00 ที่จริงก็ไม่อยากคาดการณ์ไปล่วงหน้าว่า ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ จะไปชี้แจงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในคดีถอดถอนจากโครงการรับจำนำข้าว โดย สนช.ได้ตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาคณะหนึ่ง เพื่อทำการซักถามข้อข้องใจต่างๆ สำหรับ กรณีของ ยิ่งลักษณ์ มีกำหนดซักถามในวันที่ 16 ม.ค.หลังจากก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน มีการซักถาม นิคม ไวยรัชพานิช สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ในอีกคดี คือเรื่องการแก้ไขรธน. เกี่ยวกับที่มา ส.ว.มิชอบ โดยเมื่อวันแถลงเปิดคดี สำหรับ ยิ่งลักษณ์ เธอได้เข้าไปอ่านโพยดรามา เค้นน้ำตามาเรียบร้อยแล้ว พูดกันแบบรู้ทัน วันนั้นมีเป้าหมาย "ทางการเมือง" สร้างภาพว่า นักประชาธิปไตย "คนของประชาชน" กำลังถูกกลั่นแกล้ง อะไรประมาณนั่นแหละ และที่สำคัญนั่นคือ รายการอ่านโพยที่ลูกน้องเขียนเอาไว้ให้ ไม่ต้องคิดเอง จึงไม่มีปัญหา แต่ในรายการ วันที่ 16 ม.ค. ต้องตอบคำถามด้วยตัวเองนี่สิคือปัญหาใหญ่ ดังนั้นแม้ไม่อยากปรามาสล่วงหน้า แต่ก็ฟันธงได้เลยว่า "เธอไม่ไปหรอก" เพราะขืนตอบแบบไม่คิด หรือตอบแบบมั่วๆ มันก็มีสิทธิ์เข้าตัวจะยุ่งกันใหญ่ อย่างไรก็ดี สำหรับเธอยังมีโอกาสมาอ่านโพยได้อีกครั้ง สำหรับการแถลงปิดคดี ก่อนมีการลงมติชี้ขาด
00 อย่างไรก็ดี ถ้าพิจารณาในกระบวนการของ สนช. ต้องมองในเรื่องทางการเมืองเป็นหลัก คงไม่สามารถหวังผลอะไรได้ เพราะเมื่อพิจารณาจากจำนวนเสียงของสนช.แล้ว ดูแล้วมันไม่มีทางถึงสามในห้า คือ 132 เสียง อย่างแน่นอน แม้ว่าจะมีการปล่อยข่าวออกมาว่า คสช. และรัฐบาล จะส่งสัญญาณไฟเขียวให้ถอดถอนแล้วก็ตาม เพียงแต่ว่างานนี้ ถ้ามีการเปิดเผยออกมาให้เห็นว่า มีใครบ้างที่ออกมาประเภทค้านถอดถอน หรือแม้แต่งดออกเสียงแบบแทงกั๊ก ไม่ใช้สมอง เปลืองเงินเดือน ก็จะได้รับรู้กันไว้ โดยเฉพาะพวกบรรดาข้าราชการทั้งหลาย ระวังจะโดน "กระแสสังคม" รุมประณาม ซึ่งยังส่งผลกระทบต่อความศรัทธาไปถึงคนที่แต่งตั้งเข้ามา ไม่ว่าจะเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ แน่นอน ถึงได้บอกว่า เวลานี้เริ่มนั่งไม่ติดกันแล้ว เพราะเป็นคำถามที่ปฏิเสธลำบาก ว่าในเมื่อความเสียหายมีให้เห็นอยู่ทนโท่ ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ ยังเคยพูดเองว่า มีมูลค่าถึง 6.8 แสนล้านบาท และล่าสุด ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ก็เพิ่งนำ เอกสารหลักฐานไปแจ้งความดำเนินคดีกับเอกชน ที่เกี่ยวข้องในเบื้องต้นไปก่อน จำนวนกว่าร้อยราย ฐานยักยอกทรัพย์ มีข้าวเสื่อมสภาพ ด้อยคุณภาพ กว่า 3.8 ล้านตัน มูลค่า 6.5 หมื่นล้านบาท เห็นแบบนี้มันก็ตอบลำบากเหมือนกัน ว่าระดับสั่งการ ระดับนโยบาย ไม่มีเกี่ยวข้องไม่ผิด และลอยนวลอย่างนั้นหรือ
00 อีกเรื่องที่น่าจับตาก็คือ มติ สปช. ที่ไม่เอาด้วยกับ กมธ.ปฏิรูปพลังงาน เสียงข้างมาก ด้วยคะแนนเสียง 130 ต่อ 79 ไม่เห็นด้วยกับการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 งานนี้จะเรียกว่า ผิดคาด หรือหักหน้าแบบผิดคิวกันก็ว่าได้ เพราะกมธ.เสียงข้างมากดังกล่าว ถือว่าเป็น "ขาใหญ่" ในวงการพลังงานที่มีความคิดครอบงำด้านพลังงานของไทยมานานแล้ว คนพวกนี้มีทั้ง ข้าราชการในกระทรวงพลังงาน นักวิชาการ ผู้บริหารในบริษัทพลังงาน หรือแม้แต่อัยการ ที่ทำหน้าที่ฝ่ายกม. แต่ถูกตั้งเข้าไปเป็นบอร์ดในบริษัทพลังาน คนพวกนี้ เข้าด้วยช่วยเหลือกันมาตลอด แต่ขณะเดียวกัน แม้ว่าผลจะออกมาแบบนี้ แต่เมื่อฟังเสียงจาก รองนายกฯ วิษณุ เครืองาม ที่ส่งสัญาณออกมาในทางตรงข้ามว่า รัฐบาลอาจไม่ทำตามมติ สปช. ก็ได้ ชักสนุกขึ้นทุกวัน !!
