แม้จะมีการส่งสัญญาณจากทั้ง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ด้านกฎหมาย รวมไปถึง นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ไปในทางเดียวกันว่า การจัดการเลือกตั้ง ตามโรดแมปที่วางไว้เดิม คือตุลาคม 2558 อาจต้องลากยาวไปเป็นอย่างช้าที่สุดคือ ภายในกุมภาพันธ์ 2559 ก็ตาม
แต่ที่เห็นแนวโน้มค่อนข้างชัดเจน คือการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นนั้น รูปแบบ และกลไกการจัดการที่จะอยู่ภายใต้การดำเนินการของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะถูกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
เพราะล่าสุดกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีมติเบื้องต้น กำหนดให้กกต. มีจำนวน 5 คน มีวาระ 6 ปี เป็นได้วาระเดียว ที่สำคัญคือ ให้กกต. มีอำนาจเพียงควบคุม กำกับดูแลการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยบริสุทธิ์ ยุติธรรม และให้หน่วยงานรัฐอย่าง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่จัดการเลือกตั้ง หากกกต.เห็นว่าการเลือกตั้งไม่สุจริต สามารถสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้ แต่หากว่ามีการทุจริตเลือกตั้ง เห็นควรเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ให้กกต.รวบรวม พยานหลักฐาน ยื่นต่อศาลวินิจฉัย ซึ่งก็อาจจะมีการตั้ง "ศาลเลือกตั้ง " หรือไปเป็นแผนกหนึ่งในศาลยุติธรรมก็ได้
เรียกว่า“ริบคืน”ทั้งอำนาจจัดการเลือกตั้ง ที่มีฐานความคิดเดิมว่า ต้องให้กกต.จัด และควบคุม เพื่อให้การเลือกตั้ง เป็นการแข่งขันที่เป็นธรรม และ “ริบคืน”อำนาจการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือ “ใบแดง” ที่มีไว้สำหรับไล่นักเลือกตั้งที่ เล่นนอกกฎ กติกา ออกนอกสนามแข่งขัน
ในมุมของกกต. แม้จะไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว เพราะการควบคุมการเลือกตั้ง โดยที่ผู้จัดการเลือกตั้งเป็นบุคคลากรของฝ่ายบริหารที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของฝ่ายการเมือง กกต.เชื่อว่ายากที่จะทำให้การเลือกตั้งนั้นเป็นการแข่งขันที่เท่าเทียม เป็นธรรมกับทุกฝ่าย
** ที่สำคัญ อำนาจการควบคุมการเลือกตั้งที่มีเพียงสั่งเลือกตั้งใหม่ หรือให้ใบเหลือง โดยไม่อาจแจกใบแดง เท่ากับ กกต. ไร้ดาบอาญาสิทธิ์ จัดการคนทุจริต ทำให้กกต.กลายเป็น "ยักษ์ไม่มีกระบอก" ของจริง แต่ก็ยากที่จะทัดทาน หรือต่อรองได้
นั่นเพราะคน กกต.เองรู้ดีว่า ตลอด 16 ปีที่ผ่านมา ผลงานไม่เข้าตาสังคม ทุจริตซื้อเสียงเพิ่มดีกรีความรุนแรงในทุกระดับชั้นของการเลือกตั้ง ดาบอาญาสิทธิ์ ที่กฎหมายให้ กกต.ปล่อยให้ขึ้นสนิมคาฝัก ไม่กล้าชักออกมาใช้ ส่งผลให้ไม่อาจพิชิตคนพาล อภิบาลคนดี ให้เดินเข้าประตูสภาอันทรงเกียรติได้
