กล่าวนำ
เนื่องจากมีบางท่านที่ได้อ่านกลอนแสงเทียน ครั้งที่ 1 ของผู้เขียนซึ่งมีเพียง 4 ท่อน และได้ตั้งข้อสงสัยสอบถามมาว่า ทำไมผู้เขียนไม่แต่งกลอนเพิ่มอีก 4 ท่อนให้ครบเป็นกลอนแปดไปเลย เพราะแต่งมาเพียง 4 ท่อน แม้จะคล้องจองก็จริงแต่จะทำให้ใจความสั้นรวบรัดจนเกินไป
ในเรื่องนี้ผู้เขียนต้องขอกล่าวตรงๆ ว่า ผู้เขียนเพิ่งแต่งกลอนครั้งนี้ (กลอนแสงเทียน) เป็นครั้งที่สองในชีวิต ครั้งแรกแต่งขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกให้แก่ พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม และเหล่าทหารที่ได้เสียชีวิตจากการถูกฆาตกรรมบริเวณถนนราชดำเนินในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 แต่เมื่อมีผู้อ่านทักท้วงมา ผู้เขียนจึงได้พยายามแต่งเพิ่มให้ครบ 8 ท่อนซึ่งอาจยังไม่ไพเราะเท่าใดนัก แต่ผู้เขียนได้เน้นไปที่เนื้อความเพื่อมอบให้เป็นของขวัญปีใหม่แก่ผู้อ่านทุกท่านในวาระส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่
เนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2558 นี้ ผู้เขียนขออวยพรให้ท่านผู้อ่าน เพื่อนๆ พี่ๆ และน้องๆ รวมไปถึงนิสิตนักศึกษา อดีตนักเรียนนายร้อยทุกท่านนายทหาร และข้าราชการทุกท่านที่เคยฟังการบรรยาย คณะรัฐมนตรี สนช. สปช.และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จงมีความสุข สดชื่น สมหวังในทุกสิ่งที่ปรารถนา และมีสุขภาพที่แข็งแรงตลอดไป และขอมอบกลอนแสงเทียนปีใหม่เป็นของขวัญปีใหม่มาให้ทุกท่านที่กล่าวมาข้างต้นได้อ่านและติชมกันดังนี้
2. การทำความเคารพของนายกรัฐมนตรีไทยขณะเข้าพบประธานาธิบดีของจีน
เมื่อแต่งกลอนให้ท่านอ่านแล้ว ก็ขอติติงท่านบ้างเป็นการตอบแทนแต่เป็นการติติงในฐานะคนไทยคนหนึ่งที่ไม่ต้องการเป็นลูกไล่อยู่ใต้อำนาจของประเทศใดในโลกเท่านั้น และสาเหตุที่ต้องติติงท่านก็เพราะได้เห็นการเผยแพร่ข่าวในสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่ง และได้เห็นภาพของนายกรัฐมนตรีไทยในวันที่ประธานาธิบดีจีนให้การต้อนรับผู้นำประเทศต่างๆ ที่เดินทางไปร่วมประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก (APEC) ครั้งที่ 22 ที่กรุงปักกิ่ง ระหว่างวันที่ 19 - 22 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมาดูภาพที่ 1
ภาพที่ 1 นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับการต้อนรับจากประธานาธิบดีจีน*
*จากมติชนออนไลน์ วันที่ 9 พ.ย. 2557
สำหรับภาพข่าวที่ฉายเผยแพร่ในสถานีโทรทัศน์ (ผู้เขียนจำสถานีไม่ได้ แต่คาดว่าคงเป็นฟรีทีวีซึ่งแพร่ภาพประมาณวันที่ 10 - 15 พ.ย. 2557) ได้แพร่ภาพนายกรัฐมนตรีไทยขณะเข้าพบนายสี จิ้นผิงประธานาธิบดีจีน (เพื่อหารือทวิภาคีระหว่างฝ่ายไทยกับฝ่ายจีน) ซึ่งแสดงภาพการโค้งทำความเคารพของนายกรัฐมนตรีของไทย คล้ายการโค้งคำนับตามแบบทหาร (ไม่มีภาพโค้งทำความเคารพ ในบทความนี้) และการยกมือไหว้ตามธรรมเนียมไทย ซึ่งแสดงในภาพที่ 1
3. รูปแบบการทักทายและการแสดงความเคารพโดยทั่วไป
3.1 หลักเกณฑ์ที่สำคัญในการแสดงความเคารพตามแบบธรรมเนียมทหาร
(1) ควรแสดงความเคารพผู้ที่มีชั้นยศสูงกว่าเสมอไม่ใช่เคารพที่มีอายุมากกว่า
(2) สำหรับนายทหารชั้นสัญญาบัตรใช้การ “โค้งคำนับ” หรือ “ก้มศีรษะ” (ไม่ใช่การพยักหน้า) ในการรับการเคารพ/แสดงความเคารพสำหรับนายทหารชั้นประทวนเสมียน พนักงานและคนงานใช้การ “ทำท่าตรง” เมื่ออยู่กับที่ ถ้าเคลื่อนที่ให้ทำแลขวา (หรือซ้าย) ไปทางผู้ที่ต้องการเคารพ
