ระบอบประชาธิปไตย กว่าจะดำเนินมาได้ต้องใช้เวลานับร้อยปีหรือพันปี คำสอนของพระพุทธศาสนามีมาเกือบ 3,000 ปี แต่มนุษย์ก็ยังมีกิเลสตัณหา แม้ว่าจะมีทั้งเบียดเบียน ร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การที่จะแก้ปัญหาได้มักอาศัยเวลานานเกินชั่วอายุคนคนหนึ่ง แต่เนื่องจากมนุษย์เรามีอายุไม่ถึง 100 ปีจึงเกิดความต้องการที่จะย่นเวลา นี่คือปมปัญหาใหญ่อันแท้จริงที่เราเผชิญอยู่ เวลานี้มนุษย์มีอายุยืนยาวขึ้นอีกไม่นาน กฎแห่งความช้าจะกลับขึ้นมาอีก ผู้ที่มีอายุ 70-80 ปีขึ้นไปมีจำนวนมากขึ้นเมื่อโครงสร้างของประชากรเปลี่ยนไป กฎแห่งความช้าก็จะกลับคืนมาใหม่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา เมื่อเป็นเช่นนี้ การจะคิดถึงการปฏิรูปประเทศไทย ก็จำเป็นต้องคำนึงถึงธรรมชาติของโลก และธรรมชาติของมนุษย์ด้วยที่สำคัญก็คือ
1. กฎแห่งความช้า
2. ธรรมชาติมีความแตกต่างหลากหลาย
3. มีความขัดแย้งและแสวงหาความสมดุลให้มีเอกภาพ และเสถียรภาพท่ามกลางความแตกต่างหลากหลาย
4. ความโลภมักจะมาก่อน และมีมากกว่าความกลัว
5. มนุษย์มีทั้งความกลัว ความต้องการ ความมั่นคง ต้องการมีชีวิตที่ดี และความเป็นอิสระมีส่วนร่วม หรือที่เรียกว่ามีประชาธิปไตย ดังนั้น ในการจัดความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคม เราต้องคำนึงถึงองค์รวมเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อจะจัดรูปการปกครองก็ต้องคำนึงถึง 5 มิติ เราจึงต้องคำนึงถึง 5 มิตินี้เป็นปัญจมิติของสังคมมนุษย์ และกฎแห่งความช้า
อย่างไรก็ดี มิใช่จะกล่าวว่าเราจะมีความเร็วไม่ได้ แต่สิ่งที่ควรคำนึงก็คือเรื่องใด เป็นเรื่องที่มีธรรมชาติของความช้า เราก็จะต้องมีวิธีการ และแนวทางที่แก้ปัญหานั้นโดยอาศัยเวลาอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมของคน การแก้ปัญหาทางสังคม และการศึกษา เป็นต้น ส่วนเรื่องที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็วก็คือ เรื่องไอที และการสื่อสาร ส่วนปัญหาเรื่องคอร์รัปชันเป็นปัญหาระยะยาว เพราะได้กล่าวมาแล้วว่า โดยธรรมชาติของมนุษย์นั้น ความโลภมาก่อน และมีมากกว่าความกลัว
ดังนั้น การใช้เพียงกฎหมายและการลงโทษอย่างเดียวจึงเป็นไปไม่ได้ ต้องมีมาตรการด้านอื่น เช่น การให้การศึกษากล่อมเกลาควบคู่กันไปด้วยต้องอาศัยเวลานานในการจัดโครงสร้างทางการเมือง เราจะต้องแยกแยะ และเชื่อมโยงมิติหลายมิติ กล่าวคือ คนเรามักจะต้องการอิสระควบคู่ไปกับการพึ่งพาอาศัยผู้อื่นควบคู่กันไป ไม่มีผู้ใดที่อาจเรียกได้ว่าเป็นอิสระ เสรีชนเต็มที่หรือเป็นทาสอย่างแท้จริง
