“เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่ กรุณาปราณีต่อประชาชน อดทนต่อความเจ็บใจ ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก ไม่มักมากในลาภผล มุ่งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ดำรงตนในความยุติธรรม กระทำการด้วยปัญญา รักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิต”
บทร้อยกรองที่พระราชนิพนธ์โดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวนอุฎฐายีมหาเถร ) สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ 16 พ.ศ.2499...สุดยอดแห่งความคลาสสิค เป็นบทพระราชนิพนธ์ที่ตำรวจไทย และคนไทยคุ้นเคยกันมายาวนานเกือบ 60 ปี
วันนี้ตำรวจไทยส่วนหนึ่งต้องอดทนต่อความเจ็บใจอีกครั้ง แต่เป็นการอดทนกับคนกันเอง..เมื่อผลการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับรองผบก. – สารวัตร ทั่วประเทศ 1,711 นายมีรายชื่อออกมาให้เห็นแล้ว รอเพียงประเทศอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 มกราคม ที่จะถึงนี้ขบวนการต่างๆก็จะเริ่มเดินหน้าทั้งฝ่ายที่ลงไปทำงานตามคำสั่ง ตร.และอีกกลุ่มคือนอกจากลงไปทำหน้าที่ตามปกติเหมือนการแต่งตั้งโยกย้ายในทุกๆครั้ง แต่เที่ยวนี้อาจจะต้องค้าความกับผู้บังคับบัญชา อาจใช้เวลาส่วนหนึ่งขึ้นโรงขึ้นศาล ไม่ว่าจะเป็นศาลปกครองหรือศาลอาญาเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้กับตัวเอง
ว่าไปแล้วปัญหาการแต่งตั้ง-โยกย้ายเที่ยวนี้มีข้อบกพร่องอยู่มาก เรื่องเด่นที่สุดก็คือการย้ายล้างบางกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง แต่หน่วยงานนี้กลับไม่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อะไรมากนักเพราะรู้ๆกันอยู่ว่าอยู่ภายใต้เงามืดของ พล.ต.ท.พงษ์พัฒน์ ฉายาพันธ์ อดีต ผบช.ก.มาเป็นเวลาหลายปี การถ่ายเลือดแบบพลัดแผ่นดินจึงเป็นสิ่งที่ประชาชนอยากมองเห็น และน่าจะรวมถึงข้าราชการตำรวจอีกหลายนายโดยเฉพาะ “ลูกหม้อ” กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ที่อยากเห็นหน่วยงานอันเป็นที่รักยืนหยัดอย่างสง่างามโดยมีผลประโยชน์ของประชาชนและส่วนรวมเป็นแกนหลัก
ต่างกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่ผู้นำหน่วยงานหยิบเอาการทุจริตป้ายโฆษณาจอแอลอีดี มาเป็นเหตุย้ายแบบล้างบาง แต่มีเสียงวิพากษ์ว่าเป็นการย้ายแบบมีเทคนิคพิสดารกล่าวคือบางคนที่มีเรื่องอื้อฉาว มีความผิดในลักษณะเดียวกันกลับไม่ถูกลงโทษ บางคนถูกย้ายในระนาบอยู่ในสังกัดเดิม บางคนได้ดีเลื่อนจาก ผกก.เป็นรอง ผบก.ยิ่งทำให้เกิดความข้องใจจนกลายเป็นเสียง “ยี้”เพราะมีการเลือกปฏิบัติอย่างชัดเจน
พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง ผบ.ตร.ออกมายืนยันว่าการแต่งตั้ง-โยกย้ายทำไปด้วยความรอบคอบ ไม่มีการวิ่งเต้นไม่มีการซื้อขายเก้าอี้และหากใครเห็นว่าไม่ได้รับความยุติธรรมก็สามารถไปร้องเรียนหรือดำเนินการกับผู้บังคับบัญชาได้ อีกทั้งการตัดสินใจครั้งนี้ทุกคนเคารพในสิทธิหน้าที่ของผู้บัญชาการ ทุกหน่วยที่เสนอเข้ามา ดังนั้นหากมีอะไรผิดพลาดคนที่ต้องรับผิดชอบก็คือ “ผู้บัญชาการ”ทั้งหลาย