(3) หากไม่ได้สวมเครื่องแบบ ให้ทำความเคารพตามประเพณีนิยม (ไหว้ หรือโค้งคำนับ)
ข้อความจาก http://www.rtafa.ac.th/military/Knowledge_3.htm)
3.2 หลักเกณฑ์การทักทายและแสดงการโค้งคำนับแบบญี่ปุ่น お辞儀 (Ojigi)
(1) การโค้งทักทายเมื่อพบหน้ากัน 会釈 (Eshaku) โน้มตัวลงทำมุมประมาณ 15องศาใช้ในโอกาสต่างๆ เช่น
● ทักทายเพื่อนร่วมงาน เจ้านาย เวลาเข้าออกบริษัท
● เมื่อเวลาเดินสวนกับเจ้านาย ผู้บริหารในที่ทำงาน
● ใช้เพื่อเป็นการขออนุญาตเข้าหรือออกจากห้องสัมภาษณ์
(2) การโค้งทำความเคารพแบบทั่วไป 中礼(Churei)หรือ 敬礼 (Keirei) โน้มครื่งตัวบนลงทำมุมประมาณ 30 องศา
● เมื่อไปเยี่ยมเยียน รับหรือส่งลูกค้า
● ใช้ทำความเคารพผู้ทำการสัมภาษณ์งานเรา (เมื่อเรายืนยู่ตรงด้านหน้าผู้ทำการสัมภาษณ์)
ภาพที่ 2 ภาพแสดงการโค้งคำนับแบบญี่ปุ่น
(3) การโค้งทำความเคารพแบบนอบน้อม最敬礼(Saikeirei)โน้มครื่งตัวบนลงทำมุมประมาณ 45 องศา
● ใช้ในพิธีสำคัญ 4 พิธี (冠婚葬祭 Kankonsousai) ได้แก่ พิธีการฉลองการย่างเข้าสู่วัยหนุ่มสาว พิธีแต่งงาน พิธีศพ และพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ
● ใช้เมื่อขอบคุณหรือขอโทษ
● เมื่อสัมภาษณ์งานเสร็จ หลังจากที่เราได้ลุกขึ้นจากเก้าอี้แล้ว ก็ให้โค้งคำนับแบบ Saikeireiแก่ผู้ที่ทำการสัมภาษณ์งานเรา
ภาพและข้อความจาก http://www.marumura.com/japanist_talkative/?id=738
3.3 ตัวอย่างจริงในการโค้งคำนับในแบบนอบน้อม Saikeirei
ภาพที่ 3 ประธานาธิบดีโอบามาเข้าเฝ้าฯ พระจักรพรรดิญี่ปุ่น
บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก้มโค้ง (45องศา) ถวายคำนับจักรพรรดิ อากิฮิโตะ ขณะเข้าเฝ้าฯ พระองค์ที่พระราชวังอิมพีเรียลในกรุงโตเกียว เมื่อวันเสาร์ (14) ระหว่างการเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่น (ภาพและข่าวจากASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 พ.ย.2552)
ภาพที่ 4 ตัวอย่างการโค้งคำนับขอโทษแบบ Saikeirei
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.ว่า นายอาคิชิโร ซูซูกิ สมาชิกสภากรุงโตเกียว แห่งพรรครัฐบาลเสรีประชาธิปไตยของญี่ปุ่น ได้แสดงการคำนับขอโทษ น.ส.อายากะ ชิโอมูระ จากการพูดเย้ยหยันเหยียดเพศต่อเธอระหว่างการประชุมสภากรุงโตเกียวเมื่อเร็วๆ นี้ (ภาพและข่าวจากมติชนออนไลน์ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1403580678)
4. การยกมือไหว้ตามธรรมเนียมไทย
การไหว้ คือ “การที่มือสองข้างประณมนิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกันไม่แยกปลายนิ้วออกจากกันยกมือขึ้นในระดับต่างๆ ตามฐานะของบุคคล” มี 5 แบบ คือ
4.1 การไหว้พระ
4.2 การไหว้ผู้ที่เคารพนับถืออย่างสูงและผู้มีพระคุณ (ดูภาพที่ 5)
ไหว้บิดามารดา ครู อาจารย์ ยกมือที่ประณมขึ้นจรดส่วนกลางของหน้าให้ปลายหัวแม่มือจรดปลายจมูกให้ปลายนิ้วจรดระหว่างคิ้ว ค้อมตัวลงอย่างอ่อนน้อมและก้มศีรษะเข้าหาปลายนิ้วชี้
ภาพที่ 5 แสดงการไหว้ผู้ที่เคารพนับถืออย่างสูง
ภาพจาก http://www.kalyanamitra.org; http://zedth.exteen.com, 2007; http://www.royjaithai.com
4.3 การไหว้ผู้ที่มีอาวุโสสูงทั่วไป (ดูภาพที่ 6)
ไหว้ผู้ที่เคารพทั่วๆ ไป ยกมือที่ประณมจรดส่วนล่างของใบหน้า ให้ปลายหัวแม่มือจรดปลายคาง ให้ปลายนิ้วชี้จรดปลายจมูก ค้อมตัวและก้มศีรษะเข้าหาปลายนิ้วชี้พองาม
