ตร.จ่อออกหมายจับเพิ่มอีกสอง ร่วมยักยอก “ลาดกระบัง” พบเปิดบริษัทสินเชื่อ ปล่อยกู้เงินนอกระบบ แถมสร้างหมู่บ้านจัดสรร “ประวุฒิ” รรท.ผบช.ก.ถกทีมสืบสวนคดี สั่งเร่งตรวจสอบบัญชีย้อนหลังปี 55 ตามเงินที่ถูกโจรกรรมคืน เชื่อมีผู้เกี่ยวข้องในคดีอีกเพียบ ด้าน สจล.ร่อนแถลงการณ์ฉบับ 3 แจ้ผลตรวจสอบความผิดปกติบัญชีย้อนหลังถึง มิ.ย.55 ระบุผ่านทีมบริหารงาน 3 ชุด ยันพร้อมให้ความร่วมมือในการสอบสวน และจะเอาผิดผู้กระทำผิดให้ถึงที่สุด
วานนี้ (29 ธ.ค.) เมื่อเวลา 15.00 น.ที่กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ ผู้ช่วย ผบ.ตร.ในฐานะรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (รรท.ผบช.ก.) เรียกประชุมคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนคดียักยอกเงินของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อติดตามความคืบหน้าของคดี รวมทั้งเร่งรัดให้มีการวางแผนติดตามเงินที่ถูกคนร้ายโจรกรรมไปมาคืนให้ได้โดยเร็ว
ตร.หนักใจผู้เกี่ยวข้องนับสิบ
พล.ต.ท.ประวุฒิ เปิดเผยว่า วันนี้ตนได้เรียกตำรวจชุดคลี่คลายคดีนี้ มาสรุปผลการปฏิบัติตามข้อสั่งการที่ได้ให้ไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งทางชุดสืบสวนได้มีการไปตรวจค้น รวบรวมพยานหลักฐานมาหลายส่วน ก็ได้นำมาวิเคราะห์ร่วมกัน สำหรับคดีนี้เหตุเกิดตั้งแต่ปี 2555 เงินที่สูญหายไปก็มีจำนวนมาก และมีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายคน ตำรวจชุดสืบสวนต้องมีการไล่ตรวจสอบบัญชีที่เกี่ยวข้องหลายบัญชี โดยจะต้องไล่ย้อนไปจนถึงปี 2555 อย่างไรก็ตามมีผู้กระทำผิดที่เข้าข่าย มีหลักฐานเพียงพอที่จะขออนุมัติศาลออกหมายจับได้อีก 2-3 ราย แต่ยังไม่สามารถเปิดรายละเอียดได้ว่าเป็นใคร ทำหน้าที่อะไรในขบวนการนี้ สำหรับเงินที่ถูกโจรกรรมไปขณะนี้ตัวเลขเริ่มนิ่งแล้วอยู่ที่กว่า 1,400 ล้านบาท
“ยอมรับว่าหนักใจ เพราะคดีเกิดขึ้นมานาน ตัวเงินมีการกระจายไปในหลายบัญชี มีผู้เกี่ยวข้องเกินกว่า 10 คน ก่อนหน้านี้มีการอายัดเงินไปบ้าง แต่มีจำนวนไม่มากนัก อย่างไรก็ดียังรู้สึกดีใจที่เมื่อตรวจสอบบัญชีลงไปพบว่ามีตัวบุคคลจริง สามารถติดตามตัวมาได้ทั้งหมด เพราะเมื่อได้ตัวบุคคลก็สามารถที่จะไล่เรื่องทรัพย์สินได้ ซึ่งเราจะเร่งติดตามเงินมาคืนให้ได้มากที่สุด” พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงการสอบปากคำ น.ส.อำพร น้อยสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการส่วนการคลัง สจล. ผู้ต้องหาในคดีนี้ พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า คำให้การของน.ส.อำพร เป็นประโยชน์อยู่มาก แต่บางส่วนตำรวจเองก็จะต้องมีพยานหลักฐานมายัน เขาจึงจะรับสารภาพเพิ่ม
เตรียมขอหมายจับอีก 2 ราย