ในประการต่อมา มนุษย์เรามีทั้งความขัดแย้ง และความร่วมมือ ประนีประนอม ต้องการทั้งสันติสุข แต่บางครั้งก็มีความรุนแรง ในประการต่อมา การพิจารณาแก้ไขปัญหาต้องดูว่าเรื่องใดอยู่ใต้กฎแห่งความช้า เพราะจะต้องดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ฝืนธรรมชาติ ไม่ฝืนโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งอยู่ภายใต้กฎแห่งความช้า ที่กล่าวมานี้ในรัฐธรรมนูญจึงต้องอาศัยกฎแห่งความช้าดูแล ส่วนในด้านประชาธิปไตย ต้องมีการเลือกตั้งโดยเร็วแม้จะมีปัญหา การเลือกตั้งบ่อยๆ ก็ไม่เป็นไรเพราะประชาชนมีจิตใจที่อยากมีส่วนร่วมมาก ปัญหาอื่นๆ เป็นปัญหาเชิงพฤติกรรมซึ่งอยู่ภายใต้กฎแห่งความช้า จำเป็นจะต้องแก้ปัญหาอย่างอดทนและยาวนาน
หากเราใช้ชีวิตที่ช้าลง เราจะพบว่า เรามีความสุขและความสงบทั้งจิตใจ และร่างกาย สามารถอยู่ได้อย่างพอเพียงเหมือนดั่งที่พระเจ้าอยู่หัว ทรงสอนสั่งกฎแห่งความพอเพียง และกฎแห่งความช้านี้น่าจะเป็นปัจจัยชีวิตของคนไทยทุกคน
โดยสรุปแล้ว เราอาจกล่าวได้ว่า
1. ธรรมชาติของโลก คือ ความช้าไม่ใช่กฎของความเร่งตามที่นิวตันพูดถึง (F=ma)
2. ธรรมชาติของมนุษย์คือ ความช้า และวิวัฒนาการไม่ใช่การปฏิวัติ
3. เมื่อใดที่เราแสวงหาความเร่งพร้อมๆ กัน ผลที่ได้คือความช้า
4. ความช้าไม่ใช่ผลเสีย แต่ความช้าเป็นกระบวนการที่ถูกต้องของการเรียนรู้และวิวัฒนาการ
5. ความช้าก่อให้เกิดประสบการณ์ และความรู้จริงที่ได้จากการทำช้าๆ
6. ศิลปะและงานที่ยิ่งใหญ่ของโลก สิ่งมหัศจรรย์ของโลกเกิดจากกฎแห่งความช้า
7. สิ่งแวดล้อมที่ดีและยั่งยืน ต้องมาจากการใช้เวลาอนุรักษ์อย่างยาวนานและช้าๆ
8. ความช้าเป็นหลักประกันของความผิดพลาดน้อย และการลดความเสี่ยง
9. ทางสายกลางคือ กึ่งกลางระหว่างความช้ากับความเร็ว
10. ประชาธิปไตยอยู่ภายใต้กฎแห่งความช้า จึงต้องมีความอดทนในการพัฒนาประชาธิปไตย
11. ยิ่งต้องการประชาธิปไตยเร็ว ยิ่งได้ช้า จึงต้องหาประชาธิปไตยที่มั่นคงและยั่งยืน โดยใจเย็นไม่ย่อท้อ
12. สำหรับนักปฏิวัติพึงสังวรว่ากฎแห่งความช้า ไม่ได้ครอบคลุมถึงการมีอำนาจ และการติดยึดในอำนาจ เพราะอำนาจอยู่ภายใต้กฎแห่งความรวดเร็ว เป็นอนิจจังหมดไปอย่างรวดเร็ว
1. กฎแห่งความช้า
2. ธรรมชาติมีความแตกต่างหลากหลาย
3. มีความขัดแย้งและแสวงหาความสมดุลให้มีเอกภาพ และเสถียรภาพท่ามกลางความแตกต่างหลากหลาย
4. ความโลภมักจะมาก่อน และมีมากกว่าความกลัว
5. มนุษย์มีทั้งความกลัว ความต้องการ ความมั่นคง ต้องการมีชีวิตที่ดี และความเป็นอิสระมีส่วนร่วม หรือที่เรียกว่ามีประชาธิปไตย ดังนั้น ในการจัดความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคม เราต้องคำนึงถึงองค์รวมเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อจะจัดรูปการปกครองก็ต้องคำนึงถึง 5 มิติ เราจึงต้องคำนึงถึง 5 มิตินี้เป็นปัญจมิติของสังคมมนุษย์ และกฎแห่งความช้า
อย่างไรก็ดี มิใช่จะกล่าวว่าเราจะมีความเร็วไม่ได้ แต่สิ่งที่ควรคำนึงก็คือเรื่องใด เป็นเรื่องที่มีธรรมชาติของความช้า เราก็จะต้องมีวิธีการ และแนวทางที่แก้ปัญหานั้นโดยอาศัยเวลาอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมของคน การแก้ปัญหาทางสังคม และการศึกษา เป็นต้น ส่วนเรื่องที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็วก็คือ เรื่องไอที และการสื่อสาร ส่วนปัญหาเรื่องคอร์รัปชันเป็นปัญหาระยะยาว เพราะได้กล่าวมาแล้วว่า โดยธรรมชาติของมนุษย์นั้น ความโลภมาก่อน และมีมากกว่าความกลัว