แต่ทีเด็ดของการแสดงความเห็นผ่านสื่อต่างๆ ผบ.ตร.เตือนสติตำรวจใต้บังคับบัญชาว่า “ใครเคยทำอะไร มีอะไรไม่ถูกต้องมาก่อนย่อมรู้ตัวดี”
...คำเตือนเหมือนกับคำขู่เพราะตำรวจย่อมรู้ทางตำรวจ จุดแข็งมีจุดอ่อนเยอะเรียกว่าถอดเสื้อมาสำรวจเนื้อตัวเป็นต้องเจอกลากเกลื้อนกันแทบทุกคน และยิ่งมีกรณีของสาวก “พงษ์พัฒน์”เป็นตัวอย่าง หลังวันที่ 15 มกราคม กำหนดดีเดย์จะมีการเคลื่อนไหวของตำรวจอกหักอาจจะเงียบจ้อยไม่มีอะไรในกอไผ่ เหตุที่เผื่อใจในประเด็นนี้ก็เพราะธรรมชาติของตำรวจระดับใต้บังคับบัญชาน้อยรายนักที่กล้ามีปัญหากับเจ้านายตัวเอง ยิ่งเป็นยุค “อำนาจเต็มมือ”ห้วงเวลาที่เหลือก่อนประชาธิปไตยจะกลับมา ก่อนมีการเลือกตั้งได้รัฐบาลใหม่ อำนาจใหม่ไม่รู้ว่าจะทนความเสียดทานได้นานแค่ไหน
แต่นั่นเป็นเพียงความคิดเห็นด้านหนึ่งเพราะธรรมชาติอีกอย่างของคนเป็นตำรวจก็คือถ้าสู้ก็ต้องสู้อย่างขาดใจ สู้ทุกรูปแบบ จุดที่จะถูกหยิบยกขึ้นมาสู้คงไม่พ้นข้อกฎหมายและระเบียบปฏิบัติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คราวนี้ต้องมาวัดกันว่าใครจะแน่ ใครจะแม่นยำกว่ากันโดยเฉพาะกรณีป้ายโฆษณาจอแอลอีดี ที่ฝ่าย ผกก.อกหักมองว่าเขาไม่ได้รับความเป็นธรรม เผลออาจจะเป็นการวางกับดักหาเรื่องผิดให้กับลูกน้องเพราะยังมีตำรวจระดับสูงอีกหลายคนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ไม่ว่าจะเป็นอดีต ผบช.น.อย่างน้อย 3 คน
แต่ที่น่าสนใจ ไม่ต้องรอศาลไหนชี้ขาดและควรเป็นประเด็นให้วิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดก็คือพบว่าบัญชีการแต่งตั้งโยกย้ายเที่ยวนี้มีการสนับสนุนนายตำรวจที่เคยพัวพันกับคดียาเสพติดเข้ามารับหน้าที่ในหน่วยงานสำคัญ นั่นคือตำแหน่งของ พ.ต.อ.สุเทพ ชนะสิทธิ์ ผกก.สส.ภ.จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับการสนับสนุนย้ายจาก ผกก.สส.จ.พระนครศรีอยุธยา มาเป็น ผกก.สส.บก.น.4 ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวถือว่าพื้นที่ทำเลทอง และยังเป็นแหล่งปัญหาของยาเสพติดมาอย่างต่อเนื่องประกอบด้วย สน.โชคชัย สน.บางชัน สน.บึงกุ่ม สน.ประเวศ สน.ลาดพร้าว สน.วังทองหลาง สน.หัวหมาก และสน.อุดมสุข
ประวัตินายตำรวจผู้นี้หากย้อนไป พ.ศ.2546 ช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำลังปราบปรามขบวนการค้ายาเสพติดอย่างเข้มข้น พื้นที่ชุมแออัดหรือสลัมคลองเตย ถือว่ามีการแพร่หลายยาเสพติดมากที่สุดแห่งหนึ่ง การขุดรากถอนโคนขบวนการชั่วจำเป็นต้องจัดการกับเครือข่ายทั้งหมดประกอบด้วยนักการเมืองพื้นที่ ข้าราชการตำรวจบางคน ชื่อของ “ภาพ 70 ไร่”จึงปรากฏขึ้น
