ในปลายปี พ.ศ. 2557 คนไทยบางคนอาจภูมิใจกับข่าวที่ว่าอันดับประเทศที่มีปัญหาทุจริต คอร์รัปชันของประเทศไทยลดลงจากอันดับที่ 102 มาอยู่ที่อันดับที่ 85 ซึ่งหมายความว่า ประเทศไทยมีปัญหาทุจริตน้อยลง
จากจำนวน 17 อันดับที่ลดลงนี้ ถ้าดูเพียงผิวเผินก็น่าจะพอใจ แต่ถ้านำเหตุการณ์บ้านเมืองที่ผ่านมาพิจารณาควบคู่กับปัจจัยอันเป็นองค์ประกอบของการเกิดทุจริต คอร์รัปชันแล้ว ปัญหาทุจริตมิได้ลดลงจากการแก้ไขและป้องกันจากกลไกในภาครัฐ แต่น่าจะเกิดจากภาพลักษณ์ของประเทศไทยดีขึ้น เนื่องจากการตื่นตัวของประชาชนที่ออกมาชุมนุมต่อต้านการทุจริตในภาครัฐ 2 ครั้งในช่วงเวลาจาก พ.ศ. 2548-2557 อันได้แก่
1. การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งนำโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล และพล.ต.จำลอง ศรีเมือง เป็นต้น เพื่อต่อต้านการทุจริตในยุครัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และจบลงด้วยการที่กองทัพโค่นล้มรัฐบาลเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549
2. การชุมนุมของกลุ่ม กปปส.ซึ่งนำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นต้น เพื่อต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชันในยุครัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และจบลงด้วยรัฐบาลถูกกองทัพยึดอำนาจในทำนองเดียวกัน
จากการที่ประชาชนทั้งสองกลุ่มออกมาแสดงพลังต่อต้านการทุจริตนี้เอง น่าจะเป็นเหตุให้ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชันชะงักไปขณะหนึ่ง และทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศดีขึ้นในสายตาของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาติตะวันตกที่ยึดติดประชาธิปไตยมาจากปวงชน
แต่ในความเป็นจริง การต่อต้านของประชาชนทำได้แค่ปลุกกระแส และปัญหาการทุจริตชะลอตัวเนื่องจากผู้ที่คิดจะคดโกงเกิดความกลัวเท่านั้น มิได้ทำให้ปัญหานี้ลดลงและหมดไปอย่างเป็นรูปธรรม แต่ถ้าจะให้ลดลงได้จริงๆ กลไกในภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหานี้จะต้องดำเนินการ และจะต้องไม่ดำเนินการแค่แก้กฎหมายเพิ่มโทษ แต่ควรจะทำให้ครบวงจร เริ่มจากการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ปรับปรุงกระบวนการสืบสวนจับกุมสอบสวน สุดท้ายคือฟ้องร้องดำเนินคดีทางศาลจะต้องทำอย่างรวดเร็ว รัดกุม ตรงไปตรงมาจึงจะเกิดผล
แต่เท่าที่เป็นมาแล้วหลังจากที่ภาคประชาชนได้ออกมาแสดงพลังต่อต้าน และส่งต่อให้ภาครัฐดำเนินการยังไม่เห็นผลเท่าที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คดีความที่นักการเมืองเกี่ยวข้องในข้อหาทุจริต ดังที่เกิดขึ้นในกรณีของโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งยังคงล่าช้า อืดอาดอยู่จนบัดนี้