ย้อนมองกลับไป องค์กร กกต.ถือกำเนิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ภายใต้แนวคิดที่บ้านเมืองอยากจะให้มีองค์กรที่เป็นกลางขึ้นมาทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งให้สุจริต เที่ยงธรรม คัดกรองคนดีเข้ามาปกครองบ้านเมือง แทนกระทรวงมหาดไทย ที่ก่อนนั้นตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่า จัดการเลือกตั้งอยู่ภายใต้การครอบงำของฝ่ายการเมือง
ทำให้มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นกรรมการการเลือกตั้งไว้สูง เฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของความเป็นกลางทางการเมือง ขณะเดียวกันก็ “ติดดาบ ”ให้มีอำนาจเบ็ดเสร็จ กึ่งตุลาการในการควบคุม และจัดการเลือกตั้งเพื่อความคล่องตัวในการทำงาน
โดยให้กกต. อาศัยหลักการเพียง“ความปรากฏ”หรือกรณี “มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า”มีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ส่งผลให้การเลือกตั้งนั้นเป็นไปโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรม ก็สามารถใช้เครื่องมือที่ทรงอานุภาพอย่าง “ใบเหลือง-ใบแดง”จัดการไล่คนทุจริตออกจากการแข่งขันได้เลย แตกต่างจากหลักการกล่าวหา และพิสูจน์พยานหลักฐาน ตามกระบวนการที่ใช้อยู่ในระบบของศาลยุติธรรม แต่ทั้งนี้ ก็มีมาตรการควบคุมความเที่ยงธรรมไว้สูง โดยมติใบเหลือง ใบแดง ต้องเป็นเอกฉันท์
สมัย กกต.ชุดแรก ประกอบไปด้วยบุคคลที่ได้รับการยกย่องจากสังคมว่าเป็นผู้มีความสุจริต รู้จะเข้าใจถึงเจตนารมณ์ของการมีองค์กรกกต. เป็นอย่างดี อาจเนื่องเพราะทั้งหมดอยู่ร่วมวางรากฐานมาตั้งแต่ต้นในการยกร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง 3 ฉบับ
ทำให้เมื่อเข้ามาจัดการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา ( ส.ว. ) ครั้งแรก 4 มี.ค. 43 แม้กกต.จะใช้อำนาจประกาศแขวน ว่าที่ส.ว. 78 ราย และสั่งเลือกตั้งใหม่อีก 5 ครั้ง ใช้เวลากว่า 5 เดือน จึงได้วุฒิสภาครบ 200 คน
ขณะที่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 6 ม.ค. 2544 กกต.ประกาศแขวนว่าที่ ส.ส. 62 ราย ชักใบแดงไปถึง 16 ใบ ก็ไม่ได้ทำให้สังคมรู้สึกว่า กกต.ใช้อำนาจที่มีไปกลั่นแกล้ง รังแกใคร ตรงกันข้าม หลายฝ่ายแสดงความชื่นชมถึงความเด็ดขาด และความสามารถกำจัดผู้ทุจริตการเลือกตั้งได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ
ส่งผลให้องค์กร กกต.เวลานั้น เป็นที่ยอมรับนับถือ สังคมเชื่อมั่น ศรัทธา ที่สามารถ“สกัดคนชั่ว”ไม่ให้“เหยียบตีนบันไดสภา”ได้
แต่หลังปี 2545 เป็นต้นมา นับเนื่องแต่เปลี่ยนเป็น กกต.ชุดที่ 2 ที่มี พล.อ.ศิรินทร์ ธูปกล่ำ และ พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ เป็นประธาน จนถึงปัจจุบัน แม้หลักการแจก ใบเหลือง-ใบแดง จะถูกเปลี่ยนรูปลักษณะโดยให้ กกต. มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ชักใบเหลือง ใบแดงได้เฉพาะแค่ก่อนประกาศรับรองผล และหลังการประกาศรับรองผลฯ ให้เป็นอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ส่วนมติสั่งแดง-เหลือง ก็ให้เป็นเสียงข้างมาก 4 ใน 5 ของกรรมการที่มาประชุม ไม่ต้องเป็นมติเอกฉันท์ เหมือนในสมัยแรก
