ASTVผู้จัดการรายวัน - ครม.เห็นชอบแผนบริหารหนี้สาธารณะ ครั้งที่ 1 เพิ่มวงเงินตามที่คลังเสนอตามแผนปรับโครงสร้างหนี้ ปี 2558 กว่า 9.65 หมื่นล้านบาท พร้อมรับทราบการปรับปรุงแผนบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจ ที่ไม่ต้องขออนุมัติภายใต้กรอบแผนการปรับโครงสร้างหนี้มีวงเงินเพิ่มขึ้น 1.4 หมื่นล้านบาท
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติการปรับปรุงแผนบริหารหนี้สาธารณะประจำปี 58 ครั้งที่ 1 วงเงินปรับเพิ่มขึ้น 96,557.72 ล้านบาท จากเดิม 1,255,116.08 ล้านบาทเป็น 1,351,673.80 ล้านบาท และรับทราบการปรับปรุงแผนบริหารหนี้สาธารณะของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ต้องขออนุมัติจากรัฐมนตรี วงเงินปรับเพิ่มขึ้น 14,186.34 ล้านบาท และอนุมัติการกู้เงินของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจภายใต้กรอบวงเงินดังกล่าว โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการและเงื่อนไขรายละเอียดการกู้เงิน
"เรื่องนี้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีมติเมื่อ 2 ก.ย.57 อนุมัติแผนบริหารหนี้สาธารณะปี 58 ไปแล้ว แต่ครั้งนี้กระทรวงการคลังเสนอขอปรับครั้งที่ 1 ตามรายละเอียดที่กล่าวมา" พล.ต.สรรเสริญกล่าวและว่า รายละเอียดของแผนก่อหนี้ใหม่มีการเพิ่มจำนวนเงินขึ้น 36,915.12 ล้านบาท แยกเป็นการก่อหนี้ของรัฐบาล ประกอบด้วย 1. กระทรวงการคลังเพิ่มวงเงินกู้เงินบาทในประเทศอีก 1 พันล้านบาท แทนการกู้เงินจากต่างประเทศ 2.กระทรวงการคลังเพิ่มวงเงินกู้เพื่อให้การรถไฟแห่งประเทศไทยกู้ต่อ แบ่งเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงดังนี้ ลดวงเงินกู้ต่อในประเทศ 9,018.84 ล้านบาท และเพิ่มวงเงินกู้ต่อต่างประเทศ 47,731 ล้านบาท โครงการจัดหารถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรียลลิงค์ ปรับเพิ่มวงเงินกู้ในประเทศอีก 242.72 ล้านบาท
ส่วนการก่อหนี้ใหม่ของรัฐวิสาหกิจ คือ 1.กู้เงินเพื่อลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง (การประปาส่วนภูมิภาค การรถไฟแห่งประเทศไทย และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ) ลดลง 9,039.76 ล้านบาทแต่ให้กู้เงินเพื่อดำเนินกิจการทั่วไปและอื่นๆ ในกรณีขององค์การสวนยางปรับเพิ่มวงเงินกู้ตามโครงการมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง 6,000 ล้านบาท
สำหรับแผนการปรับโครงสร้างหนี้ มีการปรับเพิ่มอีก 59,642.60 ล้านบาทเป็น 856,816.26 ล้านบาท โดยแผนปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล แบ่งเป็น กระทรวงการคลังลดวงเงิน Roll-over ตั๋วเงินคลังลง 11,635 ล้านบาท เหลือ 90,500 ล้านบาท และเพิ่มในส่วนของปรับโครงสร้าหนี้ในส่วนของรัฐวิสาหกิจ 4 แห่ง คือ องค์การคลังสินค้า บริษัท ธนรักษ์พิพัฒน์ สินทรัพย์ องค์การสวนยาง และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) วงเงินที่เพิ่มขึ้นจำนวน 71,277.60 ล้านบาท
"แผนปรับโครงสร้างหนี้ของ ธ.ก.ส.ไม่ใช่การกู้เงินใหม่เพื่อนำมาดำเนินการในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปี 54/55 หรือ ปี 55/56 ซึ่งปี 54/55 มีหนี้อยู่ 18,344 ล้านบาท ปี 55/56 จำนวน 31,656 ล้านบาท ซึ่งได้มีการกู้เงินธนาคารพาณิชย์มาชำระเรียบร้อยแล้ว ส่วนที่อนุมัติแผนบริหารหนี้เพื่อออกเป็นพันธบัตรเพื่อนำมาใช้หนี้ธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากธนาคารเดิมที่เรากู้ไว้ดอกเบี้ยสูงและระยะเวลาสั้น การออกเป็นพันธบัตรจะได้ยืดระยะเวลาออกไปและดอกเบี้ยลดลง ไม่ใช่การกู้เงินเพื่อมาใช้ในโครงการรับจำนำข้าวใหม่แต่อย่างใด" พล.ต.สรรเสริญ กล่าว
ครม.ยังรับทราบแผนการบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ต้องขออนุมัติภายใต้กรอบแผนฯ เพิ่มขึ้น 14,186.34 ล้านบาท เป็น 155,507.31 ล้านบาท แบ่งเป็น 1.การก่อหนี้ใหม่ของ บมจ.การบินไทย โดยเพิ่มวงเงินกู้ต่างประเทศซื้อเครื่องบิน A320-200 และ B777-300ER วงเงิน 66.34 ล้านบาท และเพิ่มวงเงินกู้ในประเทศเพื่อดำเนินการทั่วไป 10,000 ล้านบาท เป็น 25,000 ล้านบาท 2.การบริหารหนี้ ของบมจ.การบินไทย เพิ่มวงเงินในการทำ Swap Arrangement 4,120 ล้านบาท เป็น 86,370.50 ล้านบาท.
