ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”ไฟเขียวผลิตภัณฑ์นมขึ้นราคาแล้ว เริ่มตั้งแต่ 25 สตางค์ไปจนถึงหลายบาท ขอผู้บริโภคเข้าใจ เหตุต้องช่วยเหลือเกษตรกร หลัง ครม. ให้ขึ้นราคาน้ำนมดิบ พร้อมส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบราคาสินค้าสถานีขนส่ง แหล่งท่องเที่ยวรับปีใหม่ ป้องกันพ่อค้าแม่ค้าฉวยโอกาสเอาเปรียบ ด้านบริษัทเดินเรือยอมชะลอขึ้นราคา 60 วัน หลังเจอขู่ยัดบัญชีบริการควบคุม เหตุจ้องขึ้นโหด 60-70% ก่อนตั้งคณะทำงานดูราคาที่เหมาะสม
นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการพิจารณาราคาสินค้านมได้เห็นชอบในการปรับราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมในตลาดนมพาณิชย์ โดยอนุมัติให้ปรับขึ้นราคาได้ แต่การปรับขึ้นราคาจะไม่เท่ากันทั้งหมด แล้วแต่ขนาด เริ่มตั้งแต่ 25 สตางค์ขึ้นไป
ซึ่งการปรับขึ้นราคาก็อยากให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าจุดประสงค์มาจากการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเป็นหลัก เนื่องจากต้นทุนน้ำนมดิบมีการปรับราคาเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้มีการปรับเพิ่มราคารับซื้อน้ำนมดิบเพิ่มขึ้นกิโลกรัม (กก.) ละ 1 บาท หรือจากเดิมราคา 18 บาทต่อ กก. เป็น 19 บาทต่อ กก. เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนจากต้นทุนการผลิตที่สูงและไม่ได้ปรับราคาน้ำนมดิบมานาน
สำหรับสถานการณ์ราคาสินค้าอื่นๆ พบว่า ในภาพรวมมีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะไข่ไก่และเนื้อสุกร ที่มีราคาต่ำสุดในรอบปี โดยไข่ไก่เบอร์ 3 ราคาขายปลีก อยู่ที่ 2.75 บาทต่อฟอง เนื้อสุกร ราคาขายปลีกเนื้อแดงอยู่ที่ 132.50 บาทต่อกก. ส่วนเนื้อไก่ ก็มีราคาทรงตัวอยู่ที่ 72.50 บาท/กก.
นายบุณยฤทธิ์กล่าวว่า ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ในส่วนกลาง และสำนักงานค้าภายในจังหวัดทั่วประเทศ ออกตรวจสอบสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการตามแหล่งท่องเที่ยวและสถานีขนส่งในช่วงเทศกาลปีใหม่ เช่น สถานีขนส่งทั้งหมอชิต สายใต้ใหม่ สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นต้น เพื่อป้องกันร้านค้า ผู้ให้บริการ และร้านอาหารปรุงสำเร็จ
ในพื้นที่ที่ประชาชนต้องมาใช้บริการในการเดินทางกลับบ้านหรือท่องเที่ยวจำนวนมาก เอารัดเอาเปรียบประชาชนด้วยการปรับขึ้นราคาสินค้า
“ช่วงใกล้เทศกาลปีใหม่จะมีประชาชานทยอยเดินทางกลับบ้านหรือไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ เป็นจำนวนมาก กรมฯ จำเป็นต้องเข้าไปดูแล ไม่ให้มีการฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาสินค้าและค่าบริการต่างๆ ที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค โดยได้ส่งสายตรวจออกไปตรวจสอบในช่วงเทศกาลอย่างต่อเนื่อง และหากประชาชนเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อสินค้าและบริการ ก็ให้ร้องเรียนมาได้ที่สายด่วน 1569”