ดังนั้น การใช้เพียงกฎหมายและการลงโทษอย่างเดียวจึงเป็นไปไม่ได้ ต้องมีมาตรการด้านอื่น เช่น การให้การศึกษากล่อมเกลาควบคู่กันไปด้วยต้องอาศัยเวลานานในการจัดโครงสร้างทางการเมือง เราจะต้องแยกแยะ และเชื่อมโยงมิติหลายมิติ กล่าวคือ คนเรามักจะต้องการอิสระควบคู่ไปกับการพึ่งพาอาศัยผู้อื่นควบคู่กันไป ไม่มีผู้ใดที่อาจเรียกได้ว่าเป็นอิสระ เสรีชนเต็มที่หรือเป็นทาสอย่างแท้จริง
ในประการต่อมา มนุษย์เรามีทั้งความขัดแย้ง และความร่วมมือ ประนีประนอม ต้องการทั้งสันติสุข แต่บางครั้งก็มีความรุนแรง ในประการต่อมา การพิจารณาแก้ไขปัญหาต้องดูว่าเรื่องใดอยู่ใต้กฎแห่งความช้า เพราะจะต้องดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ฝืนธรรมชาติ ไม่ฝืนโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งอยู่ภายใต้กฎแห่งความช้า ที่กล่าวมานี้ในรัฐธรรมนูญจึงต้องอาศัยกฎแห่งความช้าดูแล ส่วนในด้านประชาธิปไตย ต้องมีการเลือกตั้งโดยเร็วแม้จะมีปัญหา การเลือกตั้งบ่อยๆ ก็ไม่เป็นไรเพราะประชาชนมีจิตใจที่อยากมีส่วนร่วมมาก ปัญหาอื่นๆ เป็นปัญหาเชิงพฤติกรรมซึ่งอยู่ภายใต้กฎแห่งความช้า จำเป็นจะต้องแก้ปัญหาอย่างอดทนและยาวนาน
หากเราใช้ชีวิตที่ช้าลง เราจะพบว่า เรามีความสุขและความสงบทั้งจิตใจ และร่างกาย สามารถอยู่ได้อย่างพอเพียงเหมือนดั่งที่พระเจ้าอยู่หัว ทรงสอนสั่งกฎแห่งความพอเพียง และกฎแห่งความช้านี้น่าจะเป็นปัจจัยชีวิตของคนไทยทุกคน
โดยสรุปแล้ว เราอาจกล่าวได้ว่า
1. ธรรมชาติของโลก คือ ความช้าไม่ใช่กฎของความเร่งตามที่นิวตันพูดถึง (F=ma)
2. ธรรมชาติของมนุษย์คือ ความช้า และวิวัฒนาการไม่ใช่การปฏิวัติ
3. เมื่อใดที่เราแสวงหาความเร่งพร้อมๆ กัน ผลที่ได้คือความช้า
4. ความช้าไม่ใช่ผลเสีย แต่ความช้าเป็นกระบวนการที่ถูกต้องของการเรียนรู้และวิวัฒนาการ
5. ความช้าก่อให้เกิดประสบการณ์ และความรู้จริงที่ได้จากการทำช้าๆ
6. ศิลปะและงานที่ยิ่งใหญ่ของโลก สิ่งมหัศจรรย์ของโลกเกิดจากกฎแห่งความช้า
7. สิ่งแวดล้อมที่ดีและยั่งยืน ต้องมาจากการใช้เวลาอนุรักษ์อย่างยาวนานและช้าๆ
8. ความช้าเป็นหลักประกันของความผิดพลาดน้อย และการลดความเสี่ยง
9. ทางสายกลางคือ กึ่งกลางระหว่างความช้ากับความเร็ว
10. ประชาธิปไตยอยู่ภายใต้กฎแห่งความช้า จึงต้องมีความอดทนในการพัฒนาประชาธิปไตย
11. ยิ่งต้องการประชาธิปไตยเร็ว ยิ่งได้ช้า จึงต้องหาประชาธิปไตยที่มั่นคงและยั่งยืน โดยใจเย็นไม่ย่อท้อ
12. สำหรับนักปฏิวัติพึงสังวรว่ากฎแห่งความช้า ไม่ได้ครอบคลุมถึงการมีอำนาจ และการติดยึดในอำนาจ เพราะอำนาจอยู่ภายใต้กฎแห่งความรวดเร็ว เป็นอนิจจังหมดไปอย่างรวดเร็ว