ภาพที่ 6 แสดงการไหว้ผู้มีอาวุโสทั่วไป
ภาพจาก http://www.act.ac.th/act_cai/thai/greet/data1.html
4.4 การไหว้ผู้มีอายุเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน
4.5 การไหว้ผู้มีอายุหรืออาวุโสน้อยกว่า (คือ การรับไหว้)
ผู้เขียนมีความเห็นว่า ควรรวมรูปแบบการไหว้ผู้มีอายุหรืออาวุโสน้อยกว่า ซึ่งมักเรียกกันว่า “การรับไหว้” ไว้ในแบบการไหว้อีกรูปแบบหนึ่ง
สรุปและดัดแปลงจากการไหว้ใน http://www.act.ac.th/act_cai/thai/greet/data1.html
5.ความคิดเห็นเกี่ยวกับการโค้งคำนับและการไหว้ของนายกรัฐมนตรีไทย
ในโอกาสที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เข้าพบนายสี จิ้นผิง ในพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการที่กรุงปักกิ่งนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แสดงความเคารพและทักทายเป็น 3 ขั้นตอนโดยได้กระทำการโค้งคำนับก่อน เมื่อเข้าใกล้จึงได้ยกมือไหว้ และได้จับมือนายสี จิ้นผิง ในที่สุด
5.1 การโค้งคำนับของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในขณะเข้าพบนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ซึ่งผู้เขียนได้เห็นจากสถานีโทรทัศน์ (ฟรีทีวี และจำสถานีไม่ได้) แต่ไม่ได้ปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์ใดๆ จะมีลักษณะคล้ายการแสดงความเคารพแบบทหารต่อผู้ที่มีอาวุโสสูงกว่า โดยการ “โค้งคำนับแบบทหาร” ซึ่งได้กระทำก่อนการยกมือไหว้นายสี จิ้นผิง
ในเรื่องนี้ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า นายกรัฐมนตรีของไทยไม่ควรกระทำการโค้งคำนับ (ตามแบบทหาร) เป็นอย่างยิ่ง เพราะท่านมีสถานะเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยแล้วและไม่ได้ดำรงตำแหน่งใดๆ ในหน่วยงานของทหารอีกต่อไป นอกจากนี้นายสี จิ้นผิง ก็ไม่ได้เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของท่าน (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) อีกด้วย ดังนั้น ท่านจึงไม่จำเป็นต้องแสดงการโค้งคำนับตามแบบอย่างของทหาร ผู้เขียนมีข้อสงสัยว่า ทำไมกระทรวงการต่างประเทศซึ่งเป็นหน่วยงานที่รู้แบบธรรมเนียมต่างๆ เป็นอย่างดี ไม่ให้คำแนะนำที่เหมาะสมที่ถูกต้องแก่นายกรัฐมนตรีของไทย ก่อนที่จะเข้าร่วมในพิธีการดังกล่าว
5.2 การยกมือไหว้ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในขณะเข้าพบนายสี จิ้นผิง ได้กระทำหลังจากการโค้งคำนับตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ นั้น จากลักษณะที่เห็นในภาพอาจตีความได้ว่าเป็นการแสดงความเคารพต่อผู้ที่มีอาวุโสสูงกว่า คือ นายสี จิ้นผิง นั่นเอง
ในเรื่องนี้ผู้เขียนมีความเห็นเช่นเดียวกับในข้อ 5.1 คือ นายกรัฐมนตรีของไทยไม่ควรกระทำการยกมือไหว้นายสี จิ้นผิง เพราะแม้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาจะไม่ได้มาจากการเลือกตั้งก็จริง แต่เมื่อได้รับการรับรองจากสภานิติบัญญัติแล้วก็ต้องถือว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีและเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารที่ถูกต้องชอบธรรมที่จะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทนของประเทศไทยในการเข้าร่วมประชุมเอเปกในครั้งนี้ และที่สำคัญก็คือพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งเคยเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศในฐานะที่เป็นรัฏฐาธิปัตย์ (คือ ผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ) ตั้งแต่วันที่มีการรัฐประหารคือ วันที่ 22 พ.