“ภาพ 70 ไร่”หรือนายสุภาพ สีแดง หรือนายสยาม ทรัพย์วรสิทธิ์ มีในขณะนั้นเพียง 36 ปีแต่มีเงินหมุนเวียนในบัญชีปีละกว่า 600 ล้านบาท พื้นเพเดิมภาพ 70 ไร่เป็นคนอ่างทองอพยพมาอยู่ชุมชนคลองเตยราวปี 2536 มีพี่น้อง 8 คนล้วนเกี่ยวข้องกับการจำหน่ายยาเสพติดทั้งหมดไม่เว้นกระทั่งนางชะลอ สีแดง มารดา ด้วยอิทธิพลการเงินนายสุภาพ ให้การสนับสนุนนายสมพร สีแดง พี่ชายซึ่งเคยถูกจับข้อหาครอบครองยาบ้า 1,795 เม็ดจนได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคไทยรักไทย
ผลของการทะลายรัง “ภาพ 70 ไร่”มีตำรวจที่เกี่ยวข้องถูกดำเนินการหลายนาย มีทั้งโดนแจ้งข้อหาส่วนบางคนที่หลักฐานไม่ชัดก็ถูกให้ออกจากราชการ และหากจำได้ต้องไม่ลืมความงามหน้าของตำรวจไทยในยุคนั้นเพราะจากการค้นบ้านภาพ 70 ไร่พบรูปนายสุภาพ ถ่ายร่วมกับตำรวจหลายนาย มีบางคนถึงกับให้นายสุภาพ ประดับยศให้
พ.ต.อ.สุเทพ ชนะสิทธิ์ ก็คือ 1 ในตำรวจหลายนายที่พัวพันกับขบวนการ “ภาพ 70 ไร่”นอกจากนั้นในการตรวจค้นบ้านและยึดโน๊ตบุ๊คไปตรวจสอบพบข้อความชี้แจงของนายตำรวจรายหนึ่ง เขียนรายงานชี้แจงว่าไม่เคยรู้จักและไม่เกี่ยวพันกับ “ภาพ 70 ไร่”แต่น่าประหลาดใจว่ารายงานดังกล่าวดันไปอยู่ในคอมพิวเตอร์พกพาของนายสุภาพ จึงกลายเป็นหลักฐานมัดคออย่างดิ้นไม่หลุด
ข้อมูลจาก นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 30 เดือนมีนาคม พ.ศ.2546 คอลัมน์สีกากีประจำสัปดาห์ เขียนถึงพ.ต.ท.สุเทพ ชนะสิทธิ์ รองผกก. (ป) สภ.อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ว่าเป็นนายตำรวจสัญญาบัตรรายแรกที่ถูกเชือดตามหลังการจับกุมนายสุภาพ สีแดง หรือภาพ 70 ไร่ ผู้ต้องหาค้ายาเสพติดรยใหญ่ย่านคลองเตย เพราะโดนกล่าวหาฉกรรจ์ไปผูกพันใก้ลชิดชนิดเดินตามก้นไปไหนมาไหนด้วยกันกับภาพ 70 ไร่เป็นประจำแทบทุกวัน พฤติกรรมเลยต้องสงสัยให้ต้องถูกตรวจสอบอย่างละเอียด
พล.ต.อ.สุนทร ซ้ายขวัญ รองผบ.ตร.เลยต้องเซ็นคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน แล้วมอบหมายให้พล.ต.ท.พิชิต ควรเดชะคุปต์ ผบช.ภ.7 ผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดสอบสวนข้อเท็จจริงให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน
ตามประวัติชีวิตรับราชการ หลังจบโรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่น 35 (นรต.35) ก็ผาดโผนอยู่แต่กองปราบปราม ตั้งแต่เป็น รอง สว.ผ.1 กก.2 ป.ขึ้นเป็น สว.ผ. 4 กก.4 ป.แล้วโยกไปนั่ง รองผกก.อก.สปพ. ก่อนจะหวลกลับมาเป็นรอง ผกก. 4 ป.แต่พอโผการแต่งตั้งระดับรอง ผกก.- สารวัตร งวดที่ผ่านมามีการเสนอชื่อเข้าหารือในวงประชุมบอร์ดกลั่นกรองเสนอให้ย้ายออกจากหน่วย เพราะมีข้อมูลการใช้โทรศัพท์พูดคุยกับกลุ่มคนต้องสงสัยพัวพันยาเสพติดโดยโผแรกถูกเตะไปนั่งงานอำนวยการกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 แต่สุดท้ายชื่อกลับกลายไปเป็น รองผกก.(ป) สภ.อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
จังหวะชีวิตให้ไปรู้จักกับภาพ 70 ไร่ ก็ตอนสมัยอยู่ชุดเฉพาะกิจปรามปรามการค้าประเวณีและบ่อนการพนัน แล้วเข้าไปจับกุมบ่อนพนัน 70 ไร่ย่านคลองเตย ของภาพ 70 ไร่ทำให้เริ่มต้นไปมาหาสู่ช่วยเหลือเอื้ออาทรซึ่งกันและกันจากนั้นมา...
