เริ่มต้นปีใหม่ยังไม่ทันเต็มเดือนบ้านเมืองเข้าสู่สภาวะตึงเครียด บรรยากาศปรองดองตามคำอ้อนสลับเสียงคำรามเป็นระยะนั้นเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ความสงบที่ผ่านมาเป็นบรรยากาศจำลองมากกว่า ของจริงต้องเกิดขึ้นหลังจากรัฐธรรมนูญใหม่ออกมา
ทั่นอภิมหาเนติบริกรได้เตือนแล้วว่าช่วงนั้นบ้านเมืองจะเข้าใกล้จุดเดือด หลายฝ่ายอยากลองของ พวกร้อนวิชาการเมืองจ้องทดสอบว่ากฎอัยการศึกจะถูกนำมาใช้กับคนดีปกป้องทรัพย์สินแผ่นดินหรือไม่ เมื่อพวกสูญเสียอำนาจแกล้งตายเริ่มกระดิกแล้ว
ชาวบ้านถูกเป่าหูให้เชื่อเสมอว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นกฎหมายแม่บท ประวัติศาสตร์ไทยได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามวลชนหลายกลุ่มได้ออกมาลองของกับกลุ่มผู้กุมอำนาจบริหารบ้านเมือง เกิดปะทะบาดเจ็บล้มตายหลายครั้ง
ไม่เคยปรากฏว่าประชาชนเป็นผู้ฉีกรัฐธรรมนูญแม้แต่ครั้งเดียว ผู้ฉีกเป็นกลุ่มเดิม ทำรัฐประหารภายใต้ข้ออ้างซ้ำซากว่านักการเมืองเป็นตัวปัญหา เมื่อสำเร็จก็ไม่เห็นผู้ทำรัฐประหารจัดการนักการเมืองชั่วกังฉิน ปล่อยให้สืบทอดอำนาจมีทายาทย่ำยีบ้านเมือง
ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมากฉบับแห่งหนึ่งในโลก เรามีผู้เชี่ยวชาญการร่างรัฐธรรมนูญระดับปรมาจารย์มืออาชีพ เมื่อร่างบ่อยๆ ตามใจผู้ชนะรัฐประหาร ความเขี้ยวเชี่ยวชาญด้านหมกเม็ด สร้างรูหมาลอด ขมวดปมเงื่อนให้ผู้รู้แข่งกันตีความ
ถ้าใครเขียนรัฐธรรมนูญ กฎหมายให้อ่านรู้เรื่องเข้าใจง่าย แสดงว่าวิชาไม่ถึงขั้น!
ประเด็นถกเถียงกันในกลุ่มนักแต่งรัฐธรรมนูญในสภาปฏิรูปแห่งชาติขณะนี้ไม่ใช่มีเพียงเรื่องกฎหมาย แต่เกี่ยวโยงระหว่างบทบาทหน้าที่อำนาจของนักแต่งรัฐธรรมนูญกับพวกนั่งรอจนใกล้เซ็งในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งรอวาระพิสูจน์กึ๋นและความกล้า
ก็เรื่องถอดถอน 2 ประธานเครือข่ายคนเร่ร่อนหนีคุกอยู่ต่างประเทศ และแม่นางปูโฉมสคราญรอยยิ้มหยาดเยิ้มจากดินแดนล้านนานั่นแหละ จะเป็นตัวชี้ทิศทางการเมืองของบ้านนี้เมืองนี้ ชาวบ้านแหงนชะเง้อรอว่าแม่นางปูและพวกจะรอดหรือไม่รอดทั้งพวง
