วานนี้ (21 ม.ค.) ที่สำนักงานอัยการ ถ.รัชดาภิเษก พระสุเทพ ปภากโร อดีตเลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) กับพวกแกนนำ ได้เข้ารายงานตัวต่อพนักงานอัยการ ตามที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ นัดรายงานตัวแกนนำ 28 คน หลังมีความเห็น สั่งฟ้องในฐานความผิดร่วมกันเป็นกบฏ และข้อหาอื่นๆ
โดยนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โฆษก กปปส. กล่าวถึงกรณีการเข้ารายงานตัวกับอัยการข้อหากบฏ ว่า แกนนำ กปปส. ทุกคนเคารพกระบวนการยุติธรรม และพร้อมจะต่อสู้คดีทุกคดี โดยไม่หลบหนีไปไหน เพราะที่ผ่านมา ได้ร่วมต่อสู้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ร่วมกับมวลมหาประชาชนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ
นายเอกนัฏ กล่าวต่อว่า มวลมหาประชาชน ได้ร่วมกันต่อสู้เพื่อต่อต้านการออกกฎหมาย พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งมีผลเป็นการลบล้างความผิดให้กับนักการเมืองผู้กระทำการทุจริต เปิดโปงความเลวร้ายของระบอบที่หวังครอบงำระบบการเมืองของประเทศไทย ด้วยวิธีการนอกเหนือบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ภายใต้ระบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน ซึ่งตลอด 204 วัน ของการชุมนุม ได้ พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การเคลื่อนไหวของมวลมหาประชาชนเป็นการชุมนุมอย่างสงบ สันติ เปิดเผย และปราศจากอาวุธ อีกทั้งยังเป็นการชุมนุมที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ได้รับการรับรองจากมติศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2556 ที่ระบุว่า การชุมนุมของมวลมหาประชาชน เป็นการใช้เสรีภาพโดยสงบ เนื่องจากไม่ไว้วางใจการบริหารของรัฐบาล นอกจากนั้น ศาลแพ่งก็มีคำสั่งเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 ห้ามรัฐบาลใช้ข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินในการสลายการชุมนุม เพราะเป็นการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธ
ทั้งนี้ ความสูญเสียที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดขึ้นโดยการกระทำของผู้ชุมนุม แต่เป็นการกระทำของกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่ขัดผลประโยชน์
นายเอกนัฏ ยังกล่าวต่อว่า เราขอตั้งข้อสังเกตว่า การตั้งข้อกล่าวหากบฏ กับแกนนำและมวลมหาประชาชน มีพฤติการณ์พิเศษ ริเริ่มโดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในช่วงที่ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ ดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดี มีการตั้งข้อกล่าวหาร้ายแรง ทั้งๆที่ศาลได้วินิจฉัยรับรองความบริสุทธิ์ของการชุมนุมแล้ว เห็นได้ว่า เป็นการตั้งกล่าวหาอย่างอคติ โดยกลุ่มคนผู้เสียผลประโยชน์ตั้งตัวเป็นปรปักษ์กับมวลมหาประชาชน
อย่างไรก็ตาม แกนนำและมวลมหาประชาชนทุกคน เชื่อมั่นว่ากระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย สามารถแยกแยะผิดถูก และในที่สุดจะให้ความเป็นธรรมกับแกนนำและมวลมหาประชาชน ที่เสียสละเพื่อรักษาประโยชน์ของชาติบ้านเมือง
ด้านนายโกศลวัฒน์ อินทุจรรยงค์ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า ขั้นตอนในการรายงานตัวครั้งนี้ ทางพนักงานกรมสอบสวนคดีพิเศษพาผู้ต้องหาที่เป็นแกนนำกปปส. ทั้ง 28 คน มารายงานตัวต่อพนักงานอัยการ ภายหลังจากที่ทางดีเอสไอได้ส่งสำนวนมาให้ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ ได้นัดให้ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมด มาฟังคำสั่งอีกครั้งในวันที่ 5 มี.ค.นี้ เวลา 10.00 น.