...ชัดเจนว่านายตำรวจผู้นี้เคยถูกกล่าวหา เคยถูกให้ออกจากราชการแม้ในที่สุดพ.ต.อ.สุเทพ ชนะสิทธิ์ สามารถกลับมารับราชการ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ และถ้ามองด้วยใจเป็นธรรมนายตำรวจผู้นี้คงมิได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องถึงกับเป็นผู้ค้าหรือรู้เห็นเป็นใจกับกลุ่มแก๊ง “ภาพ 70 ไร่”แต่การที่เป็นนายตำรวจระดับสัญญาบัตร สามัญสำนึกตลอดจนวุฒิภาวะต้องมองเห็นเภทภัย หรือความเหมาะสมต่างๆ ยิ่งตลอดชีวิตราชการในช่วงนั้นก็วนเวียนอยู่ในกองบังคับการปราบปราม ซึ่งอัดแน่นไปด้วยข้อมูล พ.ต.อ.สุเทพ ไม่ระแคะเลยหรือว่านายสุภาพ หรือ “ภาพ 70 ไร่”ร่ำรวยมาจากอะไร ไม่รู้เลยสักนิดว่ากำลังคบค้าอยู่กับหัวหน้าแก๊งยาเสพติดรายใหญ่
ตรงนี้ต่างหากที่เป็นความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่ของชีวิตคนเป็นตำรวจ เมื่อเลือกคบคนพาลจนนำไปสู่หายนะ
ครั้นเมื่อสามารถทำความเข้าใจกับผู้บังคับบัญชาชนผ่อนปรนโทษให้โอกาสกลับมารับราชการอีกครั้ง ถามว่าพ.ต.อ.สุเทพ มีผลงานอะไรเป็นที่ประจักษ์ หรือจำเป็นต้องได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชาอันประกอบด้วย พล.ต.ท.ศรีวราห์ รังสิตพราหมณกุล ผบช.น.ในฐานะผู้บังคับบัญชาคนใหม่และเพื่อนร่วมรุ่น นรต.35 ส่วนผู้บังคับบัญชาคนอื่นๆที่เห็นดีเห็นงามด้วยก็คงไม่พ้น พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง ผบ.ตร. พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รองผบ.ตร. พล.ต.อ.เรืองศักดิ์ จริตเอก รองผบ.ตร.พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รองผบ.ตร.พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน รองผบ.ตร.พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา รองผบ.ตร.พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รองผบ.ตร.พล.ต.อ.ชนินทร์ ปรีชาหาญ จตช.และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมไปถึง พล.อ.ประวิทย์ วงษ์สุวรรณ รองนายกฯผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้มาอยู่ในตำแหน่งสำคัญ ดูแลพื้นที่เกรดเอ และยังคงมีปัญหายาเสพติดอย่างกว้างขวาง
ท่านทั้งหลายที่กล่าวมานี้จะมีคำตอบให้กับประชาชน และตำรวจทั่วประเทศถึงความถูกต้องเหมาะสมประการใด..หรือนี่เป็นมาตรการเยียวยาให้กับนายตำรวจคนหนึ่งที่เคยถูกกล่าวหาว่าเดินตามก้นเจ้าพ่อค้ายาเสพติดระดับประเทศมาก่อน !!?.