อีกด้าน ที่กองบังคับการปราบปราม พ.ต.อ.ณษ เศวตเลข รอง ผบก.ป.เปิดเผยภายหลังร่วมประชุมกับพนักงานสอบสวนติดตามความคืบหน้าคดียักยอกเงิน สจล.ว่า จากการตรวจค้นบ้านพักของผู้ต้องหาที่สามารถจับกุมได้และยังหลบหนีอยู่ เบื้องต้นสามารถรวบรวมพยานเอกสารเกี่ยวกับการเงินได้จำนวนมาก รวมถึงตรวจพบทรัพย์สินมีค่าหลายรายการโดยเฉพาะทรัพย์สินของ นายกิตติศักดิ์ มัทธุจัด ผู้ต้องหาที่หลบหนีออกนอกประเทศ พบว่า มีการเปิดบริษัทสินเชื่อ มีการปล่อยเงินกู้นอกระบบ และจัดสร้างหมู่บ้านจัดสรร อย่างไรก็ตามวันนี้ทางพนักงานสอบสวนยังไม่มีการเรียกอดีตผู้บริหาร สจล.มาสอบปากคำ แต่จะมีการเข้าสอบปากคำเจ้าหน้าที่ธนาคารต่างๆ ซึ่งพบว่ากลุ่มผู้ต้องหามีการโอนเข้าบัญชีต่างๆจำนวนมาก เกือบทุกธนาคารที่มีอยู่ในประเทศไทย
“ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมพยานหลักฐาน ขออนุมัติศาลออกหมายจับผู้ต้องหาเพิ่มเติม อีก 2 คน ซึ่งเป็นเจ้าของบัญชีที่รับโอนเงินต่อจากผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายจับไปก่อนหน้านี้” พ.ต.อ.ณษ ระบุ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีนี้ตำรวจสามารถจับกุมผู้น้องหาได้ทั้งสิ้น 4 คน ประกอบด้วย น.ส.อำพร น้อยสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการส่วนการคลัง สจล. นายทรงกลด ศรีประสงค์ อดีตผู้จัดการธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาบิ๊กซี ศรีนครินทร์ นายพูลศักดิ์ บุญสวัสดิ์ นักศึกษาปริญญาโท และนายจริวัฒน์ สหพรอุดมการ ส่วน นายกิตติศักดิ์ มัทธุจัด และ นางสมบัติ โสประดิษฐ์ ผู้ต้องหาอีก 2 คน ยังอยู่ระหว่างการหลบหนี
สจล.แจงเหตุยักยอกเงิน 3 ช่วง
วันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ทาง สจล.ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง ข่าวความผิดปกติทางการเงินของ สจล. ฉบับที่ 3 โดยมีเนื้อหาระบุว่า คณะทำงานเพื่อตรวจสอบบัญชีเงินฝากของสถาบันที่มี ศ.ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ รักษาการแทนอธิการบดีเป็นประธาน ได้ดำเนินการตรวจสอบบัญชีเงินฝากธนาคารของสถาบันแล้วพบว่า บัญชีเงินฝากที่ปรากฏความผิดปกติ มีจำนวนทั้งสิ้น 4 บัญชี โดยเป็นบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา บิ๊กซี สุวินทวงศ์ จำนวน 3 บัญชี และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาบิ๊กซี ศรีนครินทร์ จำนวน 1 บัญชี ปรากฏมียอดนำฝากเข้าสู่บัญชีทั้งหมด ไม่รวมดอกเบี้ย ประมาณ 1,475 ล้านบาท ทั้งนี้ยอดเงินทั้งหมดเป็นเงินสำรองคลังของสถาบัน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานตามแผนการประจำปี
นอกจากนั้น คณะทำงานฯได้ทำการตรวจสอบความผิดย้อนหลังถึงเดือน มิ.ย.55 พบความผิดปกติเกิดขึ้นในการเบิกถอนเงินจากบัญชีสถาบัน เริ่มต้นรายการแรกตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค.55 และเกิดต่อเนื่องถึง 2 ธ.ค.57 ซึ่งเป็นการเกิดในช่วงชุดผู้บริหาร ตั้งแต่ออกนอกระบบราชการ พ.ศ.2551 มีคณะผู้บริหารที่มีอำนาจอนุมัติการเบิกถอนที่เกี่ยวข้อง 3 ชุด ดังนี้ ชุดที่ 1 มี รศ.ดร.กิตติ ตรีเศรษฐ เป็นอธิการบดี ตั้งแต่ 13 ก.ค. 51 - 12 ก.ค.55 ชุดที่ 2 มี ศ.ดร.ถวิล พึ่งมา เป็นอธิการบดี ตั้งแต่ 20 ก.ค.55 - 27 พ.ย.56 และชุดที่ 3 มี ศ.ดร.โมไนย รักษาการแทนอธิการบดี ตั้งแต่ 26 พ.ย. 56 จนถึงปัจจุบัน
แจงเหตุเบิก-ถอนผิดปกติ