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติการปรับปรุงแผนบริหารหนี้สาธารณะประจำปี 58 ครั้งที่ 1 วงเงินปรับเพิ่มขึ้น 96,557.72 ล้านบาท จากเดิม 1,255,116.08 ล้านบาทเป็น 1,351,673.80 ล้านบาท และรับทราบการปรับปรุงแผนบริหารหนี้สาธารณะของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ต้องขออนุมัติจากรัฐมนตรี วงเงินปรับเพิ่มขึ้น 14,186.34 ล้านบาท และอนุมัติการกู้เงินของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจภายใต้กรอบวงเงินดังกล่าว โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการและเงื่อนไขรายละเอียดการกู้เงิน
"เรื่องนี้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีมติเมื่อ 2 ก.ย.57 อนุมัติแผนบริหารหนี้สาธารณะปี 58 ไปแล้ว แต่ครั้งนี้กระทรวงการคลังเสนอขอปรับครั้งที่ 1 ตามรายละเอียดที่กล่าวมา" พล.ต.สรรเสริญกล่าวและว่า รายละเอียดของแผนก่อหนี้ใหม่มีการเพิ่มจำนวนเงินขึ้น 36,915.12 ล้านบาท แยกเป็นการก่อหนี้ของรัฐบาล ประกอบด้วย 1. กระทรวงการคลังเพิ่มวงเงินกู้เงินบาทในประเทศอีก 1 พันล้านบาท แทนการกู้เงินจากต่างประเทศ 2.กระทรวงการคลังเพิ่มวงเงินกู้เพื่อให้การรถไฟแห่งประเทศไทยกู้ต่อ แบ่งเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงดังนี้ ลดวงเงินกู้ต่อในประเทศ 9,018.84 ล้านบาท และเพิ่มวงเงินกู้ต่อต่างประเทศ 47,731 ล้านบาท โครงการจัดหารถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรียลลิงค์ ปรับเพิ่มวงเงินกู้ในประเทศอีก 242.72 ล้านบาท
ส่วนการก่อหนี้ใหม่ของรัฐวิสาหกิจ คือ 1.กู้เงินเพื่อลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง (การประปาส่วนภูมิภาค การรถไฟแห่งประเทศไทย และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ) ลดลง 9,039.76 ล้านบาทแต่ให้กู้เงินเพื่อดำเนินกิจการทั่วไปและอื่นๆ ในกรณีขององค์การสวนยางปรับเพิ่มวงเงินกู้ตามโครงการมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง 6,000 ล้านบาท
สำหรับแผนการปรับโครงสร้างหนี้ มีการปรับเพิ่มอีก 59,642.60 ล้านบาทเป็น 856,816.26 ล้านบาท โดยแผนปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล แบ่งเป็น กระทรวงการคลังลดวงเงิน Roll-over ตั๋วเงินคลังลง 11,635 ล้านบาท เหลือ 90,500 ล้านบาท และเพิ่มในส่วนของปรับโครงสร้าหนี้ในส่วนของรัฐวิสาหกิจ 4 แห่ง คือ องค์การคลังสินค้า บริษัท ธนรักษ์พิพัฒน์ สินทรัพย์ องค์การสวนยาง และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) วงเงินที่เพิ่มขึ้นจำนวน 71,277.60 ล้านบาท
"แผนปรับโครงสร้างหนี้ของ ธ.ก.ส.ไม่ใช่การกู้เงินใหม่เพื่อนำมาดำเนินการในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปี 54/55 หรือ ปี 55/56 ซึ่งปี 54/55 มีหนี้อยู่ 18,344 ล้านบาท ปี 55/56 จำนวน 31,656 ล้านบาท ซึ่งได้มีการกู้เงินธนาคารพาณิชย์มาชำระเรียบร้อยแล้ว ส่วนที่อนุมัติแผนบริหารหนี้เพื่อออกเป็นพันธบัตรเพื่อนำมาใช้หนี้ธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากธนาคารเดิมที่เรากู้ไว้ดอกเบี้ยสูงและระยะเวลาสั้น การออกเป็นพันธบัตรจะได้ยืดระยะเวลาออกไปและดอกเบี้ยลดลง ไม่ใช่การกู้เงินเพื่อมาใช้ในโครงการรับจำนำข้าวใหม่แต่อย่างใด" พล.ต.สรรเสริญ กล่าว
ครม.ยังรับทราบแผนการบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ต้องขออนุมัติภายใต้กรอบแผนฯ เพิ่มขึ้น 14,186.34 ล้านบาท เป็น 155,507.31 ล้านบาท แบ่งเป็น 1.การก่อหนี้ใหม่ของ บมจ.การบินไทย โดยเพิ่มวงเงินกู้ต่างประเทศซื้อเครื่องบิน A320-200 และ B777-300ER วงเงิน 66.34 ล้านบาท และเพิ่มวงเงินกู้ในประเทศเพื่อดำเนินการทั่วไป 10,000 ล้านบาท เป็น 25,000 ล้านบาท 2.การบริหารหนี้ ของบมจ.การบินไทย เพิ่มวงเงินในการทำ Swap Arrangement 4,120 ล้านบาท เป็น 86,370.50 ล้านบาท.