โดยปกติสังคมไทยจะยกย่องบุคคลใน 3 สถาบันว่าเป็นบ่อเกิดหรือแหล่งกำเนิดคุณธรรมและจริยธรรมคือ
1. สถาบันครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยย่อยทางสังคมอันแรกที่ให้ความรู้และปลูกฝังจริยธรรม โดยมีพ่อแม่ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้สอน คนในครอบครัวให้รู้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี อะไรควรทำ และอะไรไม่ควรทำ ดังนั้นในทางพระพุทธศาสนาจึงสอนพ่อแม่เป็นครูคนแรกของบุตรธิดา
2. สถาบันทางการศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยย่อยทางสังคมที่สูงขึ้นมาเหนือครอบครัวที่สอนให้ผู้เรียนได้รู้วิชาการแขนงต่างๆ ซึ่งมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในสังคมควบคู่ไปกับการปลูกฝังคุณธรรม เพื่อกำกับการใช้ความรู้ในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น โดยมีครูบาอาจารย์เป็นผู้สอน
3. สถาบันทางศาสนา ซึ่งเป็นสถาบันที่ผู้คนในสังคมยึดถือเป็นที่พึ่งทางใจ และโน้มนำเอาคำสอนในศาสนาซึ่งตนเองนับถือมาเป็นแนวทางดำเนินชีวิต โดยมีนักบวชในแต่ละศาสนาเป็นผู้สอน
ในสถาบันทั้ง 3 นี้ สถาบันครอบครัวถือได้ว่ามีความสำคัญอันดับแรก และน่าจะมีความสำคัญสูงสุด ทั้งนี้เนื่องจากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. พ่อแม่เป็นผู้ให้กำเนิดบุตรธิดา และถ่ายทอดพันธุกรรมส่งต่อมายังบุตรหลาน รวมไปถึงเป็นรูปแบบหรือตัวอย่างให้คนในครอบครัวถือเป็นแบบอย่าง
2. เด็กมีความใกล้ชิดและมีเวลาอยู่กับพ่อแม่ในวัยเด็กซึ่งเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ และจดจำเป็นแบบอย่าง ดังนั้นพ่อแม่จึงมีอิทธิพลต่อเด็กในฐานะเป็นสิ่งแวดล้อมนอกเหนือจากการเป็นผู้ถ่ายทอดพันธุกรรม
3. ถ้าพ่อแม่เป็นคนดีบุตรธิดาส่วนใหญ่จะเป็นคนดีอย่างน้อยเท่าพ่อแม่หรือที่เรียกว่าเสมอด้วยพ่อแม่ ยิ่งกว่านี้พ่อแม่ที่ดียังจะมีบุตรธิดาส่วนหนึ่งดีกว่าพ่อแม่หรือที่เรียกว่า ลูกดีก็เหนือกว่าพ่อแม่หรืออภิชาตบุตร ส่วนว่าจะเลวกว่าพ่อแม่หรือที่เรียกว่า อวชาตบุตรมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย
ในทางกลับกัน ถ้าพ่อแม่เป็นคนไม่ดี โอกาสที่บุตรธิดาจะเป็นคนไม่ดีเหมือนพ่อแม่มีอยู่มาก ส่วนจะดีกว่าพ่อแม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย แต่โอกาสจะเลวกว่าพ่อแม่เป็นไปได้มาก
ด้วยเหตุปัจจัย 3 ประการนี้ สถาบันครอบครัวจึงมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้คนในสังคมมากกว่า 2 สถาบันที่เหลือ
สถาบันการศึกษาในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงจากอดีตในทิศทางที่แย่ลงกว่าอดีตมาก ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. พฤติกรรมของผู้สอนคือครูบาอาจารย์มีวิญญาณของความเป็นครูน้อยลง เนื่องจากคำนึงถึงผลประโยชน์ในรูปของวัตถุมากกว่าความรับผิดชอบของความเป็นครูที่จะสอนเด็กให้เป็นคนดีมีศีลธรรม และมีความรอบรู้เท่าที่ควรจะได้รับในแต่ละระดับของการศึกษา
2. ในด้านการเรียนการสอนในปัจจุบันมุ่งเน้นให้รู้กว้างแต่ไม่ลึก รู้ทุกอย่างเท่าที่มีการสอน แต่ไม่มากพอที่จะนำไปใช้งานในชีวิตจริง เข้าทำนองรู้แบบเป็ดหรือมีความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
3. การนำเอาแนวคิดทางตะวันตกเข้ามาใช้กับสังคมไทย โดยไม่มีการประยุกต์ให้สอดคล้องกับความเป็นคนไทย ทำให้มีปัญหาในทางปฏิบัติ ยกตัวอย่างเช่น การห้ามครูทำโทษนักเรียนด้วยการตีซึ่งเป็นแนวทางที่ได้สอนกันมาคือ รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ทำให้เด็กไม่เกรงครูและเห็นครูแค่เป็นผู้รับจ้างสอน เมื่อจ่ายเงินค่าเรียนแพง ครูจะต้องสอนและทำให้ผู้เรียนสอบผ่านได้โดยที่ตนเองไม่ทำหน้าที่เป็นผู้เรียนที่ดี มีให้เห็นในทุกสถาบันการศึกษา