ค. 2557 จนถึงก่อนที่จะมีการจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติสรุปก็คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.ซึ่งถือเป็นตัวแทนของประเทศไทย ดำรงสถานภาพอยู่ในระดับเดียวกันกับนายสี จิ้นผิง (ซึ่งได้รับการรับรองการแต่งตั้งจากสภาประชาชนเช่นกัน) นั่นเอง
ดังนั้น ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ควรยกมือไหว้นายสี จิ้นผิง (อย่างเช่นที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ ได้ยกมือไหว้ เหมา เจ๋อตุง) ตามเหตุผลที่ได้กล่าวมาข้างต้น แต่ถ้าเป็นการพบปะกันเป็นส่วนตัวพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็สามารถยกมือไหว้นายสี จิ้นผิง ในฐานะที่เคารพหรือนับถือกันเป็นส่วนตัวได้
6. บทสรุป
ผู้เขียนขอนำคำกล่าวของ Niccolo Machiavelli ผู้เขียนหนังสือ The Prince มาให้คณะรัฐมนตรี และท่านทั้งหลายได้อ่านอีกครั้ง ดังนี้
“It is not titles that honor men, but men that honor titles.”
และผู้เขียนต้องขอดัดแปลงและแก้ไขคำกล่าวนี้ของ Niccolo Machiavelli เป็นดังนี้
“… but men that honor not only titles but also their countries.”
หลายท่านอาจแย้งว่า ทำไมโอบามายังโค้งคำนับจักรพรรดิของญี่ปุ่นได้ ผู้เขียนก็จะขอตอบว่า โอบามา ได้โค้งคำนับตามแบบธรรมเนียมของญี่ปุ่น ไม่ใช่ตามแบบธรรมเนียมของอเมริกาหรือของทหารเช่นที่นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ได้กระทำ
เหตุผลที่นำเรื่องนี้มาเขียนก็เพราะว่า ผู้เขียนเชื่อว่า ถ้าประเทศไทยมีความมั่นคง แข็งแรง ทั้งด้านการทหาร ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเมืองโลก มากกว่าที่เป็นอยู่ ผู้นำประเทศไทยของเราก็คงไม่ต้องแสดงความเคารพนอบน้อมจนเกินกว่าที่ควรจะเป็น เพื่อให้ประเทศที่ใหญ่กว่าเห็นใจและยอมที่จะให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนในด้านต่างๆ
คิดแล้วสะท้อนใจว่า ประเทศไทยเปรียบเสมือนเด็กที่เลี้ยงไม่โตซักที ก่อนจะจบก็ขอฝากภาพที่ 7 มาให้ท่านได้เปรียบเทียบดูกับภาพอื่นๆ
ภาพที่ 7 นายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กับนายสี จิ้นผิง
ภาพจากรอยเตอร์/เอเจนซีส์/ASTVผู้จัดการออนไลน์
ท้ายบทความ
อย่างไรก็ดี ผู้เขียนขอให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมในเรื่องนี้ว่า ในการต้อนรับอย่างเป็นทางการที่กรุงปักกิ่งนั้น นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้เดินเข้าไปโดยใช้มือขวาจับมือกับนายสี จิ้นผิง ขณะเดียวกันก็ใช้มือซ้ายประคองแขนข้างขวาของนายสี จิ้นผิงอีกด้วย ซึ่งเป็นการแสดงความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรสนิทสนมเป็นกันเอง และแสดงความเท่าเทียมกันระหว่างมาเลเซียกับจีนนั่นเอง (เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งถือเป็นคนแต่งกลอนป้ายแดงเหมือนกัน)
ต้องขอบอกกล่าวตรงๆ ถึงท่านนายกรัฐมนตรีว่า ขณะนี้ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนไทยส่วนใหญ่รับรู้และยอมรับในบทบาทนี้ของท่านแล้ว และท่านต้องไม่ลืมว่า ขณะนี้ท่านไม่ได้เป็นผู้บัญชาการทหารบกอีกต่อไปแล้ว