** แต่ความนิยมกลับตกต่ำ ความเชื่อมั่นศรัทธา กลับถดถอย องค์กรเสื่อมทรุดลงอย่างต่อเนื่อง
ส่วนหนึ่งไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เป็นเพราะความน่าเกรงขามของ ใบเหลือง -ใบแดง ทำให้ฝ่ายการเมือง พยายามหาหนทางเข้าแทรกแซงกระบวนการในการสรรหา กกต. และเคยทำสำเร็จในชุดที่สอง ได้บุคคลที่ฝ่ายกุมอำนาจรัฐในขณะนั้น สามารถควบคุมได้เข้ามาเป็นกกต. จนเกิดวิกฤตศรัทธาต่อบทบาทและภาระหน้าที่ของ กกต. มีการรวมตัวของกลุ่มมวลชนขับไล่ เมื่อการดำเนินการจัดการเลือกตั้งไม่เป็นไปอย่างถูกต้อง เป็นธรรม ท้ายที่สุด กรรมติดจรวด ถูกศาลอาญาพิพากษาให้จำคุกโดยไม่มีการรอลงอาญา ต้องพ้นตำแหน่ง ถูกตราหน้า“เป็น 3 หนาห้าห่วง”จนถึงทุกวันนี้
และถึงแม้จะมีการปรับแก้รัฐธรรมนูญในปี 2550 โดยให้น้ำหนักกับการคัดสรร กกต. ที่มาจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา การถูกแทรกแซงก็ไม่ได้ลดน้อยถอยลง ขณะเดียวกัน การใช้อำนาจกึ่งตุลาการถูกตั้งคำถามว่า สองมาตรฐาน ทำให้เกิดความแตกแยกทางการเมือง ไม่ได้รับการยอมรับ การชักใบเหลือง ใบแดง จัดการคนโกงบ้านเมือง ก็“เงื้อค้าง”ไม่กล้าฟันนักการเมือง
แต่การบริหารงานของกกต. ก็เป็นปัญหา ความล่าช้าในการรวบรวมหาพยานหลักฐาน ความไม่เชี่ยวชาญของพนักงานสืบสวนสอบสวน กลายความยุติธรรมที่มาช้า ต้องปล่อยผี ส.ส.ทุจริตเดินเข้าสภาไปก่อน ค่อยมาชงศาลพิจารณาสั่งเลือกตั้งใหม่ เพิกถอนสิทธิภายหลัง ด้วยข้ออ้างว่าระยะเวลาที่กฎหมายให้จำกัด ไม่เพียงพอต่อการตรวจสอบ และใช้ดุลยพินิจอย่างเที่ยงธรรมได้
**สุดท้ายเมื่อนักเลือกตั้งมีอำนาจ บารมี ก็ใช้อิทธิพลข่มขู่พยานกลับคำให้การในชั้นศาล จนไม่สามารถเอาผิดคนชั่ว ต้องปล่อยลอยนวลอยู่ในสภา
ผนวกกับองคาพยพภายในองค์กรกกต. ที่ถึงจะมีบุคลากรกว่า 2 พันคนทั่วประเทศ ใหญ่โตยิ่งกว่าบางกระทรวง แต่จำนวนไม่น้อยกลายเป็น แรงงานไร้ฝีมือ ซึ่งเป็นผลมาจากการเร่งบรรจุข้าราชการในยุคอดีต ทำให้ได้ “คนไม่ตรงกับงาน”ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำ
สำนวนทุจริตที่ยื่นฟ้องศาล เกินกว่าครึ่ง ศาลตีตก ไม่เอาด้วยกับที่กกต.เสนอ การทำสำนวนที่ล่าช้า หลายคดีมารีบเร่งวินิจฉัยเมื่อใกล้หมดอายุความ การสอบสวนที่ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระเบียบสืบสวนกำหนด โดยเฉพาะการให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา การจงใจชงสำนวนอ่อน ที่ผสมผสานมากับข่าวการค้าสำนวน และการตกอยู่ใต้อิทธิพลนักการเมืองในพื้นที่ ของกกต.จังหวัด
** ดังนั้นเมื่อมี “อำนาจวิเศษ”แล้ว“ใช้ไม่เป็น”ปล่อยให้ “เสียของ”จึงไม่แปลกที่การปฏิรูปประเทศครั้งนี้ จะมีข้อเสนอ“ริบคืน”ทั้งอำนาจจัดการเลือกตั้ง และอำนาจ ใบแดง เสียจากกกต.