นั่นเป็นเรื่องที่ชาวบ้านไม่มีสิทธิ ได้แต่รอว่า สนช.จะมีผู้กล้า ผู้ปอดลอย ผู้เอาตัวรอดแทงกั๊กด้วยการงดออกเสียงกี่คน จะได้ชื่นชม หรือโห่ฮา ถากถางให้เต็มอารมณ์เคืองแค้น จะได้เห็นว่ามี “สั่งได้” ตามที่มีคนสงสัยในบรรยากาศของการเกี๊ยะเซี้ยหรือไม่
เรื่องนี้เป็นตัววัดสภาพรัฐบาลท่านผู้นำว่ามีศักดิ์ศรีบารมีคู่ควรเมืองหรือไม่เช่นกัน
แต่เรื่องสำคัญในขณะนี้ค้างคาจากปีที่ผ่านมาคือการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 21 มีเสียงถกเถียงว่าควรปฏิรูปและเปลี่ยนเงื่อนไขให้รัฐได้ผลประโยชน์อย่างเต็มที่ เมื่อถกกันน้ำลายแตกฟอง กลุ่มมิตรต้องแตกแยกกัน ท่านผู้นำได้เสนอให้ สปช.โหวต
ในเสียงลงคะแนนมี 130 เสียงไม่เห็นด้วยกับการเปิดสัมปทาน มี 79 เสียงอยากให้เปิด แต่มี 21 คนงดออกเสียงโดยไม่ทราบสาเหตุว่าเป็นใบ้ เจ็บคอ หรือมีปัญหาอะไร เป็นรุ่นใคร เห็นแก่หน้าใคร ถูกใครให้เงียบ แทงกั๊กเอาตัวรอดตามแบบคนไร้ความกล้า
เมื่อออกมาลายนี้ ก็มีเสียงเสนาบดีคำรามว่า ถ้าทำตามเสียง สปช.ส่วนใหญ่ ประเทศไทยจะเสื่อมเกียรติ ขาดความน่าเชื่อถือของนักลงทุน จะมีวิกฤตด้านพลังงานในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ท่านอภิมหาเนติบริกรออกแนวกั๊กเช่นกันบอกว่ารัฐบาลมีทางเลือก
ไม่ทำตาม สปช.เสียงส่วนใหญ่ก็ได้ แต่ต้องคำนึงถึงมารยาท แต่ท่านผู้นำคำรามสำทับว่าการเปิดสัมปทานต้องเดินหน้า ไม่ต้องทำตาม สปช.เสียงส่วนใหญ่ อาจขาดความรู้ กระทรวงพลังงานมีหน้าที่ต้องทำ ปกติไม่ต้องขออนุญาตคณะรัฐมนตรีด้วยซ้ำ
ทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่ากระทรวงพลังงานอยู่เหนือกว่า ครม.มีอำนาจ มีสิทธิเอาสมบัติแผ่นดินไปเสนอให้บริษัทต่างชาติและเอกชน โดยไม่ต้องขออนุมัติจาก ครม. ทั้งๆ ที่ปิโตรเลียมบนบกและในทะเลย่อมเป็นทรัพย์สินของคนไทยทุกคนตามกฎหมาย
พวกรัฐมนตรีมาแล้วก็ไปเมื่อถึงเวลา ไม่เคยเสนอหน้าขอรับผิดชอบเมื่อเกิดความเสียหาย เช่น กรณีจำนำข้าวนั่นปะไร บ้านเมืองเจ๊งไป 7-8 แสนล้านบาท ไม่มีใครยื่นหน้าสวย หน้าเหี่ยวหัวหลิม ประกาศว่าข้าพเจ้า ดิฉัน ขอรับผิดชอบเต็มบ้อง คนอื่นถอยไป!
