ASTVผู้จัดการรายวัน-ผลตรวจเลือดชี้ชัด คนรอบเหมืองทองอัครา จ.พิจิตร มีสารโลหะหนัก ทั้งแมงกานีส สารหนู ปนเปื้อน 349 คน จากเกือบ 700 ตัวอย่าง คาดฟุ้งกระจายจากการระเบิดหิน ทีมเทคนิคการแพทย์ ม.รังสิต สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เตรียมวิเคราะห์ผลละเอียดอีกครั้ง 16 ม.ค. ขณะที่บริษัทสบช่อง ร้องศาลปกครองขอความคุ้มครอง
ดร.สมิทธ ตุงคะสมิทธ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า กรณีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแพร่ กระทรวงอุตสาหกรรม สั่งให้บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) หรือเหมืองทองอัครา หยุดกิจการชั่วคราวเป็นเวลา 30 วัน เพราะประชาชนรอบเหมืองได้รับผลกระทบด้านสุขภาพชัดเจน หลังจากที่ผ่านมา ทีมงานแพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ และคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ลงพื้นที่เจาะเลือดประชาชนรอบเหมืองทองอัครา ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร เมื่อวันที่ 26-27 พ.ย.2557 เกือบ 700 ตัวอย่าง พบว่าประชากร 349 คน มีสารโลหะหนักอยู่ในกระแสเลือด คือ แมงกานีส (Manganese) และสารหนู (Arsenic) สูงมาก แต่ยังไม่สามารถตรวจพบสารไซยาไนด์ (Cyanide) เนื่องจากไซยาไนด์สลายตัวไม่สามารถตรวจในพื้นที่ได้ ต้องตรวจในห้องแล็บโรงพยาบาลเท่านั้น และในวันที่ 16 ม.ค.2558 เป็นต้นไป คณะเทคนิคการแพทย์กับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ จะประชุมวิเคราะห์ผลตรวจเลือดที่พบสารโลหะหนักในเลือด 349 คนอย่างละเอียด และหาข้อสรุปเพื่อร่วมกันหาทางออกต่อไป
ทั้งนี้ สารโลหะหนัก อย่างแมงกานีสและสารหนูพบมากในแร่ทองคำ แต่กลับกระจายสู่สิ่งแวดล้อม อาจเป็นเพราะการระเบิดหิน ทำให้ฟุ้งกระจายไปสู่แหล่งน้ำ พืชผักสวนครัว และบ่อน้ำตื้น จนประชาชนรอบเหมือง หรือผู้ถูกละเมิดสิทธิ์เรียกร้องไปหลายหน่วยงาน แม้กระทั่งบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) แต่ก็ไม่ได้แก้ไข
สำหรับพ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 หมวด 11/1 ความรับผิด มาตรา 131/1 บัญญัติว่า ผู้ถืออาชญาบัตร ประทานบัตร หรือใบอนุญาตอื่นใดตาม พ.ร.บ.นี้ ต้องรับผิดชอบในการกระทำของตนต่อความเสียหาย หรือความเดือดร้อนรำคาญใด อันเกิดขึ้นแก่บุคคลทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม จึงนำมาสู่การปิดเหมืองชั่วคราว ซึ่งก็ชัดเจนอยู่แล้ว
ข่าวแจ้งว่า คำสั่งให้หยุดดำเนินกิจการเป็นเวลา 30 วัน เปิดช่องให้อุทธรณ์คำสั่งได้ภายใน 15 วัน ซึ่งล่าสุดทางบริษัทเตรียมที่จะยื่นร้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอความคุ้มครองจากคำสั่งดังกล่าวแล้ว
ดร.สมิทธ ตุงคะสมิทธ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า กรณีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแพร่ กระทรวงอุตสาหกรรม สั่งให้บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) หรือเหมืองทองอัครา หยุดกิจการชั่วคราวเป็นเวลา 30 วัน เพราะประชาชนรอบเหมืองได้รับผลกระทบด้านสุขภาพชัดเจน หลังจากที่ผ่านมา ทีมงานแพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ และคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ลงพื้นที่เจาะเลือดประชาชนรอบเหมืองทองอัครา ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร เมื่อวันที่ 26-27 พ.ย.2557 เกือบ 700 ตัวอย่าง พบว่าประชากร 349 คน มีสารโลหะหนักอยู่ในกระแสเลือด คือ แมงกานีส (Manganese) และสารหนู (Arsenic) สูงมาก แต่ยังไม่สามารถตรวจพบสารไซยาไนด์ (Cyanide) เนื่องจากไซยาไนด์สลายตัวไม่สามารถตรวจในพื้นที่ได้ ต้องตรวจในห้องแล็บโรงพยาบาลเท่านั้น และในวันที่ 16 ม.ค.2558 เป็นต้นไป คณะเทคนิคการแพทย์กับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ จะประชุมวิเคราะห์ผลตรวจเลือดที่พบสารโลหะหนักในเลือด 349 คนอย่างละเอียด และหาข้อสรุปเพื่อร่วมกันหาทางออกต่อไป
ทั้งนี้ สารโลหะหนัก อย่างแมงกานีสและสารหนูพบมากในแร่ทองคำ แต่กลับกระจายสู่สิ่งแวดล้อม อาจเป็นเพราะการระเบิดหิน ทำให้ฟุ้งกระจายไปสู่แหล่งน้ำ พืชผักสวนครัว และบ่อน้ำตื้น จนประชาชนรอบเหมือง หรือผู้ถูกละเมิดสิทธิ์เรียกร้องไปหลายหน่วยงาน แม้กระทั่งบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) แต่ก็ไม่ได้แก้ไข
สำหรับพ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 หมวด 11/1 ความรับผิด มาตรา 131/1 บัญญัติว่า ผู้ถืออาชญาบัตร ประทานบัตร หรือใบอนุญาตอื่นใดตาม พ.ร.บ.นี้ ต้องรับผิดชอบในการกระทำของตนต่อความเสียหาย หรือความเดือดร้อนรำคาญใด อันเกิดขึ้นแก่บุคคลทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม จึงนำมาสู่การปิดเหมืองชั่วคราว ซึ่งก็ชัดเจนอยู่แล้ว
ข่าวแจ้งว่า คำสั่งให้หยุดดำเนินกิจการเป็นเวลา 30 วัน เปิดช่องให้อุทธรณ์คำสั่งได้ภายใน 15 วัน ซึ่งล่าสุดทางบริษัทเตรียมที่จะยื่นร้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอความคุ้มครองจากคำสั่งดังกล่าวแล้ว