บทร้อยกรองที่พระราชนิพนธ์โดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวนอุฎฐายีมหาเถร ) สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ 16 พ.ศ.2499...สุดยอดแห่งความคลาสสิค เป็นบทพระราชนิพนธ์ที่ตำรวจไทย และคนไทยคุ้นเคยกันมายาวนานเกือบ 60 ปี
วันนี้ตำรวจไทยส่วนหนึ่งต้องอดทนต่อความเจ็บใจอีกครั้ง แต่เป็นการอดทนกับคนกันเอง..เมื่อผลการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับรองผบก. – สารวัตร ทั่วประเทศ 1,711 นายมีรายชื่อออกมาให้เห็นแล้ว รอเพียงประเทศอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 มกราคม ที่จะถึงนี้ขบวนการต่างๆก็จะเริ่มเดินหน้าทั้งฝ่ายที่ลงไปทำงานตามคำสั่ง ตร.และอีกกลุ่มคือนอกจากลงไปทำหน้าที่ตามปกติเหมือนการแต่งตั้งโยกย้ายในทุกๆครั้ง แต่เที่ยวนี้อาจจะต้องค้าความกับผู้บังคับบัญชา อาจใช้เวลาส่วนหนึ่งขึ้นโรงขึ้นศาล ไม่ว่าจะเป็นศาลปกครองหรือศาลอาญาเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้กับตัวเอง
ว่าไปแล้วปัญหาการแต่งตั้ง-โยกย้ายเที่ยวนี้มีข้อบกพร่องอยู่มาก เรื่องเด่นที่สุดก็คือการย้ายล้างบางกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง แต่หน่วยงานนี้กลับไม่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อะไรมากนักเพราะรู้ๆกันอยู่ว่าอยู่ภายใต้เงามืดของ พล.ต.ท.พงษ์พัฒน์ ฉายาพันธ์ อดีต ผบช.ก.มาเป็นเวลาหลายปี การถ่ายเลือดแบบพลัดแผ่นดินจึงเป็นสิ่งที่ประชาชนอยากมองเห็น และน่าจะรวมถึงข้าราชการตำรวจอีกหลายนายโดยเฉพาะ “ลูกหม้อ” กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ที่อยากเห็นหน่วยงานอันเป็นที่รักยืนหยัดอย่างสง่างามโดยมีผลประโยชน์ของประชาชนและส่วนรวมเป็นแกนหลัก
ต่างกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่ผู้นำหน่วยงานหยิบเอาการทุจริตป้ายโฆษณาจอแอลอีดี มาเป็นเหตุย้ายแบบล้างบาง แต่มีเสียงวิพากษ์ว่าเป็นการย้ายแบบมีเทคนิคพิสดารกล่าวคือบางคนที่มีเรื่องอื้อฉาว มีความผิดในลักษณะเดียวกันกลับไม่ถูกลงโทษ บางคนถูกย้ายในระนาบอยู่ในสังกัดเดิม บางคนได้ดีเลื่อนจาก ผกก.เป็นรอง ผบก.ยิ่งทำให้เกิดความข้องใจจนกลายเป็นเสียง “ยี้”เพราะมีการเลือกปฏิบัติอย่างชัดเจน
พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง ผบ.ตร.ออกมายืนยันว่าการแต่งตั้ง-โยกย้ายทำไปด้วยความรอบคอบ ไม่มีการวิ่งเต้นไม่มีการซื้อขายเก้าอี้และหากใครเห็นว่าไม่ได้รับความยุติธรรมก็สามารถไปร้องเรียนหรือดำเนินการกับผู้บังคับบัญชาได้ อีกทั้งการตัดสินใจครั้งนี้ทุกคนเคารพในสิทธิหน้าที่ของผู้บัญชาการ ทุกหน่วยที่เสนอเข้ามา ดังนั้นหากมีอะไรผิดพลาดคนที่ต้องรับผิดชอบก็คือ “ผู้บัญชาการ”ทั้งหลาย
แต่ทีเด็ดของการแสดงความเห็นผ่านสื่อต่างๆ ผบ.ตร.เตือนสติตำรวจใต้บังคับบัญชาว่า “ใครเคยทำอะไร มีอะไรไม่ถูกต้องมาก่อนย่อมรู้ตัวดี”