จริงอยู่เด็กที่ดีก็มีอยู่ แต่จากปรากฏการณ์ที่เป็นอยู่พูดได้ว่าน้อยลงจะเห็นได้จากคุณภาพของการศึกษาไทยที่แย่ลง เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน
สำหรับสถาบันทางศาสนาในปัจจุบันมีบทบาทต่อผู้คนในสังคมน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสนาพุทธซึ่งเป็นศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือมีบทบาทต่อพฤติกรรมของผู้คนน้อยลง ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. สถาบันทางศาสนาจะมีผลต่อพฤติกรรมของคนก็ต่อเมื่อศาสดาของศาสนานั้นๆ นำคำสอนมาปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
แต่ในปัจจุบันคนในสังคมมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป เนื่องจากวัตถุนิยมครอบงำ จึงเข้าหาศาสนาน้อยลง จึงทำให้บทบาทของสถาบันทางศาสนาในส่วนนี้ลดลงไปโดยปริยาย
2. ปัจจัยภายในของสถาบันศาสนาเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสนาพุทธก็มีเรื่องให้ผู้คนเสื่อมศรัทธาเกิดเป็นข่าวบ่อยๆ จึงทำให้คนไม่ศรัทธาและไม่เข้าวัด ทั้งๆ ที่พระดีก็มีอยู่และพระที่ไม่ดีก็มีอยู่ส่วนน้อย แต่ส่วนน้อยนี้เองทำให้ส่วนใหญ่เสียหายเมื่อวัดก็มีสถาบันการศึกษาก็มีเรื่องทุจริตเกิดขึ้นดังที่เป็นข่าวเกี่ยวกับการโกงเงินสถาบันการศึกษา และข่าวเกี่ยวกับการทุจริตในแวดวงของวัดที่เป็นอยู่ในขณะนี้ จึงเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าสถาบันที่สังคมไทยถือว่าเป็นแหล่งให้ความรู้ และปลูกฝังคุณธรรมนั้น บัดนี้เสื่อมลงเป็นผลมาจากปัจจัยภายในคือคนของสถาบันเองเป็นตัวทำลายตนเอง
เมื่อเป็นเช่นนี้ต่อจากนี้ไปผู้คนในสังคมจะยึดถืออะไรเป็นแบบอย่างที่ดี
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลผู้บริหารประเทศ จะต้องรีบแก้ไขปรับปรุงสถาบันที่ว่านี้ให้กลับคืนสู่สถานะเดิมดังที่เคยเป็นในอดีต
1. สถาบันครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยย่อยทางสังคมอันแรกที่ให้ความรู้และปลูกฝังจริยธรรม โดยมีพ่อแม่ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้สอน คนในครอบครัวให้รู้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี อะไรควรทำ และอะไรไม่ควรทำ ดังนั้นในทางพระพุทธศาสนาจึงสอนพ่อแม่เป็นครูคนแรกของบุตรธิดา
2. สถาบันทางการศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยย่อยทางสังคมที่สูงขึ้นมาเหนือครอบครัวที่สอนให้ผู้เรียนได้รู้วิชาการแขนงต่างๆ ซึ่งมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในสังคมควบคู่ไปกับการปลูกฝังคุณธรรม เพื่อกำกับการใช้ความรู้ในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น โดยมีครูบาอาจารย์เป็นผู้สอน
3. สถาบันทางศาสนา ซึ่งเป็นสถาบันที่ผู้คนในสังคมยึดถือเป็นที่พึ่งทางใจ และโน้มนำเอาคำสอนในศาสนาซึ่งตนเองนับถือมาเป็นแนวทางดำเนินชีวิต โดยมีนักบวชในแต่ละศาสนาเป็นผู้สอน
ในสถาบันทั้ง 3 นี้ สถาบันครอบครัวถือได้ว่ามีความสำคัญอันดับแรก และน่าจะมีความสำคัญสูงสุด ทั้งนี้เนื่องจากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. พ่อแม่เป็นผู้ให้กำเนิดบุตรธิดา และถ่ายทอดพันธุกรรมส่งต่อมายังบุตรหลาน รวมไปถึงเป็นรูปแบบหรือตัวอย่างให้คนในครอบครัวถือเป็นแบบอย่าง
2. เด็กมีความใกล้ชิดและมีเวลาอยู่กับพ่อแม่ในวัยเด็กซึ่งเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ และจดจำเป็นแบบอย่าง ดังนั้นพ่อแม่จึงมีอิทธิพลต่อเด็กในฐานะเป็นสิ่งแวดล้อมนอกเหนือจากการเป็นผู้ถ่ายทอดพันธุกรรม