เนื่องจากมีบางท่านที่ได้อ่านกลอนแสงเทียน ครั้งที่ 1 ของผู้เขียนซึ่งมีเพียง 4 ท่อน และได้ตั้งข้อสงสัยสอบถามมาว่า ทำไมผู้เขียนไม่แต่งกลอนเพิ่มอีก 4 ท่อนให้ครบเป็นกลอนแปดไปเลย เพราะแต่งมาเพียง 4 ท่อน แม้จะคล้องจองก็จริงแต่จะทำให้ใจความสั้นรวบรัดจนเกินไป
ในเรื่องนี้ผู้เขียนต้องขอกล่าวตรงๆ ว่า ผู้เขียนเพิ่งแต่งกลอนครั้งนี้ (กลอนแสงเทียน) เป็นครั้งที่สองในชีวิต ครั้งแรกแต่งขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกให้แก่ พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม และเหล่าทหารที่ได้เสียชีวิตจากการถูกฆาตกรรมบริเวณถนนราชดำเนินในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 แต่เมื่อมีผู้อ่านทักท้วงมา ผู้เขียนจึงได้พยายามแต่งเพิ่มให้ครบ 8 ท่อนซึ่งอาจยังไม่ไพเราะเท่าใดนัก แต่ผู้เขียนได้เน้นไปที่เนื้อความเพื่อมอบให้เป็นของขวัญปีใหม่แก่ผู้อ่านทุกท่านในวาระส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่
เนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2558 นี้ ผู้เขียนขออวยพรให้ท่านผู้อ่าน เพื่อนๆ พี่ๆ และน้องๆ รวมไปถึงนิสิตนักศึกษา อดีตนักเรียนนายร้อยทุกท่านนายทหาร และข้าราชการทุกท่านที่เคยฟังการบรรยาย คณะรัฐมนตรี สนช. สปช.และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จงมีความสุข สดชื่น สมหวังในทุกสิ่งที่ปรารถนา และมีสุขภาพที่แข็งแรงตลอดไป และขอมอบกลอนแสงเทียนปีใหม่เป็นของขวัญปีใหม่มาให้ทุกท่านที่กล่าวมาข้างต้นได้อ่านและติชมกันดังนี้
2. การทำความเคารพของนายกรัฐมนตรีไทยขณะเข้าพบประธานาธิบดีของจีน
เมื่อแต่งกลอนให้ท่านอ่านแล้ว ก็ขอติติงท่านบ้างเป็นการตอบแทนแต่เป็นการติติงในฐานะคนไทยคนหนึ่งที่ไม่ต้องการเป็นลูกไล่อยู่ใต้อำนาจของประเทศใดในโลกเท่านั้น และสาเหตุที่ต้องติติงท่านก็เพราะได้เห็นการเผยแพร่ข่าวในสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่ง และได้เห็นภาพของนายกรัฐมนตรีไทยในวันที่ประธานาธิบดีจีนให้การต้อนรับผู้นำประเทศต่างๆ ที่เดินทางไปร่วมประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก (APEC) ครั้งที่ 22 ที่กรุงปักกิ่ง ระหว่างวันที่ 19 - 22 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมาดูภาพที่ 1
ภาพที่ 1 นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับการต้อนรับจากประธานาธิบดีจีน*
*จากมติชนออนไลน์ วันที่ 9 พ.ย. 2557
สำหรับภาพข่าวที่ฉายเผยแพร่ในสถานีโทรทัศน์ (ผู้เขียนจำสถานีไม่ได้ แต่คาดว่าคงเป็นฟรีทีวีซึ่งแพร่ภาพประมาณวันที่ 10 - 15 พ.ย. 2557) ได้แพร่ภาพนายกรัฐมนตรีไทยขณะเข้าพบนายสี จิ้นผิงประธานาธิบดีจีน (เพื่อหารือทวิภาคีระหว่างฝ่ายไทยกับฝ่ายจีน) ซึ่งแสดงภาพการโค้งทำความเคารพของนายกรัฐมนตรีของไทย คล้ายการโค้งคำนับตามแบบทหาร (ไม่มีภาพโค้งทำความเคารพ ในบทความนี้) และการยกมือไหว้ตามธรรมเนียมไทย ซึ่งแสดงในภาพที่ 1
3. รูปแบบการทักทายและการแสดงความเคารพโดยทั่วไป
3.1 หลักเกณฑ์ที่สำคัญในการแสดงความเคารพตามแบบธรรมเนียมทหาร
(1) ควรแสดงความเคารพผู้ที่มีชั้นยศสูงกว่าเสมอไม่ใช่เคารพที่มีอายุมากกว่า
(2) สำหรับนายทหารชั้นสัญญาบัตรใช้การ “โค้งคำนับ” หรือ “ก้มศีรษะ” (ไม่ใช่การพยักหน้า) ในการรับการเคารพ/แสดงความเคารพสำหรับนายทหารชั้นประทวนเสมียน พนักงานและคนงานใช้การ “ทำท่าตรง” เมื่ออยู่กับที่ ถ้าเคลื่อนที่ให้ทำแลขวา (หรือซ้าย) ไปทางผู้ที่ต้องการเคารพ