...คำเตือนเหมือนกับคำขู่เพราะตำรวจย่อมรู้ทางตำรวจ จุดแข็งมีจุดอ่อนเยอะเรียกว่าถอดเสื้อมาสำรวจเนื้อตัวเป็นต้องเจอกลากเกลื้อนกันแทบทุกคน และยิ่งมีกรณีของสาวก “พงษ์พัฒน์”เป็นตัวอย่าง หลังวันที่ 15 มกราคม กำหนดดีเดย์จะมีการเคลื่อนไหวของตำรวจอกหักอาจจะเงียบจ้อยไม่มีอะไรในกอไผ่ เหตุที่เผื่อใจในประเด็นนี้ก็เพราะธรรมชาติของตำรวจระดับใต้บังคับบัญชาน้อยรายนักที่กล้ามีปัญหากับเจ้านายตัวเอง ยิ่งเป็นยุค “อำนาจเต็มมือ”ห้วงเวลาที่เหลือก่อนประชาธิปไตยจะกลับมา ก่อนมีการเลือกตั้งได้รัฐบาลใหม่ อำนาจใหม่ไม่รู้ว่าจะทนความเสียดทานได้นานแค่ไหน
แต่นั่นเป็นเพียงความคิดเห็นด้านหนึ่งเพราะธรรมชาติอีกอย่างของคนเป็นตำรวจก็คือถ้าสู้ก็ต้องสู้อย่างขาดใจ สู้ทุกรูปแบบ จุดที่จะถูกหยิบยกขึ้นมาสู้คงไม่พ้นข้อกฎหมายและระเบียบปฏิบัติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คราวนี้ต้องมาวัดกันว่าใครจะแน่ ใครจะแม่นยำกว่ากันโดยเฉพาะกรณีป้ายโฆษณาจอแอลอีดี ที่ฝ่าย ผกก.อกหักมองว่าเขาไม่ได้รับความเป็นธรรม เผลออาจจะเป็นการวางกับดักหาเรื่องผิดให้กับลูกน้องเพราะยังมีตำรวจระดับสูงอีกหลายคนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ไม่ว่าจะเป็นอดีต ผบช.น.อย่างน้อย 3 คน
แต่ที่น่าสนใจ ไม่ต้องรอศาลไหนชี้ขาดและควรเป็นประเด็นให้วิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดก็คือพบว่าบัญชีการแต่งตั้งโยกย้ายเที่ยวนี้มีการสนับสนุนนายตำรวจที่เคยพัวพันกับคดียาเสพติดเข้ามารับหน้าที่ในหน่วยงานสำคัญ นั่นคือตำแหน่งของ พ.ต.อ.สุเทพ ชนะสิทธิ์ ผกก.สส.ภ.จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับการสนับสนุนย้ายจาก ผกก.สส.จ.พระนครศรีอยุธยา มาเป็น ผกก.สส.บก.น.4 ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวถือว่าพื้นที่ทำเลทอง และยังเป็นแหล่งปัญหาของยาเสพติดมาอย่างต่อเนื่องประกอบด้วย สน.โชคชัย สน.บางชัน สน.บึงกุ่ม สน.ประเวศ สน.ลาดพร้าว สน.วังทองหลาง สน.หัวหมาก และสน.อุดมสุข
ประวัตินายตำรวจผู้นี้หากย้อนไป พ.ศ.2546 ช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำลังปราบปรามขบวนการค้ายาเสพติดอย่างเข้มข้น พื้นที่ชุมแออัดหรือสลัมคลองเตย ถือว่ามีการแพร่หลายยาเสพติดมากที่สุดแห่งหนึ่ง การขุดรากถอนโคนขบวนการชั่วจำเป็นต้องจัดการกับเครือข่ายทั้งหมดประกอบด้วยนักการเมืองพื้นที่ ข้าราชการตำรวจบางคน ชื่อของ “ภาพ 70 ไร่”จึงปรากฏขึ้น
“ภาพ 70 ไร่”หรือนายสุภาพ สีแดง หรือนายสยาม ทรัพย์วรสิทธิ์ มีในขณะนั้นเพียง 36 ปีแต่มีเงินหมุนเวียนในบัญชีปีละกว่า 600 ล้านบาท พื้นเพเดิมภาพ 70 ไร่เป็นคนอ่างทองอพยพมาอยู่ชุมชนคลองเตยราวปี 2536 มีพี่น้อง 8 คนล้วนเกี่ยวข้องกับการจำหน่ายยาเสพติดทั้งหมดไม่เว้นกระทั่งนางชะลอ สีแดง มารดา ด้วยอิทธิพลการเงินนายสุภาพ ให้การสนับสนุนนายสมพร สีแดง พี่ชายซึ่งเคยถูกจับข้อหาครอบครองยาบ้า 1,795 เม็ดจนได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคไทยรักไทย
ผลของการทะลายรัง “ภาพ 70 ไร่”มีตำรวจที่เกี่ยวข้องถูกดำเนินการหลายนาย มีทั้งโดนแจ้งข้อหาส่วนบางคนที่หลักฐานไม่ชัดก็ถูกให้ออกจากราชการ และหากจำได้ต้องไม่ลืมความงามหน้าของตำรวจไทยในยุคนั้นเพราะจากการค้นบ้านภาพ 70 ไร่พบรูปนายสุภาพ ถ่ายร่วมกับตำรวจหลายนาย มีบางคนถึงกับให้นายสุภาพ ประดับยศให้
พ.ต.อ.สุเทพ ชนะสิทธิ์ ก็คือ 1 ในตำรวจหลายนายที่พัวพันกับขบวนการ “ภาพ 70 ไร่”นอกจากนั้นในการตรวจค้นบ้านและยึดโน๊ตบุ๊คไปตรวจสอบพบข้อความชี้แจงของนายตำรวจรายหนึ่ง เขียนรายงานชี้แจงว่าไม่เคยรู้จักและไม่เกี่ยวพันกับ “ภาพ 70 ไร่”แต่น่าประหลาดใจว่ารายงานดังกล่าวดันไปอยู่ในคอมพิวเตอร์พกพาของนายสุภาพ จึงกลายเป็นหลักฐานมัดคออย่างดิ้นไม่หลุด
ข้อมูลจาก นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 30 เดือนมีนาคม พ.ศ.2546 คอลัมน์สีกากีประจำสัปดาห์ เขียนถึงพ.ต.ท.สุเทพ ชนะสิทธิ์ รองผกก. (ป) สภ.อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ว่าเป็นนายตำรวจสัญญาบัตรรายแรกที่ถูกเชือดตามหลังการจับกุมนายสุภาพ สีแดง หรือภาพ 70 ไร่ ผู้ต้องหาค้ายาเสพติดรยใหญ่ย่านคลองเตย เพราะโดนกล่าวหาฉกรรจ์ไปผูกพันใก้ลชิดชนิดเดินตามก้นไปไหนมาไหนด้วยกันกับภาพ 70 ไร่เป็นประจำแทบทุกวัน พฤติกรรมเลยต้องสงสัยให้ต้องถูกตรวจสอบอย่างละเอียด
พล.ต.อ.สุนทร ซ้ายขวัญ รองผบ.ตร.เลยต้องเซ็นคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน แล้วมอบหมายให้พล.ต.ท.พิชิต ควรเดชะคุปต์ ผบช.ภ.7 ผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดสอบสวนข้อเท็จจริงให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน
ตามประวัติชีวิตรับราชการ หลังจบโรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่น 35 (นรต.35) ก็ผาดโผนอยู่แต่กองปราบปราม ตั้งแต่เป็น รอง สว.ผ.1 กก.2 ป.ขึ้นเป็น สว.ผ. 4 กก.4 ป.แล้วโยกไปนั่ง รองผกก.อก.สปพ. ก่อนจะหวลกลับมาเป็นรอง ผกก. 4 ป.แต่พอโผการแต่งตั้งระดับรอง ผกก.- สารวัตร งวดที่ผ่านมามีการเสนอชื่อเข้าหารือในวงประชุมบอร์ดกลั่นกรองเสนอให้ย้ายออกจากหน่วย เพราะมีข้อมูลการใช้โทรศัพท์พูดคุยกับกลุ่มคนต้องสงสัยพัวพันยาเสพติดโดยโผแรกถูกเตะไปนั่งงานอำนวยการกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 แต่สุดท้ายชื่อกลับกลายไปเป็น รองผกก.(ป) สภ.อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
จังหวะชีวิตให้ไปรู้จักกับภาพ 70 ไร่ ก็ตอนสมัยอยู่ชุดเฉพาะกิจปรามปรามการค้าประเวณีและบ่อนการพนัน แล้วเข้าไปจับกุมบ่อนพนัน 70 ไร่ย่านคลองเตย ของภาพ 70 ไร่ทำให้เริ่มต้นไปมาหาสู่ช่วยเหลือเอื้ออาทรซึ่งกันและกันจากนั้นมา...