3. ถ้าพ่อแม่เป็นคนดีบุตรธิดาส่วนใหญ่จะเป็นคนดีอย่างน้อยเท่าพ่อแม่หรือที่เรียกว่าเสมอด้วยพ่อแม่ ยิ่งกว่านี้พ่อแม่ที่ดียังจะมีบุตรธิดาส่วนหนึ่งดีกว่าพ่อแม่หรือที่เรียกว่า ลูกดีก็เหนือกว่าพ่อแม่หรืออภิชาตบุตร ส่วนว่าจะเลวกว่าพ่อแม่หรือที่เรียกว่า อวชาตบุตรมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย
ในทางกลับกัน ถ้าพ่อแม่เป็นคนไม่ดี โอกาสที่บุตรธิดาจะเป็นคนไม่ดีเหมือนพ่อแม่มีอยู่มาก ส่วนจะดีกว่าพ่อแม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย แต่โอกาสจะเลวกว่าพ่อแม่เป็นไปได้มาก
ด้วยเหตุปัจจัย 3 ประการนี้ สถาบันครอบครัวจึงมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้คนในสังคมมากกว่า 2 สถาบันที่เหลือ
สถาบันการศึกษาในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงจากอดีตในทิศทางที่แย่ลงกว่าอดีตมาก ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. พฤติกรรมของผู้สอนคือครูบาอาจารย์มีวิญญาณของความเป็นครูน้อยลง เนื่องจากคำนึงถึงผลประโยชน์ในรูปของวัตถุมากกว่าความรับผิดชอบของความเป็นครูที่จะสอนเด็กให้เป็นคนดีมีศีลธรรม และมีความรอบรู้เท่าที่ควรจะได้รับในแต่ละระดับของการศึกษา
2. ในด้านการเรียนการสอนในปัจจุบันมุ่งเน้นให้รู้กว้างแต่ไม่ลึก รู้ทุกอย่างเท่าที่มีการสอน แต่ไม่มากพอที่จะนำไปใช้งานในชีวิตจริง เข้าทำนองรู้แบบเป็ดหรือมีความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
3. การนำเอาแนวคิดทางตะวันตกเข้ามาใช้กับสังคมไทย โดยไม่มีการประยุกต์ให้สอดคล้องกับความเป็นคนไทย ทำให้มีปัญหาในทางปฏิบัติ ยกตัวอย่างเช่น การห้ามครูทำโทษนักเรียนด้วยการตีซึ่งเป็นแนวทางที่ได้สอนกันมาคือ รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ทำให้เด็กไม่เกรงครูและเห็นครูแค่เป็นผู้รับจ้างสอน เมื่อจ่ายเงินค่าเรียนแพง ครูจะต้องสอนและทำให้ผู้เรียนสอบผ่านได้โดยที่ตนเองไม่ทำหน้าที่เป็นผู้เรียนที่ดี มีให้เห็นในทุกสถาบันการศึกษา
จริงอยู่เด็กที่ดีก็มีอยู่ แต่จากปรากฏการณ์ที่เป็นอยู่พูดได้ว่าน้อยลงจะเห็นได้จากคุณภาพของการศึกษาไทยที่แย่ลง เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน
สำหรับสถาบันทางศาสนาในปัจจุบันมีบทบาทต่อผู้คนในสังคมน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสนาพุทธซึ่งเป็นศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือมีบทบาทต่อพฤติกรรมของผู้คนน้อยลง ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. สถาบันทางศาสนาจะมีผลต่อพฤติกรรมของคนก็ต่อเมื่อศาสดาของศาสนานั้นๆ นำคำสอนมาปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
แต่ในปัจจุบันคนในสังคมมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป เนื่องจากวัตถุนิยมครอบงำ จึงเข้าหาศาสนาน้อยลง จึงทำให้บทบาทของสถาบันทางศาสนาในส่วนนี้ลดลงไปโดยปริยาย
2. ปัจจัยภายในของสถาบันศาสนาเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสนาพุทธก็มีเรื่องให้ผู้คนเสื่อมศรัทธาเกิดเป็นข่าวบ่อยๆ จึงทำให้คนไม่ศรัทธาและไม่เข้าวัด ทั้งๆ ที่พระดีก็มีอยู่และพระที่ไม่ดีก็มีอยู่ส่วนน้อย แต่ส่วนน้อยนี้เองทำให้ส่วนใหญ่เสียหายเมื่อวัดก็มีสถาบันการศึกษาก็มีเรื่องทุจริตเกิดขึ้นดังที่เป็นข่าวเกี่ยวกับการโกงเงินสถาบันการศึกษา และข่าวเกี่ยวกับการทุจริตในแวดวงของวัดที่เป็นอยู่ในขณะนี้ จึงเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าสถาบันที่สังคมไทยถือว่าเป็นแหล่งให้ความรู้ และปลูกฝังคุณธรรมนั้น บัดนี้เสื่อมลงเป็นผลมาจากปัจจัยภายในคือคนของสถาบันเองเป็นตัวทำลายตนเอง
เมื่อเป็นเช่นนี้ต่อจากนี้ไปผู้คนในสังคมจะยึดถืออะไรเป็นแบบอย่างที่ดี
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลผู้บริหารประเทศ จะต้องรีบแก้ไขปรับปรุงสถาบันที่ว่านี้ให้กลับคืนสู่สถานะเดิมดังที่เคยเป็นในอดีต