ในส่วนที่เกี่ยวกับปัจจัยอันเป็นองค์ประกอบให้เกิดการทุจริตนั้น อนุมานในเชิงตรรกะมีอยู่ 4 ประการคือ
1. มีโอกาสในการทุจริต เช่น มีตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบงานซึ่งเป็นแหล่งผลประโยชน์อันได้แก่ โครงการขนาดใหญ่ซึ่งมีวงเงินในการจัดซื้อจัดจ้างจำนวนมาก เป็นต้น
2. มีศักยภาพในการแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ และมีความเชื่อมั่นว่ามีภูมิคุ้มกันช่วยให้ปลอดภัยจากกระบวนการทางกฎหมาย ทำให้กล้าพอที่จะทุจริต
3. กระแสสังคมในการต่อต้านทุจริตไม่มี หรือมีแต่ไม่มากพอที่จะทำให้ผู้คิดจะทำการทุจริตเกรงกลัวไม่กล้าทำผิด และตกเป็นจำเลยทางสังคม เสียชื่อเสียงทั้งตนเองและวงศ์ตระกูล
4. กระบวนการทางกฎหมายล่าช้า ยืดยาด และมักสาวไปไม่ถึงตัวการใหญ่ เนื่องจากไม่มีหลักฐานโยงใยไปถึง หรือโยงใยถึงก็สามารถหลบหนีไปต่างประเทศได้
ปัจจัยในข้อที่ 1 และข้อที่ 2 ได้ลดลงหรือหมดไปในช่วงที่การเมืองภาคประชาชนแสดงพลังต่อต้านด้วยการชุมนุม ส่วน 2 ข้อหลังมิได้ลดลงแต่หยุดนิ่งรอจังหวะการเกิดขึ้นใหม่ เมื่ออำนาจรัฐกลับมาอยู่ในมือของผู้ที่คิดจะทุจริตอีกครั้งหลังการเลือกตั้ง ในทำนองเดียวกันกับที่เกิดขึ้นหลังจากที่การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ จบลง และมีการเลือกตั้งใหม่จะเห็นได้จากโครงการรับจำนำข้าวเป็นตัวอย่าง
ส่วนว่าเมื่อมีการเลือกตั้งอีกครั้งในอนาคตต่อจากนี้ จะเป็นเหมือนครั้งก่อนหรือไม่ คงจะต้องรอดูกันต่อไป
อะไรเป็นเหตุให้เกิดการทุจริต คอร์รัปชันและป้องกันอย่างไร?
ก่อนที่จะตอบปัญหานี้ ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูการทุจริตที่ปรากฏเป็นข่าวที่ผ่านๆ มา ก็พอจะอนุมานได้ว่าเหตุที่ทำให้ทุจริตเกิดขึ้นมี 2 ประการคือ
1. ความจำเป็นอันได้แก่ การกระทำทุจริตอันเกิดจากความยากจน เช่น แม่ขโมยนมเพื่อให้ลูกกิน เพราะทนดูลูกหิวโหยไม่ได้ และในขณะนั้นก็ไม่มีปัญญาจะหาเงินมาได้ด้วย
2. โดยสันดานอันได้แก่ ผู้กระทำการทุจริตผิดซ้ำซากด้วยความโลภ และเห็นแก่ได้แม้จะมั่งมีอยู่แล้วก็ยังโกงโดยไม่รู้จักพอ
ใน 2 ประเภทนี้ ประเภทแรกอาจแก้ได้ด้วยการช่วยให้มีงานทำ และมีรายได้พอแก่การเลี้ยงชีพ และป้องกันด้วยการให้การศึกษาเพื่อให้มีโอกาสยกระดับชีวิตให้ดีขึ้น
ส่วนประเภทที่ 2 จะแก้ได้ด้วยการป้องกันมิให้มีโอกาสเข้ามาอยู่ในตำแหน่งที่เป็นแหล่งผลประโยชน์ และถ้าพบว่ากระทำผิดจะต้องดำเนินการทางกฎหมายให้รวดเร็วและรุนแรง ตามนัยแห่งคำแนะนำของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษได้กล่าวไว้เมื่อไม่นานมานี้