(3) หากไม่ได้สวมเครื่องแบบ ให้ทำความเคารพตามประเพณีนิยม (ไหว้ หรือโค้งคำนับ)
ข้อความจาก http://www.rtafa.ac.th/military/Knowledge_3.htm)
3.2 หลักเกณฑ์การทักทายและแสดงการโค้งคำนับแบบญี่ปุ่น お辞儀 (Ojigi)
(1) การโค้งทักทายเมื่อพบหน้ากัน 会釈 (Eshaku) โน้มตัวลงทำมุมประมาณ 15องศาใช้ในโอกาสต่างๆ เช่น
● ทักทายเพื่อนร่วมงาน เจ้านาย เวลาเข้าออกบริษัท
● เมื่อเวลาเดินสวนกับเจ้านาย ผู้บริหารในที่ทำงาน
● ใช้เพื่อเป็นการขออนุญาตเข้าหรือออกจากห้องสัมภาษณ์
(2) การโค้งทำความเคารพแบบทั่วไป 中礼(Churei)หรือ 敬礼 (Keirei) โน้มครื่งตัวบนลงทำมุมประมาณ 30 องศา
● เมื่อไปเยี่ยมเยียน รับหรือส่งลูกค้า
● ใช้ทำความเคารพผู้ทำการสัมภาษณ์งานเรา (เมื่อเรายืนยู่ตรงด้านหน้าผู้ทำการสัมภาษณ์)
ภาพที่ 2 ภาพแสดงการโค้งคำนับแบบญี่ปุ่น
(3) การโค้งทำความเคารพแบบนอบน้อม最敬礼(Saikeirei)โน้มครื่งตัวบนลงทำมุมประมาณ 45 องศา
● ใช้ในพิธีสำคัญ 4 พิธี (冠婚葬祭 Kankonsousai) ได้แก่ พิธีการฉลองการย่างเข้าสู่วัยหนุ่มสาว พิธีแต่งงาน พิธีศพ และพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ
● ใช้เมื่อขอบคุณหรือขอโทษ
● เมื่อสัมภาษณ์งานเสร็จ หลังจากที่เราได้ลุกขึ้นจากเก้าอี้แล้ว ก็ให้โค้งคำนับแบบ Saikeireiแก่ผู้ที่ทำการสัมภาษณ์งานเรา
ภาพและข้อความจาก http://www.marumura.com/japanist_talkative/?id=738
3.3 ตัวอย่างจริงในการโค้งคำนับในแบบนอบน้อม Saikeirei
ภาพที่ 3 ประธานาธิบดีโอบามาเข้าเฝ้าฯ พระจักรพรรดิญี่ปุ่น
บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก้มโค้ง (45องศา) ถวายคำนับจักรพรรดิ อากิฮิโตะ ขณะเข้าเฝ้าฯ พระองค์ที่พระราชวังอิมพีเรียลในกรุงโตเกียว เมื่อวันเสาร์ (14) ระหว่างการเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่น (ภาพและข่าวจากASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 พ.ย.2552)
ภาพที่ 4 ตัวอย่างการโค้งคำนับขอโทษแบบ Saikeirei
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.ว่า นายอาคิชิโร ซูซูกิ สมาชิกสภากรุงโตเกียว แห่งพรรครัฐบาลเสรีประชาธิปไตยของญี่ปุ่น ได้แสดงการคำนับขอโทษ น.ส.อายากะ ชิโอมูระ จากการพูดเย้ยหยันเหยียดเพศต่อเธอระหว่างการประชุมสภากรุงโตเกียวเมื่อเร็วๆ นี้ (ภาพและข่าวจากมติชนออนไลน์ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1403580678)
4. การยกมือไหว้ตามธรรมเนียมไทย
การไหว้ คือ “การที่มือสองข้างประณมนิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกันไม่แยกปลายนิ้วออกจากกันยกมือขึ้นในระดับต่างๆ ตามฐานะของบุคคล” มี 5 แบบ คือ
4.1 การไหว้พระ
4.2 การไหว้ผู้ที่เคารพนับถืออย่างสูงและผู้มีพระคุณ (ดูภาพที่ 5)
ไหว้บิดามารดา ครู อาจารย์ ยกมือที่ประณมขึ้นจรดส่วนกลางของหน้าให้ปลายหัวแม่มือจรดปลายจมูกให้ปลายนิ้วจรดระหว่างคิ้ว ค้อมตัวลงอย่างอ่อนน้อมและก้มศีรษะเข้าหาปลายนิ้วชี้
ภาพที่ 5 แสดงการไหว้ผู้ที่เคารพนับถืออย่างสูง
ภาพจาก http://www.kalyanamitra.org; http://zedth.exteen.com, 2007; http://www.royjaithai.com
4.3 การไหว้ผู้ที่มีอาวุโสสูงทั่วไป (ดูภาพที่ 6)
ไหว้ผู้ที่เคารพทั่วๆ ไป ยกมือที่ประณมจรดส่วนล่างของใบหน้า ให้ปลายหัวแม่มือจรดปลายคาง ให้ปลายนิ้วชี้จรดปลายจมูก ค้อมตัวและก้มศีรษะเข้าหาปลายนิ้วชี้พองาม