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอในการปฏิรูปฯ ที่ยังคงจะให้กกต. มีหน้าที่ในการควบคุมการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม รวบรวมหลักฐานความผิดในกรณีการทุจริตเลือกตั้ง เพื่อยื่นต่อศาลวินิจฉัย
ขณะเดียวกัน ในช่วงที่มีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง จะให้มีอำนาจตรวจค้น จับกุม การกระผิดตามกฎหมายเลือกตั้งได้โดยไม่ต้องขอหมายค้น หมายจับ จากตำรวจ หรือศาลเหมือนเช่นปัจจุบัน อาจยังพอทำให้กกต. สร้างเกียรติภูมิขึ้นใหม่ กู้ศรัทธาให้กลับคืนมาสู่องค์กรได้
ทั้งนี้ คนกกต.วิเคราะห์ว่า ตามโครงสร้างใหม่ กกต.ต้องคิดนอกกรอบว่าจะทำอย่างไร ที่การเลือกตั้งเกิดความเรียบร้อย เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย การเฟ้นหาให้ได้เจ้าหน้าที่ ที่เป็นกลางเข้ามาควบคุมการเลือกตั้ง การสร้างเครือข่าย หาความร่วมมือ เพื่อเป็นหู เป็นตา ช่วยทำให้การเลือกตั้งเกิดความสุจริต โปร่งใส และเป็นภูมิคุ้มกันให้กับกกต. เป็นสิ่งจำเป็น
ขณะเดียวกัน เจตนารมณ์ของการปฏิรูป ที่จะตัดสิทธิ์คนทุจริตออกจากระบบการเมืองชั่วชีวิต ทำให้ กกต.มีสถานะคล้ายตำรวจ อัยการ ไปพร้อมกัน คือต้องหาพยานหลักฐาน และรวบรวม ชงสำนวนให้ศาลฟัน จึงต้องปรับปรุงระเบียบ กระบวนการสืบสวนสอบสวน และการได้มาซึ่งพยานหลักฐานใหม่
โดยต้องพัฒนางานสืบสวนสอบสวนเป็นสากล สร้างและพัฒนาบุคลากร ให้เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญด้านคดีเลือกตั้ง ให้เสมือนกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยที่ตัว กกต. อาจต้องแบ่งความรับผิดชอบดูแลเป็นพื้นที่ หรือเป็นภาค เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพ
** ดังนั้น จึงอาจเป็นโอกาสครั้งสุดท้ายที่ กกต.ยังจะได้เกาะกระแสปฏิรูป หากยังไม่เร่งปัดกวาดองค์กร พัฒนาศักยภาพ ฝีไม้ลายมือ บุคคลากร เพื่อเตรียมรับศึกเลือกตั้งครั้งใหญ่ หลังรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปประเทศบังคับใช้ โดยในภาระหน้าที่ที่เหลือ หากยังไม่สามารถสร้างผลงานเป็นรูปธรรม เรียกศรัทธาคืนได้แล้ว ความล่มสลายขององค์กรที่จะตามมา ก็ยากที่คนกกต. จะไปกล่าวโทษใคร นอกจากฝีมือตนที่พังบ้านตัวเอง
แต่ที่เห็นแนวโน้มค่อนข้างชัดเจน คือการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นนั้น รูปแบบ และกลไกการจัดการที่จะอยู่ภายใต้การดำเนินการของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะถูกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
เพราะล่าสุดกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีมติเบื้องต้น กำหนดให้กกต. มีจำนวน 5 คน มีวาระ 6 ปี เป็นได้วาระเดียว ที่สำคัญคือ ให้กกต. มีอำนาจเพียงควบคุม กำกับดูแลการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยบริสุทธิ์ ยุติธรรม และให้หน่วยงานรัฐอย่าง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่จัดการเลือกตั้ง หากกกต.เห็นว่าการเลือกตั้งไม่สุจริต สามารถสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้ แต่หากว่ามีการทุจริตเลือกตั้ง เห็นควรเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ให้กกต.รวบรวม พยานหลักฐาน ยื่นต่อศาลวินิจฉัย ซึ่งก็อาจจะมีการตั้ง "ศาลเลือกตั้ง " หรือไปเป็นแผนกหนึ่งในศาลยุติธรรมก็ได้
เรียกว่า“ริบคืน”ทั้งอำนาจจัดการเลือกตั้ง ที่มีฐานความคิดเดิมว่า ต้องให้กกต.จัด และควบคุม เพื่อให้การเลือกตั้ง เป็นการแข่งขันที่เป็นธรรม และ “ริบคืน”อำนาจการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือ “ใบแดง” ที่มีไว้สำหรับไล่นักเลือกตั้งที่ เล่นนอกกฎ กติกา ออกนอกสนามแข่งขัน