แถลงการณ์ชี้แจงถึงขั้นตอนการเบิก-ถอนเงินจากบัญชีด้วยว่า มีการเบอกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากต่างๆที่ให้ผลตอบแทนต่ำ เพื่อนำไปฝากในบัญชีที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าสืบเนื่องมาทุกคณะบริหาร โดยมี ผอ.การคลังเป็นผู้เสนอเรื่องให้ผู้บริหารอนุมัติตามปกติ ขณะที่การเบิก-ถอนเงินที่ทุจริต พนักงานสอบสวนได้สอบสวนผู้รับผิดชอบแล้ว คือ นายทรงกลด ศรีประสงค์ และมีที่ไดรับการโอนเงินที่ทุจริตอีกหลายคน ทั้งนี้ ในรายละเอียดการสอบสอน ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ ส่วนผอ.การคลัง ยังไม่ได้ให้การใดๆ กับพนักงานสอบสวน ทั้งนี้ เหตุที่พนักงานสอบสวนเห็นว่า ผอ.การคลัง เกี่ยวข้องกรณีทุจริต เพราะมีหน้าที่โดยตรงในการดูแลเงินฝากของสถาบัน และมีความคุ้นเคยกับนายทรงกลด
แถลงการณ์ระบุด้วยว่า ลักษณะความเสียหายของเงินของสถาบัน ตรวจสอบพบ 2 กรณี ดังนี้ กรณีที่ 1 มีการเบิก-ถอนเงิน ตามคำสั่งสถาบันจริง แต่นำเงินไปเข้าในบัญชีของสถาบันที่เป็นบัญชีปลอม และกรณีที่ 2 มีการเบิก-ถอนเงิน ตามคำสั่งสถาบันจริง แต่ไม่มีการนำเงินไปเข้าสถาบันตามคำสั่ง นอกจากนี้ สถาบันได้รับการประสานจากหน่วยงานตรวจสอบภายนอก ได้แก่ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อขอข้อมูล และส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งสถาบันยินดีให้ความร่วมมือ
“สถาบันไม่ได้นิ่งนอนใจหรือเพิกเฉยต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ และพร้อมให้ความร่วมมือกับพนักงานสืบสวนและสอบสวนในการค้นหาข้อเท็จจริงอย่างเต็มที่ ซึ่งสถาบันจะเอาผิดผู้กระทำผิดให้ถึงที่สุด และยืนยันการดำเนินการงานของสถาบันประจำปี จะไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาอย่างแน่นอน” แลถงการณ์ระบุในช่วงท้าย
วานนี้ (29 ธ.ค.) เมื่อเวลา 15.00 น.ที่กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ ผู้ช่วย ผบ.ตร.ในฐานะรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (รรท.ผบช.ก.) เรียกประชุมคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนคดียักยอกเงินของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อติดตามความคืบหน้าของคดี รวมทั้งเร่งรัดให้มีการวางแผนติดตามเงินที่ถูกคนร้ายโจรกรรมไปมาคืนให้ได้โดยเร็ว
ตร.หนักใจผู้เกี่ยวข้องนับสิบ
พล.ต.ท.ประวุฒิ เปิดเผยว่า วันนี้ตนได้เรียกตำรวจชุดคลี่คลายคดีนี้ มาสรุปผลการปฏิบัติตามข้อสั่งการที่ได้ให้ไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งทางชุดสืบสวนได้มีการไปตรวจค้น รวบรวมพยานหลักฐานมาหลายส่วน ก็ได้นำมาวิเคราะห์ร่วมกัน สำหรับคดีนี้เหตุเกิดตั้งแต่ปี 2555 เงินที่สูญหายไปก็มีจำนวนมาก และมีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายคน ตำรวจชุดสืบสวนต้องมีการไล่ตรวจสอบบัญชีที่เกี่ยวข้องหลายบัญชี โดยจะต้องไล่ย้อนไปจนถึงปี 2555 อย่างไรก็ตามมีผู้กระทำผิดที่เข้าข่าย มีหลักฐานเพียงพอที่จะขออนุมัติศาลออกหมายจับได้อีก 2-3 ราย แต่ยังไม่สามารถเปิดรายละเอียดได้ว่าเป็นใคร ทำหน้าที่อะไรในขบวนการนี้ สำหรับเงินที่ถูกโจรกรรมไปขณะนี้ตัวเลขเริ่มนิ่งแล้วอยู่ที่กว่า 1,400 ล้านบาท