ถ้ารัฐบาลทำได้ตามนัยนี้ ก็พอจะทำให้คาดการณ์ได้ว่า หลังจากมีการเลือกตั้งอีกครั้ง การทุจริตในภาครัฐคงจะลดลงได้อย่างเป็นรูปธรรม ถึงไม่หมดไปก็ลดลงได้ในระดับหนึ่ง
จากจำนวน 17 อันดับที่ลดลงนี้ ถ้าดูเพียงผิวเผินก็น่าจะพอใจ แต่ถ้านำเหตุการณ์บ้านเมืองที่ผ่านมาพิจารณาควบคู่กับปัจจัยอันเป็นองค์ประกอบของการเกิดทุจริต คอร์รัปชันแล้ว ปัญหาทุจริตมิได้ลดลงจากการแก้ไขและป้องกันจากกลไกในภาครัฐ แต่น่าจะเกิดจากภาพลักษณ์ของประเทศไทยดีขึ้น เนื่องจากการตื่นตัวของประชาชนที่ออกมาชุมนุมต่อต้านการทุจริตในภาครัฐ 2 ครั้งในช่วงเวลาจาก พ.ศ. 2548-2557 อันได้แก่
1. การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งนำโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล และพล.ต.จำลอง ศรีเมือง เป็นต้น เพื่อต่อต้านการทุจริตในยุครัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และจบลงด้วยการที่กองทัพโค่นล้มรัฐบาลเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549
2. การชุมนุมของกลุ่ม กปปส.ซึ่งนำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นต้น เพื่อต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชันในยุครัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และจบลงด้วยรัฐบาลถูกกองทัพยึดอำนาจในทำนองเดียวกัน
จากการที่ประชาชนทั้งสองกลุ่มออกมาแสดงพลังต่อต้านการทุจริตนี้เอง น่าจะเป็นเหตุให้ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชันชะงักไปขณะหนึ่ง และทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศดีขึ้นในสายตาของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาติตะวันตกที่ยึดติดประชาธิปไตยมาจากปวงชน
แต่ในความเป็นจริง การต่อต้านของประชาชนทำได้แค่ปลุกกระแส และปัญหาการทุจริตชะลอตัวเนื่องจากผู้ที่คิดจะคดโกงเกิดความกลัวเท่านั้น มิได้ทำให้ปัญหานี้ลดลงและหมดไปอย่างเป็นรูปธรรม แต่ถ้าจะให้ลดลงได้จริงๆ กลไกในภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหานี้จะต้องดำเนินการ และจะต้องไม่ดำเนินการแค่แก้กฎหมายเพิ่มโทษ แต่ควรจะทำให้ครบวงจร เริ่มจากการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ปรับปรุงกระบวนการสืบสวนจับกุมสอบสวน สุดท้ายคือฟ้องร้องดำเนินคดีทางศาลจะต้องทำอย่างรวดเร็ว รัดกุม ตรงไปตรงมาจึงจะเกิดผล
แต่เท่าที่เป็นมาแล้วหลังจากที่ภาคประชาชนได้ออกมาแสดงพลังต่อต้าน และส่งต่อให้ภาครัฐดำเนินการยังไม่เห็นผลเท่าที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คดีความที่นักการเมืองเกี่ยวข้องในข้อหาทุจริต ดังที่เกิดขึ้นในกรณีของโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งยังคงล่าช้า อืดอาดอยู่จนบัดนี้