...ชัดเจนว่านายตำรวจผู้นี้เคยถูกกล่าวหา เคยถูกให้ออกจากราชการแม้ในที่สุดพ.ต.อ.สุเทพ ชนะสิทธิ์ สามารถกลับมารับราชการ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ และถ้ามองด้วยใจเป็นธรรมนายตำรวจผู้นี้คงมิได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องถึงกับเป็นผู้ค้าหรือรู้เห็นเป็นใจกับกลุ่มแก๊ง “ภาพ 70 ไร่”แต่การที่เป็นนายตำรวจระดับสัญญาบัตร สามัญสำนึกตลอดจนวุฒิภาวะต้องมองเห็นเภทภัย หรือความเหมาะสมต่างๆ ยิ่งตลอดชีวิตราชการในช่วงนั้นก็วนเวียนอยู่ในกองบังคับการปราบปราม ซึ่งอัดแน่นไปด้วยข้อมูล พ.ต.อ.สุเทพ ไม่ระแคะเลยหรือว่านายสุภาพ หรือ “ภาพ 70 ไร่”ร่ำรวยมาจากอะไร ไม่รู้เลยสักนิดว่ากำลังคบค้าอยู่กับหัวหน้าแก๊งยาเสพติดรายใหญ่
ตรงนี้ต่างหากที่เป็นความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่ของชีวิตคนเป็นตำรวจ เมื่อเลือกคบคนพาลจนนำไปสู่หายนะ
ครั้นเมื่อสามารถทำความเข้าใจกับผู้บังคับบัญชาชนผ่อนปรนโทษให้โอกาสกลับมารับราชการอีกครั้ง ถามว่าพ.ต.อ.สุเทพ มีผลงานอะไรเป็นที่ประจักษ์ หรือจำเป็นต้องได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชาอันประกอบด้วย พล.ต.ท.ศรีวราห์ รังสิตพราหมณกุล ผบช.น.ในฐานะผู้บังคับบัญชาคนใหม่และเพื่อนร่วมรุ่น นรต.35 ส่วนผู้บังคับบัญชาคนอื่นๆที่เห็นดีเห็นงามด้วยก็คงไม่พ้น พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง ผบ.ตร. พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รองผบ.ตร. พล.ต.อ.เรืองศักดิ์ จริตเอก รองผบ.ตร.พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รองผบ.ตร.พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน รองผบ.ตร.พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา รองผบ.ตร.พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รองผบ.ตร.พล.ต.อ.ชนินทร์ ปรีชาหาญ จตช.และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมไปถึง พล.อ.ประวิทย์ วงษ์สุวรรณ รองนายกฯผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้มาอยู่ในตำแหน่งสำคัญ ดูแลพื้นที่เกรดเอ และยังคงมีปัญหายาเสพติดอย่างกว้างขวาง
ท่านทั้งหลายที่กล่าวมานี้จะมีคำตอบให้กับประชาชน และตำรวจทั่วประเทศถึงความถูกต้องเหมาะสมประการใด..หรือนี่เป็นมาตรการเยียวยาให้กับนายตำรวจคนหนึ่งที่เคยถูกกล่าวหาว่าเดินตามก้นเจ้าพ่อค้ายาเสพติดระดับประเทศมาก่อน !!?.