“ยอมรับว่าหนักใจ เพราะคดีเกิดขึ้นมานาน ตัวเงินมีการกระจายไปในหลายบัญชี มีผู้เกี่ยวข้องเกินกว่า 10 คน ก่อนหน้านี้มีการอายัดเงินไปบ้าง แต่มีจำนวนไม่มากนัก อย่างไรก็ดียังรู้สึกดีใจที่เมื่อตรวจสอบบัญชีลงไปพบว่ามีตัวบุคคลจริง สามารถติดตามตัวมาได้ทั้งหมด เพราะเมื่อได้ตัวบุคคลก็สามารถที่จะไล่เรื่องทรัพย์สินได้ ซึ่งเราจะเร่งติดตามเงินมาคืนให้ได้มากที่สุด” พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงการสอบปากคำ น.ส.อำพร น้อยสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการส่วนการคลัง สจล. ผู้ต้องหาในคดีนี้ พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า คำให้การของน.ส.อำพร เป็นประโยชน์อยู่มาก แต่บางส่วนตำรวจเองก็จะต้องมีพยานหลักฐานมายัน เขาจึงจะรับสารภาพเพิ่ม
เตรียมขอหมายจับอีก 2 ราย
อีกด้าน ที่กองบังคับการปราบปราม พ.ต.อ.ณษ เศวตเลข รอง ผบก.ป.เปิดเผยภายหลังร่วมประชุมกับพนักงานสอบสวนติดตามความคืบหน้าคดียักยอกเงิน สจล.ว่า จากการตรวจค้นบ้านพักของผู้ต้องหาที่สามารถจับกุมได้และยังหลบหนีอยู่ เบื้องต้นสามารถรวบรวมพยานเอกสารเกี่ยวกับการเงินได้จำนวนมาก รวมถึงตรวจพบทรัพย์สินมีค่าหลายรายการโดยเฉพาะทรัพย์สินของ นายกิตติศักดิ์ มัทธุจัด ผู้ต้องหาที่หลบหนีออกนอกประเทศ พบว่า มีการเปิดบริษัทสินเชื่อ มีการปล่อยเงินกู้นอกระบบ และจัดสร้างหมู่บ้านจัดสรร อย่างไรก็ตามวันนี้ทางพนักงานสอบสวนยังไม่มีการเรียกอดีตผู้บริหาร สจล.มาสอบปากคำ แต่จะมีการเข้าสอบปากคำเจ้าหน้าที่ธนาคารต่างๆ ซึ่งพบว่ากลุ่มผู้ต้องหามีการโอนเข้าบัญชีต่างๆจำนวนมาก เกือบทุกธนาคารที่มีอยู่ในประเทศไทย
“ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมพยานหลักฐาน ขออนุมัติศาลออกหมายจับผู้ต้องหาเพิ่มเติม อีก 2 คน ซึ่งเป็นเจ้าของบัญชีที่รับโอนเงินต่อจากผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายจับไปก่อนหน้านี้” พ.ต.อ.ณษ ระบุ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีนี้ตำรวจสามารถจับกุมผู้น้องหาได้ทั้งสิ้น 4 คน ประกอบด้วย น.ส.อำพร น้อยสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการส่วนการคลัง สจล. นายทรงกลด ศรีประสงค์ อดีตผู้จัดการธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาบิ๊กซี ศรีนครินทร์ นายพูลศักดิ์ บุญสวัสดิ์ นักศึกษาปริญญาโท และนายจริวัฒน์ สหพรอุดมการ ส่วน นายกิตติศักดิ์ มัทธุจัด และ นางสมบัติ โสประดิษฐ์ ผู้ต้องหาอีก 2 คน ยังอยู่ระหว่างการหลบหนี
สจล.แจงเหตุยักยอกเงิน 3 ช่วง
วันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ทาง สจล.ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง ข่าวความผิดปกติทางการเงินของ สจล. ฉบับที่ 3 โดยมีเนื้อหาระบุว่า คณะทำงานเพื่อตรวจสอบบัญชีเงินฝากของสถาบันที่มี ศ.ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ รักษาการแทนอธิการบดีเป็นประธาน ได้ดำเนินการตรวจสอบบัญชีเงินฝากธนาคารของสถาบันแล้วพบว่า บัญชีเงินฝากที่ปรากฏความผิดปกติ มีจำนวนทั้งสิ้น 4 บัญชี โดยเป็นบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา บิ๊กซี สุวินทวงศ์ จำนวน 3 บัญชี และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาบิ๊กซี ศรีนครินทร์ จำนวน 1 บัญชี ปรากฏมียอดนำฝากเข้าสู่บัญชีทั้งหมด ไม่รวมดอกเบี้ย ประมาณ 1,475 ล้านบาท ทั้งนี้ยอดเงินทั้งหมดเป็นเงินสำรองคลังของสถาบัน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานตามแผนการประจำปี
นอกจากนั้น คณะทำงานฯได้ทำการตรวจสอบความผิดย้อนหลังถึงเดือน มิ.ย.55 พบความผิดปกติเกิดขึ้นในการเบิกถอนเงินจากบัญชีสถาบัน เริ่มต้นรายการแรกตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค.55 และเกิดต่อเนื่องถึง 2 ธ.ค.57 ซึ่งเป็นการเกิดในช่วงชุดผู้บริหาร ตั้งแต่ออกนอกระบบราชการ พ.ศ.2551 มีคณะผู้บริหารที่มีอำนาจอนุมัติการเบิกถอนที่เกี่ยวข้อง 3 ชุด ดังนี้ ชุดที่ 1 มี รศ.ดร.กิตติ ตรีเศรษฐ เป็นอธิการบดี ตั้งแต่ 13 ก.ค. 51 - 12 ก.ค.55 ชุดที่ 2 มี ศ.ดร.ถวิล พึ่งมา เป็นอธิการบดี ตั้งแต่ 20 ก.ค.55 - 27 พ.ย.56 และชุดที่ 3 มี ศ.ดร.โมไนย รักษาการแทนอธิการบดี ตั้งแต่ 26 พ.ย. 56 จนถึงปัจจุบัน
แจงเหตุเบิก-ถอนผิดปกติ
แถลงการณ์ชี้แจงถึงขั้นตอนการเบิก-ถอนเงินจากบัญชีด้วยว่า มีการเบอกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากต่างๆที่ให้ผลตอบแทนต่ำ เพื่อนำไปฝากในบัญชีที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าสืบเนื่องมาทุกคณะบริหาร โดยมี ผอ.การคลังเป็นผู้เสนอเรื่องให้ผู้บริหารอนุมัติตามปกติ ขณะที่การเบิก-ถอนเงินที่ทุจริต พนักงานสอบสวนได้สอบสวนผู้รับผิดชอบแล้ว คือ นายทรงกลด ศรีประสงค์ และมีที่ไดรับการโอนเงินที่ทุจริตอีกหลายคน ทั้งนี้ ในรายละเอียดการสอบสอน ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ ส่วนผอ.การคลัง ยังไม่ได้ให้การใดๆ กับพนักงานสอบสวน ทั้งนี้ เหตุที่พนักงานสอบสวนเห็นว่า ผอ.การคลัง เกี่ยวข้องกรณีทุจริต เพราะมีหน้าที่โดยตรงในการดูแลเงินฝากของสถาบัน และมีความคุ้นเคยกับนายทรงกลด
แถลงการณ์ระบุด้วยว่า ลักษณะความเสียหายของเงินของสถาบัน ตรวจสอบพบ 2 กรณี ดังนี้ กรณีที่ 1 มีการเบิก-ถอนเงิน ตามคำสั่งสถาบันจริง แต่นำเงินไปเข้าในบัญชีของสถาบันที่เป็นบัญชีปลอม และกรณีที่ 2 มีการเบิก-ถอนเงิน ตามคำสั่งสถาบันจริง แต่ไม่มีการนำเงินไปเข้าสถาบันตามคำสั่ง นอกจากนี้ สถาบันได้รับการประสานจากหน่วยงานตรวจสอบภายนอก ได้แก่ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อขอข้อมูล และส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งสถาบันยินดีให้ความร่วมมือ
“สถาบันไม่ได้นิ่งนอนใจหรือเพิกเฉยต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ และพร้อมให้ความร่วมมือกับพนักงานสืบสวนและสอบสวนในการค้นหาข้อเท็จจริงอย่างเต็มที่ ซึ่งสถาบันจะเอาผิดผู้กระทำผิดให้ถึงที่สุด และยืนยันการดำเนินการงานของสถาบันประจำปี จะไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาอย่างแน่นอน” แลถงการณ์ระบุในช่วงท้าย