ในส่วนที่เกี่ยวกับปัจจัยอันเป็นองค์ประกอบให้เกิดการทุจริตนั้น อนุมานในเชิงตรรกะมีอยู่ 4 ประการคือ
1. มีโอกาสในการทุจริต เช่น มีตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบงานซึ่งเป็นแหล่งผลประโยชน์อันได้แก่ โครงการขนาดใหญ่ซึ่งมีวงเงินในการจัดซื้อจัดจ้างจำนวนมาก เป็นต้น
2. มีศักยภาพในการแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ และมีความเชื่อมั่นว่ามีภูมิคุ้มกันช่วยให้ปลอดภัยจากกระบวนการทางกฎหมาย ทำให้กล้าพอที่จะทุจริต
3. กระแสสังคมในการต่อต้านทุจริตไม่มี หรือมีแต่ไม่มากพอที่จะทำให้ผู้คิดจะทำการทุจริตเกรงกลัวไม่กล้าทำผิด และตกเป็นจำเลยทางสังคม เสียชื่อเสียงทั้งตนเองและวงศ์ตระกูล
4. กระบวนการทางกฎหมายล่าช้า ยืดยาด และมักสาวไปไม่ถึงตัวการใหญ่ เนื่องจากไม่มีหลักฐานโยงใยไปถึง หรือโยงใยถึงก็สามารถหลบหนีไปต่างประเทศได้
ปัจจัยในข้อที่ 1 และข้อที่ 2 ได้ลดลงหรือหมดไปในช่วงที่การเมืองภาคประชาชนแสดงพลังต่อต้านด้วยการชุมนุม ส่วน 2 ข้อหลังมิได้ลดลงแต่หยุดนิ่งรอจังหวะการเกิดขึ้นใหม่ เมื่ออำนาจรัฐกลับมาอยู่ในมือของผู้ที่คิดจะทุจริตอีกครั้งหลังการเลือกตั้ง ในทำนองเดียวกันกับที่เกิดขึ้นหลังจากที่การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ จบลง และมีการเลือกตั้งใหม่จะเห็นได้จากโครงการรับจำนำข้าวเป็นตัวอย่าง
ส่วนว่าเมื่อมีการเลือกตั้งอีกครั้งในอนาคตต่อจากนี้ จะเป็นเหมือนครั้งก่อนหรือไม่ คงจะต้องรอดูกันต่อไป
อะไรเป็นเหตุให้เกิดการทุจริต คอร์รัปชันและป้องกันอย่างไร?
ก่อนที่จะตอบปัญหานี้ ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูการทุจริตที่ปรากฏเป็นข่าวที่ผ่านๆ มา ก็พอจะอนุมานได้ว่าเหตุที่ทำให้ทุจริตเกิดขึ้นมี 2 ประการคือ
1. ความจำเป็นอันได้แก่ การกระทำทุจริตอันเกิดจากความยากจน เช่น แม่ขโมยนมเพื่อให้ลูกกิน เพราะทนดูลูกหิวโหยไม่ได้ และในขณะนั้นก็ไม่มีปัญญาจะหาเงินมาได้ด้วย
2. โดยสันดานอันได้แก่ ผู้กระทำการทุจริตผิดซ้ำซากด้วยความโลภ และเห็นแก่ได้แม้จะมั่งมีอยู่แล้วก็ยังโกงโดยไม่รู้จักพอ
ใน 2 ประเภทนี้ ประเภทแรกอาจแก้ได้ด้วยการช่วยให้มีงานทำ และมีรายได้พอแก่การเลี้ยงชีพ และป้องกันด้วยการให้การศึกษาเพื่อให้มีโอกาสยกระดับชีวิตให้ดีขึ้น
ส่วนประเภทที่ 2 จะแก้ได้ด้วยการป้องกันมิให้มีโอกาสเข้ามาอยู่ในตำแหน่งที่เป็นแหล่งผลประโยชน์ และถ้าพบว่ากระทำผิดจะต้องดำเนินการทางกฎหมายให้รวดเร็วและรุนแรง ตามนัยแห่งคำแนะนำของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษได้กล่าวไว้เมื่อไม่นานมานี้
ถ้ารัฐบาลทำได้ตามนัยนี้ ก็พอจะทำให้คาดการณ์ได้ว่า หลังจากมีการเลือกตั้งอีกครั้ง การทุจริตในภาครัฐคงจะลดลงได้อย่างเป็นรูปธรรม ถึงไม่หมดไปก็ลดลงได้ในระดับหนึ่ง