ภาพที่ 6 แสดงการไหว้ผู้มีอาวุโสทั่วไป
ภาพจาก http://www.act.ac.th/act_cai/thai/greet/data1.html
4.4 การไหว้ผู้มีอายุเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน
4.5 การไหว้ผู้มีอายุหรืออาวุโสน้อยกว่า (คือ การรับไหว้)
ผู้เขียนมีความเห็นว่า ควรรวมรูปแบบการไหว้ผู้มีอายุหรืออาวุโสน้อยกว่า ซึ่งมักเรียกกันว่า “การรับไหว้” ไว้ในแบบการไหว้อีกรูปแบบหนึ่ง
สรุปและดัดแปลงจากการไหว้ใน http://www.act.ac.th/act_cai/thai/greet/data1.html
5.ความคิดเห็นเกี่ยวกับการโค้งคำนับและการไหว้ของนายกรัฐมนตรีไทย
ในโอกาสที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เข้าพบนายสี จิ้นผิง ในพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการที่กรุงปักกิ่งนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แสดงความเคารพและทักทายเป็น 3 ขั้นตอนโดยได้กระทำการโค้งคำนับก่อน เมื่อเข้าใกล้จึงได้ยกมือไหว้ และได้จับมือนายสี จิ้นผิง ในที่สุด
5.1 การโค้งคำนับของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในขณะเข้าพบนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ซึ่งผู้เขียนได้เห็นจากสถานีโทรทัศน์ (ฟรีทีวี และจำสถานีไม่ได้) แต่ไม่ได้ปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์ใดๆ จะมีลักษณะคล้ายการแสดงความเคารพแบบทหารต่อผู้ที่มีอาวุโสสูงกว่า โดยการ “โค้งคำนับแบบทหาร” ซึ่งได้กระทำก่อนการยกมือไหว้นายสี จิ้นผิง
ในเรื่องนี้ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า นายกรัฐมนตรีของไทยไม่ควรกระทำการโค้งคำนับ (ตามแบบทหาร) เป็นอย่างยิ่ง เพราะท่านมีสถานะเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยแล้วและไม่ได้ดำรงตำแหน่งใดๆ ในหน่วยงานของทหารอีกต่อไป นอกจากนี้นายสี จิ้นผิง ก็ไม่ได้เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของท่าน (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) อีกด้วย ดังนั้น ท่านจึงไม่จำเป็นต้องแสดงการโค้งคำนับตามแบบอย่างของทหาร ผู้เขียนมีข้อสงสัยว่า ทำไมกระทรวงการต่างประเทศซึ่งเป็นหน่วยงานที่รู้แบบธรรมเนียมต่างๆ เป็นอย่างดี ไม่ให้คำแนะนำที่เหมาะสมที่ถูกต้องแก่นายกรัฐมนตรีของไทย ก่อนที่จะเข้าร่วมในพิธีการดังกล่าว
5.2 การยกมือไหว้ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในขณะเข้าพบนายสี จิ้นผิง ได้กระทำหลังจากการโค้งคำนับตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ นั้น จากลักษณะที่เห็นในภาพอาจตีความได้ว่าเป็นการแสดงความเคารพต่อผู้ที่มีอาวุโสสูงกว่า คือ นายสี จิ้นผิง นั่นเอง
ในเรื่องนี้ผู้เขียนมีความเห็นเช่นเดียวกับในข้อ 5.1 คือ นายกรัฐมนตรีของไทยไม่ควรกระทำการยกมือไหว้นายสี จิ้นผิง เพราะแม้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาจะไม่ได้มาจากการเลือกตั้งก็จริง แต่เมื่อได้รับการรับรองจากสภานิติบัญญัติแล้วก็ต้องถือว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีและเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารที่ถูกต้องชอบธรรมที่จะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทนของประเทศไทยในการเข้าร่วมประชุมเอเปกในครั้งนี้ และที่สำคัญก็คือพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งเคยเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศในฐานะที่เป็นรัฏฐาธิปัตย์ (คือ ผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ) ตั้งแต่วันที่มีการรัฐประหารคือ วันที่ 22 พ.