เมื่อเร่งหนัก ไม่ฟังใคร ชาวบ้านสงสัยว่ามันมีความรีบร้อนอะไร ญาติใครจะเป็นจะตายจึงอยากเปิดสัมปทาน รอไม่ได้บ้านเมืองจะวิกฤต มีเสียงปรามปนคำรามแกมด้วยว่าอย่าเดินขบวน ถ้าเกิดปัญหาพลังงานในประเทศขาดแคลนใครจะรับผิดชอบ
ชาวบ้านคันปากมาก ตะโกนสวน “พวกข้านี่แหละโว้ย รับผิดชอบมาโดยตลอด ไม่เคยหนีคุกไปไหนเหมือนพวกกังฉินกินเมือง พลังงานขาดแคลนก็นำเข้ามาซิฟ่ะ ราคาถูกหรือแพง พ่อค้าน้ำมันอยากได้กำไรเท่าไหร่ชาวบ้านก็ควักกระเป๋าจ่ายอยู่แล้วนี่หว่า”
ที่ชาวบ้านร้องเอะอะโวยวาย เพราะไม่อยากให้พวกขายชาติเอาทรัพย์สินแผ่นดินไปประเคนให้ต่างชาติ เพราะสัมปทานคือสิทธิที่ถือครองทรัพย์สิน ผู้ถือสัมปทานจะเอาทรัพย์สินไปทำอะไรก็ได้ ชาวบ้านเจ้าของประเทศเพียงในนามได้แต่อ้าปากค้าง
ต่อไปนี้ ชาวบ้านผู้เสียภาษีสร้างถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำประปาให้พ่อค้าน้ำมันจะไม่ยอมอีกแล้ว พวกแพทย์ชนบท พวกขาหุ้นพลังงาน ชาวบ้านรักชาติพร้อมเคลื่อนไหว ไม่หวั่นเสียงคำรามของใครทั้งนั้น ให้มันรู้กันไปว่าหน้าไหนจะกล้าสั่งเจ้าหน้าที่ฆ่าคน
การบริหารบ้านเมืองเป็นเพียงอำนาจชั่วคราว จะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ก็ตาม แต่การไม่ยอมฟัง สปช.ถูกมองว่าน่าจะมีเงื่อนงำทำให้ลุกลี้ลุกลนเพื่อตอบสนองความต้องการของใคร งานนี้ผู้มีอำนาจต้องการ “ลองของ” ประชาชนว่ายังมีพลังกล้าหาญมั้ย
เรื่องพรรค์นี้ถ้าไม่ลองก็ไม่รู้ แต่ต้องระวัง “กว่าจะรู้ก็สายเกินไป” จะเผ่นหนีไม่ทัน!
ทั่นอภิมหาเนติบริกรได้เตือนแล้วว่าช่วงนั้นบ้านเมืองจะเข้าใกล้จุดเดือด หลายฝ่ายอยากลองของ พวกร้อนวิชาการเมืองจ้องทดสอบว่ากฎอัยการศึกจะถูกนำมาใช้กับคนดีปกป้องทรัพย์สินแผ่นดินหรือไม่ เมื่อพวกสูญเสียอำนาจแกล้งตายเริ่มกระดิกแล้ว
ชาวบ้านถูกเป่าหูให้เชื่อเสมอว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นกฎหมายแม่บท ประวัติศาสตร์ไทยได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามวลชนหลายกลุ่มได้ออกมาลองของกับกลุ่มผู้กุมอำนาจบริหารบ้านเมือง เกิดปะทะบาดเจ็บล้มตายหลายครั้ง
ไม่เคยปรากฏว่าประชาชนเป็นผู้ฉีกรัฐธรรมนูญแม้แต่ครั้งเดียว ผู้ฉีกเป็นกลุ่มเดิม ทำรัฐประหารภายใต้ข้ออ้างซ้ำซากว่านักการเมืองเป็นตัวปัญหา เมื่อสำเร็จก็ไม่เห็นผู้ทำรัฐประหารจัดการนักการเมืองชั่วกังฉิน ปล่อยให้สืบทอดอำนาจมีทายาทย่ำยีบ้านเมือง
ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมากฉบับแห่งหนึ่งในโลก เรามีผู้เชี่ยวชาญการร่างรัฐธรรมนูญระดับปรมาจารย์มืออาชีพ เมื่อร่างบ่อยๆ ตามใจผู้ชนะรัฐประหาร ความเขี้ยวเชี่ยวชาญด้านหมกเม็ด สร้างรูหมาลอด ขมวดปมเงื่อนให้ผู้รู้แข่งกันตีความ
ถ้าใครเขียนรัฐธรรมนูญ กฎหมายให้อ่านรู้เรื่องเข้าใจง่าย แสดงว่าวิชาไม่ถึงขั้น!
