฐานของรัฐธรรมนูญ 2540 ห้ามเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา รัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี เพียง 5 ปีเท่านั้น
ส่วนในกรณีอดีตนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยที่เพิ่งถูกสภานิติบัญญัติแห่งชาติปฏิหน้าที่วุฒิสภามีมติถอดถอนออกจากตำแหน่งเมื่อวันศุกร์ที่ 23 มกราคม 2558 ที่ผ่านมา ผลทางตรงก็คือถูกตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งใดในทางการเมืองหรือในการรับราชการเป็นเวลา 5 ปีแน่นอน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 65 วรรคสอง ซึ่งมีความเหมือนความในรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 274 วรรคสองทุกตัวอักษร
แต่เนื่องจากขณะนี้ไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรบังคับใช้ จึงไม่อาจจะตามไปดูมาตราว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นต้นสายธารของลักษณะต้องห้ามดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและตำแหน่งทางการเมืองอื่นด้วยได้ และการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็กำลังดำเนินอยู่ก็ยังไม่ถึงบทบัญญัติว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงยังไม่อาจกล่าวสรุปฟันธงไปได้ว่าอนาคตของอดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทยผู้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ขึ้นมามากมายจะกลายเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ขึ้นมาอีกหน้าว่าเป็นบุคคลแรกต้องห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองตลอดชีวิตอีกด้วยหรือไม่
แต่เนื่องจากนี่เป็นมาตรการที่ต้องการให้ผู้มีมลทินน้อยที่สุดเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง
มาตรฐานของว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จึงไม่น่าที่จะต่ำกว่ารัฐธรรมนูญฉบับเก่า
ซึ่งในกรณีนี้คือรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 102 (14) ที่ยกระดับพัฒนามาจากรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 109 (14) แล้ว
และเมื่อคำนึงถึงว่าการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีกรอบที่บังคับทิศทางไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ทั้งมาตรา 27 วรรคสองและมาตรา 35 โดยเฉพาะมาตรา 35 (4) ที่ไม่ต้องการให้คนที่ถูกตัดสินว่าทุจริตประพฤตมิชอบเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาดด้วยแล้ว ณ นาทีนี้ก็ยากจะคิดเป็นอื่น
มาตราว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นต้นสายธารของลักษณะต้องห้ามดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและตำแหน่งทางการเมืองอื่นด้วยในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องไม่มีมาตรฐานต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 102 (14)
“บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร... เคยถูกวุฒิสภามีมติตามมาตรา 274 ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง”
(หมายเหตุ : ทั้งหมดเป็นความคิดเห็นส่วนตัว)
ความที่เป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ก็เลยไม่ค่อยชัดเจนในเรื่องผลของการถูกถอดถอนกันเท่าไรนัก
ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ชัดเจนแล้วหากอ่านประกอบกัน 2 มาตรา คือมาตราว่าด้วยผลของการถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งโดยตรง และมาตราว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นต้นสายธารของลักษณะต้องห้ามดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและตำแหน่งทางการเมืองอื่นด้วย
รัฐธรรมนูญ 2550 มาตราว่าด้วยผลของการถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งโดยตรง อยู่ในมาตรา 274 วรรคสอง
“ผู้ใดถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งหรือให้ออกจากราชการนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติให้ถอดถอน และให้ตัดสิทธิผู้นั้นในการดำรงตำแหน่งใดในทางการเมืองหรือในการรับราชการเป็นเวลาห้าปี”
ที่พูดกันทั่วไปในภาษาชาวบ้านว่าถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปีน่ะถูกต้องแล้ว
แต่ยังไม่ถูกทั้งหมด!
เพราะต้องตามไปดูมาตราว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นต้นสายธารของลักษณะต้องห้ามดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและตำแหน่งทางการเมืองอื่นด้วย ซึ่งในรัฐธรรมนูญ 2550 อยู่ที่มาตรา 102 ที่มีอยู่ 14 วงเล็บหรือภาษากฎหมายเรียกว่า 14 อนุมาตรา กรณีนี้อยู่ในวงเล็บ 14 หรืออนุมาตรา 14
“บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร... (14) เคยถูกวุฒิสภามีมติตามมาตรา 274 ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง”
คำว่า “เคย” ในอนุมาตรานี้สำคัญมาก
แปลว่าแม้โทษโดยตรงคือตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งใดในทางการเมืองหรือในการรับราชการเป็นเวลา 5 ปีก็จริง แต่โทษต่อเนื่องคือห้ามสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตลอดชีวิต ก็คือไม่มีโอกาสเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตลอดชีวิต
และถ้าดูมาตราว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของการเข้าสมัครรับเลือกตั้งหรือเข้ารับการคัดสรรเป็นสมาชิกวุฒิสภาในมาตรา 115 (8) ก็จะพบว่าโยงอยู่กับมาตรา 102 (14) นี้เช่นกัน ก็แปลว่าไม่มีโอกาสเป็นสมาชิกวุฒิสภาตลอดชีวิต
และเช่นกันกับลักษณะต้องห้ามของการเป็นรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีในมาตรา 174 (4) ก็ยังโยงอยู่กับมาตรา 102 (14) ทำให้ไม่สามารถเป็นรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีตลอดชีวิต
สรุปก็คือถ้าถูกถอดถอดออกจากตำแหน่งก็จะถูกตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองตลอดชีวิต
นี่คือมาตรฐานของรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ดำรงมา 7 ปี!
หลักการนี้พัฒนายกระดับมาจากรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ให้กำเนิดบทบัญญัติการถอดถอนออกจากตำแหน่งขึ้นมาเป็นครั้งแรก ขอกล่าวโดยสรุปมาตราว่าด้วยผลของการถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งโดยตรงของรัฐธรรมนูญ 2540 อยู่ในมาตรา 307 วรรคสอง มีเนื้อความเดียวกับรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 274 วรรคสอง ทุกตัวอักษร แต่เมื่อตามไปดูมาตราว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นต้นสายธารของลักษณะต้องห้ามดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและตำแหน่งทางการเมืองอื่นด้วย ซึ่งในรัฐธรรมนูญ 2540 อยู่ที่มาตรา 109 จะพบว่ากรณีนี้อยู่ในอนุมาตรา 14 เหมือนรัฐธรรมนูญ 2550 ก็จริง แต่เนื้อความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
รัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 109 (14) เขียนไว้เพียงว่า “...เคยถูกวุฒิสภามีมติตามมาตรา 307 ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งและยังไม่พ้นกำหนดห้าปีนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติจนถึงวันเลือกตั้ง” เท่านั้น
ซึ่งก็หมายความว่ามาตรฐานของรัฐธรรมนูญ 2540 ห้ามเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา รัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี เพียง 5 ปีเท่านั้น
ส่วนในกรณีอดีตนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยที่เพิ่งถูกสภานิติบัญญัติแห่งชาติปฏิหน้าที่วุฒิสภามีมติถอดถอนออกจากตำแหน่งเมื่อวันศุกร์ที่ 23 มกราคม 2558 ที่ผ่านมา ผลทางตรงก็คือถูกตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งใดในทางการเมืองหรือในการรับราชการเป็นเวลา 5 ปีแน่นอน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 65 วรรคสอง ซึ่งมีความเหมือนความในรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 274 วรรคสองทุกตัวอักษร
แต่เนื่องจากขณะนี้ไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรบังคับใช้ จึงไม่อาจจะตามไปดูมาตราว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นต้นสายธารของลักษณะต้องห้ามดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและตำแหน่งทางการเมืองอื่นด้วยได้ และการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็กำลังดำเนินอยู่ก็ยังไม่ถึงบทบัญญัติว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงยังไม่อาจกล่าวสรุปฟันธงไปได้ว่าอนาคตของอดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทยผู้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ขึ้นมามากมายจะกลายเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ขึ้นมาอีกหน้าว่าเป็นบุคคลแรกต้องห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองตลอดชีวิตอีกด้วยหรือไม่
แต่เนื่องจากนี่เป็นมาตรการที่ต้องการให้ผู้มีมลทินน้อยที่สุดเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง
มาตรฐานของว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จึงไม่น่าที่จะต่ำกว่ารัฐธรรมนูญฉบับเก่า
ซึ่งในกรณีนี้คือรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 102 (14) ที่ยกระดับพัฒนามาจากรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 109 (14) แล้ว
และเมื่อคำนึงถึงว่าการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีกรอบที่บังคับทิศทางไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ทั้งมาตรา 27 วรรคสองและมาตรา 35 โดยเฉพาะมาตรา 35 (4) ที่ไม่ต้องการให้คนที่ถูกตัดสินว่าทุจริตประพฤตมิชอบเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาดด้วยแล้ว ณ นาทีนี้ก็ยากจะคิดเป็นอื่น
มาตราว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นต้นสายธารของลักษณะต้องห้ามดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและตำแหน่งทางการเมืองอื่นด้วยในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องไม่มีมาตรฐานต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 102 (14)
“บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร... เคยถูกวุฒิสภามีมติตามมาตรา 274 ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง”
(หมายเหตุ : ทั้งหมดเป็นความคิดเห็นส่วนตัว)