ในมุมของกกต. แม้จะไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว เพราะการควบคุมการเลือกตั้ง โดยที่ผู้จัดการเลือกตั้งเป็นบุคคลากรของฝ่ายบริหารที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของฝ่ายการเมือง กกต.เชื่อว่ายากที่จะทำให้การเลือกตั้งนั้นเป็นการแข่งขันที่เท่าเทียม เป็นธรรมกับทุกฝ่าย
** ที่สำคัญ อำนาจการควบคุมการเลือกตั้งที่มีเพียงสั่งเลือกตั้งใหม่ หรือให้ใบเหลือง โดยไม่อาจแจกใบแดง เท่ากับ กกต. ไร้ดาบอาญาสิทธิ์ จัดการคนทุจริต ทำให้กกต.กลายเป็น "ยักษ์ไม่มีกระบอก" ของจริง แต่ก็ยากที่จะทัดทาน หรือต่อรองได้
นั่นเพราะคน กกต.เองรู้ดีว่า ตลอด 16 ปีที่ผ่านมา ผลงานไม่เข้าตาสังคม ทุจริตซื้อเสียงเพิ่มดีกรีความรุนแรงในทุกระดับชั้นของการเลือกตั้ง ดาบอาญาสิทธิ์ ที่กฎหมายให้ กกต.ปล่อยให้ขึ้นสนิมคาฝัก ไม่กล้าชักออกมาใช้ ส่งผลให้ไม่อาจพิชิตคนพาล อภิบาลคนดี ให้เดินเข้าประตูสภาอันทรงเกียรติได้
ย้อนมองกลับไป องค์กร กกต.ถือกำเนิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ภายใต้แนวคิดที่บ้านเมืองอยากจะให้มีองค์กรที่เป็นกลางขึ้นมาทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งให้สุจริต เที่ยงธรรม คัดกรองคนดีเข้ามาปกครองบ้านเมือง แทนกระทรวงมหาดไทย ที่ก่อนนั้นตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่า จัดการเลือกตั้งอยู่ภายใต้การครอบงำของฝ่ายการเมือง
ทำให้มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นกรรมการการเลือกตั้งไว้สูง เฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของความเป็นกลางทางการเมือง ขณะเดียวกันก็ “ติดดาบ ”ให้มีอำนาจเบ็ดเสร็จ กึ่งตุลาการในการควบคุม และจัดการเลือกตั้งเพื่อความคล่องตัวในการทำงาน
โดยให้กกต. อาศัยหลักการเพียง“ความปรากฏ”หรือกรณี “มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า”มีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ส่งผลให้การเลือกตั้งนั้นเป็นไปโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรม ก็สามารถใช้เครื่องมือที่ทรงอานุภาพอย่าง “ใบเหลือง-ใบแดง”จัดการไล่คนทุจริตออกจากการแข่งขันได้เลย แตกต่างจากหลักการกล่าวหา และพิสูจน์พยานหลักฐาน ตามกระบวนการที่ใช้อยู่ในระบบของศาลยุติธรรม แต่ทั้งนี้ ก็มีมาตรการควบคุมความเที่ยงธรรมไว้สูง โดยมติใบเหลือง ใบแดง ต้องเป็นเอกฉันท์
สมัย กกต.ชุดแรก ประกอบไปด้วยบุคคลที่ได้รับการยกย่องจากสังคมว่าเป็นผู้มีความสุจริต รู้จะเข้าใจถึงเจตนารมณ์ของการมีองค์กรกกต. เป็นอย่างดี อาจเนื่องเพราะทั้งหมดอยู่ร่วมวางรากฐานมาตั้งแต่ต้นในการยกร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง 3 ฉบับ
ทำให้เมื่อเข้ามาจัดการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา ( ส.ว. ) ครั้งแรก 4 มี.ค. 43 แม้กกต.จะใช้อำนาจประกาศแขวน ว่าที่ส.ว. 78 ราย และสั่งเลือกตั้งใหม่อีก 5 ครั้ง ใช้เวลากว่า 5 เดือน จึงได้วุฒิสภาครบ 200 คน
ขณะที่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 6 ม.ค. 2544 กกต.ประกาศแขวนว่าที่ ส.ส. 62 ราย ชักใบแดงไปถึง 16 ใบ ก็ไม่ได้ทำให้สังคมรู้สึกว่า กกต.ใช้อำนาจที่มีไปกลั่นแกล้ง รังแกใคร ตรงกันข้าม หลายฝ่ายแสดงความชื่นชมถึงความเด็ดขาด และความสามารถกำจัดผู้ทุจริตการเลือกตั้งได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ
ส่งผลให้องค์กร กกต.เวลานั้น เป็นที่ยอมรับนับถือ สังคมเชื่อมั่น ศรัทธา ที่สามารถ“สกัดคนชั่ว”ไม่ให้“เหยียบตีนบันไดสภา”ได้
แต่หลังปี 2545 เป็นต้นมา นับเนื่องแต่เปลี่ยนเป็น กกต.ชุดที่ 2 ที่มี พล.อ.ศิรินทร์ ธูปกล่ำ และ พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ เป็นประธาน จนถึงปัจจุบัน แม้หลักการแจก ใบเหลือง-ใบแดง จะถูกเปลี่ยนรูปลักษณะโดยให้ กกต. มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ชักใบเหลือง ใบแดงได้เฉพาะแค่ก่อนประกาศรับรองผล และหลังการประกาศรับรองผลฯ ให้เป็นอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ส่วนมติสั่งแดง-เหลือง ก็ให้เป็นเสียงข้างมาก 4 ใน 5 ของกรรมการที่มาประชุม ไม่ต้องเป็นมติเอกฉันท์ เหมือนในสมัยแรก
** แต่ความนิยมกลับตกต่ำ ความเชื่อมั่นศรัทธา กลับถดถอย องค์กรเสื่อมทรุดลงอย่างต่อเนื่อง
ส่วนหนึ่งไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เป็นเพราะความน่าเกรงขามของ ใบเหลือง -ใบแดง ทำให้ฝ่ายการเมือง พยายามหาหนทางเข้าแทรกแซงกระบวนการในการสรรหา กกต. และเคยทำสำเร็จในชุดที่สอง ได้บุคคลที่ฝ่ายกุมอำนาจรัฐในขณะนั้น สามารถควบคุมได้เข้ามาเป็นกกต. จนเกิดวิกฤตศรัทธาต่อบทบาทและภาระหน้าที่ของ กกต. มีการรวมตัวของกลุ่มมวลชนขับไล่ เมื่อการดำเนินการจัดการเลือกตั้งไม่เป็นไปอย่างถูกต้อง เป็นธรรม ท้ายที่สุด กรรมติดจรวด ถูกศาลอาญาพิพากษาให้จำคุกโดยไม่มีการรอลงอาญา ต้องพ้นตำแหน่ง ถูกตราหน้า“เป็น 3 หนาห้าห่วง”จนถึงทุกวันนี้
และถึงแม้จะมีการปรับแก้รัฐธรรมนูญในปี 2550 โดยให้น้ำหนักกับการคัดสรร กกต. ที่มาจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา การถูกแทรกแซงก็ไม่ได้ลดน้อยถอยลง ขณะเดียวกัน การใช้อำนาจกึ่งตุลาการถูกตั้งคำถามว่า สองมาตรฐาน ทำให้เกิดความแตกแยกทางการเมือง ไม่ได้รับการยอมรับ การชักใบเหลือง ใบแดง จัดการคนโกงบ้านเมือง ก็“เงื้อค้าง”ไม่กล้าฟันนักการเมือง
แต่การบริหารงานของกกต. ก็เป็นปัญหา ความล่าช้าในการรวบรวมหาพยานหลักฐาน ความไม่เชี่ยวชาญของพนักงานสืบสวนสอบสวน กลายความยุติธรรมที่มาช้า ต้องปล่อยผี ส.ส.ทุจริตเดินเข้าสภาไปก่อน ค่อยมาชงศาลพิจารณาสั่งเลือกตั้งใหม่ เพิกถอนสิทธิภายหลัง ด้วยข้ออ้างว่าระยะเวลาที่กฎหมายให้จำกัด ไม่เพียงพอต่อการตรวจสอบ และใช้ดุลยพินิจอย่างเที่ยงธรรมได้
**สุดท้ายเมื่อนักเลือกตั้งมีอำนาจ บารมี ก็ใช้อิทธิพลข่มขู่พยานกลับคำให้การในชั้นศาล จนไม่สามารถเอาผิดคนชั่ว ต้องปล่อยลอยนวลอยู่ในสภา
ผนวกกับองคาพยพภายในองค์กรกกต. ที่ถึงจะมีบุคลากรกว่า 2 พันคนทั่วประเทศ ใหญ่โตยิ่งกว่าบางกระทรวง แต่จำนวนไม่น้อยกลายเป็น แรงงานไร้ฝีมือ ซึ่งเป็นผลมาจากการเร่งบรรจุข้าราชการในยุคอดีต ทำให้ได้ “คนไม่ตรงกับงาน”ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำ
สำนวนทุจริตที่ยื่นฟ้องศาล เกินกว่าครึ่ง ศาลตีตก ไม่เอาด้วยกับที่กกต.เสนอ การทำสำนวนที่ล่าช้า หลายคดีมารีบเร่งวินิจฉัยเมื่อใกล้หมดอายุความ การสอบสวนที่ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระเบียบสืบสวนกำหนด โดยเฉพาะการให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา การจงใจชงสำนวนอ่อน ที่ผสมผสานมากับข่าวการค้าสำนวน และการตกอยู่ใต้อิทธิพลนักการเมืองในพื้นที่ ของกกต.จังหวัด
** ดังนั้นเมื่อมี “อำนาจวิเศษ”แล้ว“ใช้ไม่เป็น”ปล่อยให้ “เสียของ”จึงไม่แปลกที่การปฏิรูปประเทศครั้งนี้ จะมีข้อเสนอ“ริบคืน”ทั้งอำนาจจัดการเลือกตั้ง และอำนาจ ใบแดง เสียจากกกต.