ส่วนที่ผู้ต้องหาได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมไว้นั้น ทางสำนักงานอัยการสูงสุด ก็จะรับไว้พิจารณาและตรวจดูเอกสารที่ได้ยื่นเข้ามา เนื่องจากในหนังสือขอความเป็นธรรม มีหลายประเด็น ซึ่งทางอัยการจะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ส่วน น.ส.จิตภัสร์ กฤดากร ที่ไม่ได้มารายงานตัวในครั้งนี้ นื่องจากติดภารกิจ เดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งได้ทำหนังสือแจ้งมาก่อนหน้านี้แล้ว โดยหลังจากนี้อัยการจะนัดให้มารายงานตัวอีกครั้ง ส่วนสำนวนคดีบางส่วนที่ยื่นฟ้องต่อศาลไปแล้วนั้นก็ให้ดำเนินต่อไป ส่วนผู้ต้องหาอื่นๆ หากสุดท้ายอัยการมีคำสั่งฟ้อง ก็สามารถยื่นขอรวมสำนวนคดีในภายหลังได้
โดยนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โฆษก กปปส. กล่าวถึงกรณีการเข้ารายงานตัวกับอัยการข้อหากบฏ ว่า แกนนำ กปปส. ทุกคนเคารพกระบวนการยุติธรรม และพร้อมจะต่อสู้คดีทุกคดี โดยไม่หลบหนีไปไหน เพราะที่ผ่านมา ได้ร่วมต่อสู้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ร่วมกับมวลมหาประชาชนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ
นายเอกนัฏ กล่าวต่อว่า มวลมหาประชาชน ได้ร่วมกันต่อสู้เพื่อต่อต้านการออกกฎหมาย พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งมีผลเป็นการลบล้างความผิดให้กับนักการเมืองผู้กระทำการทุจริต เปิดโปงความเลวร้ายของระบอบที่หวังครอบงำระบบการเมืองของประเทศไทย ด้วยวิธีการนอกเหนือบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ภายใต้ระบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน ซึ่งตลอด 204 วัน ของการชุมนุม ได้ พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การเคลื่อนไหวของมวลมหาประชาชนเป็นการชุมนุมอย่างสงบ สันติ เปิดเผย และปราศจากอาวุธ อีกทั้งยังเป็นการชุมนุมที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ได้รับการรับรองจากมติศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2556 ที่ระบุว่า การชุมนุมของมวลมหาประชาชน เป็นการใช้เสรีภาพโดยสงบ เนื่องจากไม่ไว้วางใจการบริหารของรัฐบาล นอกจากนั้น ศาลแพ่งก็มีคำสั่งเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 ห้ามรัฐบาลใช้ข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินในการสลายการชุมนุม เพราะเป็นการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธ
ทั้งนี้ ความสูญเสียที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดขึ้นโดยการกระทำของผู้ชุมนุม แต่เป็นการกระทำของกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่ขัดผลประโยชน์
นายเอกนัฏ ยังกล่าวต่อว่า เราขอตั้งข้อสังเกตว่า การตั้งข้อกล่าวหากบฏ กับแกนนำและมวลมหาประชาชน มีพฤติการณ์พิเศษ ริเริ่มโดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในช่วงที่ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ ดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดี มีการตั้งข้อกล่าวหาร้ายแรง ทั้งๆที่ศาลได้วินิจฉัยรับรองความบริสุทธิ์ของการชุมนุมแล้ว เห็นได้ว่า เป็นการตั้งกล่าวหาอย่างอคติ โดยกลุ่มคนผู้เสียผลประโยชน์ตั้งตัวเป็นปรปักษ์กับมวลมหาประชาชน
อย่างไรก็ตาม แกนนำและมวลมหาประชาชนทุกคน เชื่อมั่นว่ากระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย สามารถแยกแยะผิดถูก และในที่สุดจะให้ความเป็นธรรมกับแกนนำและมวลมหาประชาชน ที่เสียสละเพื่อรักษาประโยชน์ของชาติบ้านเมือง
ด้านนายโกศลวัฒน์ อินทุจรรยงค์ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า ขั้นตอนในการรายงานตัวครั้งนี้ ทางพนักงานกรมสอบสวนคดีพิเศษพาผู้ต้องหาที่เป็นแกนนำกปปส. ทั้ง 28 คน มารายงานตัวต่อพนักงานอัยการ ภายหลังจากที่ทางดีเอสไอได้ส่งสำนวนมาให้ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ ได้นัดให้ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมด มาฟังคำสั่งอีกครั้งในวันที่ 5 มี.ค.นี้ เวลา 10.00 น.
ส่วนที่ผู้ต้องหาได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมไว้นั้น ทางสำนักงานอัยการสูงสุด ก็จะรับไว้พิจารณาและตรวจดูเอกสารที่ได้ยื่นเข้ามา เนื่องจากในหนังสือขอความเป็นธรรม มีหลายประเด็น ซึ่งทางอัยการจะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ส่วน น.ส.จิตภัสร์ กฤดากร ที่ไม่ได้มารายงานตัวในครั้งนี้ นื่องจากติดภารกิจ เดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งได้ทำหนังสือแจ้งมาก่อนหน้านี้แล้ว โดยหลังจากนี้อัยการจะนัดให้มารายงานตัวอีกครั้ง ส่วนสำนวนคดีบางส่วนที่ยื่นฟ้องต่อศาลไปแล้วนั้นก็ให้ดำเนินต่อไป ส่วนผู้ต้องหาอื่นๆ หากสุดท้ายอัยการมีคำสั่งฟ้อง ก็สามารถยื่นขอรวมสำนวนคดีในภายหลังได้