ประเด็นถกเถียงกันในกลุ่มนักแต่งรัฐธรรมนูญในสภาปฏิรูปแห่งชาติขณะนี้ไม่ใช่มีเพียงเรื่องกฎหมาย แต่เกี่ยวโยงระหว่างบทบาทหน้าที่อำนาจของนักแต่งรัฐธรรมนูญกับพวกนั่งรอจนใกล้เซ็งในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งรอวาระพิสูจน์กึ๋นและความกล้า
ก็เรื่องถอดถอน 2 ประธานเครือข่ายคนเร่ร่อนหนีคุกอยู่ต่างประเทศ และแม่นางปูโฉมสคราญรอยยิ้มหยาดเยิ้มจากดินแดนล้านนานั่นแหละ จะเป็นตัวชี้ทิศทางการเมืองของบ้านนี้เมืองนี้ ชาวบ้านแหงนชะเง้อรอว่าแม่นางปูและพวกจะรอดหรือไม่รอดทั้งพวง
นั่นเป็นเรื่องที่ชาวบ้านไม่มีสิทธิ ได้แต่รอว่า สนช.จะมีผู้กล้า ผู้ปอดลอย ผู้เอาตัวรอดแทงกั๊กด้วยการงดออกเสียงกี่คน จะได้ชื่นชม หรือโห่ฮา ถากถางให้เต็มอารมณ์เคืองแค้น จะได้เห็นว่ามี “สั่งได้” ตามที่มีคนสงสัยในบรรยากาศของการเกี๊ยะเซี้ยหรือไม่
เรื่องนี้เป็นตัววัดสภาพรัฐบาลท่านผู้นำว่ามีศักดิ์ศรีบารมีคู่ควรเมืองหรือไม่เช่นกัน
แต่เรื่องสำคัญในขณะนี้ค้างคาจากปีที่ผ่านมาคือการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 21 มีเสียงถกเถียงว่าควรปฏิรูปและเปลี่ยนเงื่อนไขให้รัฐได้ผลประโยชน์อย่างเต็มที่ เมื่อถกกันน้ำลายแตกฟอง กลุ่มมิตรต้องแตกแยกกัน ท่านผู้นำได้เสนอให้ สปช.โหวต
ในเสียงลงคะแนนมี 130 เสียงไม่เห็นด้วยกับการเปิดสัมปทาน มี 79 เสียงอยากให้เปิด แต่มี 21 คนงดออกเสียงโดยไม่ทราบสาเหตุว่าเป็นใบ้ เจ็บคอ หรือมีปัญหาอะไร เป็นรุ่นใคร เห็นแก่หน้าใคร ถูกใครให้เงียบ แทงกั๊กเอาตัวรอดตามแบบคนไร้ความกล้า
เมื่อออกมาลายนี้ ก็มีเสียงเสนาบดีคำรามว่า ถ้าทำตามเสียง สปช.ส่วนใหญ่ ประเทศไทยจะเสื่อมเกียรติ ขาดความน่าเชื่อถือของนักลงทุน จะมีวิกฤตด้านพลังงานในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ท่านอภิมหาเนติบริกรออกแนวกั๊กเช่นกันบอกว่ารัฐบาลมีทางเลือก
ไม่ทำตาม สปช.เสียงส่วนใหญ่ก็ได้ แต่ต้องคำนึงถึงมารยาท แต่ท่านผู้นำคำรามสำทับว่าการเปิดสัมปทานต้องเดินหน้า ไม่ต้องทำตาม สปช.เสียงส่วนใหญ่ อาจขาดความรู้ กระทรวงพลังงานมีหน้าที่ต้องทำ ปกติไม่ต้องขออนุญาตคณะรัฐมนตรีด้วยซ้ำ
ทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่ากระทรวงพลังงานอยู่เหนือกว่า ครม.มีอำนาจ มีสิทธิเอาสมบัติแผ่นดินไปเสนอให้บริษัทต่างชาติและเอกชน โดยไม่ต้องขออนุมัติจาก ครม. ทั้งๆ ที่ปิโตรเลียมบนบกและในทะเลย่อมเป็นทรัพย์สินของคนไทยทุกคนตามกฎหมาย
พวกรัฐมนตรีมาแล้วก็ไปเมื่อถึงเวลา ไม่เคยเสนอหน้าขอรับผิดชอบเมื่อเกิดความเสียหาย เช่น กรณีจำนำข้าวนั่นปะไร บ้านเมืองเจ๊งไป 7-8 แสนล้านบาท ไม่มีใครยื่นหน้าสวย หน้าเหี่ยวหัวหลิม ประกาศว่าข้าพเจ้า ดิฉัน ขอรับผิดชอบเต็มบ้อง คนอื่นถอยไป!
เมื่อเร่งหนัก ไม่ฟังใคร ชาวบ้านสงสัยว่ามันมีความรีบร้อนอะไร ญาติใครจะเป็นจะตายจึงอยากเปิดสัมปทาน รอไม่ได้บ้านเมืองจะวิกฤต มีเสียงปรามปนคำรามแกมด้วยว่าอย่าเดินขบวน ถ้าเกิดปัญหาพลังงานในประเทศขาดแคลนใครจะรับผิดชอบ
ชาวบ้านคันปากมาก ตะโกนสวน “พวกข้านี่แหละโว้ย รับผิดชอบมาโดยตลอด ไม่เคยหนีคุกไปไหนเหมือนพวกกังฉินกินเมือง พลังงานขาดแคลนก็นำเข้ามาซิฟ่ะ ราคาถูกหรือแพง พ่อค้าน้ำมันอยากได้กำไรเท่าไหร่ชาวบ้านก็ควักกระเป๋าจ่ายอยู่แล้วนี่หว่า”
ที่ชาวบ้านร้องเอะอะโวยวาย เพราะไม่อยากให้พวกขายชาติเอาทรัพย์สินแผ่นดินไปประเคนให้ต่างชาติ เพราะสัมปทานคือสิทธิที่ถือครองทรัพย์สิน ผู้ถือสัมปทานจะเอาทรัพย์สินไปทำอะไรก็ได้ ชาวบ้านเจ้าของประเทศเพียงในนามได้แต่อ้าปากค้าง
ต่อไปนี้ ชาวบ้านผู้เสียภาษีสร้างถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำประปาให้พ่อค้าน้ำมันจะไม่ยอมอีกแล้ว พวกแพทย์ชนบท พวกขาหุ้นพลังงาน ชาวบ้านรักชาติพร้อมเคลื่อนไหว ไม่หวั่นเสียงคำรามของใครทั้งนั้น ให้มันรู้กันไปว่าหน้าไหนจะกล้าสั่งเจ้าหน้าที่ฆ่าคน
การบริหารบ้านเมืองเป็นเพียงอำนาจชั่วคราว จะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ก็ตาม แต่การไม่ยอมฟัง สปช.ถูกมองว่าน่าจะมีเงื่อนงำทำให้ลุกลี้ลุกลนเพื่อตอบสนองความต้องการของใคร งานนี้ผู้มีอำนาจต้องการ “ลองของ” ประชาชนว่ายังมีพลังกล้าหาญมั้ย
เรื่องพรรค์นี้ถ้าไม่ลองก็ไม่รู้ แต่ต้องระวัง “กว่าจะรู้ก็สายเกินไป” จะเผ่นหนีไม่ทัน!