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ประกอบการ กรมฯ ขอความร่วมมือให้มีการปิดป้ายแสดงราคาสินค้าและบริการต่างๆ ให้ชัดเจน เพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้บริโภค หากไม่ปิดป้ายแสดงราคาจะมีโทษปรับ 10,000 บาท และหากมีการฉวยโอกาสขึ้นราคาเกินความเป็นจริง จะมีโทษปรับ 140,000 บาท จำคุก 7 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการปรับขึ้นราคาผลิตภัณฑ์นม ไซส์ขนาดเล็กส่วนใหญ่ปรับขึ้นราคาตั้งแต่ 25 สตางค์ แต่ขนาดกลาง และใหญ่ ขึ้นตั้งแต่ 50 สตางค์ ไปจนถึงหลายบาท
วันเดียวกันนี้ นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ได้หารือกับตัวแทนบริษัทเดินเรือรายใหญ่ประมาณ 10 ราย เพื่อสอบถามถึงกรณีที่สายเดินเรือประกาศขึ้นค่าภาระการขนถ่ายสินค้าหน้าท่า (เทอร์มินอลแฮนด์ลิ้งชาร์จ) ในอัตรา 60-70% ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2558
นายสันติชัยกล่าวว่า จากการรับฟังการการชี้แจง พบว่ายังไม่มีเหตุผลชัดเจนในการปรับขึ้นค่าบริการในอัตราดังกล่าว จึงได้ขอให้ทางบริษัทเดินเรือชะลอการปรับขึ้นค่าบริการออกไปก่อน 60 วัน หรือจนถึงสิ้นเดือนก.พ.2558 และในระหว่างนี้จะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อข้อสรุปถึงอัตราที่เหมาะสมในการจัดเก็บค่าบริการดังกล่าวให้ได้ข้อสรุปภายใน 2 เดือน
เพราะการปรับขึ้น 60-70% ถือว่าสูงเกินไป และมีผู้ได้รับผลกระทบและร้องเรียนเข้ามายังกรมฯ มาก
ทั้งนี้ กรมฯ ได้ยืนยันว่า หากทางบริษัทเดินเรือไม่ยอมชะลอการปรับขึ้นราคา ก็คงต้องนำเข้าบัญชีบริการควบคุม ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ซึ่งทางตัวแทนที่เข้ามาร่วมประชุมจึงยินยอม และจะแจ้งไปยังบริษัทแม่เพื่อให้รับทราบถึงการชะลอครั้งนี้ต่อไป
นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการพิจารณาราคาสินค้านมได้เห็นชอบในการปรับราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมในตลาดนมพาณิชย์ โดยอนุมัติให้ปรับขึ้นราคาได้ แต่การปรับขึ้นราคาจะไม่เท่ากันทั้งหมด แล้วแต่ขนาด เริ่มตั้งแต่ 25 สตางค์ขึ้นไป
ซึ่งการปรับขึ้นราคาก็อยากให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าจุดประสงค์มาจากการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเป็นหลัก เนื่องจากต้นทุนน้ำนมดิบมีการปรับราคาเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้มีการปรับเพิ่มราคารับซื้อน้ำนมดิบเพิ่มขึ้นกิโลกรัม (กก.) ละ 1 บาท หรือจากเดิมราคา 18 บาทต่อ กก. เป็น 19 บาทต่อ กก. เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนจากต้นทุนการผลิตที่สูงและไม่ได้ปรับราคาน้ำนมดิบมานาน
สำหรับสถานการณ์ราคาสินค้าอื่นๆ พบว่า ในภาพรวมมีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะไข่ไก่และเนื้อสุกร ที่มีราคาต่ำสุดในรอบปี โดยไข่ไก่เบอร์ 3 ราคาขายปลีก อยู่ที่ 2.75 บาทต่อฟอง เนื้อสุกร ราคาขายปลีกเนื้อแดงอยู่ที่ 132.50 บาทต่อกก. ส่วนเนื้อไก่ ก็มีราคาทรงตัวอยู่ที่ 72.50 บาท/กก.