00 อย่างไรก็ดี ถ้าพิจารณาในกระบวนการของ สนช. ต้องมองในเรื่องทางการเมืองเป็นหลัก คงไม่สามารถหวังผลอะไรได้ เพราะเมื่อพิจารณาจากจำนวนเสียงของสนช.แล้ว ดูแล้วมันไม่มีทางถึงสามในห้า คือ 132 เสียง อย่างแน่นอน แม้ว่าจะมีการปล่อยข่าวออกมาว่า คสช. และรัฐบาล จะส่งสัญญาณไฟเขียวให้ถอดถอนแล้วก็ตาม เพียงแต่ว่างานนี้ ถ้ามีการเปิดเผยออกมาให้เห็นว่า มีใครบ้างที่ออกมาประเภทค้านถอดถอน หรือแม้แต่งดออกเสียงแบบแทงกั๊ก ไม่ใช้สมอง เปลืองเงินเดือน ก็จะได้รับรู้กันไว้ โดยเฉพาะพวกบรรดาข้าราชการทั้งหลาย ระวังจะโดน "กระแสสังคม" รุมประณาม ซึ่งยังส่งผลกระทบต่อความศรัทธาไปถึงคนที่แต่งตั้งเข้ามา ไม่ว่าจะเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ แน่นอน ถึงได้บอกว่า เวลานี้เริ่มนั่งไม่ติดกันแล้ว เพราะเป็นคำถามที่ปฏิเสธลำบาก ว่าในเมื่อความเสียหายมีให้เห็นอยู่ทนโท่ ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ ยังเคยพูดเองว่า มีมูลค่าถึง 6.8 แสนล้านบาท และล่าสุด ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ก็เพิ่งนำ เอกสารหลักฐานไปแจ้งความดำเนินคดีกับเอกชน ที่เกี่ยวข้องในเบื้องต้นไปก่อน จำนวนกว่าร้อยราย ฐานยักยอกทรัพย์ มีข้าวเสื่อมสภาพ ด้อยคุณภาพ กว่า 3.8 ล้านตัน มูลค่า 6.5 หมื่นล้านบาท เห็นแบบนี้มันก็ตอบลำบากเหมือนกัน ว่าระดับสั่งการ ระดับนโยบาย ไม่มีเกี่ยวข้องไม่ผิด และลอยนวลอย่างนั้นหรือ
00 อีกเรื่องที่น่าจับตาก็คือ มติ สปช. ที่ไม่เอาด้วยกับ กมธ.ปฏิรูปพลังงาน เสียงข้างมาก ด้วยคะแนนเสียง 130 ต่อ 79 ไม่เห็นด้วยกับการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 งานนี้จะเรียกว่า ผิดคาด หรือหักหน้าแบบผิดคิวกันก็ว่าได้ เพราะกมธ.เสียงข้างมากดังกล่าว ถือว่าเป็น "ขาใหญ่" ในวงการพลังงานที่มีความคิดครอบงำด้านพลังงานของไทยมานานแล้ว คนพวกนี้มีทั้ง ข้าราชการในกระทรวงพลังงาน นักวิชาการ ผู้บริหารในบริษัทพลังงาน หรือแม้แต่อัยการ ที่ทำหน้าที่ฝ่ายกม. แต่ถูกตั้งเข้าไปเป็นบอร์ดในบริษัทพลังาน คนพวกนี้ เข้าด้วยช่วยเหลือกันมาตลอด แต่ขณะเดียวกัน แม้ว่าผลจะออกมาแบบนี้ แต่เมื่อฟังเสียงจาก รองนายกฯ วิษณุ เครืองาม ที่ส่งสัญาณออกมาในทางตรงข้ามว่า รัฐบาลอาจไม่ทำตามมติ สปช. ก็ได้ ชักสนุกขึ้นทุกวัน !!