ค. 2557 จนถึงก่อนที่จะมีการจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติสรุปก็คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.ซึ่งถือเป็นตัวแทนของประเทศไทย ดำรงสถานภาพอยู่ในระดับเดียวกันกับนายสี จิ้นผิง (ซึ่งได้รับการรับรองการแต่งตั้งจากสภาประชาชนเช่นกัน) นั่นเอง
ดังนั้น ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ควรยกมือไหว้นายสี จิ้นผิง (อย่างเช่นที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ ได้ยกมือไหว้ เหมา เจ๋อตุง) ตามเหตุผลที่ได้กล่าวมาข้างต้น แต่ถ้าเป็นการพบปะกันเป็นส่วนตัวพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็สามารถยกมือไหว้นายสี จิ้นผิง ในฐานะที่เคารพหรือนับถือกันเป็นส่วนตัวได้
6. บทสรุป
ผู้เขียนขอนำคำกล่าวของ Niccolo Machiavelli ผู้เขียนหนังสือ The Prince มาให้คณะรัฐมนตรี และท่านทั้งหลายได้อ่านอีกครั้ง ดังนี้
“It is not titles that honor men, but men that honor titles.”
และผู้เขียนต้องขอดัดแปลงและแก้ไขคำกล่าวนี้ของ Niccolo Machiavelli เป็นดังนี้
“… but men that honor not only titles but also their countries.”
หลายท่านอาจแย้งว่า ทำไมโอบามายังโค้งคำนับจักรพรรดิของญี่ปุ่นได้ ผู้เขียนก็จะขอตอบว่า โอบามา ได้โค้งคำนับตามแบบธรรมเนียมของญี่ปุ่น ไม่ใช่ตามแบบธรรมเนียมของอเมริกาหรือของทหารเช่นที่นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ได้กระทำ
เหตุผลที่นำเรื่องนี้มาเขียนก็เพราะว่า ผู้เขียนเชื่อว่า ถ้าประเทศไทยมีความมั่นคง แข็งแรง ทั้งด้านการทหาร ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเมืองโลก มากกว่าที่เป็นอยู่ ผู้นำประเทศไทยของเราก็คงไม่ต้องแสดงความเคารพนอบน้อมจนเกินกว่าที่ควรจะเป็น เพื่อให้ประเทศที่ใหญ่กว่าเห็นใจและยอมที่จะให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนในด้านต่างๆ
คิดแล้วสะท้อนใจว่า ประเทศไทยเปรียบเสมือนเด็กที่เลี้ยงไม่โตซักที ก่อนจะจบก็ขอฝากภาพที่ 7 มาให้ท่านได้เปรียบเทียบดูกับภาพอื่นๆ
ภาพที่ 7 นายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กับนายสี จิ้นผิง
ภาพจากรอยเตอร์/เอเจนซีส์/ASTVผู้จัดการออนไลน์
ท้ายบทความ
อย่างไรก็ดี ผู้เขียนขอให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมในเรื่องนี้ว่า ในการต้อนรับอย่างเป็นทางการที่กรุงปักกิ่งนั้น นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้เดินเข้าไปโดยใช้มือขวาจับมือกับนายสี จิ้นผิง ขณะเดียวกันก็ใช้มือซ้ายประคองแขนข้างขวาของนายสี จิ้นผิงอีกด้วย ซึ่งเป็นการแสดงความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรสนิทสนมเป็นกันเอง และแสดงความเท่าเทียมกันระหว่างมาเลเซียกับจีนนั่นเอง (เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งถือเป็นคนแต่งกลอนป้ายแดงเหมือนกัน)
ต้องขอบอกกล่าวตรงๆ ถึงท่านนายกรัฐมนตรีว่า ขณะนี้ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนไทยส่วนใหญ่รับรู้และยอมรับในบทบาทนี้ของท่านแล้ว และท่านต้องไม่ลืมว่า ขณะนี้ท่านไม่ได้เป็นผู้บัญชาการทหารบกอีกต่อไปแล้ว