นายบุณยฤทธิ์กล่าวว่า ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ในส่วนกลาง และสำนักงานค้าภายในจังหวัดทั่วประเทศ ออกตรวจสอบสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการตามแหล่งท่องเที่ยวและสถานีขนส่งในช่วงเทศกาลปีใหม่ เช่น สถานีขนส่งทั้งหมอชิต สายใต้ใหม่ สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นต้น เพื่อป้องกันร้านค้า ผู้ให้บริการ และร้านอาหารปรุงสำเร็จ
ในพื้นที่ที่ประชาชนต้องมาใช้บริการในการเดินทางกลับบ้านหรือท่องเที่ยวจำนวนมาก เอารัดเอาเปรียบประชาชนด้วยการปรับขึ้นราคาสินค้า
“ช่วงใกล้เทศกาลปีใหม่จะมีประชาชานทยอยเดินทางกลับบ้านหรือไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ เป็นจำนวนมาก กรมฯ จำเป็นต้องเข้าไปดูแล ไม่ให้มีการฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาสินค้าและค่าบริการต่างๆ ที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค โดยได้ส่งสายตรวจออกไปตรวจสอบในช่วงเทศกาลอย่างต่อเนื่อง และหากประชาชนเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อสินค้าและบริการ ก็ให้ร้องเรียนมาได้ที่สายด่วน 1569”
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ประกอบการ กรมฯ ขอความร่วมมือให้มีการปิดป้ายแสดงราคาสินค้าและบริการต่างๆ ให้ชัดเจน เพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้บริโภค หากไม่ปิดป้ายแสดงราคาจะมีโทษปรับ 10,000 บาท และหากมีการฉวยโอกาสขึ้นราคาเกินความเป็นจริง จะมีโทษปรับ 140,000 บาท จำคุก 7 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการปรับขึ้นราคาผลิตภัณฑ์นม ไซส์ขนาดเล็กส่วนใหญ่ปรับขึ้นราคาตั้งแต่ 25 สตางค์ แต่ขนาดกลาง และใหญ่ ขึ้นตั้งแต่ 50 สตางค์ ไปจนถึงหลายบาท
วันเดียวกันนี้ นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ได้หารือกับตัวแทนบริษัทเดินเรือรายใหญ่ประมาณ 10 ราย เพื่อสอบถามถึงกรณีที่สายเดินเรือประกาศขึ้นค่าภาระการขนถ่ายสินค้าหน้าท่า (เทอร์มินอลแฮนด์ลิ้งชาร์จ) ในอัตรา 60-70% ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2558
นายสันติชัยกล่าวว่า จากการรับฟังการการชี้แจง พบว่ายังไม่มีเหตุผลชัดเจนในการปรับขึ้นค่าบริการในอัตราดังกล่าว จึงได้ขอให้ทางบริษัทเดินเรือชะลอการปรับขึ้นค่าบริการออกไปก่อน 60 วัน หรือจนถึงสิ้นเดือนก.พ.2558 และในระหว่างนี้จะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อข้อสรุปถึงอัตราที่เหมาะสมในการจัดเก็บค่าบริการดังกล่าวให้ได้ข้อสรุปภายใน 2 เดือน
เพราะการปรับขึ้น 60-70% ถือว่าสูงเกินไป และมีผู้ได้รับผลกระทบและร้องเรียนเข้ามายังกรมฯ มาก
ทั้งนี้ กรมฯ ได้ยืนยันว่า หากทางบริษัทเดินเรือไม่ยอมชะลอการปรับขึ้นราคา ก็คงต้องนำเข้าบัญชีบริการควบคุม ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ซึ่งทางตัวแทนที่เข้ามาร่วมประชุมจึงยินยอม และจะแจ้งไปยังบริษัทแม่เพื่อให้รับทราบถึงการชะลอครั้งนี้ต่อไป