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอในการปฏิรูปฯ ที่ยังคงจะให้กกต. มีหน้าที่ในการควบคุมการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม รวบรวมหลักฐานความผิดในกรณีการทุจริตเลือกตั้ง เพื่อยื่นต่อศาลวินิจฉัย
ขณะเดียวกัน ในช่วงที่มีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง จะให้มีอำนาจตรวจค้น จับกุม การกระผิดตามกฎหมายเลือกตั้งได้โดยไม่ต้องขอหมายค้น หมายจับ จากตำรวจ หรือศาลเหมือนเช่นปัจจุบัน อาจยังพอทำให้กกต. สร้างเกียรติภูมิขึ้นใหม่ กู้ศรัทธาให้กลับคืนมาสู่องค์กรได้
ทั้งนี้ คนกกต.วิเคราะห์ว่า ตามโครงสร้างใหม่ กกต.ต้องคิดนอกกรอบว่าจะทำอย่างไร ที่การเลือกตั้งเกิดความเรียบร้อย เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย การเฟ้นหาให้ได้เจ้าหน้าที่ ที่เป็นกลางเข้ามาควบคุมการเลือกตั้ง การสร้างเครือข่าย หาความร่วมมือ เพื่อเป็นหู เป็นตา ช่วยทำให้การเลือกตั้งเกิดความสุจริต โปร่งใส และเป็นภูมิคุ้มกันให้กับกกต. เป็นสิ่งจำเป็น
ขณะเดียวกัน เจตนารมณ์ของการปฏิรูป ที่จะตัดสิทธิ์คนทุจริตออกจากระบบการเมืองชั่วชีวิต ทำให้ กกต.มีสถานะคล้ายตำรวจ อัยการ ไปพร้อมกัน คือต้องหาพยานหลักฐาน และรวบรวม ชงสำนวนให้ศาลฟัน จึงต้องปรับปรุงระเบียบ กระบวนการสืบสวนสอบสวน และการได้มาซึ่งพยานหลักฐานใหม่
โดยต้องพัฒนางานสืบสวนสอบสวนเป็นสากล สร้างและพัฒนาบุคลากร ให้เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญด้านคดีเลือกตั้ง ให้เสมือนกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยที่ตัว กกต. อาจต้องแบ่งความรับผิดชอบดูแลเป็นพื้นที่ หรือเป็นภาค เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพ
** ดังนั้น จึงอาจเป็นโอกาสครั้งสุดท้ายที่ กกต.ยังจะได้เกาะกระแสปฏิรูป หากยังไม่เร่งปัดกวาดองค์กร พัฒนาศักยภาพ ฝีไม้ลายมือ บุคคลากร เพื่อเตรียมรับศึกเลือกตั้งครั้งใหญ่ หลังรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปประเทศบังคับใช้ โดยในภาระหน้าที่ที่เหลือ หากยังไม่สามารถสร้างผลงานเป็นรูปธรรม เรียกศรัทธาคืนได้แล้ว ความล่มสลายขององค์กรที่จะตามมา ก็ยากที่คนกกต. จะไปกล่าวโทษใคร นอกจากฝีมือตนที่พังบ้านตัวเอง